๑๑. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
มหาปชาบดีโคตรมีเถรี เป็นพระธิดาของพระเจ้าอัญชนะกับพระนางยโสธรา
ในกรุงเทวทหะ เดิมพระนามว่าโคตมี เป็นพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) ของพระนางสิริมหามายา
เมื่อพระนางสิริมหามายาทิวงคตแล้ว ได้รับการสถาปนาไว้ในตาแหน่งพระอัครมเหสี
มีพระโอรสชื่อ พระนันทะ พระธิดาชื่อ รูปนันทา ทรงมอบให้นางสนมเลี้ยงดู ส่วนพระนาง
คอยเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร
ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกทรงผนวช ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรง
แสดงธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดารงอริยภูมิชั้นโสดาบัน
ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
และพระน้านาง ยังพระบิดาให้ดารงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาบัน
และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลงพระพุทธบิดาทรง
บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี
ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธี
อาวาหมงคลอภิเษกสมรสนันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดากับพระนางชนปทกัลยาณี
เมื่อเสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นานันทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่ง
การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบวชเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศก
ให้บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนัก เพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ ครั้นกาล
ต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่นิพพาน
ครั้นนั้น พระนางมหาปชาบดีเกิดว้าเหว่พระหฤทัย ปรารถนาจะทรงผน วช
ก็ประจวบเกิดเหตุที่ชาวพระนครทั้ง ๒ คือ เมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองโกลิยะทะเลาะกัน ในเรื่อง
การแย่งน้าในแม่น้าโรหิณีที่ไหลผ่านระหว่างพระนครทั้งสองจนถึงขั้นจะรบกัน พระพุทธเจ้า
จึงได้เสด็จไปเทศนาอัตตทัณฑสูตรโปรดพระญาติในระหว่างเมืองทั้งสองให้เข้าใจกัน
พระญาติทั้งหลายทรงเลื่อมใสแล้ว จึงได้มอบถวายพระกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ให้บวชตามเสด็จพระพุทธเจ้า ครั้นเมื่อบวชแล้ว พระชายาของท่านเหล่านั้น ก็ได้ส่งข่าวไปยังพระภิกษุ
หนุ่มเหล่านั้น ทาให้ท่านเหล่านั้นเกิดความไม่ยินดีในเพศสมณะ พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า
ภิกษุเหล่านั้นเกิดความเบื่อหน่ายในสมณะวิสัย จึงทรงนาภิกษุหนุ่ม ๕๐๐ รูป เหล่านั้นไปสู่สระ
ชื่อว่ากุณาละ ประทับนั่งบนแผ่นหินที่เคยประทับนั่งในครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็น
นกดุเหว่า ทรงเทศนาด้วยเรื่องกุณาลชาดก เพื่อบรรเทาความไม่ยินดีของภิกษุเหล่านั้น
พอจบเทศนา พระภิกษุหนุ่มเหล่านั้นทั้งหมด ดารงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงนากลับมาสู่
ป่ามหาวันอีกครั้งหนึ่งทรงกระทาพระภิกษุเหล่านั้นให้ดารงอยู่ในอรหัตผล
ฝ่ายพระชายาของพระภิกษุเหล่านั้น เมื่อได้ส่งข่าวไปเพื่อจะดูใจพระภิกษุเหล่านั้น
ว่ายังปรารถนาในเพศคฤหัสถ์หรือไม่ ก็ได้รับคาตอบว่า พวกเราไม่ปรารถนาที่จะครองเรือน
พระนางเหล่านั้นทรงดาริว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พวกเราจะกลับไป
ยังเรือน เราจะไปเข้าเฝ้าพระนางมหาปชาบดีเพื่อขออนุญาต แล้วจะออกบวช พระชายาทั้ง
๕๐๐ นาง จึงเข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดีทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรด
อนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวชเถิด
พระนางมหาปชาบดีเอง ก็ทรงปรารถนาที่จะออกบวชอยู่แล้วจึงได้พาสตรีเหล่านั้น
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
โดยสมัยนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกะชนบท
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่สตรีออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สองและครั้งที่สามที่พระนางทูลอ้อนวอนต่อพระพุทธเจ้า เพื่อทรงอนุญาต
ให้สตรีบวชได้ แต่พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามเสียทั้งสามครั้ง
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต
ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว มีทุกข์เสีย
พระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ทรงกันแสงพลางถวายบังคมลา ทาประทักษิณ
แล้วเสด็จกลับไปครั้งนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีก
จาริกไปโดยลาดับ ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลีนั้น
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษาย้อมฝาด พร้อมด้วย
นางสากิยานีมากด้วยกัน เสด็จตามพระพุทธองค์ไปทางพระนครเวสาลี เสด็จถึงเมืองเวสาลี
กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน โดยลาดับ เวลานั้น พระนางมีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกาย
เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ได้ประทับยืน
กรรแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก
ได้ยินว่า พระนางมหาปชาบดีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรานี้ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้า
ไม่ทรงอนุญาตแล้ว ก็ถือเพศบรรพชิตด้วยตนเองทีเดียว ก็ความที่เราถือเพศบรรพชิตอย่างนี้
เกิดปรากฏเป็นที่ทราบไปทั่วชมพูทวีปแล้ว ถ้าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวช ข้อนั้นจะเป็น
การดี แต่ถ้าพระองค์ไม่ทรงอนุญาต จะมีความครหาอย่างใหญ่หลวง พระนางทรงปริวิตก
อย่างนี้ จึงไม่อาจจะเข้าไปยังวิหาร ได้ยืนทรงกรรแสงอยู่
ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกาย
เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ประทับยืนกรรแสง
อยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก จึงถามถึงสาเหตุกับพระนาง
พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
พระอานนท์กล่าวว่า ดูกรโคตมี ถ้าเช่นนั้น พระนางจงรออยู่ที่นี่แหละสักครู่หนึ่ง
จนกว่าอาตมาจะทูลพระพุทธองค์ให้ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
ครั้งนั้น พระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้ง ๒ พอง มีพระวรกาย
เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ประทับยืนกรรแสง
อยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว ขอประทานวโรกาส ขอสตรี
สามารถออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เถิด พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่สตรีออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลยแม้ครั้งที่สองและครั้งที่สามที่ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลอ้อนวอนต่อพระพุทธเจ้า
แต่พระองค์ก็ยังทรงห้ามเสียทั้งสามครั้ง
ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้
มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว ฉะนั้น เราพึงทูลขอ
พระองค์ให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดย
ปริยายอื่น
พระอานนท์จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามออกบวช
เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว สามารถจะทาให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคตประกาศแล้ว สามารถทาให้แจ้งแม้พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตผลได้
พระอานนท์เถระทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว สามารถเพื่อทาให้แจ้งแม้ซึ่งพระโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผลได้ พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระมาตุจฉาของพระองค์ ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับประคอง เลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา
เมื่อพระชนนีสวรรคตได้ให้พระองค์เสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาสขอสตรีพึงได้การออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมี รับประพฤติครุธรรม
๘ ประการได้ ครุธรรม ๘ ประการนี้แหละ เป็นอุปสมบทของพระนาง คือ
๑. ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไหว้พระภิกษุ
แม้อุปสมบทได้วันเดียว
๒. ภิกษุณี จะอยู่จาพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มีพระภิกษุ
๓. ภิกษุณี จะต้องทาอุโบสถกรรมและรับฟังโอวาทจากสานักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
๔. ภิกษุณี อยู่จาพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทาปวารณาในสานักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
(ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
๕. ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์
สองฝ่าย๖. ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสานักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานา รักษา
สิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เว้นจากการ
ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔. เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา
๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร่องเป็น
เวลา ๒ ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่
๗. ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริภาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
๘. ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้
โอวาทภิกษุมิได้
พระเถระจดจานาเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระน้านางได้สดับแล้ว มีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึง
ทรงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัตติยนารีที่ติดตามมาด้วย
ทั้งหมด เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทเสร็จแล้ว เรียนพระกัมมัฏฐานในสานัก
พระพุทธเจ้า อุตส่าห์บาเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้บาเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกาลังความสามารถ
ลาดับต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ วัดพระเชตวัน ทรงสถาปนาภิกษุณีใน
ตาแหน่งเอตทัคคะหลายตาแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดี
โคตมีเป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น
จึงทรงสถาปนาพระนางในตาแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู
คือรู้ราตรีนาน
พระนางทรงพระชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาล ก็ดับขันธนิพพาน
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น