วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สมถกัมมัฏฐาน ธรรมศึกษา วิชา ธรรม ระดับอุดมศึกษา (ธศ 332) ชั้นเอก

สมถกัมมัฏฐาน
๑. กุลบุตรมีศรัทธำมำเจริญสมถะ ทำให้เกิดขึ้นด้วยเจตนำอันใด เจตนำอันนั้น
ชื่อว่ำ สมถภาวนา
๒. กุลบุตรผู้มีศรัทธำยังสมถะอันเป็นอุบำยเครื่องสงบระงับของจิตให้เกิดมีขึ้น
ชื่อว่ำ สมถภาวนา
๓. เจตนำอันเป็นไปในสมถกัมมัฏฐำนทั้งหมดทั้งสิ้น ชื่อว่ำ สมถภาวนา

สมถกัมมัฏฐาน หมำยถึงหลักกำรเจริญสมถะ เป็นอุบำยเครื่องปิดกั้นนิวรณ์
กิเลสมิให้ครอบงำจิตสันดำนได้ เปรียบเหมือนบุคคลสร้ำงทำนบกั้นน้ำมิให้ไหลไป ทั้งยังเป็น
อุบำยข่มจิตมิให้ฟุ้งซ่ำน เปรียบเหมือนนำยสำรถีฝึกม้ำให้พร้อมใช้งำนเป็นรำชพำหนะได้
ธรรมที่เป็นอารมณ์ของสมถกัมมัฏฐานตามนัยพระบาลี
ธรรมที่นิยมนำมำกำหนดเพื่อให้จิตสงบเป็นสมำธิ กล่ำวตำมพระบำลี
(พระไตรปิฎก) มี ๒ คือ อภิณหปัจจเวกขณะ ๕ และ สติปัฏฐาน ๔ มีอธิบำยดังนี้
๑. อภิณหปัจจเวกขณะ หมำยถึงหลักธรรมสำหรับกำหนดพิจำรณำ
ในชีวิตประจำวัน หรือหัวข้อธรรมที่ควรพิจำรณำทุกๆ วัน มี ๕ อย่ำง คือ
๑) ชราธัมมตา กำรพิจำรณำถึงควำมแก่เนืองๆ เป็นอุบำยบรรเทำควำม
ประมำทในวัย
๒) พยาธิธัมมตา กำรพิจำรณำถึงควำมเจ็บป่วยเนืองๆ เป็นอุบำยบรรเทำควำม
ประมำทในควำมไม่มีโรค
๓) มรณธัมมตา กำรพิจำรณำถึงควำมตำยเนืองๆ เป็นอุบำยบรรเทำควำม
ประมำทในชีวิต
๔) ปิยวินาภาวตา กำรพิจำรณำถึงควำมพลัดพรำกจำกสิ่งที่รักเนืองๆ เป็นอุบำย
บรรเทำควำมเศร้ำโศกเสียใจ ควำมคับแค้นใจ
๕) กัมมัสสกตา กำรพิจำรณำว่ำตนมีกรรมเป็นของตนเนืองๆ เป็นอุบำยเตือนใจ
ให้รู้ว่ำทุกคนมีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๒. สติปัฏฐาน หมำยถึงกำรตั้งสติกำหนดพิจำรณำสิ่งทั้งหลำยให้รู้เห็นตำมควำม
เป็นจริง โดยกำหนดพิจำรณำสิ่งสำคัญในชีวิต มี ๔ อย่ำง คือ
๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมำยถึงกำรตั้งสติกำหนดพิจำรณำกำยให้รู้เห็น
ตำมควำมจริง ซึ่งแบ่งเป็น ๖ บรรพ (หมวด) คือ
(๑) อานาปานบรรพ หมวดกำหนดรู้ลมหำยใจเข้ำ-ออกยำว สั้น หยำบ
ละเอียดเป็นต้น
(๒) อิริยาปถบรรพ หมวดกำหนดรู้อิริยำบถใหญ่ของคนเรำ ๔ อิริยำบถ คือ
เดิน ยืน นั่ง นอน ว่ำสำเร็จเป็นไปได้เพรำะลมและจิตที่คิด
(๓) สัมปชัญญบรรพ หมวดกำหนดรู้รอบคอบในกำรเคลื่อนไหวของกำย
มีก้ำวไปข้ำงหน้ำและถอยกลับมำข้ำงหลังเป็นต้น มิให้หลงลืมพลั้งเผลอสติทุกขณะของ
กำรเคลื่อนไหวไปมำใดๆ
(๔) ปฏิกูลบรรพ หมวดกำหนดพิจำรณำอวัยวะหรือส่วนต่ำงๆ ภำยในกำยตน
มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นและเปรียบเทียบกับกำยผู้อื่นให้เห็นเป็นของปฏิกูลคือไม่งำม
ไม่สะอำด เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลโสโครกน่ำเกลียด
(๕) ธาตุบรรพ หมวดกำหนดพิจำรณำกำยตนและกำยผู้อื่นโดยเป็นสักแต่ว่ำ
ธำตุ ๔ มำประชุมรวมกัน คือ สิ่งที่แข็งที่กระด้ำง กำหนดว่ำเป็นธำตุดิน สิ่งที่อ่อนที่เหลว
ซึมซำบไปในดิน ทำดินให้เหนียวเป็นก้อนอยู่ได้ กำหนดว่ำเป็นธำตุน้ำ สิ่งที่ทำดินและน้ำให้
อุ่นให้ร้อนให้แห้งเกรียมไป กำหนดว่ำเป็นธำตุไฟ สิ่งที่อุปถัมภ์อุดหนุนพยุงดินและน้ำไว้และ
ทำให้ไหวติงไปมำและรักษำไฟไว้มิให้ดับไปได้ กำหนดว่ำเป็นธำตุลม
(๖) นวสีวถิกาบรรพ หมวดกำหนดพิจำรณำกำยที่เป็นซำกศพซึ่งเขำทิ้งไว้
ในป่ำช้ำเป็นต้นอันกลำยเป็นอสุภะเปลี่ยนสภำพไปตำมระยะกำลที่ถูกทิ้งไว้ ๙ ระยะกำล
เริ่มตั้งแต่ซำกศพที่เขำทิ้งไว้หนึ่งวัน สองหรือสำมวัน จนกลำยเป็นอสุภะขึ้นอืดพองมีสีเขียว
มีหนองไหลเยิ้มออก เป็นต้นไปจนถึงซำกศพที่เขำทิ้งไว้นำนจนกลำยเป็นกระดูกผุยย่อย
ป่นละเอียดเป็นจุณไป
เมื่อตั้งสติกำหนดพิจำรณำกำย ๖ หมวด หมวดใดหมวดหนึ่งดังกล่ำวมำนี้

จนภำวะจิตสงบแน่วแน่เป็นสมำธิสำมำรถละนิวรณ์กิเลสได้ เรียกว่ำ สมถกัมมัฏฐาน
๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมำยถึงกำรตั้งสติกำหนดพิจำรณำเวทนำคือ
ควำมรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ (เป็นกลำงๆ) เมื่อเสวยสุขเวทนำ ก็มีสติกำหนด
รู้ว่ำเสวยสุขเวทนำเป็นต้น จนกระทั่งจิตสงบเป็นสมำธิสำมำรถละนิวรณ์กิเลสได้
๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมำยถึงกำรตั้งสติกำหนดพิจำรณำจิตของตน
ตำมเป็นจริง คือ จิตมีรำคะ ก็รู้ว่ำจิตมีรำคะ จิตปรำศจำกรำคะ ก็รู้ว่ำจิตปรำศจำกรำคะ
เป็นต้น จนกระทั่งจิตสงบเป็นสมำธิสำมำรถละนิวรณ์กิเลสได้
๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมำยถึงกำรตั้งสติกำหนดพิจำรณำสภำวธรรม
ต่ำงๆ ทั้งที่เป็นกุศล อกุศล อัพยำกฤต ที่มีอยู่ในจิตสันดำน เช่น กำมฉันทะมีอยู่ภำยในจิต
ก็รู้ว่ำมีอยู่ หรือกำมฉันทะไม่มีอยู่ภำยในจิต ก็รู้ว่ำไม่มีอยู่ เป็นต้น จนกระทั่งจิตสงบเป็นสมำธิ
สำมำรถละนิวรณ์กิเลสได้
แม้ธรรมที่เป็นอำรมณ์ของสมถกัมมัฏฐำนจะมีหลำยประกำร ถึงกระนั้น ก็ควร
กำหนดว่ำ ธรรมที่เป็นอำรมณ์ ซึ่งสำมำรถทำให้จิตสงบระงับนิวรณ์กิเลสได้ จัดเป็นอำรมณ์

ของสมถกัมมัฏฐำนได้ทั้งสิ้น
*ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือธรรมศึกษาชั้นเอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น