- รตนะ ๓ อย่าง พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์ ๑.
- ๑. ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่าพระพุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า.
- ๒. พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อพระธรรม.
- ๓. หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อพระสงฆ์.
-
-
- ขุ. ขุ. ๒๕/๑.
-
- โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
- ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วย กาย วาจา ใจ.
- ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ.
- ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น.
-
-
- ที. มหา. ๑๐/๕๗.
-
- ทุจริต ๓ อย่าง
- ๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียกกายทุจริต.
- ๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียกวจีทุจริต.
- ๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกมโนทุจริต.
กายทุจริต ๓ อย่าง
- ฆ่าสัตว์ ๑
- ลักฉ้อ ๑
- ประพฤติผิดในกาม ๑.
วจีทุจริต ๔ อย่าง
- พูดเท็จ ๑
- พูดส่อเสียด ๑
- พูดคำหยาบ ๑
- พูดเพ้อเจ้อ ๑.
มโนทุจริต ๓ อย่าง
- โลภอยากได้ของเขา ๑
- พยาบาทปองร้ายเขา ๑
- เห็นผิดจากคลองธรรม ๑.
ทุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย.
-
-
- องฺ. ทสก. ๒๔/๓๐๓.
-
- สุจริต ๓ อย่าง
- ๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกกายสุจริต.
- ๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต.
- ๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต.
กายสุจริต ๓ อย่าง
- เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑
- เว้นจากลักทรัพย์ ๑
- เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑.
วจีสุจริต ๔ อย่าง
- เว้นจากพูดเท็จ ๑
- เว้นจากพูดส่อเสียด ๑
- เว้นจากพูดคำหยาบ ๑
- เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑.
มโนสุจริต ๓ อย่าง
- ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑
- ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑
- เห็นชอบตามคลองธรรม ๑.
สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ.
-
-
- องฺ. ทสก. ๒๔/๓๐๓.
-
- อกุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ
- โลภะ อยากได้ ๑
- โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑
- โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑.
เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ (๑) ก็ดี (๒) ก็ดี (๓) ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๙๑. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๖๔.
-
- กุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ
- อโลภะ ไม่อยากได้ ๑
- อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑
- อโมหะ ไม่หลง ๑
ถ้ากุศลมูลเหล่านี้ (๑) ก็ดี (๒) ก็ดี (๓) ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน.
-
-
- ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๙๒.
-
- บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ อย่าง
- ๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน.
- ๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล.
- ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.
-
-
- ขุ. อิติ. ๒๕/๒๗๐. องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๑๔๕.
-