- วุฑฒิ คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง
- ๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าสัตบุรุษ.
- ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยเคารพ.
- ๓. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ.
- ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๓๒.
-
- จักร ๔
- ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร.
- ๒. สัปปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ.
- ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ.
- ๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน.
ธรรม ๔ อย่างนี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๐.
-
- อคติ ๔
- ๑. ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียกฉันทาคติ.
- ๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียกโทสาคติ.
- ๓. ลำเอียงเพราะเขลา เรียกโมหาคติ.
- ๔. ลำเอียงเพราะกลัว เรียกภยาคติ.
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๓.
-
- ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง
- ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน.
- ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว.
- ๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน.
- ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม.
ความเพียร ๔ อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบ ควรประกอบให้มีในตน.
-
-
- องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๒๐.
-
- อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
- ๑. ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้.
- ๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง.
- ๓. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ.
- ๔. อุปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความสงบ.
-
-
- ม. อุป. ๑๔/๔๓๗.
-
- อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง
- ๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น.
- ๒. วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น.
- ๓. จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ.
- ๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น.
คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย.
-
-
- อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๒๙๒.
-
- พรหมวิหาร ๔
- ๑. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข.
- ๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์.
- ๓. มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี.
- ๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ.
๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่.
-
-
- อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๓๖๙.
-
- อริยสัจ ๔
- ๑. ทุกข์
- ๒. สมุทัย คือ เหตุให้ทุกข์เกิด
- ๓. นิโรธ คือความดับทุกข์
- ๔. มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้ชื่อว่าทุกข์ เพราะเป็นของทานได้ยาก.
ตัณหาคือความทะยานอยาก ได้ชื่อว่าสมุทัย เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด.
ตัณหานั้น มีประเภทเป็น ๓ คือตัณหาความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่ เรียกว่ากามตัณหาอย่าง ๑ ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่าภวตัณหาอย่าง ๑ ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่าวิภวตัณหาอย่าง ๑.
ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมด ได้ชื่อว่านิโรธ เพราะเป็นความดับทุกข์.
ปัญญาอันชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ความดับทุกข์ สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ได้ชื่อว่ามรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์.
มรรคนั้นมีองค์ ๘ ประการ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทำความเพียรชอบ ๑ ตั้งสติชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑.
-
-
- อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑๒๗.
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น