วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

คิหิปฏิบัติ ธรรมศึกษา วิชา ธรรม ระดับอุดมศึกษา (ธศ 312) ชั้นตรี

กรรมกิเลส คือ กรรมเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง

๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง.
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย.
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม.
๔. มุสาวาท พูดเท็จ.
กรรม ๔ อย่างนี้ นักปราชญ์ไม่สรรเสริญเลย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๕.

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง (๑)

๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ในการประกอบกิจเครื่องเลี้ยงชีวิตก็ดี ในการศึกษาเล่าเรียนก็ดี ในการทำธุระหน้าที่ของตนก็ดี.
๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายก็ดี รักษาการงานของตน ไม่ให้เสื่อมเสียไปก็ดี.
๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว.
๔. สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ให้ฟูมฟายนัก.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๔.

มิตรแท้ ๔ จำพวก[แก้ไข]

๑. มิตรมีอุปการะ.
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์.
๓. มิตรแนะประโยชน์.
๔. มิตรมีความรักใคร่.
มิตร ๔ จำพวกนี้ เป็นมิตรแท้ ควรคบ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๑. มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔
(๑) ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
(๒) ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว.
(๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้.
(๔) เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔
(๑) ขยายความลับของตนแก่เพื่อน.
(๒) ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย.
(๓) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
(๔) แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.
๓. มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔
(๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
(๒) แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
(๔) บอกทางสวรรค์ให้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๑.

๔. มิตรมีความรักใคร่ มีลักษณะ ๔
(๑) ทุกข์ ๆ ด้วย.
(๒) สุข ๆ ด้วย.
(๓) โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน.
(๔) รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๒.

สังคหวัตถุ ๔ อย่าง

๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน.
๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน.
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น.
๔. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว.
คุณทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจของผู้อื่นไว้ได้.
องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๔๒.

ธรรมของฆราวาส ๔

๑. สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน.
๒. ทมะ รู้จักข่มจิตของตน.
๓. ขันติ อดทน.
๔. จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่ตนที่ควรให้ปัน.
สํ. ส. ๑๕/๓๑๖.

มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง

๑. ค้าขายเครื่องประหาร.
๒. ค้าขายมนุษย์.
๓. ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร.
๔. ค้าขายน้ำเมา.
๕. ค้าขายยาพิษ.
การค้าขาย ๕ อย่างนี้ เป็นข้อห้ามอุบาสกไม่ให้ประกอบ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๒.

สมบัติของอุบาสก ๕ ประการ

๑. ประกอบด้วยศรัทธา.
๒. มีศีลบริสุทธิ์.
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล.
๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา.
๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา.
อุบาสกพึงตั้งอยู่ในสมบัติ ๕ ประการ และเว้นจากวิบัติ ๕ ประการ ซึ่งวิปริตจากสมบัตินั้น.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๓๐.

ทิศ ๖

๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา.
๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์.
๓. ปัจฉิมทิศ คือทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องต้น สมณพราหมณ์.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๑. ปุรัตถิมทิส คือทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา บุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ท่านได้เลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ.
(๒) ทำกิจของท่าน.
(๓) ดำรงวงศ์สกุล.
(๔) ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก.
(๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน.
ที. ปาฏิ. ๑๐/๒๐๓.
มารดาบิดาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕
(๑) ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว.
(๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา.
(๔) หาภรรยาที่สมควรให้.
(๕) มอบทรัพย์ให้ในสมัย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
๒. ทักขิณทิส คือทิศเบื้องขวา อาจารย์ ศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยลุกขึ้นยืนรับ.
(๒) ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้.
(๓) ด้วยเชื่อฟัง.
(๔) ด้วยอุปัฏฐาก.
(๕) ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๓.
อาจารย์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕
(๑) แนะนำดี.
(๒) ให้เรียนดี.
(๓) บอกศิลปให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง.
(๔) ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง.
(๕) ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย (คือจะไปทางทิศไหนก็ไม่อดอยาก).
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๓. ปัจฉิมทิส คือทิศเบื้องหลัง ภรรยา สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา.
(๒) ด้วยไม่ดูหมิ่น.
(๓) ด้วยไม่ประพฤติล่วงใจ.
(๔) ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้.
(๕) ด้วยให้เครื่องแต่งตัว.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
ภรรยาได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕
(๑) จัดการงานดี.
(๒) สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี.
(๓) ไม่ประพฤติล่วงใจผัว.
(๔) รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ไว้.
(๕) ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
๔. อุตตรทิส คือทิศเบื้องซ้าย มิตร กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยให้ปัน.
(๒) ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ.
(๓) ด้วยประพฤติประโยชน์.
(๔) ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ.
(๕) ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๔.
มิตรได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕
(๑) รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว.
(๒) รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว.
(๓) เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้.
(๔) ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ.
(๕) นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๕. เหฏฐิมทิส คือทิศเบื้องต่ำ บ่าว นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง.
(๒) ด้วยให้อาหารและรางวัล.
(๓) ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้.
(๔) ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน.
(๕) ด้วยปล่อยในสมัย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
บ่าวได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕
(๑) ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย.
(๒) เลิกการงานทีหลังนาย.
(๓) ถือเอาแต่ของที่นายให้.
(๔) ทำการงานให้ดีขึ้น.
(๕) นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้น ๆ.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
๖. อุปริมทิส คือทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์ กุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕
(๑) ด้วยกายกรรม คือทำอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
(๒) ด้วยวจีกรรม คือพูดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
(๓) ด้วยมโนกรรม คือคิดอะไร ๆ ประกอบด้วยเมตตา.
(๔) ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน.
(๕) ด้วยให้อามิสทาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๕.
สมณพราหมณ์ได้รับบำรุงฉะนี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖
(๑) ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว.
(๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี.
(๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม.
(๔) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
(๕) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่ม.
(๖) บอกทางสวรรค์ให้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๒๐๖.

อบายมุข คือเหตุเครื่องฉิบหาย ๖

(๑) ดื่มน้ำเมา.
(๒) เที่ยวกลางคืน.
(๓) เที่ยวดูการเล่น.
(๔) เล่นการพนัน.
(๕) คบคนชั่วเป็นมิตร.
(๖) เกียจคร้านทำการงาน.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๑. ดื่มน้ำเมา มีโทษ ๖
(๑) เสียทรัพย์.
(๒) ก่อการทะเลาะวิวาท.
(๓) เกิดโรค.
(๔) ต้องติเตียน.
(๕) ไม่รู้จักอาย.
(๖) ทอนกำลังปัญญา.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๖.
๒. เที่ยวกลางคืน มีโทษ ๖
(๑) ชื่อว่าไม่รักษาตัว.
(๒) ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย.
(๓) ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ.
(๔) เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย.
(๕) มักถูกใส่ความ.
(๖) ได้ความลำบากมาก.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๓. เที่ยวดูการเล่น มีโทษตามวัตถุที่ไปดู ๖
(๑) รำที่ไหนไปที่นั้น.
(๒) ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น.
(๓) ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั้น.
(๔) เสภาที่ไหนไปที่นั้น.
(๕) เพลงที่ไหนไปที่นั้น.
(๖) เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั้น.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๔. เล่นการพนัน มีโทษ ๖
(๑) เมื่อชนะย่อมก่อเวร.
(๒) เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป.
(๓) ทรัพย์ย่อมฉิบหาย.
(๔) ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ.
(๕) เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน.
(๖) ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๕. คบคนชั่วเป็นมิตร มีโทษตามบุคคลที่คบ ๖
(๑) นำให้เป็นนักเลงการพนัน.
(๒) นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้.
(๓) นำให้เป็นนักเลงเหล้า.
(๔) นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม.
(๕) นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
(๖) นำให้เป็นคนหัวไม้.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.
๖. เกียจคร้านทำการงาน มีโทษ ๖
(๑) มักให้อ้างว่า หนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๒) มักให้อ้างว่า ร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๓) มักให้อ้างว่า เวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน.
(๔) มักให้อ้างว่า ยังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน.
(๕) มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน.
(๖) มักให้อ้างว่า ระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน.
ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย ๖ ประการนี้เสีย.
ที. ปาฏิ. ๑๑/๑๙๗.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น