วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หมวด ๔

หมวด ๔
วุฑฒิ คือธรรมเป็นเครื่องเจริญ ๔ อย่าง
๑.  สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ ที่เรียกว่าสัตบุรุษ
๒.  สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ
๓.  โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
๔.   ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว
จักร ๔
๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒.  สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓.  อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔.  ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
ธรรม ๔ อย่างนี้ ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ
อคติ ๔
๑.   ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน เรียก ฉันทาคติ
๒.   ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน เรียก โทสาคติ
๓.  ลำเอียงเพราะเขลา เรียก โมหาคติ
๔.  ลำเอียงเพราะกลัว เรียก ภยาคติ
อคติ ๔ ประการนี้ ไม่ควรประพฤติ
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง
๑.   อดทนต่อคำสอนไม่ได้ คือเบื่อต่อคำสั่งสอนขี้เกียจทำตาม
๒.   เป็นคนเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากไม่ได้
๓.   เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่งๆ ขึ้นไป
๔.  รักผู้หญิง
ภิกษุสามเณรผู้หวังความเจริญแก่ตน ควรระวังอย่าให้อันตราย ๔ อย่างนี้ย่ำยีได้
ปธาน คือความเพียร ๔ อย่าง
๑.  สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน
๒.  ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
๓.  ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน
๔.  อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม
ความเพียร ๔ อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบควรประกอบให้มีในตน
อธิษฐานธรรม คือธรรมที่ความตั้งไว้ในใจ ๔ อย่าง
๑.  ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒.  สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓.  จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔.  อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
อิทธิบาท คือคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่าง
๑.  ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒.  วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓.  จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่วางธุระ
๔.  วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
คุณ ๔ อย่างนี้ มีบริบูรณ์แล้ว อาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์ซึ่งไม่เหลือวิสัย
ควรทำความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน
๑.  ในการละกายทุจริต ประพฤติกายสุจริต
๒.  ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต
๓.  ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต
๔.   ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก
อีกอย่างหนึ่ง
๑.   ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
๒.   ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
๓.   ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
๔.   ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ปาริสุทธิศึล ๔
๑.  ปาติโมกขสังวร สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำข้อที่พระองค์อนุญาต
๒.  อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ปาก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๓.  อาชีวปาริสุทธิ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่หลองลวงเขาเลี้ยงชีวิต
๔.  ปัจจยปัจจเวกขณะ พิจารณาเสียก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ไม่บริโภคด้วยตัณหา
อารักขกัมมัฏฐาน
๑.  พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่มีในพระองค์และทรงเกื้อกูลแก้ผู้อื่น
๒.  เมตตา แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
๓.  อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
๔.  มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน
กัมมัฏฐาน ๔ อย่างนี้ ควรเจริญเป็นนิตย์
พรหมวิหาร ๔
๑.  เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
๒.  กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
๓.  มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี
๔.  อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ
พรหมวิหาร ๔ นี้ เป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่
สติปัฏฐาน ๔
๑.  กายานุปัสสนา
สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก กายานุปัสสนา
๒.  เวทนานุปัสสนา
สติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก เวทนานุปัสสนา
๓.  จิตตานุปัสสนา
สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก จิตตานุปัสสนา
๔.  ธัมมานุปัสสนา
สติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก ธัมมานุปัสสนา
ธาตุกัมมัฏฐาน ๔
ธาตุ ๔ คือ
๑ ธาตุดิน เรียก ปฐวีธาตุ
ธาตุอันใดมีลักษณะแข้นแข็ง ธาตุนั้นเป็นปฐวีธาตุ ปฐวีธาตุนั้นที่เป็นภายใน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
๒ ธาตุน้ำ เรียก อาโปธาตุ
ธาตุอันมีลักษณะเอิบอาบ ธาตุนั้นเป็นอาโปธาตุ อาโปธาตุนั้น ที่เป็นภายใน คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
๓ ธาตุไฟ เรียก เตโชธาตุ
ธาตุอันมีลักษณะร้อน ธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุ เตโชธาตุนั้น ที่เป็นภายใน คือ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่เผาอาหารให้ย่อย
๔ ธาตุลม เรียก วาโยธาตุ
ธาตุอันใดมีลักษณะพัดไปมา ธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุ วาโยธาตุนั้น ที่เป็นภายใน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
         ความกำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เรียกว่า ธาตุกัมมัฏฐาน
อริยสัจ ๔
๑.  ทุกข์
๒.  สมุทัย คือเหตุให้ทุกข์เกิด
๓.  นิโรธ คือความดับทุกข์
๔.  มรรค คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ได้ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นของทนได้ยาก
ตันหาคือความทะยานอยาก ได้ชื่อว่า สมุทัย เพราะเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด
ตันหานั้น มีประเภทเป็น ๓ คือตัณหาความอยากในอารมณ์ที่น่ารักใคร่ เรียกว่า กามตัณหา อย่าง ๑ ตัณหาความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่า ภวตัณหา อย่าง ๑ ตัณหาความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ เรียกว่า วิภวตัณหา อย่าง ๑
ความดับตัณหาได้สิ้นเชิง ทุกข์ดับไปหมดได้ชื่อว่า นิโรธ เพราะเป็นความดับทุกข์
ปัญญาอันเห็นชอบว่าสิ่งนี้ทุกข์ สิ่งนี้เหตุให้ทุกข์เกิด สิ่งนี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ได้ชื่อว่า มรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

มรรคนั้นมีองค์ ๘ ประการ คือ
ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีพชอบ ๑ ทำความเพียรชอบ ๑ ตั้งสติชอบ ๑ ตั้งใจชอบ ๑

หมวด ๓

หมวด ๓
รัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์

๑.ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วงจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่า พุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า
๒.พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อ พระธรรม
๓.หมู่ชนที่ฟังคำสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อ พระสงฆ์
คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
๑.   ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒.   ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓.   ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่าง
๑.  เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ
๒.  ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ
๓.   ทำใจของตนให้หมดจดจากเรื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
ทุจริต ๓ อย่าง
๑.   ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒.   ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓.   ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกว่า มโนทุจริต
กายทุจริต ๓ อย่าง
ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑
วจีทุจริต ๔ อย่าง
พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนทุจริต ๓ อย่าง
โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากครองธรรม ๑ ทุจริต ๓ อย่างนี้เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย
สุจริต ๓ อย่าง
๑.   ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่ากายสุจริต
๒.   ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต
๓.  ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต
กายสุจริต ๓ อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากลักฉ้อ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑
วจีสุจริต ๔ อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนสุจริต ๓ อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑ สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ
อกุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ อยากได้ ๑ โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑ โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑ เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ โลภะ  โทสะ  โมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย
กุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ อโลภะ ไม่อยากได้ ๑ อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑ อโมหะ ไม่หลง ๑ เมื่อกุศลมูลเหล่านี้ อโลภะ  อโทสะ อโมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน
สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้ ๓ อย่าง
๑.  ทาน สละสิ่งของๆ ตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒.  ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓.  มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติใม่ผิด ๓ อย่าง
๑.  อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒.โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย
๓.  ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก
บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ ย่าง
๑.  ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒.  ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.  ภวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

สามัญลักษณะ ๓ อย่าง
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
๑.  อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒.  ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓.  อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน

แนวข้อสอบนักธรรมชั้นตรี ติกะ หมวด ๓ วิชาธรรมวิภาค [ถาม-ตอบ]

หมวด ๒

หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง
๑.  สติ ความระลึกได้
๒.  สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
ธรรมเป็นโลกบาล คือ คุ้มครองโลก ๒ อย่าง
๑.  หิริ ความละอายแก่ใจ
๒.  โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
ธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่าง
๑.  ขันติ ความอดทน
๒.  โสรัจจะ ความเสงี่ยม
บุคคลหาได้ยาก ๒ อย่าง
๑.  บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน
๒.  กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้ว และตอบแทน

แนวข้อสอบนักธรรมชั้นตรี ทุกะ หมวด ๒ วิชาธรรมวิภาค [ถาม-ตอบ]