หมวด ๓
รัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์
๑.ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วงจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่า พุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า
๒.พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อ พระธรรม
๓.หมู่ชนที่ฟังคำสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อ พระสงฆ์
พระพุทธ ๑ พระธรรม ๑ พระสงฆ์
๑.ท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วงจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ที่ท่านเรียกว่า พุทธศาสนา ชื่อพระพุทธเจ้า
๒.พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของท่าน ชื่อ พระธรรม
๓.หมู่ชนที่ฟังคำสอนของท่านแล้ว ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ชื่อ พระสงฆ์
คุณของรัตนะ ๓ อย่าง
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
พระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
พระสงฆ์ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
๑. ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ
๑. ทรงสั่งสอนเพื่อจะให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์ โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓
อย่าง
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเรื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่ว ด้วยกาย วาจา ใจ
๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา ใจ
๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเรื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
ทุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกว่า มโนทุจริต
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒. ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียกว่า มโนทุจริต
กายทุจริต ๓ อย่าง
ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑
ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑
วจีทุจริต ๔ อย่าง
พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑
พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนทุจริต ๓ อย่าง
โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากครองธรรม ๑ ทุจริต ๓ อย่างนี้เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย
โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากครองธรรม ๑ ทุจริต ๓ อย่างนี้เป็นกิจไม่ควรทำ ควรจะละเสีย
สุจริต ๓ อย่าง
๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่ากายสุจริต
๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต
๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต
๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่ากายสุจริต
๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต
๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต
กายสุจริต ๓ อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากลักฉ้อ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากลักฉ้อ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑
วจีสุจริต ๔ อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑
เว้นจากพูดเท็จ ๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนสุจริต ๓ อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑ สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑ สุจริต ๓ อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ
อกุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ อยากได้ ๑ โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑ โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑ เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย
รากเง่าของอกุศล เรียกอกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ โลภะ อยากได้ ๑ โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑ โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑ เมื่ออกุศลมูลเหล่านี้ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว อกุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรละเสีย
กุศลมูล ๓ อย่าง
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ อโลภะ ไม่อยากได้ ๑ อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑ อโมหะ ไม่หลง ๑ เมื่อกุศลมูลเหล่านี้ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน
รากเง่าของกุศล เรียกกุศลมูล มี ๓ อย่าง คือ อโลภะ ไม่อยากได้ ๑ อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑ อโมหะ ไม่หลง ๑ เมื่อกุศลมูลเหล่านี้ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็ดี มีอยู่แล้ว กุศลอื่นที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญมากขึ้น เหตุนั้นควรให้เกิดมีในสันดาน
สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่สัตบุรุษตั้งไว้
๓ อย่าง
๑. ทาน สละสิ่งของๆ ตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
๑. ทาน สละสิ่งของๆ ตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ปัพพัชชา ถือบวช เป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
อปัณณกปฏิปทา คือปฏิบัติใม่ผิด
๓ อย่าง
๑. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒.โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย
๓. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก
๑. อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้ายเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ
๒.โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารแต่พอควร ไม่มากไม่น้อย
๓. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรเพื่อชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก
บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ ย่าง
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ ย่าง
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
สามัญลักษณะ ๓ อย่าง
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง เรียกสามัญลักษณะ ไตรลักษณะก็เรียก แจกเป็น ๓ อย่าง
๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น