ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ๒๕ที่พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑
๑. พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์
อย่างไร?
ตอบ มีพระประสงค์เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริงอันมีอยู่ในโ จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษ และ ไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็น
๒. ค าว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร?
ตอบ ค าว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม อันท าจิตให้เศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น
ค าว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่ และโผฏฐัพพะ ฯ
๓. ค าว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร?
ตอบ หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประก เช่น ชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญขก็ดี สุ ความเยาว์วัย ความไม่มีโรค และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอา ประเภทนี้ ฯ
๔. บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณ โหติ แป เมื่อหลุดพ้นแล้วญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี อะไรหลุดพ้น? และหลุดพ้นจากอะไร?
ตอบ จิตหลุดพ้น ฯ
จากอาสวะ ๓ ฯ
๕. โลกามิสคืออะไร?ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะเหตุไร?
ตอบ คือกามคุณ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปราร
น่าใคร่น่าชอบใจ ฯ
เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดอยู่ในโลกดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่
๖. ข้อความว่า ปลงภาระอันหนักเสียแล้วอเอาภาระอันอื่นไม่ถื ดังนี้ มีอธิบายอย่างไร?
ตอบ อธิบายว่า ภาระ หมายถึงเบญจขันธ์ การปลงภาระ หมายถึง การถอนอุปาทานการไม่ถือเอาภาระอื่น หมายถึงการไม่ถือ เบญจขันธ์อื่นด้วยอุปาทาน ฯ
๗. ในพระบาลีว่า"จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อใจเศร้าหมอง ต้องประสบทุคติ" ทุคติ คืออะไร? มีอะไรบ้าง?
ตอบ คือ ภูมิเป็นที่ไปข้างชั่ว ฯ
มี อบาย ทุคติ วินิบาต(ตามนัยอรรถกถานรก มี๔ คือ นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย) ฯ
๘. คนวิตกจริตมีนิสัยอย่างไร?คนปะเภทนี้ควรเจริญกัมมัฏฐาน บทใด ?
ตอบ ชอบคิดมาก ฟุ้งซ่าน ฯ ควรเจริญอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ฯ
๙. วิปัลลาสคืออะไร?วัตถุที่วิปัลลาส มีอะไรบ้าง?
ตอบ คือ กิริยาที่ถือเอาโดยอาการอันผิดจากความจริง ฯ มี๔ อย่าง คือ
๑. วิปัลลาสในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓. วิปัลลาสในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๔. วิปัลลาสในของที่ไม่งามว่างาม ฯ
๑๐. ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ต้องประกอบด้วยธรรมใดบ้าง จึงจะก าจัดอภิชฌาและโทมนัสได้?
ตอบ ต้องประกอบด้วยธรรม๓ คือ
๑. อาตาปี มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ๒. สัมปชาโน รู้ทั่วพร้อม ๓. สติมา มีสติ ฯ
ให้เวลา๓ ชั่วโมง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น