วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2551

 วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2551

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันพฤหัสบดี ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ 

๑.     การที่บุคคลพบงูพิษแล้วสะดุ้งกลัวว่าจะถูกกัดตาย จัดเป็นโอตตัปปะ ได้หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

๑.     ไม่ได้ ฯ เพราะไม่ใช่ความเกรงกลัวต่อบาป ฯ

๒.     พระสงฆ์ในรัตนตรัยมีคุณอย่างไร ?  

๒.     ท่านปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนให้ผู้อื่นกระทำตามด้วย ฯ

๓.     โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ อย่างมีอะไรบ้าง ?

๓.     มี ๑. เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ

           ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ

           ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ

             หลง เป็นต้น ฯ

๔.     อินทรียสังวร คือสำรวมอินทรีย์ อินทรีย์ได้แก่อะไรบ้าง ? 

๔.     ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯ 

๕.     ธรรมหมวดหนึ่ง เป็นเหตุให้ผู้ประพฤติขาดความเที่ยงธรรมชื่อว่า   อะไร ? มีอะไรบ้าง ?

๕.     ชื่อว่า อคติ ความลำเอียง ฯ มี

        ๑. ฉันทาคติ      ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน

        ๒. โทสาคติ      ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน

        ๓. โมหาคติ      ลำเอียงเพราะเขลา

        ๔. ภยาคติ        ลำเอียงเพราะกลัว ฯ

๖.     ธาตุ ๔ มีธาตุอะไรบ้าง ? ธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง คือธาตุอะไร ?

๖.     คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯ คือ ธาตุดิน ฯ

๗.    ขันธ์ ๕ ได้แก่อะไรบ้าง ? โดยย่อเรียกว่าอะไร ?

๗.     ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ฯ เรียกว่า นามรูป ฯ


 คิหิปฏิบัติ

๘.     ข้อว่า “แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้” ดังนี้ เป็นลักษณะของมิตรแท้  ประเภทใด ?

๘.     มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ฯ

๙.     คุณธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่นไว้ได้ คืออะไร ?            มีอะไรบ้าง ?

๙.     คือ สังคหวัตถุ ๔ ฯ

        มี ๑. ทาน  ให้ปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่นที่ควรให้ปัน

           ๒. ปิยวาจา  เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน

           ๓. อัตถจริยา  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

           ๔. สมานัตตตา  ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว ฯ

๑๐.   การค้าขายสุรา เป็นอาชีพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นไว้อย่างไร ?

๑๐.   ทางพระพุทธศาสนา จัดเป็นมิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม   เป็นข้อห้าม อุบาสกไม่ควรประกอบ ฯ

***********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น