วิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี 2543
ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
----------------------------------------
๑.
๑.๑
โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ?
๑.๒
บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงามเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ?
๑.
๑.๑
เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ
๑) หิริ ความละอายแก่ใจ
๒) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
๑.๒
เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่างคือ
๑) ขันติ ความอดทน
๒) โสรัจจะ ความเสงี่ยม
๒.
๒.๑
ทุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๒.๒
คนที่รับปากรับคำเขาไว้แล้ว แต่ไม่ทำตามนั้นจัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?
๒.
๒.๑
ทุจริต คือประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย มี ๓ คือ
๑) ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
๒) ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
๓) ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก มโนทุจริต
๒.๒
จัดเข้าในวจีทุจริต
๓.
๓.๑
มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่วเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
๓.๒
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
๓.
๓.๑
เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึงรากเง่าของอกุศล มี ๓ คือ
๑) โลภะ อยากได้
๒) โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
๓) โมหะ หลง ไม่รู้จริง
๓.๒
เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ คือ
๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒) สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔.
๔.๑
หลักธรรมดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๔.๒
อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ข้อไหนเป็นอันตรายที่สุด ?
เพราะเหตุไร ?
๔.
๔.๑
มี ๔ อย่างคือ
๑) ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
๒) สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
๓) อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
๔) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
๔.๒
ข้อ ๓ คือ เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นอันตรายที่สุด เพราะอันตรายข้ออื่น ๆ ย่อมรวมลงในกามคุณทั้งสิ้น
๕.
๕.๑
อธิษฐานธรรมคือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๕.๒
ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ?
๕.
๕.๑
มี ๔ อย่างคือ
๑) ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
๒) สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
๓) จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
๔) อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
๕.๒
เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่างคือ
๑) ฉันทะ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
๓) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
๖.
๖.๑
อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
๖.๒
อะไรเรียกว่า สัมผัส ?
๖.
๖.๑
มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้
ตา เป็นใหญ่ในการเห็นอารมณ์ คือรูป
หู เป็นใหญ่ในการฟังอารมณ์ คือเสียง
จมูก เป็นใหญ่ในการสูดดมอารมณ์ คือกลิ่น
ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้มอารมณ์ คือรส
กาย เป็นใหญ่ในการถูกต้องอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ
ใจ เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ คือธรรม
๖.๒
การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในมี ตา เป็นต้น กับอายตนะ ภายนอก มีรูปเป็นต้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น ทั้ง ๓ อย่างนี้ รวมกันในขณะเดียวกัน เรียกว่า สัมผัส
๗.
๗.๑
มละคือมลทิน หมายถึงอะไร ?
๗.๒
มลทินข้อที่ ๑ และข้อที่ ๙ คืออะไร ? แก้ด้วยธรรมอะไร ?
๗.
๗.๑
หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส
๗.๒
มลทินข้อที่ ๑ คือ โกรธ แก้ด้วยเจริญเมตตา และมลทินข้อที่ ๙ คือ เห็นผิด แก้ด้วยสัมมาทิฏฐิ
๘.
๘.๑
เหตุให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
๘.๒
เมื่อปฏิบัติตามเหตุนั้นแล้วจะได้รับผลอะไร ?
๘.
๘.๑
เรียกว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ มี ๔ อย่างคือ
๑) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
๒) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
๓) กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
๔) สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร
๘.๒
จะได้รับผล คือ ทรัพย์ ยศ ไมตรี เป็นต้นในปัจจุบัน
๙.
๙.๑
ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นานเพราะสถานใดบ้าง ?
๙.๒
ฆราวาสผู้ครองเรือนควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ?
๙.
๙.๑
เพราะสถาน ๔ คือ
๑) แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
๒) บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
๓) รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
๔) ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน
๙.๒
ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ
๑) สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน
๒) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
๓) ขันติ อดทน
๔) จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน
๑๐.
๑๐.๑
จงเขียนศีล ๕ ข้อที่ ๕ พร้อมทั้งคำแปล
๑๐.๒
สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกามีอะไรบ้าง ?
๑๐.
๑๐.๑
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี แปลความว่า เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๑๐.๒
มี
๑) ประกอบด้วยศรัทธา
๒) มีศีลบริสุทธิ์
๓) ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
๔) ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา
๕) บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา
ตรงข้ามกับสมบัติทั้ง ๕ นี้ เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น