วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พุทธศาสนสุภาพษิต จิตตวรรค คือ หมวดจิต หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก

๗. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.

ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว 
มีบุญและบาปอันละ ได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.

๘. กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา.

บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ 
กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว 
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา 
และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.

๙. จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.

โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, 
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๕๔.

๑๐. ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา
ลูขํ ตปํ วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ
หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต.

ผู้ถูกตัญหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด 
ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี, 
จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้. 
เขามีตนเลว จะถึงฝั่งไม่ได้.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๔๐.

๑๑. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.

การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ 
เป็นความดี, (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒. ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ
น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ
อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.

ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่ 
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
(เทว) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๒๐.

๑๓. ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต
อากงฺเข เว หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส ญตฺวา อุทยพฺพยญฺจ
สุเจตโส อนิสฺสิโต ตทานิสํโส.

ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น 
รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งโลกแล้ว 
มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ 
พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
(เทว) สํ. ส. ๑๔/๗๓.

๑๔. โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ.

คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ 
บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ 
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๘.

๑๕. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก 
ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, 
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น