วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ผู้มีลูกศิษย์จานวนมาก
ในบ้านชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อว่า โกณฑัญญะ เมื่อเจริญวัยได้ศึกษา
จบไตรเพทและรู้ตาราทานายลักษณะ เป็น ๑ ในจานวนพราหมณ์ ๘ คน ที่ได้ทานาย
เจ้าชายสิทธัตถะว่าจะเสด็จออกทรงผนวชแล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลก
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน
มารับประทานอาหาร เพื่อเป็นมงคลและทานายลักษณะพระราชโอรสตามราชประเพณีแล้ว
ได้คัดเลือกพราหมณ์ ๘ คน จากจานวน ๑๐๘ คนนั้น ให้เป็นผู้ทานายลักษณะพระราชกุมาร
โกณฑัญญะซึ่งเป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุด ได้รับคัดเลือกอยู่ในจานวน ๘ คนนั้นด้วย พราหมณ์
๗ คน ได้ทานายพระราชกุมารว่า มีคติ ๒ อย่าง คือ
๑. ถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๒. ถ้าเสด็จออกผนวช จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก
ฝ่ายโกณฑัญญพราหมณ์ มีความมั่นใจในตาราทานายลักษณะของตน ได้ทานาย
ไว้อย่างเดียวว่า พระราชกุมารจะเสด็จออกทรงผนวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
ศาสดาเอกในโลกแน่นอน ตั้งแต่นั้นมา โกณฑัญญพรามหณ์ได้ตั้งใจไว้ว่า ถ้าตนยังมีชีวิตอยู่
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชเมื่อไรจะออกบวชตาม ต่อมา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก
ทรงผนวชและบาเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ท่านทราบข่าว จึงได้ชักชวนพราหมณ์อีก ๔ คน
คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ ซึ่งเป็นบุตรชายของพราหมณ์ที่ได้รับเชิญ
ไปรับประทานอาหารในพระราชพิธีนานายพระลักษณะของพระกุมารทั้งสิ้น รวมเป็น ๕ คน
ด้วยกัน เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ แปลว่า กลุ่มคน ๕ คน ได้ติดตามรับใช้ใกล้ชิดด้วยคิดว่า
ถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมพิเศษแล้ว จะได้เทศนาสั่งสอนพวกตนให้ได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง
แต่พอเห็นพระสิทธัตถะเลิกบาเพ็ญทุกรกิริยา ก็หมดความเลื่อมใส พาเพื่อนทั้งหมดไปอยู่
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีครั้นพระสิทธัตถโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดง
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือ ดวงตา
เห็นธรรมตามที่เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับ
เป็นธรรมดา
ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล เพราะเกิดธรรมจักษุนี้ พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงทรง
เปล่งพระอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺ าสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ แปลว่า โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคาว่า อญฺญาสิ ท่านจึงได้คานาหน้านาม ว่า อัญญาโกณฑัญญะ
เมื่ออัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หมดความสงสัยในคาสอน
ของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้ทูลขออุปสมบทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้อุปสมบท
ในสานักของพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรา
กล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด การอุปสมบทอย่างนี้
เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านได้เป็นภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ครั้นพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่านให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือบรรลุ
โสดาบันแล้ว ทรงประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเช่นเดียวกัน วันหนึ่งตรัสเรียก
ทั้ง ๕ รูปมาตรัสสอนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็น
อนัตตา ไม่ใช่เป็นอัตตา เพราะถ้าเป็นอัตตาแล้วไซร้ ก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ (เจ็บป่วย)
และต้องได้ตามปรารถนาว่า ขอจงเป็นอย่างนี้ จงอย่าเป็นอย่างนั้น แต่เพราะทั้ง ๕ นั้น
เป็นอนัตตา ใคร ๆ จึงไม่ได้ตามปรารถนาของตนว่า ขอจงเป็นอย่างนี้ จงอย่าเป็นอย่างนั้น
ทั้ง ๕ รูป ได้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ ทุกชนิดไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น และสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวของเรา จึงเบื่อหน่าย
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกาหนัด ครั้นคลาย
กาหนัด ย่อมหลุดพ้น ทั้ง ๕ รูปจึงได้บรรลุอรหัตผล พระธรรมเทศนานี้ ชื่อว่า อนัตตลักขณสูตร
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นกาลังสาคัญรูปหนึ่งในการช่วยประกาศพระศาสนา
เพราะอยู่ในจานวนพระอรหันต์ ๖๐ รูป ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระศาสนา
ครั้งแรกด้วยพระพุทธดารัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผลงานที่สาคัญ คือ ท่านได้นาพาบุตรของนางมันตานี น้องสาวของท่าน ชื่อนายปุณณะ
ได้บวชในพระพุทธศาสนาและเป็นกาลังสาคัญในการช่วยประกาศพระศาสนา มีกุลบุตรบวช
ในสานักของท่านจานวนมาก
พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับการยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุ
ทั้งหลายด้านรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน หมายความว่า รู้เรื่องที่ล่วงเลยมานานนั่นเอง
พระอัญญาโกณฑัญญะ มีอายุมากย่างเข้าสู่วัยชรา วาระสุดท้ายก็ดับขันธ์เข้าสู่
นิพพานก่อนพระพุทธเจ้า ที่ริมฝั่งสระบัวมันทากินี ซึ่งเป็นที่อยู่ของโขลงช้างฉันทันต์ ในป่า
หิมพานต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น