หมวด ๖
คารวะ ๖ อย่าง
ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในความศึกษา ๑ ในความไม่ประมาท ๑ ในปฏิสันถาร คือต้อนรับปราศรัย ๑ ภิกษุควรทำคารวะ ๖ ประการนี้
ความเอื้อเฟื้อ ในพระพุทธเจ้า ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในความศึกษา ๑ ในความไม่ประมาท ๑ ในปฏิสันถาร คือต้อนรับปราศรัย ๑ ภิกษุควรทำคารวะ ๖ ประการนี้
สาราณิยธรรม ๖ อย่าง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เรียกสาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เข่นกล่าวคำสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่วิวาทกับใครๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน
ธรรม ๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เรียกสาราณิยธรรม มี ๖ อย่าง คือ
๑. เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายกิจธุระของเพื่อนกันด้วยกาย มีพยาบาลภิกษุไข้เป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๒. เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนกันด้วยวาจา เข่นกล่าวคำสั่งสอนเป็นต้น ด้วยจิตเมตตา
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
๔. แบ่งปันลาภที่ตนได้มาแล้วโดยชอบธรรมให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว
๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
๖. มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่นๆ ไม่วิวาทกับใครๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน
ธรรม ๖ อย่างนี้ ทำผู้ประพฤติให้เป็นที่รักที่เคารพของผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อายตนะภายใน ๖
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์ ๖ ก็เรียก อายตนะภายนอก ๖
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ อารมณ์ ๖ ก็เรียก
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อินทรีย์ ๖ ก็เรียก อายตนะภายนอก ๖
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือ อารมณ์ที่มาถูกต้องกาย ธรรม คืออารมณ์เกิดกับใจ อารมณ์ ๖ ก็เรียก
วิญญาณ ๖
อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียก จักขุวิญญาณ
อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียก โสตวิญญาณ
อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียก ฆานวิญญาณ
อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียก ชิวหาวิญญาณ
อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียก กายวิญญาณ
อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียก มโนวิญญาณ
อาศัยรูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น เรียก จักขุวิญญาณ
อาศัยเสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น เรียก โสตวิญญาณ
อาศัยกลิ่นกระทบจมูก เกิดความรู้ขึ้น เรียก ฆานวิญญาณ
อาศัยรสกระทบลิ้น เกิดความรู้ขึ้น เรียก ชิวหาวิญญาณ
อาศัยโผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น เรียก กายวิญญาณ
อาศัยธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น เรียก มโนวิญญาณ
สัมผัส ๖
อายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น กระทบกันเรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายใน เป็น ๖ คือ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน
อายตนะภายในมีตาเป็นต้น อายตนะภายนอกมีรูปเป็นต้น วิญญาณมีจักขุวิญญาณเป็นต้น กระทบกันเรียกสัมผัส มีชื่อตามอายตนะภายใน เป็น ๖ คือ จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน
เวทนา ๖
สัมผัสนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน
สัมผัสนั้นเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นสุขบ้างทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง มีชื่อตามอายตนะภายในเป็น ๖ คือ
จักขุ โสต ฆาน ชิวหา กาย มโน
ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย
๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรก็ได้
๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ คือ ช่องว่างมีในกาย
๖. วิญญาณธาตุ คือ ความรู้อะไรก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น