รตนะ ๓
อย่าง พระพุทธ ๑
พระธรรม ๑ พระสงฆ์
๑
โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓
อย่าง
๑. เว้นจากทุจริต
คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ๒. ประกอบสุจริต
คือประพฤติชอบ ด้วยกาย วาจา
ใจ ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
ทุจริต ๓
อย่าง
๑. ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียกกายทุจริต ๒.
ประพฤติชั่วด้วยวาจา
เรียกวจีทุจริต ๓. ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก
มโนทุจริต
กายทุจริต ๓
อย่าง ฆ่าสัตว์ ๑
ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑
วจีทุจริต ๔
อย่าง พูดเท็จ ๑
พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑
พูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนทุจริต ๓
อย่าง โลภอยากได้ของเขา ๑
พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นผิดจากคลองธรรม ๑
ทุจริต (ความประพฤติชั่ว) ๓
อย่างนี้ เป็นสิ่งไม่ควรทำ
ควรละเสีย
สุจริต ๓
อย่าง
๑ ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกกายสุจริต ๒.
ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกวจีสุจริต ๓.
ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกมโนสุจริต
กายสุจริต ๓
อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑
เว้นจากลักฉ้อ ๑ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ๑
วจีสุจริต ๔
อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ
๑ เว้นจากพูดส่อเสียด ๑ เว้นจากพูดคำหยาบ ๑ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนสุจริต ๓
อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา ๑
ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๑ เห็นชอบตามคลองธรรม ๑
สุจริต (ความประพฤติชอบ) ๓
อย่างนี้ เป็นกิจควรทำ ควรประพฤติ
อกุศลมูล ๓
อย่าง
รากเหง้าของอกุศล เรียกอกุศลมูล
มี ๓ อย่าง คือ โลภะ อยากได้๑ โทสะ คิดประทุษร้ายเขา ๑
โมหะ หลงไม่รู้จริง ๑
กุศลมูล ๓
อย่าง
รากเหง้าของกุศล เรียกกุศลมูล มี
๓ อย่าง คือ
อโลภะ ไม่อยากได้ ๑
อโทสะ ไม่คิดประทุษร้ายเขา ๑
อโมหะ ไม่หลง ๑
สัปปุริสบัญญัติ คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้ ๓
อย่าง
๑. ทาน
สละสิ่งของของตน
เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๒. ปัพพัชชา
ถือบวช
เป็นอุบายเว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน
๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน ปฏิบัติมารดา
บิดาของตนให้เป็นสุข
บุญกิริยาวัตถุ ๓
อย่าง
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ เรียกบุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี
๓ อย่าง
๑. ทานมัย
บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๓.
ภาวนามัย
บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
บุญ
มีความหมาย ๒ ประการ
คือ ๑. เครื่องชำระสิ่งที่ไม่ดีที่นอนเนื่องอยู่ในใจ ๒.
สภาพที่ก่อให้เกิดความน่าบูชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น