วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

หมวดที่ ๑ กุศลพิธี

หมวดที่ ๑ กุศลพิธี
     กุศล แปลว่า ฉลาด สิ่งที่ตัดความชั่ว หมายถึงสิ่งที่ดีงาม ถูก
ต้อง กุศลพิธี หมายถึง พิธีกรรมที่ฉลาด และดีงาม มี ๓ เรื่องคือ
     ๑.พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
     การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พุทธมามกะ คือ ผู้ที่รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของตนเอง
    ๒.พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
    เวียนเทียน หมายถึง การเดินเวียนขวาเพื่อแสดงความเคารพต่อปูชณียวัตถุ, ปูชณียสถาน  วันสำคัญมี ๔ วัน ดังนี้   
   วันมาฆบูชา   วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๓  พระพุทธเจ้าทรงแสดงโ   วาทปาฏิโมกข์ วันจาตุรงคสันติบาต
   วันวิสาขบูชา   วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๖  วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธองค์  เป็นวันสำคัญสากลของโลก
   วันอัฎฐมีบูชา  วันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖  วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ   ไม่เป็นวัดหยุดราชการ
   วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา พระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เกิดครบองค์ ๓
   ๓.พิธีรักษาอุโบสถศีล
   อุโบสถ แปลว่า การเข้าจำ หมายถึง การเข้าไปอยู่รักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด มี ๓ อย่างคือ
   ปกติอุโบสถ  การรักษาเพียงหนึ่งวัน หนึ่งคืน
   ปฏิชาครอุโบสถ  การรักษาครั้งละ ๓ วัน คือ วันรับ  วันรักษา วันส่ง
   ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ  การอยู่จำเป็นเวลา ๓ เดือน ปัจจุบันไม่ค่อยมีแล้ว

   วาจาอธิษฐานอุโบสถ  อิมัง  อัฏฐังคสมันนาคะตัง  พุทธะปัญญัตตัง  อุโปสะถัง....ฯ

ศาสนพิธี (น.ธ.ตรี)

ศาสนพิธี (น.ธ.ตรี)

พิธี คือ แบบอย่าง, แบบแผนที่พึงปฏิบัติ 
ศาสนา คือคำสั่งสอน ในที่นี้หมายถึงพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธีเกิดขึ้นหลังประกาศศาสนาแล้ว มีที่มาจากหลักการสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ อันได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวง การกระทำความดี  การทำจิตให้ผ่องใส
บุญกิริยาวัตถุ คือ หลักการทำบุญ ๓ ประการ คือ ทาน, ศีล, ภาวนา
ศาสนพิธี มี ๔ หมวด คือ  
๑. กุศลพิธี  ได้แก่  พิธีบำเพ็ญกุศล         
๒. บุญพิธี  ได้แก่  พิธีทำบุญ
๓. ทานพิธี  ได้แก่  พิธีถวายทาน          

๔. ปกิณกพิธี   ได้แก่  พิธีเบ็ดเตล็ด

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ ๑๓- ๑๖

บทที่   ๑๓- ๑๖
•   พระอานนท์ส่งข่าวสารการเสด็จดับขันธปรินิพพานแก่เจ้ามัลลกษัตริย์
•   สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  เรียกว่า  มกุฏพันธนเจดีย์
•   พระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย  หลังจากทราบข่าวการปรินิพพาน
•   วันถวายพระเพลิง  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันอัฏฐมีบูชา
•   พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๘ วันถึงถวายพระเพลิง
•   การจัดพุทธสรีระ  จัดตามแบบพระเจ้าจักรพรรดิ
•   สิ่งที่พระพุทธองค์อธิษฐานมิให้เพลิงไหม้ มี ๔ ประการ
๑. ผ้าห่อพระบรมศพชั้นใน ๑ ผืน  ชั้นนอก ๑ ผืน   
๒.พระเขี้ยวแก้ว 
๓. พระรากขวัญทั้ง ๒ (ไหปลาร้า)                    
๔.พระอุณหิส ( กรอบหน้า)
•   โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
•   พระบรมสารีริกธาตุได้รับการแบ่ง แก่ ๘ ส่วน ๆ ละ ๒ ทะนาน   ให้แก่ ๘  เมือง คือ
๑. เมืองราชคฤห์           ๒. เมืองไพสาลี            
๓. เมืองกบิลพัสดุ์          ๔. เมืองอัลลกัปปะ
๕. เมืองรามคาม           ๖. เมืองเวฏฐทีปกะ       
๗. เมืองปาวา              ๘.  เมืองกุสินารา
•   กษัตริย์เมืองรามคามได้พระอังคารธาตุ
•   พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานที่จุฬามณีเจดีย์
•   พระเขี้ยวแก้วบนซ้ายประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ
•   ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์ มี ๔ ประเภท
๑.  ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
๒.  บริโภคเจดีย์  หมายถึง  สิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เช่นบาตร จีวร กุฏิ วิหารเป็นต้น
๓.   ธรรมเจดีย์ หมายถึง  สิ่งที่ใช้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น คัมภีร์  พระไตรปิฏก เป็นต้น
๔.   อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึง  สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าโดยตรง เช่น พระพุทธรูปเป็นต้น
 สังคายนา  หมายถึง  การร้อยกรองพระธรรมวินัย  หรือการประชุมตรวจสอบ  ชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้า  วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน

สังคายนา
สังคายนา หรือสังคีติ หรือการร้อยกรอง หรือจัดแจงพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย จัดเป็น ๓ หมวด เรียกว่า พระไตรปิฎก คือ
๑. ที่เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ จัดเป็น วินัยปิฎก
๒. ที่เป็นพระธรรมคำสอน อันเป็นบุคลาธิษฐาน ยกบุคคลเป็นอุทาหรณ์ จัดเป็นสุตตันตปิฎก
๓. ที่เป็นธรรมล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ่ง จัดเป็น อภิธรรมปิฎก
การทำสังคายนานั้น ที่พอจะนับได้มี ๕ ครั้ง    ทำในชมพูทวีป ๓ ครั้ง ในลังกาทวีป ๒ ครั้ง คือ  
๑. ปฐมสังคายนา ครั้งที่ ๑ กระทำที่หน้าถ้ำสัตตบรรณคูหา เชิงภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ เป็นประธาน พระอุบาลีเถระ วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ วิสัชนาพระสูตร และพระอภิธรรม รวมกับพระอรหันตขีณาสพจำนวน ๕๐๐ องค์ ปรารภเรื่องพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบศาสนา กระทำอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ
๒. ทุติยสังคายนา  ครั้งที่ ๒ กระทำที่วาลิการาม เมื่องเวสาลี พระเจ้ากาฬาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระอรหันต์จำนวน ๗๐๐ องค์ มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธานและมีพระสัพพกามีเถระ และพระเรวัตตเถระ เป็นต้น ชำระเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ ที่พวกภิกษุชาววัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีนำมาแสดงว่าไม่ผิดธรรมวินัย กระทำอยู่  ๘ เดือน จึงสำเร็จ
๓. ตติยสังคายนา ครั้งที่ ๓ กระทำที่อโศการาม เมื่องปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ โดยพระอรหันต์ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์ มีพระโมคคัลลีบุตรติสส เถระเป็นประธาน เนื่องด้วยเดียรถีย์ปลอมบวชในพุทธศาสนา กระทำอยู่ ๙ เดือน จึงสำเร็จ
๔. จตุตถสังคายนา ครั้งที่ ๔  กระทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระมหินทเถระ และพระอริฏฐเถระ เป็นประธานชักชวนภิกษุชาวสีหล ๖๘,๐๐๐ องค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงในสังกาทวีป กระทำอยู่ ๑๐ เดือน จึงสำเร็จ

          ๕. ปัญจมสังคายนา ครั้งที่ ๕ กระทำที่อาโลกเลณสถาน ในมลัยชนบท ลังกาทวีป พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ โดยภิกษุชาวสีหลผู้พระอรหันต์ จำนวน  ๑,๐๐๐ องค์ พระติสสมหาเถระ และพระพุทธทัตตเถระเป็นต้น เห็นความเสื่อมถอยปัญญาแห่งกุลบุตรจึงได้ประชุมกันมาจารึกพระธรรมวินัย เป็นอักษรลงไว้ในใบลาน ทำอยู่ ๑ ปี จึงสำเร็จ ฯ