บทที่ ๑๓- ๑๖
• พระอานนท์ส่งข่าวสารการเสด็จดับขันธปรินิพพานแก่เจ้ามัลลกษัตริย์
• สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เรียกว่า มกุฏพันธนเจดีย์
• พระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย หลังจากทราบข่าวการปรินิพพาน
• วันถวายพระเพลิง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันอัฏฐมีบูชา
• พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๘ วันถึงถวายพระเพลิง
• การจัดพุทธสรีระ จัดตามแบบพระเจ้าจักรพรรดิ
• สิ่งที่พระพุทธองค์อธิษฐานมิให้เพลิงไหม้
มี ๔ ประการ
๑. ผ้าห่อพระบรมศพชั้นใน ๑ ผืน ชั้นนอก ๑ ผืน
๒.พระเขี้ยวแก้ว
๓. พระรากขวัญทั้ง ๒ (ไหปลาร้า)
๔.พระอุณหิส ( กรอบหน้า)
• โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
• พระบรมสารีริกธาตุได้รับการแบ่ง
แก่ ๘ ส่วน ๆ ละ ๒ ทะนาน ให้แก่ ๘ เมือง คือ
๑. เมืองราชคฤห์
๒. เมืองไพสาลี
๓. เมืองกบิลพัสดุ์ ๔.
เมืองอัลลกัปปะ
๕. เมืองรามคาม
๖. เมืองเวฏฐทีปกะ
๗. เมืองปาวา
๘. เมืองกุสินารา
• กษัตริย์เมืองรามคามได้พระอังคารธาตุ
• พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานที่จุฬามณีเจดีย์
• พระเขี้ยวแก้วบนซ้ายประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ
• ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์
มี ๔ ประเภท
๑. ธาตุเจดีย์
หมายถึง พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
๒. บริโภคเจดีย์ หมายถึง
สิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เช่นบาตร จีวร กุฏิ
วิหารเป็นต้น
๓. ธรรมเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่ใช้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น คัมภีร์ พระไตรปิฏก เป็นต้น
๔. อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึง
สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าโดยตรง เช่น พระพุทธรูปเป็นต้น
•
สังคายนา หมายถึง
การร้อยกรองพระธรรมวินัย
หรือการประชุมตรวจสอบ
ชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน
สังคายนา
สังคายนา หรือสังคีติ หรือการร้อยกรอง
หรือจัดแจงพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย จัดเป็น ๓ หมวด
เรียกว่า พระไตรปิฎก คือ
๑.
ที่เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ จัดเป็น วินัยปิฎก
๒.
ที่เป็นพระธรรมคำสอน อันเป็นบุคลาธิษฐาน ยกบุคคลเป็นอุทาหรณ์ จัดเป็นสุตตันตปิฎก
๓.
ที่เป็นธรรมล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ่ง จัดเป็น อภิธรรมปิฎก
การทำสังคายนานั้น
ที่พอจะนับได้มี ๕ ครั้ง ทำในชมพูทวีป ๓
ครั้ง ในลังกาทวีป ๒ ครั้ง คือ
๑. ปฐมสังคายนา ครั้งที่ ๑ กระทำที่หน้าถ้ำสัตตบรรณคูหา
เชิงภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก
ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ เป็นประธาน พระอุบาลีเถระ
วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ วิสัชนาพระสูตร และพระอภิธรรม รวมกับพระอรหันตขีณาสพจำนวน
๕๐๐ องค์ ปรารภเรื่องพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบศาสนา กระทำอยู่ ๗
เดือนจึงสำเร็จ
๒. ทุติยสังคายนา ครั้งที่ ๒ กระทำที่วาลิการาม
เมื่องเวสาลี พระเจ้ากาฬาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระอรหันต์จำนวน
๗๐๐ องค์ มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธานและมีพระสัพพกามีเถระ
และพระเรวัตตเถระ เป็นต้น ชำระเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ ที่พวกภิกษุชาววัชชีบุตร
ชาวเมืองเวสาลีนำมาแสดงว่าไม่ผิดธรรมวินัย กระทำอยู่ ๘ เดือน จึงสำเร็จ
๓. ตติยสังคายนา ครั้งที่ ๓ กระทำที่อโศการาม
เมื่องปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ โดยพระอรหันต์
จำนวน ๑,๐๐๐ องค์ มีพระโมคคัลลีบุตรติสส
เถระเป็นประธาน เนื่องด้วยเดียรถีย์ปลอมบวชในพุทธศาสนา กระทำอยู่ ๙ เดือน
จึงสำเร็จ
๔. จตุตถสังคายนา ครั้งที่ ๔ กระทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป
พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระมหินทเถระ
และพระอริฏฐเถระ เป็นประธานชักชวนภิกษุชาวสีหล ๖๘,๐๐๐ องค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงในสังกาทวีป กระทำอยู่ ๑๐
เดือน จึงสำเร็จ
๕.
ปัญจมสังคายนา ครั้งที่ ๕ กระทำที่อาโลกเลณสถาน
ในมลัยชนบท ลังกาทวีป พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐
โดยภิกษุชาวสีหลผู้พระอรหันต์ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์ พระติสสมหาเถระ และพระพุทธทัตตเถระเป็นต้น
เห็นความเสื่อมถอยปัญญาแห่งกุลบุตรจึงได้ประชุมกันมาจารึกพระธรรมวินัย
เป็นอักษรลงไว้ในใบลาน ทำอยู่ ๑ ปี จึงสำเร็จ ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น