วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ ๒ สักกชนบทและศากยวงศ์

บทที่     สักกชนบทและศากยวงศ์
•   สักกชนบท  แปลว่า  ชนบทแห่งชาวสักกะ  ที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าชนบทนี้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดงไม้สักกะ
•   ศากยวงศ์กับโกลิยวงศ์  เป็นพี่น้องกันมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช  เป็นพระเจ้าแผ่นดินมาจนถึงพระเจ้าสุทโธทนะ
•   สักกชนบทแบ่งเป็นเมืองใหญ่ใหญ่ ๆ ได้    เมือง  คือ
          ๑. เมืองเดิมของพระเจ้าโอกกากราช    ๒.เมืองกบิลพัสดุ์  (เรียกว่า  ศากยวงศ์) ๓. เมืองเทวทหะ  (เรียกว่า  โกลิยวงศ์)
•   ศากยวงศ์  มีพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าโอกกากราชเป็นผู้ก่อตั้ง
•    โกลิยวงศ์   พระราชธิดาพระเจ้าโอกกากราชกับพระเจ้ากรุงเทวทหะเป็นผู้ก่อตั้ง
•   กบิลพัสดุ์   ที่ได้ชื่อนี้เพราะเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน
•   พระเจ้าชัยเสน  ทรงมีพระโอรสชื่อว่า  สีหหนุ  มีพระราชธิดาชื่อว่า ยโสธรา
•   ศากยวงศ์   มีความหมายว่า  ผู้มีความสามารถ
•   ศากยวงศ์  เรียกตามโคตรว่า โคตมะ  หรือ  โคดมโคตร
•   กบิลพัสด์  เป็นเมืองของพระพุทธบิดา  เรียกว่า ศากยวงค์
•   กรุงเทวทหะ  เป็นเมืองของพระพุทธมารดา  เรียกว่า  โกลิยวงศ์

•   เจ้าชายสิทธัตถะก่อนจุติมายังโลกมนุษย์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
•   พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดาของพระพุทธเจ้า
•   พระนางสิริมหามายาเป็นพุทธมารดาของพระพุทธเจ้า

บทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน

บทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน
•  “พุทธประวัติ”  หมายถึง  ความเป็นมาของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา   
•   ชมพูทวีปในปัจจุบันคือดินแดนของประเทศ อินเดีย,เนปาล,บังคลาเทศ  
•   ชนชาติ มี ๒ ชนชาติในชมพูทวีป คือ
๑. มิลักขะ เป็นเจ้าของถิ่นเดิม      ๒. อริยกะ เป็นพวกที่อพยพเข้ามายึดครอง
•   การแบ่งเขตการปกครอง  แบ่งเป็น    เขต
          ๑. มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ (ส่วนกลาง)  เป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ
          ๒. ปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ ( ส่วนปลายแดน)  เป็นที่อยู่ของพวกมิลักขะ
•   การปกครอง  แบ่งการปกครองเป็นอาณาจักร  หรือรัฐ  หรือแคว้นมีหัวหน้าปกครองประจำแคว้น   
•   มัธยมประเทศแบ่งออกเป็น ๑๖  แคว้น
•   ระบบวรรณะ  (แบ่งแยกชนชั้น)  มี    วรรณะ คือ
๑.กษัตริย์  คือ  ผู้นำในการปกครองบ้านเมือง  ให้ความสงบสุข ( สูง)
๒.พราหมณ์  คือ  ผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอน  ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ( สูง)
๓.แพศย์  คือ  ผู้ที่ทำการเกษตร  กสิกรรม  ช่างฝีมือ  ค้าขาย ( กลาง )
๔.ศูทร  คือ  ผู้รับจ้างใช้แรงงาน   ทาส   คนรับใช้ ( ต่ำสุด)
•   จัณฑาล  คือ  บุตรที่เกิดจากบิดา  มารดาต่างวรรณะกัน ถือว่าต่ำที่สุด
•   ลัทธิ และการนับถือ ประชาชนในชมพูทวีปนับถือ ศาสนาพราหมณ์ มีพระพรหมเป็นศาสดา และยึดถือคัมภีร์ไตรเพท เป็นหลักคำสอน
•   ความเชื่อ  ของคนในชมพูทวีป
          ๑.เชื่อว่าตายแล้วเกิด ๒.เชื่อว่าตายแล้วสูญ และ ๑.ชื่อว่าการเกิด การตายมีเหตุปัจจัย ๒.เชื่อว่าการเกิดการตายไม่มีเหตุปัจจัย

อธิกรณ์ ๔

อธิกรณ์ ๔
๑.ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัย เรียกวิวาทาธิกรณ์.
๒.ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น ๆ เรียกอนุวาทาธิกรณ์.
๓.อาบัติทั้งปวง เรียกอาปัตตาธิกรณ์.
๔.กิจที่สงฆ์จะพึงทำ เรียกกิจจาธิกรณ์.
อธิกรณสมถะ มี ๗
ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น เรียกอธิกรณสมถะ มี ๗ อย่าง คือ
๑. ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรม เรียก สัมมุขาวินัย.
๒. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติ เรียกสติวินัย.
๓. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุ ผู้หายเป็นบ้าแล้วเพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า เรียกอมูฬหวินัย.
๔. ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ เรียกปฏิญญาตกรณะ
๕. ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ เรียกเยภุยยสิกา.
๖. ความลงโทษแก่ผู้ผิด เรียกตัสสปาปิยสิกา.
๗. ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม เรียกติณวัดถารกวินัย.
สิกขาบทนอกนี้ ที่ยกขึ้นเป็นอาบัติถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฎบ้าง ทุพภาสิตบ้าง เป็นสิกขาบทไม่ได้มาในพระปาติโมกข์.