นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
แบ่งเป็น ๓ วรรค มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท
จีวรวรรค ที่ ๑
๑.
ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วันไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๓.
ถ้าผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๆ ประสงค์จะทำจีวร แต่ยังไม่พอ ถ้ามีที่หวังว่าจะได้มาอีก
พึงเก็บผ้านั้นไว้ได้เพียงเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกินเดือนหนึ่งไป
แม้ถึงยังมีที่หวังว่าจะได้อยู่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.
ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๕.
ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
![](file:///C:/Users/MAT-CO~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image004.jpg)
![](file:///C:/Users/MAT-CO~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image006.jpg)
๗.ในสมัยเช่นนั้น
จะขอเขาได้ก็เพียงผ้านุ่งผ้าห่มเท่านั้น ถ้าขอให้เกินกว่านั้น ได้มา
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.
ถ้าคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เขาพูดว่า เขาจะถวายจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้
ภิกษุนั้นทราบความแล้ว เข้าไปพูดให้เขาถวายจีวร
๙.
ถ้าคฤหัสถ์ผู้จะถวายจีวรแก่ภิกษุมีหลายคน แต่เขาไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
ภิกษุไปพูดให้เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกัน
ให้ซื้อจีวรที่แพงว่าดีกว่าที่กำหนดไว้เดิม ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๐.
ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ
ถ้าภิกษุต้องการจีวร ก็พึงแสดงคนวัดหรือ อุบาสกว่า
ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบหมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว
สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวร ดังนี้ ได้ ๓ ครั้ง
ถ้าไม่ได้จีวร ไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง ถ้าไม่ได้ขืนไปทวงให้เกิน ๓ ครั้ง
ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ถ้าไปทวงและยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวร จำเป็นต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่า
ของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย.
โกสิยวรรคที่ ๒
๑.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมเจือด้วยไหม
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่
พึงใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาวส่วนหนึ่ง ขนเจียมแดงส่วนหนึ่ง
ถ้าใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนขึ้นไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุหล่อสันถัตใหม่แล้ว
พึงใช้ให้ได้ ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๕.ภิกษุจะหล่อสันถัต
พึงตัดเอาสันถัตเก่าคืบหนึ่งโดยรอบมา ปนลงในสันถัตที่หล่อใหม่
เพื่อจะทำลายให้เสียสี ถ้าไม่ทำดังนี้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖.เมื่อภิกษุเดินทางไกล
ถ้ามีใครถวายขนเจียม ต้องการก็รับได้ ถ้าไม่มีใครนำมา นำมาเองได้เพียง ๓ โยชน์
ถ้าให้เกิน ๓ โยชน์ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ
ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.ภิกษุรับเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดี ทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๐.ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ปัตตวรรคที่ ๓
๑.บาตรนอกจากบาตรอธิษฐานเรียกอติเรกบาตร
อติเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง
๑๐ นิ้ว ขอบาตรใหม่แต่คฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง
๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง ๗
วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๗ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีกเดือนหนึ่ง
คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๗ จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ เมื่อฤดูร้อนเหลืออยู่อีกกึ่งเดือน
คือตั้งแต่ขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๘ จึงทำนุ่งได้
ถ้าแสวงหาหรือทำนุ่งให้ล้ำกว่ากำหนดนั้นเข้ามา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว
โกรธ ชิงเอาคืนมาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นชิงเอามาก็ดี ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุขอด้ายแต่คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๗.ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
สั่งให้ช่างหูกทอจีวร เพื่อจะถวายแก่ภิกษุ
ถ้าภิกษุไปกำหนดให้เขาทำให้ดีขึ้นด้วยจะให้รางวัลแก่เขา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.ถ้าอีก
๑๐ วันจะถึงวันปวารณา คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าทายกรีบจะถวายผ้าจำนำพรรษา
ก็รับเก็บไว้ได้ แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
กาลจีวรนั้นดังนี้ ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไปเดือนหนึ่ง
คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๕
เดือน คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๔.
๙.ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยว
ออกพรรษา แล้ว อยากจะเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้าน
เมื่อมีเหตุก็เก็บไว้ได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกิน ๖ คืนไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๑๐.ภิกษุรู้อยู่
น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์