มีนักเรียนบางคน ขณะเข้าสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก มักจะทำผิดระเบียบโดยไม่รู้ตัว ทำให้ถูกตัดคะแนน หรือบางครั้งถึงกับถูกปรับให้เป็นสอบตกก็มี เป็นเพราะไม่เข้าใจระเบียบในการเข้าสอบ จึงขอแนะนำพอเป็นสังเขป ดังนี้
- การสอบมีด้วยกัน ๔ วิชา คือ เรียงความแก้กระทู้ธรรม, ธรรมะ, พุทธะ, วินัย คะแนนเต็ม ๔๐๐ ถ้าได้ตั้งแต่ ๒๐๐ ขึ้นไป ถือว่าสอบได้ วิชากระทู้ธรรมให้เขียนด้วยลายมือตนเองลงในกระดาษสอบ , อีก ๓ วิชาให้ฝนดินสอหรือปากกาลงในกระดาษคำตอบ ทั้งสนามสอบในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- ควรเตรียมอุปกรณ์การสอบให้เรียบร้อย คือ ปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน, หรือดินสอดำก็ได้, ห้ามใช้ปากกาสีแดง ควรเตรียมยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด , ไม้บรรทัด , ไม่ควรนำสมุด หนังสือหรือกระดาษที่มีข้อความเขียนอยู่เข้าไปในห้องสอบ
- อย่าขีดฆ่ากระดาษสอบให้สกปรก ถ้าเขียนผิดควรใช้ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด ลบให้สะอาด ถ้าเขียนผิดมากหลายบรรทัด (เช่น สอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม) ให้ตีเส้นเหนือข้อความและใต้ข้อความที่เขียนผิดนั้น แล้วตีเส้นทแยง ขวางทับเพียง ๑ เส้นก็พอ หรือจะขอกระดาษสอบแผ่นใหม่มาเขียนก็ได้ แต่ต้องดูเวลาสอบที่เหลือด้วยว่าเราจะเขียนทันกับเวลาหรือไม่ » (วิธีขีดฆ่าข้อความจำนวนมาก)
- ห้ามทุจริตในการสอบ เช่น นำหนังสือเข้ามาดูในห้องสอบ เป็นต้นฯ
- นักเรียนต้องใช้กระดาษสอบที่ทางสนามสอบจัดมาให้เท่านั้น นักเรียนจะจัดหามาเองไม่ได้
- สำหรับการสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่ควรเขียนหวัด ต้องเขียนเว้นบรรทัด ชั้นตรีให้เขียน ๒ หน้ากระดาษขึ้นไป , ชั้นโท ๓ หน้ากระดาษขึ้นไป , ชั้นเอก ๔ หน้ากระดาษขึ้นไป แต่จะเขียนมากกว่ากำหนดก็ได้
- สำหรับกระดาษสอบวิชาอื่น ให้ใช้วิธีฝนดินสอหรือปากกาลงในช่อง ก. ข. ค. ง.
- ควรมีมารยาทสากลในการสอบ คือ รักษาความสงบ ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยในห้องสอบ
- เมื่อสอบเสร็จแต่ละวิชาแล้ว ต้องมาลงชื่อเป็นหลักฐานในใบลงชื่อให้เรียบร้อย ให้ตรงกับช่องวิชาที่สอบเสร็จแล้วนั้น โดยเขียนชื่อเป็นตัวบรรจง ไม่ใช่ลายเซ็นแบบอ่านไม่ออก
- หากพบว่าชื่อหรือนามสกุลของตนเองในใบลงชื่อพิมพ์ผิด ให้รีบแจ้งกับคุณครูผู้คุมสอบ เพื่อทำการแก้ไขทันที
- มีสิ่งใดสงสัยมากกว่านี้ให้สอบถามที่คุณครู หรือพระอาจารย์ผู้คุมสอบ
ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/watluangpreechakul/procedure
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560
วิธีขีดฆ่าข้อความ ที่ไม่ต้องการออกหลายบรรทัด
หากนักเรียนเขียนข้อความเรียงความแก้กระทู้ธรรม แล้วเขียนผิด ก็ให้ใช้ยางลบ หรือน้ำยาลบคำผิด ค่อยๆ ลบให้สะอาด อย่าให้เลอะเทอะ แต่หากนักเรียนเขียนผิดมากหลายบรรทัด ต้องการที่จะลบทีเดียวหลายบรรทัดติดต่อกัน หากจะลบด้วยน้ำยาลบคำผิดก็เกรงว่าจะทำให้กระดาษสกปรก ก็ให้ทำดังนี้...
ให้ใช้ปากกาขีดเส้นเหนือข้อความที่ต้องการจะขีดฆ่า และใต้ข้อความที่จะขีดฆ่า แล้วจึงขีดเส้นคร่อมขวางเป็นแนวเฉียง แบบในภาพด้านล่างนี้
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ และไม่ผิดกฎในการเขียนเรียงความ เพียงแต่ว่านักเรียนจะต้องเขียนชดเชยข้อความให้มากเท่ากับจำนวนบรรทัดที่ขีดฆ่าไปด้วย.
ที่มา https://sites.google.com/site/watluangpreechakul/deface
ให้ใช้ปากกาขีดเส้นเหนือข้อความที่ต้องการจะขีดฆ่า และใต้ข้อความที่จะขีดฆ่า แล้วจึงขีดเส้นคร่อมขวางเป็นแนวเฉียง แบบในภาพด้านล่างนี้
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ และไม่ผิดกฎในการเขียนเรียงความ เพียงแต่ว่านักเรียนจะต้องเขียนชดเชยข้อความให้มากเท่ากับจำนวนบรรทัดที่ขีดฆ่าไปด้วย.
ที่มา https://sites.google.com/site/watluangpreechakul/deface
วิธีสมัครเรียนและสอบธรรมศึกษา
การเรียนและการสอบธรรมศึกษา นั้นก็เพื่อให้นักเรียนและผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสศึกษาประวัติ และคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเรียนรู้แนวทางในการปฏิบัติตนตามหลัก ศีลธรรม จริยธรรม เพื่อความสงบสุขของชีวิต ของครอบครัว ของสังคม รวมไปถึงประเทศชาติ และของโลก
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง โดยความจัดการของมหาเถรสมาคม จึงเปิดให้มีการเรียนและการสอบพระปริยัติธรรม แผนก นักธรรม (พระภิกษุ-สามเณร) และ ธรรมศึกษา (ฆราวาส ชาวบ้านทั่วไป) โดยแบ่งเป็น ๓ ระดับชั้นขึ้นมา คือ ชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก โดยนักเรียนที่สอบได้จะได้รับใบประกาศนียบัตร และบันทึกในผลการเรียน ใบ ปพ.๑ เพื่อเป็นหลักฐานและเกียรติประวัติต่อไป
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสอบธรรมศึกษา ให้ติดต่อได้ที่วัดใกล้บ้านท่าน ทั่วประเทศ โดยสอบถามได้จากเจ้าอาวาสของวัด หรือติดต่อสอบถามที่โรงเรียนใกล้บ้านที่มีการจัดสอบธรรมศึกษา
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง โดยความจัดการของมหาเถรสมาคม จึงเปิดให้มีการเรียนและการสอบพระปริยัติธรรม แผนก นักธรรม (พระภิกษุ-สามเณร) และ ธรรมศึกษา (ฆราวาส ชาวบ้านทั่วไป) โดยแบ่งเป็น ๓ ระดับชั้นขึ้นมา คือ ชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก โดยนักเรียนที่สอบได้จะได้รับใบประกาศนียบัตร และบันทึกในผลการเรียน ใบ ปพ.๑ เพื่อเป็นหลักฐานและเกียรติประวัติต่อไป
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการสอบธรรมศึกษา ให้ติดต่อได้ที่วัดใกล้บ้านท่าน ทั่วประเทศ โดยสอบถามได้จากเจ้าอาวาสของวัด หรือติดต่อสอบถามที่โรงเรียนใกล้บ้านที่มีการจัดสอบธรรมศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)