วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท 2557

 วิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท 2557

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นโท

สอบในสนามหลวง

วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๗


๑.     พระสาวกที่พระพุทธองค์ทรงส่งไปประกาศพระศาสนาครั้งแรก มีจำนวนเท่าไร? ประกอบด้วยใครบ้าง?

เฉลย มี ๖๐ องค์ ฯ ประกอบด้วยพระปัญจวัคคีย์ พระยสะ สหายพระยสที่ปรากฏนาม ๔ องค์ และไม่ปรากฏนามอีก ๕๐ องค์ ฯ

๒.    พระอัสสชิได้แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชก มีใจความย่อว่าอย่างไร?

เฉลย มีใจความย่อว่า “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาตรัสสอนอย่างนี้” ฯ

๓.     อุบาสกผู้ประกาศตนถึงรัตนะ ๒ และรัตนะ ๓ ว่าเป็นสรณะคนแรก คือใคร?

เฉลย     ผู้ถึงรัตนะ ๒ คือตปุสสะ และภัลลิกะ

           ผู้ถึงรัตนะ ๓ คือบิดาของยสะ ฯ

๔.     สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือใคร? ได้บรรลุพระอรหัตเพราะฟังธรรมจากใคร?

เฉลย สามเณรราหุล ฯ จากพระพุทธองค์ ฯ

๕.    การที่เจ้าศากยะทูลขอให้พระอุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกบวชก่อน เพราะเหตุไร?

เฉลย เพราะประสงค์จะละมานะของตน ฯ

๖.     ภิกษุ ภิกษุณี ผู้เอตทัคคะในทางเป็นพระธรรมกถึก คือใคร?

เฉลย     ภิกษุ คือพระปุณณมันตานีบุตร ฯ

           ภิกษุณี คือนางธรรมทินนาเถรี ฯ

๗.    พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษแห่งความเพียรที่ตึงเกินไปและหย่อนเกินไปแก่พระโสณโกฬิวิสะว่าอย่างไร?

เฉลย ทรงแสดงว่า ความเพียรที่ตึงเกินไปเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ที่หย่อนเกินไปเป็นเพื่อความเกียจคร้าน ฯ

๘.    มาณพทั้ง ๑๖ คนผู้ทูลถามโสฬสปัญหากะพระพุทธองค์ เป็นศิษย์ของใคร? ท่านตั้งสำนักอยู่ที่ไหน?

เฉลย ของพราหมณ์พาวรี ฯ

อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ระหว่างเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะ ฯ


ศาสนพิธี

๙.    จงเขียนคาถาที่ใช้ในการบังสุกุลเป็น และบังสุกุลตาย มาดู

เฉลย คาถาที่ใช้ในการบังสุกุลเป็น ว่า

           อจิรํ วตยํ กาโย               ปฐวึ อธิเสสฺสติ

           ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ       นิรตฺถํว กลิงฺครํ

       คาถาที่ใช้ในการบังสุกุลตายว่า

           อนิจฺจา วต สงฺขารา           อุปฺปาทวยธมฺมิโน

           อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ       เตสํ วูปสโม สุโข ฯ

๑๐.         วันธรรมสวนะ คือวันอะไร? ทรงอนุญาตให้มีในวันใดบ้าง?

เฉลย คือวันกำหนดประชุมฟังธรรม หรือที่เรียกว่า “วันพระ” ฯ ในวัน ๘ ค่ำ และวัน ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำของปักษ์ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น