วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี 2544

ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

วันอาทิตย์ ที่  ๔  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๔๔

๑.

๑.๑

ในครั้งพุทธกาล  ชาวชมพูทวีปส่วนมากนับถือศาสนาอะไร ?


๑.๒

ชนเหล่านั้นมีความคิดเห็น เรื่องความตาย และความเกิด โดยสรุปอย่างไร ?

๑.

๑.๑

ศาสนาพราหมณ์


๑.๒

เห็นอย่างนี้ คือเห็นว่าตายแล้วเกิดอย่างหนึ่ง เห็นว่าตายแล้วสูญอย่างหนึ่ง

๒.

๒.๑

กาฬเทวิลดาบส กราบที่พระบาทพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  เพราะเหตุไร ?


๒.๒

พระราชโอรสนั้น ประสูติได้ ๕ วัน และ ๗ วัน มีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้น ?

๒.

๒.๑

เพราะเห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำรับมหาบุรุษลักษณะครั้นเห็นอัศจรรย์เช่นนั้นแล้วก็มีความเคารพนับถือจึงกราบที่พระบาทของพระราชโอรสนั้น


๒.๒

เมื่อประสูติได้  ๕  วัน  พระราชบิดาโปรดให้ชุมนุมพระญาติวงศ์และ

เสนามาตย์พร้อมกัน  เชิญพราหมณ์  ๑๐๘  คนมารับโภชนาหารแล้ว

ทำมงคลรับพระลักษณะและขนานพระนามว่า  “ สิทธัตถกุมาร ”        

เมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระนางเจ้ามายาผู้เป็นพระราชมารดาสิ้นพระชนม์

๓.

๓.๑

อะไรเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ?


๓.๒

พระสิทธัตถะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  ด้วยวิธีอย่างไรบ้าง ?

๓.

๓.๑

พระอรรถกถาจารย์แสดงตามนัยมหาปทานสูตรว่า ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณะ ทรงสังเวช เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต  ๓  ข้างต้น  ยังความพอพระหฤทัยในการออกผนวชให้เกิดขึ้น เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นสมณะ


๓.๒

วิธีแรก  ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์  กดพระตาลุด้วยพระชิวหา

วิธีที่สอง  ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ

วิธีที่สาม  ทรงอดพระกระยาหาร

๔.

๔.๑

พระสิทธัตถะทรงบำเพ็ญเพียรอยู่เป็นเวลากี่ปีจึงได้ตรัสรู้ ?


๔.๒

ในวันตรัสรู้ทรงอธิษฐานพระหฤทัยที่ใต้ต้นมหาโพธิ์ว่าอย่างไร ?

๔.

๔.๑

เป็นเวลา  ๖  ปี


๔.๒

ทรงอธิษฐานพระหฤทัยว่า " ยังไม่บรรลุโพธิญาณเพียงใด  จักไม่ลุกขึ้นเพียงนั้น  เนื้อเลือดแห้งไป  เหลือหนังหุ้มกระดูกก็ตาม "

๕.

๕.๑

พระสิทธัตถะทรงผจญมารได้ชัยชนะด้วยบารมีธรรมอะไรบ้าง ?


๕.๒

จงให้ความหมายของคำว่า  ปฐมเทศนา  และมัชฌิมาปฏิปทา

๕.

๕.๑

ด้วยบารมีธรรม ๑๐ อย่าง  คือ  ทาน  ศีล  เนกขัมมะ  ปัญญา  วิริยะ  ขันติ  สัจจะ  อธิษฐาน  เมตตา  อุเบกขา


๕.๒

ปฐมเทศนา  คือการแสดงธรรมครั้งแรก

มัชฌิมาปฏิปทา  คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง

๖.

๖.๑

คำว่า  " ที่นี่วุ่นวายหนอ  ที่นี่ขัดข้องหนอ "  เป็นคำอุทานของใคร ?  เพราะเหตุใดจึงอุทานเช่นนั้น ?


๖.๒

พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงสาเหตุของแผ่นดินไหวไว้อย่างไรบ้าง ? จงบอกมา ๕ สาเหตุ

๖.

๖.๑

ของยสกุลบุตร, เพราะเห็นอาการพิกลต่าง ๆ ของหมู่ชนบริวารที่นอนหลับ  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏ


แก่ยสกุลบุตร ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า ครั้นเห็นแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ  คิดเบื่อหน่าย  จึงได้ออกอุทานเช่นนั้น


๖.๒

ตรัสถึงสาเหตุดังต่อไปนี้  (เลือกตอบเพียง  ๕  ข้อ)

           ๑) ลมกำเริบ

           ๒) ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล

           ๓) พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตลงสู่พระครรภ์

           ๔) พระโพธิสัตว์ประสูติ

           ๕) พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

           ๖) พระพุทธเจ้ายังธรรมจักรให้เป็นไป

           ๗) พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร

           ๘) พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

๗.

๗.๑

สังเวชนียสถาน ๔  มีอะไรบ้าง ?


๗.๒

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอานนท์เกี่ยวกับการที่ภิกษุจะพึงปฏิบัติต่อสตรีไว้อย่างไร ?

๗.

๗.๑

มี         ๑) สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ

           ๒) สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้

           ๓) สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

           ๔) สถานที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน


๗.๒

ทรงแสดงว่า " ไม่เห็นเสียเลยดีกว่า  ถ้าจำเป็นจะต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย  ถ้าจำเป็นจะต้องพูดก็ให้มีสติสำรวมระวังอย่าให้แปรปรวนไปด้วยราคะ "

ศาสนพิธี

๘.

๘.๑

ศาสนพิธีมีกี่หมวด ?  อะไรบ้าง ?


๘.๒

พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ  หมายถึงอะไร ?

๘.

๘.๑

มี  ๔  หมวดคือ

           ๑) หมวดกุศลพิธี  ว่าด้วยพิธีบำเพ็ญกุศล

           ๒) หมวดบุญพิธี  ว่าด้วยพิธีทำบุญ

           ๓) หมวดทานพิธี  ว่าด้วยพิธีถวายทาน

           ๔) หมวดปกิณกะ  ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด


๘.๒

หมายถึง การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้า

เป็นของตน เป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่า ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตน

๙.

๙.๑

ในงานมงคลควรจุดเทียนน้ำมนต์เมื่อไร ?


๙.๒

จงอธิบายวิธีปฏิบัติในการประเคนของถวายพระ

๙.

๙.๑

เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงมงคลสูตร ขึ้นต้นบทว่า  อเสวนา จ  พาลานํ


๙.๒

มีวิธีปฏิบัติดังนี้คือ

ก) พึงนำของที่จะประเคนเข้าไปให้ใกล้พระผู้รับประมาณหนึ่งศอก จะนั่งหรือยืน แล้วแต่สถานที่ที่พระนั่งอยู่นั้นจะอำนวย

ข) จับของที่จะประเคนด้วยมือทั้งสอง หรือมือเดียวก็ได้  ยกขึ้นให้สูงเล็กน้อยแล้วน้อมถวายพระ ซึ่งท่านจะยื่นมือทั้งสองออกมารับ  หากว่าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของลงบนผ้ากราบที่พระปูไว้ข้างหน้า  เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบก็เป็นอันเสร็จวิธีการประเคน การประเคนนี้ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ  ไม่ใช่เสือกไสให้  หรือทิ้งให้โดยไม่เคารพ  อีกอย่างของที่จะประเคนนั้น  ต้องเป็นสิ่งของที่คน ๆ เดียวพอยกได้อย่างธรรมดา  ไม่ใช่ของหนักหรือใหญ่จนเกินไป

๑๐.

๑๐.๑

ปาฏิบุคลิกทาน  หมายถึงอะไร ?


๑๐.๒

สังฆทาน  หมายถึงอะไร ?

๑๐.

๑๐.๑

หมายถึง  ทานที่ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้


๑๐.๒

หมายถึง ทานที่ถวายไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลางให้สงฆ์จัดเฉลี่ยกันใช้สอยเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น