วิธีการสมัครสอบธรรมศึกษาที่ถูกต้อง
(เป็นการแนะนำ เพื่อประโยชน์ในปีต่อไป)
*****************
-1).ครู/โรงเรียน มีใบสมัครสอบ (อาจจะให้เขียนแค่ ชื่อ-นามสกุล-ชั้นที่สมัครสอบ(ธรรมศึกษาตรี-โท-เอก) - ช่วงชั้นที่สมัครสอบ (ประถม-มัธยม-อุดม) เพื่อให้ครู/เจ้าหน้าที่ ไม่โมเมเอาเองว่าเด็กควรสอบชั้นนั้นชั้นนี้เอาง่าย ๆ ตามที่ระบบแนะนำ (ซึ่งมีเยอะแยะที่เด็กร้องไห้/ผู้ปกครองร้องไห้/หรือแม้แต่ครูที่ทำหน้าที่สมัครต้องโดนตำหนิจากฝ่ายบริหาร เพียงเพราะเชื่อง่าย ๆ สมัครเอาง่าย ๆ เข้าว่า โดยไม่สนใจไปเก็บข้อมูลเด็กตามที่เป็นจริง --- แต่กรณีเด็กไม่รู้ว่าตนเองจบอะไรมา อันนี้ก็แล้วแต่มาตรการของแต่ละโรงเรียนจะทำอย่างไร บางโรงเรียนก็ให้สมัครใหม่ตั้งแต่ชั้นธรรมศึกษาตรีเลย)
-2).สมัครสอบตามใบที่ไปเก็บข้อมูลมา
-3).ปรินต์รายชื่อที่สมัครแล้ว ไปติดบอร์ดโรงเรียน ประกาศให้นักเรียนมาเช็ครายชื่อ-นามสกุล-ชั้นที่สมัคร ว่าถูกต้องตามที่สมัครไปไหม หรือมีใครรายชื่อตกหล่นไหม แล้วให้นักเรียนลงชื่อรับรองเป็นหลักฐานไว้ด้วยว่าเขาตรวจเช็คแล้วและลงชื่อไว้แล้ว
-4).หากมีรายชื่อตกหล่น หรือสมัครผิดชั้น ให้รีบแก้ไข
ประเด็นสำคัญที่ทำให้รายชื่อเด็กตกหล่น สรุปง่าย ๆ มี 2 จุดใหญ่
คือ
คือ
-1).เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบส่งชื่อ ไม่เก็บข้อมูลเด็กให้ดีว่า เด็กคนไหนส่งสอบชั้นไหน สักแต่แค่สมัคร ๆ ให้เสร็จเป็นพอ และที่สำคัญ ไม่ปรินต์รายชื่อที่สมัครแล้วไปติดบอร์ดประกาศให้นักเรียนมาเช็ค --- ซ้ำร้าย เพิ่งจะมาสนใจสมัครเมื่อตอนที่หมดเขตสมัครแล้ว --- ในขณะที่ครูที่รับผิดชอบที่ดี เมื่อสมัครเสร็จ จะปรินต์รายชื่อไปให้นักเรียนเช็คชื่อของตนว่าตกหล่นหรือสมัครผิดชันหรือเปล่า
-2).นักเรียนหรือผู้สอบ ไม่สนใจที่จะเช็คชื่อของตนเองว่า มีสิทธิ์สอบหรือไม่ หรือสมัครผิดชั้นหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ครูหรือโรงเรียนติดประกาศ (นักเรียนบางคน) ส่วนนักเรียนที่ใส่ใจ ย่อมจะตรวจสอบรายชื่อของตนเอง ทั้งตรวจออนไลน์ด้วยตนเองที่เว็บสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง และที่บอร์ดติดประกาศของโรงเรียน
แหล่งที่มา เพจ นักธรรมและธรรมศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น