๕๒. วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี.
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย
และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว เป็นผู้พร้อมเพรียง
มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี.
(พุทฺธ) ขุ. จริยา. ๓๓/๕๙๕.
๕๓. สามคฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ
สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ.
พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว,
ผู้ยินดี ในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เตรส. ๒๗/๓๔๖.
๕๔. สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ.
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นสุข,
ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.
(พุทฺธ) ขุ. อิติ. ๒๕/๒๓๘.
หนังสือนักธรรมชั้นตรี,นักธรรมตรีpdf,นักธรรมตรี,สรุปนักธรรมตรี,ข้อสอบนักธรรมตรี,เก็งข้อสอบนักธรรมตรี
- หน้าแรก
- พุทธประวัติ
- ธรรมวิภาค
- เบญจศีล-เบญจธรรม
- แบบกระทู้ธรรมชั้นตรี
- แบบกระทู้ธรรมชั้นโท
- แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก
- หมวด พุทธศาสนสุภาษิต
- อนุพุทธประวัติชั้นโท
- ดาวโหลดหนังสือธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
- Download ข้อสอบนักธรรมและธรรมศึกษา ปี 2559-2563
- ประวัตินักธรรม-ธรรมศึกษา โดยสังเขป
- ขอบข่ายการเรียนการสอนธรรมศึกษา 2561
- ขอบข่ายธรรมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและประชาชนทั่วไป
- ข้อสอบนักธรรมตรี-โท-เอก[ย้อนหลัง]
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น