วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ส่วนปรมัตถปฎิปทา นิพพิทา ความหน่าย

๑. นิพพิทา ความหน่าย
อุทเทส
๑. เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ.
สูทั้งหลำยจงมำดูโลกนี้ อันตระกำรดุจรำชรถ
ที่พวกคนเขลำหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หำข้องอยู่ไม่.
โลกวรรค : ขุททกนิกำย ธรรมบท
๒. เย จิตฺตํ สญฺ เมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.
ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจำกบ่วงแห่งมำร.
จิตตวรรค : ขุททกนิกำย ธรรมบท
พรรณนาความ
นิพพิทา ความหน่าย หมำยถึง ควำมเบื่อหน่ำยที่เกิดจำกกำรใช้ปัญญำพิจำรณำ
เห็นควำมจริง ได้แก่ควำมเบื่อหน่ำยในกองทุกข์ ควำมเบื่อหน่ำยในเบญจขันธ์ซึ่งเกิดจำก
ปัญญำที่พิจำรณำเห็นว่ำสังขำรทั้งปวงไม่เที่ยง สังขำรทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตำ เมื่อพิจำรณำได้ดังนี้ ย่อมเกิดควำมเบื่อหน่ำยในทุกขขันธ์ (กองทุกข์) ไม่มัวเมำ
เพลิดเพลินยึดมั่นในสังขำรอันยั่วยวนชวนเสน่หำ เป็นควำมเบื่อหน่ำยที่เกิดจำกปัญญำ
พิจำรณำเข้ำใจสภำพควำมเป็นจริงของสังขำร ไม่ใช่ควำมเบื่อหน่ำยเพรำะแรงผลักดันแห่ง
กำมตัณหำ เช่น กรณีที่หญิงกับชำยรักกันจนถึงขั้นอยู่กินเป็นสำมีภรรยำกันแล้วเบื่อหน่ำยจน
เลิกร้ำงกันไปเพรำะควำมประพฤติไม่ดีต่อกันหรือเอือมระอำในพฤติกรรมของกันและกัน
แล้วต่ำงคนต่ำงไปแสวงหำกำมำรมณ์เสพสุขทำงเพศกับชำย-หญิงอื่น เช่นนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทำ
คำว่ำ โลก ในอุทเทสที่ ๑ จำแนกควำมหมำยเป็น ๒ อย่ำง คือ (๑) โลกโดยตรง
ได้แก่แผ่นดินเป็นที่อำศัย (๒) โลกโดยอ้อม ได้แก่หมู่สัตว์ผู้อำศัย
โลกทั้งโดยตรงและโดยอ้อมนี้มีสิ่งต่างๆ รวมกันอยู่ ๓ อย่าง คือ
๑. สิ่งอันให้โทษโดยส่วนเดียว เปรียบด้วยยำพิษ
๒. สิ่งอันให้โทษในเมื่อเกินพอดี เปรียบด้วยของมึนเมำ
๓. สิ่งอันเป็นอุปกำระเปรียบด้วยอำหำรและเภสัช (ยำรักษำโรค) ที่ให้ควำมสบำย
ผู้หมกอยู่ในโลก
เหล่ำคนเขลำผู้ไร้ปัญญำพิจำรณำไม่สำมำรถหยั่งรู้เห็นโลกได้โดยถ่องแท้ จึงชื่อว่า
หมกอยู่ในโลกโดยอาการ ๓ อย่าง คือ
๑. เพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นโทษ
๒. ระเริงหลงเกินพอดีในสิ่งอันอำจให้โทษ
๓. ติดอยู่ในสิ่งที่เป็นอุปกำระล่อใจ
เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมได้รับสุขบ้ำง ทุกข์บ้ำง คละเคล้ำกันไปตำมแต่สิ่งนั้นๆ จะอำนวย
ให้ แม้สุขที่ได้รับนั้น ก็เป็นอามิสสุข สุขอิงอามิส คือสุขที่คล้ำยเหยื่อล่อให้ลุ่มหลงติดข้อง
ไม่ใช่ควำมสุขที่แท้จริง ซึ่งมีอำกำรดุจเหยื่อที่เบ็ดเกี่ยวไว้ อำจถูกชักจูงไปได้ตำมปรำรถนำ
ผู้ไม่ข้องอยู่ในโลก
ฝ่ำยท่ำนผู้รู้ มีปัญญำฉลำดสำมำรถพิจำรณำเห็นควำมเป็นจริงของสิ่งสมมติเป็นโลก
นั้นๆ ว่ำจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตำมเหตุปัจจัยอย่ำงแน่นอนแล้วไม่ติดข้องพัวพันในสิ่งอันเป็น
อุปกำระล่อใจ โดยที่ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดยั่วให้ติดอยู่ได้ ย่อมเป็นอิสระด้วยตนเอง เมื่อเป็น
เช่นนี้ ย่อมได้รับนิรามิสสุข สุขปราศจากอามิส คือควำมสุขที่หำเหยื่อล่อมิได้ อันเป็น
ควำมสุขที่แท้จริง ผู้รู้เช่นนี้ ชื่อว่ำ ผู้ไม่ข้องอยู่ในโลก
พุทธประสงค์ในการตรัสให้ดูโลก
พระพุทธองค์ตรัสชักชวนเหล่ำพุทธบริษัทมำดูโลกอันวิจิตรตระกำรตำเปรียบด้วย
รำชรถครั้งโบรำณที่ประดับด้วยเครื่องอลังกำรอย่ำงงดงำม มิใช่เพื่อให้หลงเพลิดเพลิน ดุจดู
หนังดูละครที่มุ่งควำมบันเทิงแต่อย่ำงใดไม่ แต่ทรงประสงค์ให้ใช้ปัญญำพิจำรณำเห็นคุณ
โทษ ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ของสิ่งนั้นๆ ที่รวมกันเข้ำเป็นโลก
อาการสำรวมจิต
ผู้สำรวมจิต ไม่ปล่อยจิตให้เพลิดเพลินระเริงหลงในโลกอันมีสิ่งล่อใจต่ำงๆ ชื่อว่ำพ้น

จากบ่วงแห่งมาร ด้วยอาการสำรวมจิต ๓ อย่าง คือ
๑. สำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) หมำยถึง ควำมสำรวมระวังตำ หู จมูก ลิ้น กำย
ใจ มิให้อำนำจควำมกำหนัดยินดีครอบงำได้ในเมื่อตำได้เห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้น
ลิ้มรส กำยถูกต้องโผฏฐัพพะ (สัมผัสทำงกำย) อันน่ำปรำรถนำ ชักให้ใคร่ พำใจให้กำหนัด
๒. มนสิการกัมมัฏฐาน (สมถกัมมัฏฐำน) หมำยถึง ควำมใฝ่ใจในอุบำยฝึกอบรมจิต
เพื่อลดละบรรเทำกำมฉันทะ ควำมพอใจรักใคร่ในกำม ได้แก่ ความใฝ่ใจในอสุภกัมมัฏฐาน
คือกัมมัฏฐำนที่พิจำรณำดูควำมไม่งำมของร่ำงกำยตอนเป็นซำกศพที่แปรสภำพเปื่อยเน่ำไป
ตำมลำดับ ความใฝ่ใจในกายคตาสติกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐำนที่ใช้สติกำหนดพิจำรณำกำยให้
เห็นเป็นของไม่งำมเป็นอำรมณ์ หรือ ความใฝ่ใจในมรณัสสติกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐำนที่
ระลึกพิจำรณำถึงควำมตำยเนืองๆ เป็นอำรมณ์
๓. เจริญวิปัสสนา (วิปัสสนำกัมมัฏฐำน) หมำยถึง ควำมหมั่นฝึกจิตให้เกิดปัญญำ
พิจำรณำสังขำรโดยแยกออกเป็นขันธ์ ๕ หรือนำมรูปให้เห็นไตรลักษณ์คือเป็นสภำพไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตำ
ทั้ง ๓ อย่ำงนี้เป็นอำกำรสำรวมจิตเพื่อให้หลุดพ้นจำกบ่วงแห่งมำร คือไม่ตกไปตำม
กระแสกิเลส จิตจะหลุดพ้นจากบ่วงแห่งมาร ต้องดาเนินการควบคุมตามอาการครบทั้ง
๓ อย่างนี้ โดยเฉพำะการเจริญวิปัสสนา นับว่าสำคัญที่สุด เพรำะบ่วงแห่งมำรนั้นมีฤทธำนุภำพ
สำมำรถคล้องสรรพสัตว์ได้อย่ำงแน่นหนำ เหนือกำลังจะต้ำนทำน เหลือวิสัยที่จะปลดเปลื้อง
ให้หลุดพ้นได้โดยง่ำย ดังนั้น ต้องใช้กำรเจริญวิปัสสนำเท่ำนั้น จึงจะสำมำรถเอำชนะมำรและ
บ่วงแห่งมำรได้เด็ดขำด ดังจะกล่ำวต่อไปนี้
มารและบ่วงแห่งมาร
มาร แปลว่ำ ผู้ฆ่า ผู้ทาลาย ในที่นี้หมำยถึง โทษล้างผลาญคุณความดีและทาให้
เสียคน โดยเป็นสิ่งที่ฆ่ำบุคคลให้ตำยจำกคุณควำมดี และจัดเป็นตัวกำรที่กำจัดหรือขัดขวำง
จิตคนเรำไม่ให้บรรลุคุณธรรมควำมดี ได้แก่ กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่ ซึ่งจัดเป็นเจตสิก
(องค์ประกอบภำยในของจิต, สิ่งที่เกิดภำยในใจ) อันเศร้ำหมอง (อกุศลเจตสิก) ที่มีอยู่ภำยใน
จิตใจของคนเรำ โดยคอยรุมเร้ำจิตให้คิดโลภ โกรธ หลง มีชื่อเรียกต่ำงๆ เช่น ตัณหา ควำม
ทะยำนอยำก ราคะ ควำมกำหนัด อรติ ควำมขึ้งเคียด อิสสา ควำมริษยำ หรือหึงหวง เป็นต้น

กิเลสเหล่ำนี้เมื่อมีในจิตสันดำนของบุคคลใด ย่อมเป็นเหตุยังจิตของบุคคลนั้นให้มีควำมยินดี
รักใคร่ ปรำรถนำ ไขว่คว้ำเพื่อให้ได้มำซึ่งสิ่งต่ำงๆ และเศร้ำหมองเป็นไปตำมอำนำจของกิเลส
นั้นๆ เพรำะฉะนั้น ท่ำนจึงเรียกว่ำ กิเลสเป็นเหตุใคร่ เปรียบดังพืชที่มียำง เป็นเหตุให้เกิดรำก
ลำต้น กิ่งก้ำนต่อไปฉะนั้น กิเลสกามนี้ท่านจัดว่าเป็นมาร เพรำะเป็นโทษล้ำงผลำญคุณควำม
ดีและทำให้เสียคน คือทำให้มีสภำพจิตที่ไม่ดี
บ่วงแห่งมาร หมำยถึง อำรมณ์เครื่องผูกจิตให้ติดแห่งมำร เหมือนเนื้อเหยื่อล่อที่ถูก
เบ็ดเกี่ยวไว้ ได้แก่ วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ คือสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งควำมใคร่ ซึ่งเรียกว่ำ
กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นอิฏฐำรมณ์ (อำรมณ์ที่น่ำปรำรถนำ)
บ่วงแห่งมำรนี้ไม่อำจคล้องบุคคลผู้ไม่ติดข้องอยู่ในโลกดังกล่ำวได้
สรุปความ
โลก คือแผ่นดินเป็นที่อำศัยและหมู่สัตว์ผู้อำศัย เป็นศูนย์รวมไว้ทั้งสิ่งที่มีโทษ สิ่งที่
อำจให้โทษในเมื่อลุ่มหลงเกินพอดี และสิ่งที่เป็นอุปกำระล่อใจ พวกคนเขลำไร้ปัญญำ
ไม่สำมำรถพิจำรณำเห็นโลกได้ตำมสภำพเป็นจริง ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งที่เป็นโทษ ระเริงหลง
เกินพอดีในสิ่งอันอำจให้โทษ และติดอยู่ในสิ่งที่เป็นอุปกำระล่อใจ ชื่อว่ำหมกอยู่ในโลก
จึงไม่ได้รับควำมสุขที่แท้จริง ตรงกันข้ำมกับท่ำนผู้รู้คือบัณฑิตผู้ไม่ข้องอยู่ในโลก ย่อม
พิจำรณำเห็นควำมเป็นจริงในสิ่งสมมติว่ำโลกนั้นมีควำมเปลี่ยนแปลงไปตำมเหตุปัจจัยแล้ว
ไม่พัวพันในสิ่งอันเป็นอุปกำระล่อใจ ย่อมได้รับควำมสุขที่แท้จริง พระพุทธองค์ตรัสชักชวน
พุทธบริษัทมำดูโลกอันตระกำรตำดุจรำชรถนี้ มิใช่ให้เพลิดเพลินเหมือนดูละครที่มุ่ง
กำรบันเทิง แต่ทรงมีพระประสงค์ให้พิจำรณำหยั่งซึ้งถึงสภำพควำมเป็นจริงของสรรพสิ่งในโลก
เพื่อสำมำรถควบคุมจิตให้พ้นจำกมำร คือกิเลสกำม และจำกบ่วงแห่งมำร คือวัตถุกำม ซึ่ง
เรียกว่ำกำมคุณ ๕ โดยทรงแนะนำวิธีกำรสำรวมจิต ๓ วิธี คือ (๑) กำรควบคุมอินทรีย์ ๖
มิให้ยินดีในอำรมณ์ที่น่ำปรำรถนำ (๒) กำรเจริญสมถกัมมัฏฐำน คือกำรพิจำรณำดูควำมไม่
งำมของร่ำงกำยเป็นต้น และ (๓) กำรเจริญวิปัสสนำกัมมัฏฐำน คือกำรฝึกจิตให้เกิดปัญญำ

พิจำรณำโลกคือเบญจขันธ์โดยควำมเป็นไตรลักษณ์ ซึ่งนับเป็นวิธีที่ดีที่สุด ฉะนี้แล
สพฺเพ  สงฺขารา  อนิจฺจาติ

            สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺขาติ

            สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตาติ      ยทา  ปญฺญาย  ปสฺสติ

            อถ  นิพฺพินฺทติ  ทุกฺเข        เอส  มคฺโค  วิสุทฺธิยา

          เมื่อใด  เห็นด้วยปัญญาว่า  สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา  เมื่อนั้น  ย่อมหน่ายในทุกข์  นั่นทางแห่งวิสุทธิ

มัคควัคค    ธัมมบท


          สังขาร  ในพระพุทธพจน์นี้  ได้แก่  ขันธ์  ๕  คือ  รูป  เวทนา  สัญญา     สังขาร  วิญญาณ  (มีความหมายว่า  ถูกปัจจัย  คือ  กรรม  จิต  อุตุ  อาหาร  ปรุงแต่ง)

          สังขารในเบญจขันธ์  ได้แก่  อารมณ์อันเกิดกับจิต  เช่น  รัก  ชัง  วิตก  วิจาร     เป็นต้น  (มีความหมายว่า  เครื่องปรุงจิต)

        สังขารมีลักษณะเสมอกันเป็น  ๓  คือ

          ๑.  อนิจจตา  ความไม่เที่ยง

          ๒.  ทุกขตา  ความเป็นทุกข์

          ๓.  อนัตตตา  ความเป็นอนัตตา

อนิจจตา  ความไม่เที่ยง  กำหนดรู้ได้  ๓  ทาง
          ๑.  ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น  และความสิ้นไปในเบื้องปลาย  ได้ในบาลีว่า

                        อนิจฺจา  วต  สงฺขารา  อุปฺปาทวยธมฺมิโน

                        อุปฺปชฺชิตฺวา  นิรุชฺฌนฺติ

            สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ  มีความเกิดขึ้นและความสิ้นไปเป็นธรรมดา  เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป

          ๒.  ความแปรในระหว่างเกิดและดับ  ได้ในบาลีว่า

                        อจฺเจนฺติ  กาลา  ตรยนฺติ  รตฺติโย

                              วโยคุณา  อนุปุพฺพํ  ชหนฺติ.

          กาลย่อมล่วงไป  ราตรีย่อมผ่านไป  ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป

          ระยะเวลาในระหว่างเกิดและดับ  เรียกว่า  วัย  แบ่งออกเป็น  ๓  คือ

              ๑.  ปฐมวัย      ระยะเวลาไม่เกิน  ๒๕  ปี

              ๒.  มัชฌิมวัย   ระยะเวลาอยู่ใน  ๕๐  ปี

              ๓.  ปัจฉิมวัย    ระยะเวลาพ้น  ๕๐  ปี  ออกไปจนตลอดอายุ

              ความแปรแห่งสังขารผ่านวัยทั้ง  ๓  นั้นเปรียบด้วยเดินข้ามสะพานสูงขึ้น  (ปฐมวัย)  แล้วราบ  (มัชฌิมวัย)  แล้วต่ำลง  ๆ  (ปัจฉิมวัย)         

          ๓.  ความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง  ๆ  คือ  ไม่คงที่อยู่นาน  เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว  ได้ในคาถามาในวิสุทธิมรรค  ว่า

                        ชีวิตํ  อตฺตภาโว  จ       สุขทุกฺขา  จ  เกวลา

                              เอกจิตฺตสมา  ยุตฺตา       ลหุโส  วตฺตเต  ขโณ
          ชีวิต  อัตตภาพ  และสุขทุกข์ทั้งมวลประกอบกัน  เป็นธรรมเสมอด้วยจิตดวงเดียว  ขณะย่อมเป็นไปพลัน


          ความแปรเร็วอย่างนี้  ย่อมกำหนดเห็นชัดในนามกาย  (จิตใจ)  เช่น  บางขณะนึกอารมณ์อย่างนั้น  บางขณะนึกอารมณ์อย่างนี้  บางขณะสุข  บางขณะทุกข์  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น