วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สรุปนักธรรมชั้นเอก หน้าที่ 5/10

 











.  อาทีนวสัญญา กําหนดพิจารณาร่างกายโดยความเป็นโทษ

.  ปหานสัญญา กําหนดพิจารณาเพื่อละอกุศลวิตก (กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก) รวมไปถึงอกุศลธรรมทั้งหลายให้ หมดสิ้นไป

. วิราคสัญญา กําหนดพิจารณาวิราคะ

. นิโรธสัญญา กําหนดหมายนิโรธวาเป็นธรรมอันละเอียดประณีต เป็นธรรมที่ดับกิเลสและกองทุกข์

.  สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กําหนดพิจารณาเพื่อละอุบายและอุปาทานในโลก

.  สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กําหนดพิจารณาในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปตามกฏธรรมดา

๑๐. อานาปานสติ การตั้งสติกําหนดดูลมหายใจเข้า-ออก

(ปี 58) พระพุทธองค์ทรงแสดงคิริมานนทสูตรที่ไหน ? แก่ใคร ? ว่าด้วยเรื่องอะไร ?

ตอบ ที่พระเชตวัน เมืองสาวัตถี แก่พระอานนท์ ว่าด้วยสญญา ๑๐

(ปี 57) พระคิริมานนท์หายจากอาพาธเพราะฟังธรรมจากใคร? ธรรมนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร?ตอบจากพระอานนท์ ว่าด้วยเรื่องสัญญา ๑๐ฯ

(ปี 56) ข้อว่า อนัตตสญญา ในคิริมานนทสูตร ทรงให้พิจารณาอะไรว่าเป็นอนัตตา?

ตอบ ทรงให้พิจารณาอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ว่าเป็น อนัตตา ฯ

(ปี 55) ในสัญญา ๑๐ ข้อที่ ว่าปหานสัญญา ความสําคัญหรือความใส่ใจในการละ ขอทราบว่า ทรงสอนให้ละอะไรบ้าง? ตอบ ทรงสอนให้ละ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ธรรมอันเป็นบาปเป็นอกุศลทั้ง นี้ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เกิดขึ้นอีก (ปี 54) ในคิริมานนทสูตร ข้อว่า ปหานสัญญา พระศาสดาทรงสอนให้ละอะไร?

ตอบ ทรงสอนให้ละ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และอกุศลบาปธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว

(ปี 53) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัญญา ๑๐ กะใคร? อนิจจสญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้พิจารณาธรรมอะไร?

ตอบ พระอานนทเถระ พิจารณาขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สงั ขาร วิญญาณ

(ปี 52) ในสัญญา ๑๐ ทรงแสดงถึงการให้พิจารณาพระนิพพานว่าเป็นธรรมที่สํารอกกิเลส และว่าเป็นธรรมเป็นที่ดับสนิท จัดเป็นสัญญาข้อไหน

บ้าง? ตอบ               พิจารณาพระนิพพานว่า เป็นธรรมที่สํารอกกิเลส จัดเป็นวราคสญญา

พิจารณาพระนิพพานว่า เป็นธรรมเป็นที่ดับสนิท จัดเป็นนิโรธสญญา

(ปี 48) ข้อว่า อนัตตสญญา ในคิริมานนทสูตร ทรงให้ยกธรรมอะไรขึ้นพิจารณาว่าเป็นอนัตตา?

ตอบ ทรงให้ยกอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก คือ รูป เสยง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ขึ้นพจารณาว่า เป็นอนัตตา ฯ

(ปี 47) วิปัลลาสข้อว่า วิปัลลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข จะถอนได้ด้วยสัญญาอะไรในสญญา ๑๐? ใจความว่าอย่างไร?

ตอบ จะถอนได้ด้วยอาทีนวสัญญา

ใจความว่า ภิกษุย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า กายอันนี้แล มีทุกข์มาก มีโทษมาก เหล่าอาพาธต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้

(ปี 46) พระคิริมานนท์หายจากอาพาธหนัก เพราะฟังธรรมอะไร? ใครเป็นผู้แสดง?

ข้อว่า สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจสญฺญญา ความจําหมายความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง มีใจความว่าอย่างไร?

ตอบ เพราะฟังคิริมานนทสูตร พระอานนทเถระ เป็นผู้แสดง

มีใจความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง

(ปี 44) อนิจจสญญาในคิริมานนทสูตร มีใจความว่าอย่างไร? การพิจารณาอาทีนวสัญญาโดยย่อ ได้แก่พิจารณาอย่างไร?


ตอบ มีใจความว่า " ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปในป่าก็ดี ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สงั ขาร วิญญาณ ไมเที่ยง ย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง โดยความไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้ง "

พิจารณาอย่างนี้ว่า " กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เหล่าอาพาธย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ "


 

วิชาพุทธานุพุทธประวัติและประโยชน


สรุปพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก


(ปี 63, 59) พุทธานุพุทธประวัติ ให้ความรู้แก่ผู้ศึกษาทางใดบ้าง ? จงอธิบายพอได้ใจความ

ตอบ       .  ทางประวัติศาสตร์  เช่นความเป็นไปของบ้านเมืองในครั้งพุทธกาล  และลัทธิธรรมเนียมของประชาชนในสมัยนั้น

. ทางจรรยาของพระพุทธเจ้า และจรรยาของเหล่าพระอริยสาวก

. ทางธรรมวินัยที่ปรากฏในตํานานและความเป็นมาแห่งศาสนธรรมพร้อมทั้งตัวอย่างการบํารุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง

(ปี 51) พุทธประวัติ วิภาคที่ ปุริมกาล และวิภาคที่ อปรกาล ที่ทรงรจนาไว้แสดงถึงเรื่องอะไร?

ตอบ       ปุริมกาล แสดงถึงเรื่องเป็นไปในกาลก่อนแต่บําเพ็ญพุทธกิจ                                   อปรกาล แสดงถึงเรื่องถวายพระเพลิงและแจกพระธาตุ

 

 

กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า

(ปี 57) พระมหาบุรุษทรงทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วทรงบรรเทาความเมาในอะไรได้?

ตอบ ทรงบรรเทาความเมาในวัย ความเมาในความไม่มีโรค และความเมาในชีวิต

(ปี 57) ในการเสด็จออกบรรพชา พระมหาบุรุษทรงได้รับบาตรและจีวรจากใคร ? ตอบ จากฆฏิการพรหม

(ปี 56) พระโพธสัตว์เมื่อจะจุติลงสู่พระครรภ์พระมารดา เสด็จมาจากไหน?  ตอบ เสด็จมาจากดุสตพิภพ

(ปี 56) บุคคลผู้เป็นสหชาติของพระศาสดา ที่บรรลุพระอรหัตก่อนและหลังพุทธปรินิพพานมีใครบ้าง? ตอบ ผู้บรรลุพระอรหัตก่อนพุทธปรินิพพาน มีพระนางพิมพาเถรีและพระกาฬุทายิเถระ ฯ ผู้บรรลุพระอรหัตหลังพุทธปรินิพพาน มีพระอานนทเถระ และพระฉันนเถระ

(ปี 56) พระมหาบุรุษทรงดําเนินด้วยพระบาท ๗ ก้าว หลังจากประสูติใหม่ เรื่องนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงถอด ความว่าอย่างไร? ตอบ ทรงถอดความว่า น่าจะได้แก่ทรงแผ่พระศาสนาได้แพร่หลายใน ชนบท (ได้แก่ .กาสีกับโกสละ .มคธะกับอังคะ .

สักกะ .วัชชี .มลละ .วังสะ .กุรุ)

(ปี 54) บารมี ๑๐ ของพระมหาบุรุษมีอะไรบ้าง? ท่านเปรยบเทียบบารมีข้อไหนกับอาวุธยุทโธปกรณชนิดใด ในการต่อสู้กับหมู่มาร?

ตอบ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ศีลบารมี เปรยบเทียบกับแผ่นดิน         ปัญญาบารมี เปรียบเทียบกับพระขรรค์ วิริยบารมี เปรียบเทียบกับพระบาท บารมีที่เหลือจากนี้ เปรียบเทียบกับโล่ป้องกัน

(ปี 53) มหาปุริสลักษณะมีกี่ประการ? พระอุณณาโลมกับพระอุณหิสต่างกันอย่างไร?

ตอบ มี ๓๒ ประการ ฯ                พระอุณณาโลม ได้แก่พระโลมาทขาวละเอียดอ่อนคล้ายสําลีอยู่ในระหว่างพระโขนง ส่วนพระอุณหิสนั้น ได้แก่พระเศียรที่กลมเป็นปริมณฑล ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์

(ปี 51) ในวันที่พระมหาบุรุษประสูติ มีสหชาติที่เกิดพร้อมกันกี่อย่าง? อะไรบ้าง ?

ตอบ มี อย่าง คือ .พระนางพมพา .พระอานนท์ .กาฬุทายีอมาตย์ .ฉันนะอมาตย์ .ม้ากัณฐกะ .ต้นมหาโพธิ์ .ขุมทรัพย์ทั้ง

 

 

โกลาหล๕ แปลว่า ความแตกตื่น หมายถึงการแตกตื่นของเหล่าเทวดา มี อย่าง คือ

.* พุทธโกลาหล แตกตื่นว่า อีก ๑๐๐,๐๐๐ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลก ความเป็นมาว่า เมื่อสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายลงมา เที่ยวประกาศทั่วหมื่นโลกธาตุว่า เบื้องหน้าแต่นี้ล่วงไปอีกแสนปี พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก ถ้าใคร่จะพบเห็น จงเว้นจากเวรทั้ง อุตส่าห์ บําเพ็ญทาน รักษาศีล เจรญภาวนา กระทําการกุศลต่าง ดังนี้ จึงทําให้เกิดพุทธโกลาหลขึ้น ปี 50

.กัปปโกลาหล แตกตื่นว่า อีก ๑๐,๐๐๐ ปี กัป(โลกธาตุและจักรวาล)จะพินาศ


.จักกวัตตโกลาหล แตกตื่นว่า อีก ๑๐๐ ปี พระเจ้าจักรพรรดิ์จะอุบัติ

.มงคลโกลาหล แตกตื่นว่า อีก ๑๒ ปี พระพุทธเจ้าจะตรัสบอกมงคล

.โมไนยโกลาหล แตกตื่นว่าอีก ปี พระพุทธเจ้าจะตรัสบอกโมไนยปฏิบัติ

(ปี 50) จงเล่าความเป็นมาของ *พุทธโกลาหล

ตอบ เมื่อสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายลงมาเที่ยวประกาศทั่วหมื่นโลกธาตุว่า เบื้องหน้าแต่นี้ล่วงไปอกแสนปี พระสัพพัญญูจะบังเกิดในโลก ถ้า ใคร่จะพบเห็น จงเว้นจากเวรทั้ง อุตส่าห์บําเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กระทําการกุศลต่าง ดังนี้ จึงทําให้เกิดพุทธโกลาหลขึ้น

(ปี 49) บุพนิมิต ประการที่เกิดแก่พระโพธิสัตว์ ก่อนจะจุติลงปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาคืออะไรบ้าง?

ตอบ คือ . ดอกไม้ทิพย์ประดับกายเหี่ยวแห้ง                           . ผ้าภูษาที่ทรงเศร้าหมอง                . เหงื่อไหลออกจากรักแร้                       . ร่างกายปรากฏชรา

. พระทัยกระสันเป็นทุกข์ เหนื่อยหน่ายจากเทวโลก

 

 

สัมปทาคุณ ประการ

. เหตุสัมปทา คือการบําเพ็ญบารมีมาอย่างครบถ้วน

. ผลสัมปทา คือการที่ทรงได้รับผลของบารมี ทําให้มีรูปกายประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ อานุภาพ การละกิเลสและ พระญาณหยั่งรู้ เป็นต้น

. สัตตูปการสัมปทา คือการที่ทรงบําเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกด้วยพระทัยที่บริสุทธิ์

·        ใน สัตตูปการสัมปทา ประกอบด้วย

. อาสยะ หมายถึง ความมีพระหฤทยเยือกเย็นด้วยความกรุณา ปรารถนาคุณประโยชน์อยู่เป็นนิตย์ แม้ในบุคคลที่ทําผิดต่อพระองค์มีพระ เทวทัตเป็นต้นก็ยังทรงกรุณา

.  ปโยคะ หมายถึง ความมีพระหฤทัยมิได้มุ่งหวงั ต่ออามิส เทศนาสั่งสอนสัตว์ด้วยข้อปฏิบัติคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

 

(ปี 63, 59) อาสยะ และ ปโยคะ ในสัตตูปการสมปทา หมายถึงอะไร ?


ตอบ อาสยะ หมายถึง ความมีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยความกรณ เทวทัตเป็นต้นก็ยังทรงกรุณา


ปรารถนาคุณประโยชน์อยู่เป็นนิตย์ แม้ในบุคคลที่ทําผดต่อพระองค์มีพระ


ปโยคะ หมายถึง ความมีพระหฤทัยมิได้มุ่งหวังต่ออามิส เทศนาสั่งสอนสัตว์ด้วยข้อปฏิบัติคือ ศีล สมาธิ ปัญญา

(หมายเหตุ ข้อนี้ถือว่ายาก เนื้อ👉าอยู่ใน👉นังสือ ปฐมสมโพธิ ของสมเด็จพระสมณเจ้า ใน👉ลักสตรนักธรรม จะเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติของ พระพุทธเจ้า ไม่มีใครอ่านไปสอบเพราะมีเนื้อ👉าเยอะ)

(ปี 49) สัมปทาคุณ ประการของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คืออะไรบ้าง? เกิดผลดีอย่างไร?

ตอบ คือ . เหตุสมปทา คือการบําเพ็ญบารมีมาอย่างครบถ้วน

. ผลสัมปทา คือการที่ทรงได้รับผลของบารมี ทําให้มีรูปกายประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ อานุภาพ การละกิเลสและ พระญาณหยั่งรู้ เป็นต้น

. สัตตูปการสัมปทา คือการที่ทรงบําเพ็ญประโยชน์แก่ชาวโลกด้วยพระทัยที่บริสุทธิ์ ทําให้พระองค์ทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสของบัณฑิตชน  ทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะพึงปรารภเป็นอารมณ์แล้วก่อสรางสั่งสม บุญกุศลให้ไพบูลย์ ฯ

(ปี 48) รูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติ แห่งพระมหาบุรุษนั้น มีความหมายว่าอย่างไร?

ตอบ       รูปกายอุบัติ คือความอุบัติในสมยลงสู่พระครรภ์และในสมยประสูติจากพระครรภ

ส่วนธรรมกายอุบัติ คือการตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสมโพธิญาณ

(ปี 47) ปัญจมหาวิโลกนะ คืออะไร? มีความเป็นมาอย่างไร?


ตอบ คือ การพิจารณาถึงความเหมาะสมใหญ่ ประการ มีความเป็นมาอย่างนี้ คือเมื่อพระมหาสตว์เป็นสันตุสตเทวราชอยู่ในดุสิตเทวโลก หมู่ เทวดามาทูลอาราธนาให้จุติลงไปบังเกิดในครรภ์พระมารดา ในลําดับนั้น พระมหาสัตว์ยังมิได้ทรงให้ปฏิญญาแก่หมู่เทวดาผู้มาทูลอาราธนา ต่อเมื่อ

ทรงพิจารณาปัญจมหาวิโลกนะแลว จึงทรงให้ปฏิญญา

(ปี 47) พระบารมี ๑๐ ย่อมอบรมพระอัธยาศัยทําพระหฤทัยให้หนักแน่นจนสามารถพิชิตมารได้ พระบารมี ๑๐ นั้น มีอะไรบ้าง?

ตอบ มี . ทาน . ศีล . เนกขัมมะ . ปัญญา . วริยะ . ขันติ . สัจจะ . อธิษฐาน . เมตตา ๑๐. อุเบกขาฯ

(ปี 45) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกอบด้วยสัมปทาคุณกี่ประการ? อะไรบ้าง? ในวันที่พระมหาบุรุษประสูตินั้น สหชาติที่เกิดพร้อมร่วมวันกับพระองค์มีอะไรบ้าง?

ตอบ ประการ คือเหตสัมปทา ผลสัมปทา สตตูปการสมปทา

มีพระนางพิมพา พระอานนท์ กาฬุทายีอมาตย์ ฉันนะอมาตย์ ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทองทั้ง

 

 

พุทธคุณ

(ปี 54) นวหรคุณ คือพระพุทธคุณ บท บทไหนปรากฏแก่พระพุทธองค์เต็มที่ ที่ไหน? เมื่อไร?

ตอบ พระพุทธคุณบทว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สคโต โลกวิทู พุทฺโธ ภควา ปรากฏแก่พระพุทธองค์เต็มที่ ควงไม้พระมหาโพธิ ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ตั้งแต่ครั้งแรกตรัสรู้พระอนุตรสมมาสมโพธิญาณ


พระพุทธคุณบทว่า อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสส ครั้งแสดงอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์


านํ ปรากฏแก่พระพุทธองค์เต็มที่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในพระนครพาราณสี ตั้งแต่


 

พุทธจริยวัตร

(ปี 64, 62, 46) พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ไหนเป็นแห่งแรก ? ทรงเห็นประโยชน์อะไรจึงทรงประดิษฐาน ที่นั้น ?

ตอบ ที่กรุงราชคฤห์ เพราะทรงเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่บริบูรณมั่งคั่ง และมีศาสดาเจ้าลัทธิมาก ถ้าได้โปรดคนเหลานี้ให้เกิดความเลอมใสได้แล้ว การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะศาสดาเจ้าลัทธิต่าง นั้น ล้วนมีคนนับถือมาก ด้วยเหตุนี้จึงทรงเลือกเมืองนี้เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก

(ปี 52) พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทด้วยอาการ อย่าง อะไรบ้าง?

ตอบ ด้วยอาการดังนี้                    . สันทัสสนา อธิบายให้แจ่มแจ้งให้เข้าใจชัด                                        . สมาทปนา ชวนให้มีแก่ใจสมาทานคือทําตาม

. สมุตเตชนา ชักนําให้เกิดอุตสาหะอาจหาญเพื่อจะทํา                                . สัมปหังสนา พยุงให้ร่าเริงในอันทํา (ปี 46) พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ไหนเป็นแห่งแรก? ทรงเห็นประโยชน์อะไรจึงทรงประดิษฐาน ณ ที่นั้น? การที่พระพุทธองค์ทรงสามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้มั่นคง เพราะทรงสั่งสอนโดยอาการอย่างไรบ้าง ?

ตอบ ที่ กรุงราชคฤห์ เพราะทรงเห็นว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่บริบูรณมั่งคั่ง และ

มีศาสดาเจ้าลัทธิมาก  ถ้าได้โปรดคนเหล่านี้ให้เกิดความเลื่อมใสได้แลว  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาก็สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น  เพราะศาสดาเจ้าลัทธิ

ต่างๆ นั้น ล้วนมีศิษยานุศิษย์มาก ผู้คนนับถือมาก ด้วยเหตุนี้ จึงทรงเลือกเมืองนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก

โดยอาการ อย่าง คือ . ทรงสั่งสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่ง เห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น . ทรงสั่งสอนมีเหตุมีผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้

. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตาม ย่อมได้รับผลโดยสมควรแก่การปฏิบัติ

(ปี 44) พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนคฤหัสถ์ด้วยวิธี สถานนั้น ได้แก่อะไรบ้าง? ในการสอนธรรมของพระพุทธองค์นั้น ทรงมีจุดมุ่งหมายอย่างไรบ้าง?

ตอบ ได้แก่ . สันทสสนา ชี้ให้ชัด ให้เห็นแจ่มแจ้งในสัมมาปฏิบัติ . สมาทปนา ชวนให้ปฏิบัติ แสดงเหตุผลให้เห็นสมจริง

. สมุตเตชนา ให้อาจหาญ มีกําลงั ใจในสัมมาปฏิบัติ . สมปหังสนา ให้ร่าเริง แช่มชื่น ในการปฏิบัตตามธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


อย่างนี้คือ . เพื่อให้ผู้ฟังได้รู้เห็นในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น  . เพื่อให้ผฟังใช้เหตุผลตรองตามจนเห็นจริง

.  เพื่อให้ผู้ฟังนําไปปฏิบัติและได้รับผลของการปฏิบัติตามสมควรแก่การปฏิบัติของตน

 

 

กําเนิดศากยวงศ

(ปี 64, 61, 55) ศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาจากใคร? ที่ได้นามว่า ศากยะ เพราะเหตไุ ?

ตอบ       สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช 

เพราะเหตุ ประการ คือ . เพราะได้ชื่อตามชนบทที่ตั้งเมือง  . เพราะมีความกล้าหาญ สามารถตั้งเมืองได้เอง

 

 

พระมหาบุรุษประสูต

(ปี 62, 44) พระพุทธองค์ทรงยืนยันพระองค์เองว่า เป็นสมมาสัมพุทธะ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร ?

ตอบ เพราะทรงอาศัยเหตุที่ตรัสรู้อริยสัจ อันมีรอบ มีอาการ ๑๒ อย่าง แจ่มแจ้ง ครบถ้วนทุกประการ จึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เป็นสัมมา สัมพุทธะ ฯ

(ปี 60, 44) อาสภิวาจาคือวาจาเช่นไร ? มีใจความว่าอย่างไร ?

ตอบ คือวาจาที่เปล่งอย่างองอาจ เป็นภาษิตของบุรุษพิเศษอาชาไนยฯ มีใจความว่า เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐแห่งโลกฯ

(ปี 55) พระวาจาที่พระมหาบุรุษทรงเปล่งครั้งแรก เรียกว่าอะไร? ความว่าอย่างไร?

ตอบ อาสภิวาจา

ความว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก (อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส)                                   เราเป็นผู้เจริญแห่งโลก (เชฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส) เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก (เสฏฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส)                                                      ชาตินี้เป็นชาติสดท้าย (อยมนฺตมา ชาติ) บัดนี้ ภพใหม่มไิ ด้มี (นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว)”

(ปี 49) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ มีปาฏิหารย์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ?

ตอบ มีปาฏิหารย์ อย่าง คือ . พระมารดาทรงประทับยืน                                                    . ประสูติไม่เปรอะเปื้อนด้วยครรภมลทิน

. มีเทวดามาคอยรับก่อน                                     . มีธารนํ้าร้อนนํ้าเย็นตกลงมาจากอากาศสนานพระกาย

. เมื่อประสูติออกมาทรงเดินได้ ก้าว                            . ทรงเปล่งวาจาเป็นบุพพนิมิตแห่งพระสัมมาสมโพธิญาณ

. แผ่นดินไหว

(ปี 46) พระวาจาที่พระมหาบุรุษทรงเปล่งในวันประสูตินั้น เรียกว่าอะไร? ใจความโดยย่ออย่างไร?

ตอบ เรียกว่า อาสภิวาจา ใจความย่อว่า เราเป็นผู้เลศเป็นยอดแห่งโลก เราเป็นผู้เจรญผู้ใหญ่แห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก ความ

บังเกิดชาตินี้มี ทสุด บัดนี้ ความบังเกิดอีกมิได้มี

 

 

บําเพ็ญทุกรกิริยา

(ปี 59, 55) การที่พระพุทธองค์ทรงเลิกการทรมานพระวรกายแล้ว กลับมาเสวยพระกระยาหาร เพราะทรงพิจารณาเห็นอย่างไร? ตอบ เพราะ ทรงพิจารณาเห็นว่า คนที่ไม่บริโภคอาหารจนรางกายหมดกําลัง ไม่สามารถบําเพ็ญเพียรทางจิตได้

(ปี 53) สตานุสารีวิญญาณ คืออะไร? เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ ความว่าอย่างไร?

ตอบ วิญญาณไปตามสติ ความว่า ทุกรกิริยานี้ จักไม่เป็นทางเพื่อการตรัสรู้ แต่อานาปานสติปฐมฌาน จักเป็นทางเพื่อการตรสรู้แน่ฯ


(ปี 49) ในการบําเพ็ญเพียรเพื่อบรรลส ทรงมีเหตุผลอย่างไร?


ัมมาสมโพธิญาณของพระโพธิสัตว์ อยากทราบว่าการบําเพ็ญทุกรกิริยาและอุปมา ข้อ อย่างไหนเกิดก่อน?


ตอบ อุปมา ข้อเกิดก่อน การบําเพ็ญทุกรกิริยาเกิดภายหลัง เพราะเมื่ออุปมา ข้อ มาปรากฏแก่พระองค์แล้ว ทรงคิดจะบําเพ็ญเพียร เพื่อ ป้องกันจิตไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์ได้ จึงทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา

(ปี 49) อปาณกฌาน ได้แก่อะไร? พระพุทธเจ้าได้ทรงบําเพ็ญครั้งไหน? และได้รับผลอย่างไร?

ตอบ ได้แก่ความเพ่งไม่มีปราณ คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ โดยเนื้อความก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดําเนินทางจมูกและทางปาก ได้ทรงบําเพ็ญใน คราวทรงทําทุกรกิริยา ไม่ได้รับผลที่ทรงมุ่งหวังกลับเป็นการทรมานร่างกายให้ลําบากเปล่าฯ

(ปี 45) อปาณกฌาน ได้แก่อะไร? พระพุทธองค์ทรงบําเพ็ญฌานนี้ในคราวใด ? และได้รับผลที่มุ่งหวังหรือไม่ อย่างไร?

ตอบ ได้แก่ ความเพ่งไม่มีลมปราณ คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ โดยเนื้อความก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดําเนินทางจมูกและปาก ซึ่งเป็นทางเดิน โดยปกติ ในคราวทรงทําทุกกรกิริยาฯ ไม่ได้รับผลที่มุ่งหวัง แต่เป็นการทรมานร่างกายให้ลําบากเปล่า

 

ก่อนตรัสรู้

(ปี 64, 62, 60, 50) พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธาน มีใจความว่าอย่างไร? ที่ไหน? และได้รับผลอย่างไร?

ตอบ มีใจความว่า หากยังไม่บรรลุพระสมมาสัมโพธิญาณแล้วจักไม่ลกขึ้น แม้เนื้อและเลือดจะแห้งเหือดไป เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามทีฯ ที่ตําบลอุรเวลาเสนานิคม ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ฯ ไดรับผลคือ บรรลุพระสมมาสัมโพธิญาณสมดังพระหฤทัยฯ

(ปี 50) พระมหาสุบินนิมิตก่อนจะตรัสรู้ที่ว่า เสด็จจงกรมบนภูเขาอุจจาระโดยพระบาทไม่แปดเปื้อน หมายถึงอะไร?

ตอบ หมายถึง จะทรงได้ปัจจัยทั้ง แต่มิได้มีพระทัยปลิโพธิเอื้อเฟื้อในปัจจัยทั้งปวง

 

 

ขณะตรัสรู้

(ปี 52) ปฏิจจสมุปบาทคืออะไร? พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงกําหนดรู้แล้วนั้นอย่างไร? สถานที่ใด?

ตอบ คือ สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นฯ ทรงพิจารณาตามลําดับและถอยกลับทั้งข้างเกิดข้างดับตลอดยาม แห่งราตรีฯ ภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์


(ปี 50) ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้วอย่างไรในอริยสจ ที่ว่ารอบ อาการ ๑๒ คืออย่างไร?

ตอบ คือ ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ทุกข์นั้นควรกําหนดรู้ ทุกข์นั้นได้กําหนดรู้แล้ว


ซึ่งมีรอบ มีอาการ ๑๒ ทําให้พระพุทธองค์ทรงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ


นี้เหตุให้เกิดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกขนั้นควรละ เหตุให้เกิดทุกข์นั้นไดละแล้ว

นี้เหตุให้ทุกข์ดับ เหตุให้ทุกข์ดับนั้นควรทําให้แจ้ง เหตุให้ทุกข์ดับนั้นได้ทําให้แจ้งแล้ว นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ข้อปฏิบัตินั้นควรทําให้เกิด ข้อปฏิบัตนั้นได้ทําให้เกิดแล้ว

(ปี 46) ความเป็นพระสมมาสัมพุทธเจ้านั้น สําเร็จด้วยญาณอะไร? เพราะเหตุไร? พระพุทธองค์ ครั้นตรัสรู้แล้ว ทรงเปล่งพระอุทานในยามสดท้าย มีความว่าอย่างไร?ตอบ ด้วยอาสวักขยญาณฯ เพราะอาสวักขยญาณ คือความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ คือ เครื่องเศร้าหมองอันหมักหมมในจิตสันดานฯ มีความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกําจัดเสนามาร คือชรา พยาธิ มรณะ เสียได้ ดุจพระ อาทิตย์อุทัย กําจัดมืดทําอากาศให้สว่างขึ้นฉะนั้น

(ปี 43) ลักษณะทั้ง ที่พระพุทธองค์ทรงเห็นในมัชฌิมยามแห่งราตรีตรัสรู้คือ อะไรบ้าง? พระอุทานที่พระพุทธองค์ทรงเปล่งในปัจฉิมยามมีความ ว่าอย่างไร?

ตอบ คือ . ปัจจัตตลักษณะ ได้แก่การกําหนดโดยความเป็นกอง

. สามัญลักษณะ ได้แก่การกําหนดโดยความเป็นสภาพเสมอกัน คือ ความเป็นของไม่เที่ยง


มีความว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏชัดแก่พราหมณผู้มีเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกําจัดเสนามาร คือ ชรา พยาธิ มรณะเสียได้ ดุจพระ

อาทิตย์อุทัยขึ้นกําจัดมด ทําอากาศให้สว่างฉะนั้น

 

 


หลังตรัสรู้

(ปี 63, 54) พระพุทธเจ้าหลังจากได้ตรัสรู้แล้ว ทรงเปล่งอุทานในยามสุดท้ายว่าอย่างไร?

ตอบ ทรงเปล่งอุทานว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผมีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้น ย่อมกําจัดมารและเสนามารเสย อาทิตย์อุทัยกําจัดมดให้สว่างฉะนั้น

(ปี 61) ภัพพบุคคล คือบุคคลเช่นใด ? ประเภทที่ ท่านเปรียบด้วยอะไร ?


 

ได้ ดุจพระ


ตอบ ภัพพบุคคล คือบุคคลผู้สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้                               อุคฆติตญญู เปรียบด้วยดอกบัวพ้นน้า เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ ก็จักบานในวันนั้น

(ปี 58) พระพุทธองค์ทรงปฏิญาณว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร ?

ตอบ ทรงอาศัยเหตุที่ตรัสรู้อริยสัจ อย่างแจ่มแจ้งครบถ้วนทุกประการ จึงทรงปฏิญาณว่า เป็นสัมมาสัมพุทธะ

(ปี 58) พุทธจักษุ กับธรรมจักษุ ต่างกันอย่างไร ? แต่ละอย่างใครได้เป็นคนแรก ?

ตอบ พุทธจักษุ คือจักษุของพระพุทธเจ้า หมายถึงพระปัญญาของพระพุทธองค์ที่ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยแห่งเวไนยสตว์ ส่วนธรรมจักษุ คือดวงตา เห็นธรรม ได้แก่โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ฟังธรรม

พุทธจักษุ เป็นคุณสมบัติเฉพาะพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงได้เป็นพระองค์แรก และพระองค์เดียว ส่วนธรรมจักษุพระอัญญาโกณฑัญญะได้ เป็นองค์แรก ฯ

(ปี 57) ขณะที่พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุตติสุข รัตนฆรเจดีย์ ทรงพิจารณาธรรมอะไร? ตอบ ทรงพิจารณาพระอภิธรรม

(ปี 54) อนิมิสเจดีย์และรัตนจงกรมเจดีย์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทํากิจอะไร?

ตอบ อนิมิสเจดย์ เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับยืนจ้องดูต้นพระมหาโพธิโดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด วันรัตนจงกรมเจดีย์เป็นสถานที่ ที่ พระพุทธเจ้าทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นแล้ว เสด็จจงกรม ที่นั้นถ้วน วัน

(ปี 54) ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล ที่ท่านเปรียบกับดอกบัว เหล่า คือบุคคลประเภทใดบ้าง?

ตอบ ภัพพบุคคลคือบุคคลผสามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ ได้แก่ อุคฆติตัญญูที่เปรียบด้วยดอกบัวพ้นนํ้้า วิปจิตัญญูที่เปรียบด้วยดอกบัวเสมอนํ้า และ


เนยยะที่เปรียบด้วยดอกบัวที่ยังอยู่ในนํ้า ส่วนอภัพพบุคคลคือบุคคลผู้ไม่สามารถจะตรส


รู้ธรรมได้ ได้แก่ ปทปรมะที่เปรียบด้วยดอกบัวที่เป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า


(ปี 52) ภายหลังแต่ตรัสรู้แล้ว ในสัปดาห์ที่   พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่ไหน? และมเหตุการณสําคัญตามที่พระคันถรจนาจารย์กล่าวไว้

อย่างไรบ้าง? ตอบ ในสัปดาห์ที่ เสด็จประทับอยู่ภายใต้ไม้ราชายตนะ มีพ่อค้า คน ชื่อตปุสสะและภัลลิกะเดินทางผ่านมา ได้ถวายข้าวสัตตผง สัตตุก้อน และแสดงตนเป็นอุบาสกถึงรัตนะ เป็นคู่แรกในโลก

(ปี 51) ในขณะเสวยวิมุตตสุขใต้รมไม้มหาโพธิ์ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณา ข้อธรรมอะไร? และธรรมนั้นมีใจความย่อว่าอย่างไร?

ตอบ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท มีใจความย่อว่า สภาวะอย่างหนึ่งเป็นผลเกิดแตเหตุอย่างหนึ่งแล้ว ซํ้าเป็นเหตุยังผลอย่างอื่นให้เกิดต่อไปอีก เหมือนลูกโซ่เกี่ยวคล้องกันเป็นสาย

 


พุทธกิจ

(ปี 56) ในพุทธกิจจกถา พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสต


ว์ด้วยทรง มุ่งประโยชน์อะไร?


ตอบ ทรงมุ่งประโยชน์ทั้ง คือ . ทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ที่จะพึงได้ในปัจจุบัน

. สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือประโยชน์ที่จะพึงได้ในภายหน้า                                     . ปรมตถประโยชน์ คือประโยชน์อย่างยิ่ง ได้แก่ วิมุตติ ความหลด


พ้นพิเศษฯ


(ปี 46) พระพุทธกิจ อย่าง มีอะไรบ้าง? ข้อไหนที่ทรงบําเพ็ญเป็นนิจตราบเท่าปรินิพพาน?

ตอบ มี อย่าง คือ                    . เวลาเช้า เสด็จออกบิณฑบาต                         . เวลาเย็น ทรงแสดงธรรม                           . เวลายํ่าคํ่า ทรงโอวาทภิกษุ

. เวลาเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา . เวลายํ่ารุ่ง ทรงตรวจดูเวไนยสตว์ ฯ ยกเว้นข้อเสด็จออกบิณฑบาต นอกนั้นทรงบําเพ็ญเป็นนิจตราบเท่าปรินิพพาน

 

พระปัญจวัคคีย

·        ปัญจวัคคีย์ (คอยอุปัฏฐากพระมหาบุรุษ) ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ

ในวันอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี ว่า บรรพชิตไม่ควรเสพ .กามสุขัลลิกานุ โยค .อัตตกิลมถานุโยค มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางอริยมรรคมีองค์ และอริยสัจ ] บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งหมดในวันแรม คํ่าเดือน ด้วยธรรมะชื่อว่า อนัตตลักขณสูตร

(*** อนัตตลักขณสูตร ใจความว่า ขันธ์ทั้ง เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ควรยดมั่น)

·        พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็น ธรรมดา

·        ปัญจวัคคีย์ -> ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร(มัชฌิมาปฏิปทา อริยสัจ ) และอัตตลักขณสตร

(ปี 55) เมื่อพระเบญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้วพระบรมศาสดาทรงพิจารณาเห็นอย่างไร จึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดพระเบญจวัคคีย์? ตอบ ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเบญจวัคคีย์ตั้งอยู่ในที่แห่งสาวก มีอินทรีย์คือศรัทธาเป็นต้น แก่กล้า ควรเจริญวิปัสสนาเพื่อวิมุติได้แล้ว จึงทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดพระเบญจวัคคีย์

(ปี 52) พระอัญญาโกณฑัญญะเดมชื่ออะไร? ที่ได้ชื่ออัญญาโกณฑัญญะเพราะเหตุไร?

ตอบ  ชื่อโกณฑัญญะ    เพราะได้ดวงตาเห็นธรรมขณะฟังปฐมเทศนาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงเปลาอุทานว่า

อัญญาสๆ แปลว่า ได้รู้แล้วๆ อาศัยพระอุทานนี้ คําว่า อัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่บัดนั้นมา

(ปี 50) ฤษีปัญจวัคคีย์ออกบวชตามและอยู่ปรนนิบัติพระพุทธองค์ขณะทรงบําเพ็ญทุกรกิริยา เพราะคิดอย่างไร? หลีกหนีไปเพราะคิดอย่างไร? และการทั้ง นั้น มีผลดีอย่างไร?

ตอบ ออกบวชตามเพราะคิดว่า บรรพชาของพระองค์คงมีประโยชน์ พระองค์บรรลุธรรมใด จักทรงสั่งสอนให้ตนบรรลุธรรมนั้นบ้าง หลีกไปโดย คิดว่า พระองค์ทรงละทุกรกิริยาแล้ว คงจะไม่บรรลุธรรมพิเศษอันใดได้

การมาปรนนิบัตินั้น ทําให้สามารถเป็นพยานได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเคยประพฤติอัตตกิลมถานุโยคอย่างอุกฤษฎ์มาแล้ว แม้เช่นนี้ก็ไม่เป็นทางที่จะ ให้รู้ธรรมพิเศษอันใดได้ ส่วนการหลีกหนีไปนั้นก็เป็นผลดี เพราะเวลานั้นเป็นเวลาบําเพ็ญเพียรทางจิต ซึ่งต้องการความสงัด

(ปี 44) พระปัญจวัคคีย์ ได้ออกบวชตามพระมหาบุรุษเพราะมความเชื่ออย่างไร? การได้บรรลุอริยผลของพระปัญจวัคคีย์ วันเดียวกันหรือต่างวันกัน?

ตอบ มีความเชื่อว่า พระมหาบุรุษจะได้ตรสรู้อย่างแน่นอน จึงพร้อมใจกันออกบวชติดตามเฝ้าอย่างใกล้ชิด ด้วยหวังว่า

พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จักได้เทศนาโปรดตน การบรรลุอริยผลชั้นต้นต่างวันกัน ส่วนการบรรลุอริยผลชั้นสูงสุด วันเดียวกัน

(ปี 44) บุคคลผู้ได้ชื่อว่า อัปปรชักขชาติ มีลักษณะอย่างไร? พระโกณฑัญญะ ได้นามเพิ่มข้างหน้าว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ เพราะเหตุใด?

ตอบ มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุน้อยเป็นปกติ สามารถจะรู้ทั่วถึงธรรมได้โดยพลัน

เพราะพระพุทธองค์ทรงทราบว่า ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน จึงทรงเปล่งอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฑญฺ โญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ อาศัยคําอุทานว่า อญฺญาสิ อญฺญาสิ ท่านจึงได้นามเพิ่มข้างหน้าว่า อัญญาโกณฑัญญะ


ดวงตาเห็นธรรม

·        ได้ดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นเกิดและดับ ใจความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา (ปี 64, 59) ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี เกิดขึ้นแก่พระโกณฑัญญะความว่าอย่างไร? ในขณะนั้น ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นไหน?

ตอบ ความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระโสดาบันฯ

(ปี 42) ที่ว่า ดวงตาเห็นธรรม นั้นเห็นธรรมอะไร? ใจความว่าอย่างไร? จงบอกชื่อพระสาวกที่ได้ดวงตาเห็นธรรมมา ท่าน และท่านได้จากใคร?

ตอบ คือเห็นเกิดและดับฯ ใจความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา

 

 

ยสะกุลบุตร

(ปี 57) ยสกุลบุตรฟังธรรมอะไรจากพระพุทธองค์ จนบรรลเป็นพระอรหันต์? จงบอกมาตามลําดับตั้งแต่ต้น

ตอบ ฟังอนุปุพพีกถาและอริสัจ๔ ครั้ง คือ ครั้งที่ บรรลุเป็นพระโสดาบัน                                           ครั้งที่ บรรลุเป็นพระอรหันต์

(ปี 48) สหายของพระยสะ คน ได้ออกบวชตามพระยสะ เพราะคิดอย่างไร?

ตอบ เพราะคิดว่า ธรรมวินัยที่พระยสะออกบวชนั้นจักไม่เลวทรามแน่แท้ คงเป็นธรรมวินัยอันประเสริฐ คิดดังนี้จึงได้ออกบวช

 

 

ชฎิล พี่น้อง

·        * ตั้งอาศรมอยู่ที่ ใกล้ฝั่งแม่นํ้าเนรญชรา ตําบลอุรุเวลาเสนานิคม

·        ชฎิล พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ และบริวาร ,๐๐๐ คน พระพุทธเจ้าแสดงอาทิตตปริยายสูตร *ที่ตําบลคยาสีสะ ใกล้แม่นํ้าคยา ใจความว่า อายตนะภายใน อายตนะภายนอก เป็นของร้อนๆ เพราะไฟกิเลสมีความกําหนัด ความโกรธหรือความหลง เผาลน จิตใจ และร้อนเพราะไฟทุกข์ มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความโศก รํ่าไร รําพัน ความคับแค้นใจ เป็นต้น มาเผาลนให้ร้อน

(ปี 60, 51) พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิล พี่น้องพร้อมบริวาร โดยบังเอิญหรือโดยตั้งพระหฤทัยไว้ก่อน? มีหลักฐานสนับสนุนคําตอบนั้นอย่างไร?

ตอบ โดยตั้งพระหฤทัยไว้ก่อน มีหลักฐานปรากฏว่า ในครั้งที่ทรงส่งพระสาวก ๖๐ องค์แรกไปประกาศพระพุทธศาสนาในที่ต่าง ทรงมีพระ ดํารัสว่า แม้เราก็จะไปยังตําบลอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อจะแสดงธรรม

 

พระเจ้าพิมพิสาร

·        ได้ดวงตาเห็นธรรม (บรรลุโสดาบัน) เพราะฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ สวนตาลหนุ่ม (ปี 53) พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อครั้งยังเป็นพระราชกุมาร ได้ตั้งความปรารถนาไว้อย่างไรบ้าง? ตอบ                 ได้ตั้งความปรารถนาไว้ว่า

. ขอให้ข้าพเจ้าได้รับอภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินมคธนี้เถิด

.  ขอท่านผู้เป็นพระอรหันต์ผรู้เองเห็นเองโดยชอบ  พึงมายังแว่นแคว้นของข้าพเจ้าผู้ได้รับอภิเษกแล้ว

. ขอข้าพเจ้าพึงได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์นั้น

. ขอพระอรหันต์นั้น พึงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า

. ขอข้าพเจ้าพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น

(ปี 46) ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสารข้อที่ ความว่าอย่างไร? ความปรารถนานั้นสําเร็จแก่พระองค์เมื่อไร? ที่ไหน?

ตอบ ความว่า ขอให้ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์

สําเรจบริบูรณ์ในวันที่ได้ฟังอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรด จนได้ดวงตาเห็นธรรม   ที่สวนตาลหนุ่ม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น