วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สรุปนักธรรมชั้นเอก หน้าที่ 2/10

 











สรุปธรรมวิจารณ์ นักธรรมชั้นเอก


(ปี 54) สัทธรรมปฏิรูป คืออะไร? เกิดขึ้นจากอะไร?

ตอบ คือ สัทธรรมชนิดที่ปลอมหรอเทียม ไม่ใช่สัทธรรมแท้   เกิดขึ้นจากความเห็นผิดหรือเข้าใจผิดของผู้เรียบเรียง เมื่อเรียบเรียงไปแม้ผิดก็หารู้ ไม่ ด้วยเข้าใจว่าของตนถูก แล้วได้นํามาปนไว้ในสัทธรรมที่แท้

 

สังขาร

(ปี 49) สังขารในไตรลักษณ์กับในขันธ์ ต่างกันอย่างไร?

ตอบ       สังขารในไตรลักษณ์ หมายเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ส่วนสังขารในขันธ์ หมายเอาเจตสิกธรรมที่ปรุงแต่งจิตให้มีอาการต่างๆ เว้นเวทนาและสญญา

 

อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา

(ปี 45) อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา มีอะไรปิดบังไว้จึงไม่ปรากฏ? อนิจจตา กําหนดรู้ได้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง?

ตอบ       อนิจจตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ถูกสันตติปิดบังไว้จึงไม่ปรากฏ ทุกขตา ความที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ถูกอิริยาบถปิดบังไว้ จึงไม่ปรากฏ

อนัตตตา ความที่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถูกฆนสัญญาปิดบังไว้ จึงไม่ปรากฏ กําหนดรู้ได้ด้วยอาการ อย่าง คือ

. ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นไปในเบื้องปลาย

. ในทางละเอียดกว่านั้น ย่อมกําหนดรไู้ ด้ด้วยความแปรในระหว่างเกิดและดับ

. ในทางอันเป็นอย่างสุขุม ย่อมกําหนดเห็นความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่งๆ คือไม่คงที่อยู่นาน เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว

 

 

ส่วนปรมัตถปฏิปทา นิพพิทา ความหน่าย

(ปี 62, 59, 43) นิพพิทาคืออะไร ? ปฏิปทาเครื่องดําเนินให้ถึงนิพพิทานั้นอย่างไร ?

ตอบ นิพพิทา คือความหน่ายในทุกขขันธ์ อย่างนี้คือ พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา ย่อมเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลิน ไม่ยึดมั่น ไม่หมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา

(ปี 51) นิพพิทา คืออะไร? บุคคลผู้ไม่ประสบลาภยศสรรเสริญสุข จึงเบื่อหน่ายระอาอย่างนี้ จัดเป็นนพพิทาได้หรือไม่? เพราะเหตุใด?

ตอบ คือ ความหน่ายในเบญจขันธหรือในทุกขขันธ์ด้วยปัญญา จัดเป็นนิพพิทาไม่ได้ เพราะความเบื่อหน่ายดังที่กล่าวนั้น เป็นความท้อแท้ มิใช่ เป็นความหน่ายด้วยปัญญา ฯ

 

Ø  เอทเทสแห่งนิพพิทา

อุทเทสที่                 เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ                       จิตฺตํ ราชรถูปมํ

ยตฺถ พลา วิสีทนฺตินตฺถิ                   สงฺโค วิชานตํ.

สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.

(ปี 64, 59) อุทเทสว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้" โลกในที่นี้ หมายถึง อะไร? คนมีลักษณะอย่างไรชื่อว่าหมกอยู่ในโลก?


ตอบ หมายถึง โลก โดยตรงได้แก่แผ่นดินเป็นที่อาศัย โดยอ้อมได้แก่หมู่สัตว์ผู้อาศัย

คนผู้ไร้วิจารณญาณไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอันให้โทษ ระเริงจนเกินพอดี ในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งอันเป็นอุปการะจนถอนตน ไม่ออก คนมีลักษณะอย่างนี้ ย่อมได้รับสุขบ้างทุกข์บ้าง แม้สุขก็เป็นเพียงสามิสสุข สุขอันมีเหยื่อล่อใจ เป็นเหตุให้ติดดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวไว้ฉะนั้น (ปี 62, 43) บุคคลเช่นไรชื่อว่าติดอยู่ในโลก? ผู้ติดอยู่ในโลกจะได้รับผลอย่างไร ?

ตอบ บุคคลผไู้ ร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ เพลิดเพลินในสิ่งอนให้โทษ ระเริง จนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ติดในสิ่งอันเป็นอุปการะชื่อว่า

ติดอยู่ในโลก ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น พึงอํานวย แม้สุขก็เป็นเพียงสามส คือ มีเหยื่อเจือด้วยของล่อใจ เป็นเหตุแห่งความติดดุจ

เหยื่อคือมังสะอันเบ็ด เกี่ยวไว้ [*👉มายเ👉 ปกติมักจะใช้สํานวน หมกอยู่ในโลก  แต่ข้อสอบนี้ใช้คําว่า ติดอยู่ในโลก แทน]

(ปี 61) พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์ อย่างไร?

ตอบ มีพระประสงค์เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริงอันมีอยู่ในโลก จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษ และ ไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ

(ปี 57) พระพุทธดํารัสที่ตรัสว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ กับที่ตรสกะ

โมฆราชว่า โมฆราช ท่านจงมีสติทุกเมื่อ เล็งเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ทรงมีพระประสงค์ต่างกันอย่างไร ?

ตอบ พระพุทธดํารัสแรก ทรงมีพระประสงค์ จะทรงปลุกใจให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้นๆ อันคุมเข้าเป็นโลก พระพุทธดํารัสหลัง ทรงมีพระประสงค์ให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่าเป็นอัตตา

(ปี 55) พระพุทธดํารัสตอนหนึ่งว่า "สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ" ดังนี้ โดยมีพระพุทธประสงค์อย่างไร?

ตอบ  มีพระพุทธประสงค์เพื่อทรงชักชวนแนะนําให้ดูถึงโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของโลก  เช่นเดียวกับดูละคร  มิให้หลงชมความสวยงามต่างๆ

แต่ให้เพ่งดูคติที่ดีและชั่ว มีให้เมามัวไปตามสิ่งนั้น ดังตรัสต่อไปอีกวา เป็นที่คนเขลาหมกอยู่ แต่ผรู้หาข้อติดไม่

(ปี 54) บทอุทเทสว่า เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ซึ่งแปลว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ พระศาสดาตรัสชวนให้มาดูโลกโดยมีพระประสงค์อย่างไร?

ตอบ ทรงมีพระประสงค์จะทรงปลุกใจพวกเราให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษประโยชน์ มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้น อันคุมเข้าเป็นโลก จะได้ไม่ ตื่นเต้นไม่ตดในสิ่งนั้น รู้จักละสิ่งที่เป็นโทษ ไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ

(ปี 53) อุทเทสว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ จงวิจารณ์ว่า ตอนไหนแสดง ปรมัตถปฏิปทา ตอนไหนแสดงปรมัตถ์ ตอนไหนแสดงสังสารวัฏฏ์? เพราะเหตุไร?

ตอบ ตอนที่ว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ แสดงปรมัตถปฏิปทา เพราะประสงค์ให้ดูเพื่อนิพพิทาเป็นต้น

ตอนที่ว่า แต่พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ แสดงปรมัตถ์ เพราะแสดงถึงความรู้ที่เป็นเหตุให้พ้นจากความข้องอยู่ซึ่งเป็นปรมตถธรรม อันจะพึงได้ด้วยการ ปฏิบัติในปรมัตถปฏิปทาโดยลําดับ

ตอนที่ว่า ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แสดงสังสารวัฏฏ์ เพราะต้องวนเวียนท่องเที่ยวไปด้วยความเขลา

(ปี 49) อุทเทสแห่งนิพพิทา ดังต่อไปนี้ มีความหมายว่าอย่างไร?                                   . คนเขลา        . ผู้รู้       . หมกอยู่        . หาข้องอยู่ไม่          . โลกนี้

ตอบ        . คนผู้ไร้วิจารณญาณ               . ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง                 . เพลิดเพลินหลงติดอยู่ในสิ่งอันมีโทษ                       . ไม่พัวพันในสิ่งล่อใจ . โดยตรง ได้แก่แผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อม ได้แก่หมู่สัตว์ผู้อาศัย

(ปี 43) คําว่าโลก ในพระบาลีว่า เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ ฯปฯ หมายถึงอะไร? พระบรมศาสดาทรงชักชวนให้มาดูโลกนี้โดยมีพระประสงค์อย่างไร? ตอบ คําว่า โลก โดยตรงหมายถึงแผ่นดินซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย โดยอ้อมหมายถึง หมู่สัตว์ผู้อยู่อาศัย ฯ ทรงมีพระประสงค์ให้พิจารณาดูให้รู้จักของจริง เพราะในโลกที่กล่าวนี้ย่อมมีพร้อมมูลบริบูรณ์ด้วยสิ่งที่มีคุณและโทษ พระบรมศาสดาทรง ชักชวน ให้มาดูโลก เพื่อให้รู้จักสิ่งที่เป็นจริง จักได้ละสิ่งที่เป็นโทษไม่ข้องติดอยู่ในสิ่งที่เป็นคุณ

(ปี 43) บุคคลเช่นไรชื่อว่าหมกอยู่ในโลก? ผู้หมกอยู่ในโลกได้รบผลอย่างไร?


ตอบ บุคคลผไู้ ร้พิจารณา ไม่หยั่งเห็นโดยถ่องแท้ ย่อมเพลิดเพลินในสิ่งอัน ให้โทษ ย่อมระเริงจนเกินพอดีในสิ่งอันอาจให้โทษ ย่อมติดในสิ่งอันเป็น


อุปการะ ชื่อว่าหมกอยู่ในโลก ย่อมได้เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อันสิ่งนั้น พึงอํานวย แม้สุขก็เป็นเพียง สามิส คือ มีเหยื่อเจือด้วยของลอ เหตุแห่งความติด ดุจเหยื่อคือมังสะอันเบ็ดเกี่ยวไว้


ใจ เป็น


 

อุทเทสที่                 เย จิตฺตํ สญฺญเมสสนฺติ                    โมกฺขนติ มารพนฺธนา.                    ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

(ปี 63, 61) คําว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร?

ตอบ       คําว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม อันทําจิตให้เศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น คําว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

(ปี 57, 48) การสํารวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในหนังสือธรรมวิจารณ์ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร?

ตอบ       แนะนําวิธีปฏิบัตไิ ว้ ประการคือ

. สํารวมอินทรียมิให้ความยินดีครอบงํา ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสยง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติหรืออันยังจิตให้สลด คือมรณสสติ

. เจรญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นข ธ์ สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

(ปี 53) ข้อว่า ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร ดังนี้ คําว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร? เพราะเหตุไรจึงชื่ออย่างนั้น?

ตอบ มาร ได้แก่กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ให้รักให้อยากได้ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทําให้เสียคน บ่วงแห่งมาร ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ ชื่ออย่างนั้นเพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติด


(ปี 49) อุทเทสว่า เย จิตฺตํ สญฺญเมสส

ตอบ การสํารวมจิตมี วิธี คือ


นฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา นั้น การสํารวมจิตทําอย่างไร?


. สํารวมอินทรีย์มิให้ความยินดีครอบงํา ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลน ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภะ กายคตาสติ และมรณสติ

. เจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

(ปี 48) การสารวมจิตให้พ้นจากบ่วงแห่งมาร ในธรรมวิจารณ์ท่านแนะนําวิธีปฏิบัตไิ ว้อย่างไร?  และถ้าจะจัดเข้าในไตรสิกขา จัดได้อย่างไร?

ตอบ       แนะนําวิธีปฏิบัตไิ ว้ ประการ คือ

. สํารวมอินทรียมิให้ความยินดีครอบงํา ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสยง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะและกายคตาสติหรืออันยังจิตให้สลด คือมรณสสติ

. เจรญวิปัสสนา คือ พิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จัดเข้าในไตรสิกขาได้ดังนี้          ประการที่ ๑ จัดเข้าในสีลสิกขา    ประการที่ ๒ จัดเข้าในจิตตสิกขา                                ประการที่ ๓                                จัดเข้าในปัญญาสิกขา (ปี 47) กิเลสกามและวัตถุกาม ได้แก่อะไร? อย่างไหนจัดเป็นมารและเป็นบ่วงแห่งมาร? เพราะเหตุไร?

ตอบ กิเลสกาม ได้แก่ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ กล่าวคือตัณหา ความทะยานอยาก ราคะ ความกําหนัด อรติ ความขึ้ง เคียด เป็นต้น จัดเป็นมาร เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดีและทําให้เสียคน

วัตถุกาม ได้แก่ รูป เสยง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ จัดเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะเป็นอารมณผูกใจให้ติดแห่งมาร

(ปี 46) บาลีแสดงปฏิปทาแห่งนิพพิทาว่า เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ผู้ใดสํารวมจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร คําว่า

บ่วงแห่งมาร ได้แก่อะไร? อาการสํารวมจิต คืออย่างไร?

ตอบ       ได้แก่วัตถุกาม คือ รูป เสยง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ อาการสํารวมจิตมี ๓ ประการ คือ


. สํารวมอินทรียมิให้ความยินดีครอบงํา ในเมื่อเห็นรูป ฟังเสยง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา

. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันท์ คือ อสุภและกายคตาสติ หรืออันยังจิตให้สลด คือมรณสติ

. เจรญวิปัสสนา คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

(ปี 44) คําว่า มาร และ บ่วงแห่งมาร หมายถึงอะไร? บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารด้วยวิธีอย่างไรบ้าง?

ตอบ       คําว่า มาร หมายถึงกิเลสกาม คือเจตสิกอันเศร้าหมอง ได้แก่ ตัณหา ราคะ และอรติ เป็นต้น คําว่า บ่วงแห่งมาร หมายถึงวัตถุกาม ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

ด้วยวิธี อย่างคือ . สํารวมอินทรีย์ มิให้ความยินดครอบงําในเมื่อเห็นรูปเป็นต้นอันน่าปรารถนา

. มนสิการกัมมัฏฐาน อันเป็นปฏิปักษ์แก่กามฉันท์ คือ อสุภะและกายคตาสติหรือมรณัสสติ

. เจรญวิปัสสนา  คือพิจารณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานเห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

 

Ø  ปฏิปทาแห่งนิพพิทา

อุทเทส สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺ จาติ... ... ...

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ... ... ...

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺ ตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใด เห็นด้วยปัญญาว่า  สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

...เป็นทุกข์...ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นทางแห่งวิสุทธิ. (ปี 45) นิพพิทาญาณ หมายถึงอะไร? ปฏิปทาแห่งนิพพิทา เป็นเช่นไร?

ตอบ หมายถึงปัญญาของผู้บําเพ็ญเพียรจนเกิดความหน่ายในสังขาร

การพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา แล้วเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลิน หมกมุ่นอยู่ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา นี้เป็นปฏิปทาแห่งนิพพิทา

 

อนิจจตา ความไม่เที่ยง จะกําหนดรู้ได้ด้วยวิธ

. ย่อมกําหนดรู้ได้ ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย

.  ในทางที่ละเอียดกว่านั้น  ย่อมกําหนดรู้ได้ด้วยความแปรในระหว่างเกิดและดับ

. ในอีกทางอันเป็นอย่างสุขุม ย่อมกําหนดเห็นความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง คือ ไม่คงที่อยู่นาน เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว

 

 


(ปี 63, 58) อนิจฺจตา ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร กําหนดรู้ในทางง่ายได้ด้วยอาการอย่างไร ?

ตอบ ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลาย

(ปี 60) ลักษณะเช่นใดบ้าง เป็นเครื่องกําหนดให้รู้ว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ? จงอธิบาย

ตอบ       . กําหนดรู้ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้น ในเบื้องปลาย

. กําหนดรู้ในทางละเอียดกว่านั้น ด้วยความแปรในระหว่างเกิดและดับ

. กําหนดรู้ในทางสุขุม ด้วยความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง ไม่คงที่อยู่นาน เช่น ความรส

(ปี 48) อนิจจตาแห่งสังขารทั้งหลาย จะกําหนดรู้ได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

ตอบ       . กําหนดรู้ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นในเบื้องปลายได้


 

 

 

 

ึกสุขทุกข์ เป็นต้น


. กําหนดรู้ในทางละเอียดกว่านั้นด้วยความแปรในระหว่างเกิดและดับได้

. กําหนดรู้ในทางสุขุม ด้วยความแปรแห่งสังขารในชั่วขณะหนึ่ง คือ ไม่คงที่อยู่นานเพียงระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว

(ปี 47) ไตรลักษณ์ ที่ว่าเห็นได้ยากนั้น เพราะอะไรปิดบังไว้? ผู้พิจารณาเห็นอนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้รับอานิสงส์อย่างไร?

ตอบ อนิจจตา มีสันตติ ความสืบต่อแห่งนามรูป ปิดบังไว้ ทุกขตา มีอิริยาบถ ความผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ปิดบังไว้ อนัตตตา มีฆนสญญา ความสําคัญเห็นเป็นก้อน ปิดบังไว้ ย่อมได้รับอานิสงส์ คือเพิกถอนสันตติได้ ทําให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไป ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ทั้งหลายด้วยปัญญาอันชอบ ย่อมเบื่อหน่ายในสังขารอันเป็นทุกข์ ดําเนินไปในหนทางแห่งความบริสุทธิ์

 

ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขาร ประกอบด้วยทุกข์ ๑๐ อย่าง ย่อมกําหนดเห็นด้วยทุกข์อย่างนี้

.  สภาวทุกข์ หรือทุกข์ประจําสังขาร คือ ชาติ ชรา มรณะ.

.  ปกิณณกทุกข์ หรือทุกขจร คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส.

.  นิพัทธทุกข์ คือ ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ.ทุกข์หมวดนี้ไม่ค่อยมีใคร คํานึงถึงนัก เพราะเป็นของระงับง่าย แต่ถ้าเป็นรุนแรงก็เหลือทนอยู่.

. พยาธิทุกข์ หรือทุกขเวทนา มีประเภทต่าง ตามสมุฏฐาน คืออวัยวะอันเป็นเจ้าการไม่ทําหน้าที่โดยปกติ. สองหมวดนี้ แสดงไว้ในคิริมานันท สูตร ตอนอาทีนวสัญญา โดยความเป็นโทษแห่งกาย.

. สันตาปทุกข์ ทุกข์คือความร้อนรุม หรือทุกข์ร้อน ได้แก่ ความกระวนกระวายใจเพราะถูกไฟคือกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เผา. ทุกข์หมวดนี้มา ในอาทิตตปริยายสูตร กล่าวเพรื่อมาถึงปกิณณกทุกข์ด้วย แต่ไม่เรียกว่าไฟเหมือนกิเลส ใช้กิริยาเพียงว่าเผาเหมือนกัน. โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ดูเป็นผลสืบมาจากราคะ ในเมื่อไม่ได้ปิยารมณ์สมหวัง หรือในเมื่อได้แล้วมาพรากไปเสียโทมนัส ดูเป็นผลสืบมาจากโทสะ ทุกข์ จะจัดเป็นผล


สืบมาจากโมหะก็ไม่สนิท เช่นนี้การจัดเป็นปกณ ร้อนแสบอันเกิดเพราะถูกไฟลวก.


ณกทุกข์เป็นไฟอีกกองหนึ่ง จึงไม่สนิท น่าจัดเป็นทุกขคงเดิม เกิดเพราะถูกกิเลสเผา ดุจความ


. วิปากทุกข์ หรือผลกรรม ได้แก่วิปฏิสารคือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์ คือถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย มาในบาลีมากแห่ง.

.  สหคตทุกข์ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กํากับกัน ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจากวิบุลผล ดังแสดงในโลกธรรมสูตร อัฏฐกังคุดรว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นทุกข์ละอย่าง . บางอาจารย์อธิบายว่า เป็นวิปริณามทุกข์ คือได้ทุกข์เมื่อแปรเป็นอื่นไป. น่าเข้าใจว่า มีลาภคือทรัพย์ ต้องเฝ้าต้อง ระวังจนไม่เป็นอันหลับนอนได้โดยปกติ เสียชีวิตในการป้องกันทรัพย์ก็มี มียศคือได้รับตั้งเป็นใหญ่กว่าคนสามัญเป็นชั้น ต้องเป็นอยู่เติบกว่า

คนสามญ จําต้องมีทรัพย์มากเป็นกําลัง มักหาได้ไม่พอใช้ ต้องมีภาระมาก เวลาไม่เป็นของตน เป็นที่เกาะของผู้อื่นจนนุงนัง ต้องพลอยสุขทุกข์

ด้วยเขาได้รับสรรเสริญ เหมือนดื่มเหล้าหวาน ชวนจะเพลินไปว่าตนดี ต้องมีสติระวังมิให้เมากล่าวคือเผลอตัว ดื่มเหล้าเสียอีก ผดื่มยังอาจยั้งได้ ส่วนสรรเสริญมาจากผู้ยั่วยวนอยู่เสมอ มีสุข เป็นทางปรารถนายิ่งขึ้น จึงยังไม่อิ่ม เป็นอันไม่ได้สุขจริง วิบุลผลอย่างนี้ มีทุกข์กํากับอยู่ด้วย แสดงในโลกธรรมสูตรว่าเป็นทุกขก็สม.

.  อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คือทุกข์ในการหากิน ได้แก่อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีวิต. สัตว์ทั้งหลายย่อมแย่งกันหากินดิรัจฉานมีเนื้อ เป็นภักษา ย่อมผลาญชีวิตชนิดเลกกว่าตนเป็นอาหารย่อมสู้กันเองบ้าง เพราะเหตุแห่งอาหาร สัตว์มีหญ้าเป็นภักษา ออกหากิน ย่อมเสี่ยงต่อ อันตราย ย่อมหวาดเสียวเป็นนิตย์ ต้องคอยหลีกหนีศัตรู หมู่มนุษย์มีการงานขัดทางแห่งกันและกัน ต่างคิดแข่งขันตัดรอนกัน ทําร้ายกัน ผลาญ ชีวิตกัน เพราะเหตุแห่งอาชีวะก็มีได้เสวยทุกข์อันเป็นวิบากเนื่องมาจากอาชีวะก็มีเป็นอันมาก แม้ผู้มีทางหาโดยไม่ต้องประกับผู้อื่น แทบทุกคน ยังรู้สึกว่า หาได้ไม่พอเพื่อเป็นอยู่สะดวก. ทุกข์ชนิดนี้แสดงในบาลี โดยเป็นสังเวควัตถุประการหนึ่ง.

.  วิวาทมูลกทุกข์ คือทุกข์มีวิวาทเป็นมูล ได้แก่ความไม่โปร่งใจ ความกลัวแพ้ ความหวั่นหวาด มีเนื่องมาจากทะเลาะกันก็ดี สู้คดีกันก็ดี รบกันก็ ดี แสดงในบาลโดยความเป็นกามาทีนพ.ทุกข์โดยประเภทเหล่านี้ พอเป็นเครื่องกําหนดเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์ได้อยู่จึงยุติไว้เพียงนี้.


๑๐. ทุกขขนธ์ หรือทุกข์รอบยอด หมายเอาสังขารคือประชุมปัญจขันธ์เอง แสดงในบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่า "โดยย่ออุปาทานขันธ์ เป็น ทุกข์" แสดงในบาลีปฏิจจสมุปบาทว่า "ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั่น ย่อมมีด้วยอย่างนี้.

 

(ปี 62, 54) ทุกข์ประจําสังขารกับทุกข์จร ต่างกันอย่างไร ?

ตอบ ทุกข์ประจําสังขาร เป็นทุกขที่ต้องมีแก่คนทุกคน ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงพ้น ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย

ส่วนทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ประจวบด้วยคนหรือสิ่งอันไม่เป็นที่รักพลัดพรากจากคน หรือสิ่งอันเป็น ที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง

(ปี 57) สภาวทุกข์ สันตาปทุกข์ ได้แก่อะไร ?

ตอบ สภาวทุกข์ ได้แก่ทุกข์ประจําสังขาร คือชาติ ชรา มรณะ                                 สนตาปทุกข์  ได้แก่ความกระวนกระวายใจเพราะถูกไฟคือกิเลสเผา 

(ปี 56) นิพัทธทุกข์ กับ สหคตทุกข์ ต่างกันอย่างไร?

ตอบ       นิพัทธทุกข์ คือทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ส่วนสหคตทุกข์ คือทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กํากับกัน ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจากวิบุลผล

(ปี 53) ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้น กําหนดเห็นด้วยทุกข์กี่หมวด? วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์เช่นไร?

ตอบ ๑๐ หมวด ได้แก่วิปฏิสาร คือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณ์คือถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยาก และความตกอบาย

(ปี 52) ทุกขขันธ์ หรือทุกข์รวบยอด หมายเอาอะไร? มีหลักฐานอ้างอิงในบาลีธัมมจักกัปปวัตตนสูตรว่าอย่างไร?

ตอบ หมายเอา สังขารคือประชุมปัญจขันธ์ มีหลักฐานว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ เป็นทุกข์

(ปี 50) สหคตทุกข์ คือทุกข์เช่นไร? มียศชื่อว่าเป็นทุกข์นั้น มีอธิบายอย่างไร?

ตอบ คือ ทุกข์ไปด้วยกัน หรือทุกข์กํากับกัน ได้แก่ทุกข์มีเนื่องมาจากวิบุลผล

มียศคือได้รับตั้งเป็นใหญ่กว่าคนสามัญเป็นชั้น ต้องเป็นอยู่เติบกวาคนสามัญ จําต้องมีทรัพย์มากเป็นกําลัง มักหาได้ไม่พอใช้ ต้องมีภาระมาก เวลา ไม่เป็นของตน เป็นที่เกาะของผู้อื่นจนนุงนัง ต้องพลอยสุขทุกข์ด้วยเขา

(ปี 49) ปกิณกทุกข์ คืออะไร? จะบรรเทาได้ด้วยวิธีอย่างไร?

ตอบ คือ ทุกข์จร เช่น ความเศร้าโศกเสียใจ ความรํ่าไรบ่นเพ้อรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบสิ่งที่ไม่พึง ปรารถนา ความพลัดพรากจากของรัก ความผิดหวังเป็นต้น

จะบรรเทาได้ด้วยการมสติ ใช้ปัญญาพิจารณา รู้จักปลงรู้จักปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น

(ปี 49) อาหารปริเยฏฐิทุกข์ คืออะไร? จะบรรเทาได้ด้วยวิธีอย่างไร?

ตอบ คือ ทุกข์ในการหาเลี้ยงชีพ เช่น ต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน เมื่อผลประโยชน์ขัดกัน ก็ทะเลาะกัน และเมื่อยิ่งแสวงหามากก็เป็นเหตให้เกิดทุกข์ มาก จะบรรเทาได้ด้วยการขยันประหยัดอดทนและ อดออม เป็นอยู่ด้วยปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพเท่าที่จําเป็น ตัดสิ่งฟุ้งเฟ้อที่ไม่จําเป็นออกไป ยินดี เท่าที่ตนมีอยู่โดยยึดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดํารงชวิต

(ปี 48) สภาวทุกข์และปกิณณกทกข์ คือทุกข์เช่นไร?

ตอบ สภาวทุกข์คือทุกข์ประจําสังขาร ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ                                   ปกิณณกทุกข์คือทุกข์จร ได้แก่ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส (ปี 47) ความเกิด ความแก่ และความตาย จัดเข้าในทุกข์หมวดไหน? โดยรวบยอด ทุกข์ที่แสดงในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ได้แก่ทุกข์เชนไร? ตอบ จัดเข้าในสภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจําสังขาร ได้แก่ อุปาทานขันธ์

(ปี 46) นิพัทธทุกข์ หมายถึงทุกข์อย่างไร? ในทุกข์ ๑๐ อย่าง ความร้อนใจ หรือความถูกลงอาชญา จัดเป็นทุกข์เช่นไร?

ตอบ หมายถึง ทุกข์เนืองนิตย์ หรือทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาว ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ จัดเป็นวิปากทุกข์


(ปี 44) ทุกขตา ความเป็นทุกข์แห่งสังขารนั้นกําหนดเห็นด้วยทุกข์กอย่าง? อะไรบ้าง? ความทุกข์ที่เกิดจากการต้องดิ้นรนต่อสู้ในการทํามาหากิน จัดเป็นทุกข์ชนิดไหน? ตอบ ด้วยทุกข์ ๑๐ อย่างคือ . สภาวทุกข์ . ปกิณกทุกข์ . นิพัทธทุกข์ . พยาธิทุกข์ . สันตาปทุกข์ . วิปาก ทุกข์ . สหคตทุกข์ . อาหารปริเยฏฐิทุกข์ . วิวาทมูลกทุกข์ ๑๐. ทุกขขันธ์   จัดเป็นอาหารปริเยฏฐิทุกข์

(ปี 43) วิปากทุกข์ได้แก่ทุกข์อย่างไร? อิฏฐารมณ์ จัดเป็นทุกข์ด้วยหรือไม่? ถ้าจัดได้ จัดเข้าในทุกข์หมวดไหน?

ตอบ ได้แก่ วิปฏิสารคือความร้อนใจ การเสวยกรรมกรณคือถูกลงอาชญา ความฉิบหาย ความตกยากและความตกอบายฯ อิฏฐารมณ์ จัดเป็นทุกข์ด้วยเหมือนกัน จัดเข้าในหมวดสหคตทุกข์ ทกข์ไปด้วยกัน

 


อนตฺตตา ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกําหนดรู้ด้วยอาการเหล่านี้ คือ.

. ด้วยไม่เป็นอยู่ในอํานาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา                               . ด้วยความเป็นสภาพสญ


คือว่างหรือหายไป


. ด้วยแย้งต่ออัตตา                                                          . ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

. ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

*** การกําหนดรู้ความเป็นอนัตตาของสังขาร รู้จักพิจารณากําหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อยๆ จากฆนคือก้อนจนเห็นเป็นความว่าง ถอน

ฆนสัญญาความสําคัญหมายว่าเป็นก้อน อันได้แก่ ความถือเอาโดยนิมิต ว่าเรา ว่าเขา ว่าผู้นั้น ว่าผนี้

 

*** ความเห็นอนัตตาพึงปรารถนาโยนิโสมนสิการกํากับ จะได้กําหนดรู้สัจจะทั้ง คือ

. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่นสงั ขารผู้ให้เกิด ชายสมมติว่าบิดา หญิงสมมติว่ามารดา เป็นต้น ย่อมเป็นจริงโดยสมมติ เช่นเดยวกับรถ และเรือน จะพึงคัดค้านมิได้

. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถะ คือ อรรถอันลึก เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นต้น กระจายให้ละเอียดออกไปได้อีก เพียงใด ยิ่งลึกดีเพียงนั้น ย่อมเป็นจริงโดยปรมัตถะ

 

(ปี   64)   บุคคลจะพึงกําหนดรสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตาดวยอาการอย่างไรบ้าง?

ตอบ ด้วยอาการอย่างนี้ คือ . ด้วยไม่อยู่ในอํานาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา                                                . ด้วยแย้งต่ออัตตา

. ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้  . ด้วยความเป็นสภาพสญ คือว่าง หรือหายไป                                         . ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

(ปี 58) ฆนสญญา คืออะไร? กําหนดเห็นสังขารอย่างไร จึงถอนสัญญานั้นได้?

ตอบ คือความจําหมายว่าเป็นก้อน ได้แก่ความถือโดยนิมิตว่าเรา ว่าเขา ว่าผู้นั้น ว่าผู้นี้ฯ ด้วยการพิจารณากําหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อยๆ จากฆนะ คือ ก้อน จนเห็นสังขารเป็นสภาพว่าง

(ปี 57) พระพุทธดํารัสที่ตรัสว่า สูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันตระการดุจราชรถ กับที่ตรสกะ

โมฆราชว่า โมฆราช ท่านจงมีสติทุกเมื่อ เล็งเห็นโลกโดยความเป็นของสูญ ทรงมีพระประสงค์ต่างกันอย่างไร ?

ตอบ พระพุทธดํารัสแรก ทรงมีพระประสงค์ จะทรงปลุกใจให้หยั่งเห็นซึ้งลงไปถึงคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์แห่งสิ่งนั้นๆ อันคุมเข้าเป็นโลก พระพุทธดํารัสหลัง ทรงมีพระประสงค์ให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความตามเห็นว่าเป็นอัตตา

(ปี  56)  ความเป็นอนัตตาของสังขารพึงกําหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง?

ตอบ       . ด้วยไม่อยู่ในอํานาจ หรือด้วยฝนความปรารถนา                                  . ด้วยแย้งต่ออัตตา                   . ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

. ด้วยความเป็นสภาพสญ คือว่างหรือหายไป                                     . ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

(ปี 55) การกําหนดรู้ความเป็นอนตตาแห่งสังขารด้วยความเป็นสภาพสูญนั้นคือ รู้อย่างไร?


ตอบ รู้จักพิจารณากําหนดเห็นสังขารกระจายเป็นส่วนย่อยๆ จากฆนคือก้อนจนเห็นเป็นความว่าง ถอนฆนสัญญาความสําคัญหมายว่าเป็นก้อน อัน ได้แก่ ความถือเอาโดยนิมิต ว่าเรา ว่าเขา ว่าผู้นั้น ว่าผู้นี้ เสียได้

(ปี 52) การพิจารณาเห็นสังขารเป็นอนัตตาโดยมีโยนิโสมนสิการกํากับ จะไม่กลายเป็นนตถิกทิฏฐิ เพราะกําหนดรู้ถึงธรรม ประการ ธรรมทั้ง ๒ นี้ได้แก่อะไร? ตอบ ได้แก่ สมมติสจจะ จริงโดยสมมติ และปรมัตถสจจะ จริงโดยปรมัตถะ

(ปี 51) ความเป็นอนัตตาแห่งสังขาร พึงกําหนดรู้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง?

ตอบ ด้วยอาการดังนี้ คือ . ด้วยไม่อยู่ในอํานาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา . ด้วยแย้งต่ออัตตา . ด้วยความเป็นสภาพหาเจาของมิได้

. ด้วยความเป็นสภาพสญ คือว่างหรือหายไป                         . ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

(ปี 43) สังขาร ในอธิบายแห่งปฏิปทาของนิพพิทานั้น ได้แก่อะไร?  จะพึงกําหนดรสังขารนั้นโดยความเป็นอนัตตาด้วยอาการอย่างไร?

ตอบ ได้แก่ สภาพอันธรรมดาแต่งขึ้น โดยตรงได้แก่เบญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันธรรมดาคุมกันเข้าเป็นกายกับใจ ด้วยอาการอย่างนี้ คือ . ด้วยไม่อยู่ในอํานาจ หรือด้วยฝืนความปรารถนา . ด้วยแย้งต่ออัตตา . ด้วยความเป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

. ด้วยความเป็นสภาพสญ คือว่าง หรือหายไป  . ด้วยความเป็นสภาวธรรมเป็นไปตามเหตุปัจจัย

 

 

วิราคะ ความสิ้นกําหนัด

Ø  อุทเทสแห่งวิราคะ

อุทเทสที่ นิพฺพินฺทํ วิรชฺ ชติ.                                                 เมื่อหน่าย ย่อมสิ้นกําหนัด.

อุทเทสที่ วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ.                                              วิราคะ เป็นประเสริฐ แห่งธรรมทั้งหลาย.

อุทเทสที่ สุขา วิราคตา โลเก กามานํ สมติกฺกโม.                                วิราคะ คือความก้าวล่วงเสียด้วยดี ซึ่งกามทั้งหลาย เป็นสุขในโลก.

 

Ø  ไวพจน์แห่งวิราคะ คําที่ใช้เรียกแทนกัน คือมีความหมายที่มุ่งถึงความสิ้นราคะเหมือนกัน

. มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง

.  ปิปาสวินโย ความนําออกเสียซึ่งความกระหาย ความกระหายเกิดเพราะอํานาจกามตัณหา ความอยากในกามคุณ , ภวตัณหา

ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็นนั่นเป็นนี่

. อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งความอาลัย

. วฏฺฏูปจฺเฉโท ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ

.  ตณฺหกฺขโย ความสิ้นตัณหา ได้แก่ ความอยาก มี ประการ ) กามตัณหา ความอยากในกาม ) ภวตัณหา ความอยากในภพ

) วิภวตัณหา ความอยากในวิภพ

. วิราโค ความสิ้นกําหนัด

. นิโรโธ ความดับ

. นิพฺพานํ ธรรมชาติหาเครื่องเสียบแทงมิได้

 

(ปี 64, 62, 56) คําว่า วัฏฏูปัจเฉโท ธรรมอันเข้าไปตัดซึ่งวัฏฏะ วัฏฏะ นั้นหมายถึงอะไร? และตดขาดได้อย่างไร? ตอบ หมายถึง ความเวียนเกิดด้วยอํานาจ กิเลส กรรม วิบาก ตัดขาดได้โดยการละกิเลสอันเป็นเบื้องต้นเสีย (ปี 63, 50) ไวพจน์แห่งวิราคะ ได้แก่อะไรบ้าง?

ตอบ ได้แก่ มทนิมฺมทโน แปลว่า ธรรมยังความเมาให้สร่าง ปิปาสวินโย  แปลว่า ความนําเสียซึ่งความระหาย


อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลยั วฏฺฏูปจฺเฉโท แปลว่า ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ ตณฺหกฺขโย   แปลว่า ความสิ้นแห่งตัณหา

วิราโค                   แปลว่า ความสิ้นกําหนัด

นิโรโธ                   แปลว่า ความดับ

นิพฺพานํ    แปลว่า ธรรมชาติหาเครื่องเสยบแทงมิได้

(ปี 61) คําว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร ?

ตอบ หมายถึงความเมาในอารมณอันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น ชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี ความ เยาว์วัย ความไม่มโรค และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอารมณ์ประเภทนี้

(ปี 60) ตัณหา เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดที่ไหนและเมื่อดับย่อมดับทไี่ หน ? ตัณหานั้นย่อมสิ้นไปเพราะธรรมอะไร ?

ตอบ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เมื่อดับย่อมดับ ในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เพราะวิราคะ คือพระนิพพาน

(ปี 59) วิราคะ ได้แก่อะไร ? คําว่า "วฏฺฏูปจฺเฉโท ธรรมเข้าไปตัดเสยซึ่งวัฏฏะ" มีอธิบายว่าอย่างไร ?

ตอบ ได้แก่ ความสิ้นกําหนัด อธิบายว่า วัฏฏะ หมายเอาความเวียนว่ายตายเกิดด้วยอํานาจกิเลสกรรมและวิบาก วิราคะเข้าไปตัดความเวียน ว่ายตายเกิดนั้น จึงเรียกว่า วฏฺฏูปจฺเฉโท ธรรมเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ

(ปี 58) ไวพจน์แห่งวิราคะว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง ความเมาในที่นี้ หมายถึงความเมาในอะไร?

ตอบ หมายถึงความเมาในอารมณอันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่นความถึงพร้อมแห่งชาติ สกุล อิสริยะ และบริวาร หรือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือความเยาว์วัย ความหาโรคมิได้ และชีวิต

(ปี 55) ความอยากที่เข้าลักษณะเป็นตัณหา และไม่เป็นตัณหานั้น ได้แก่ความอยากเช่นไร เพราะเหตุไร?

ตอบ ความอยากที่เข้าลักษณะทําให้เกิดในภพอีก ประกอบด้วยความกําหนัดด้วยอํานาจความยินดี เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ อย่างนี้จัดเป็น ตัณหา เพราะเป็นทุกขสมุทัย เหตุให้ทุกข์เกิด

ส่วนความอยากที่มีอยู่โดยปกติธรรมดาของคนทุกคน แม้กระทั่งพระอริยเจ้า เช่นความอยากข้าว อยากนํ้าเป็นต้น ไม่จัดว่าเป็นตัณหา เพราะเป็น ความอยากที่เป็นไปตามธรรมดาของสังขาร

(ปี 55) วิราคะในพระบาลีว่า วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ วิราคะประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย และในพระบาลีว่า วิราคา วิมุจฺจติ เพราะสนกําหนัด ย่อมหลดพ้น ต่างกันอย่างไร?

ตอบ วิราคะในพระบาลีแรกเป็นไวพจน์คือคําแทนชื่อพระนิพพาน                                           วิราคะในพระบาลีหลังเป็นชื่อของพระอริยมรรค

(ปี 45) วิราคะเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง คําว่า "ธรรมทั้งปวง" หมายถึงอะไร? นิโรธที่เป็นไวพจน์แห่ง วิราคะ หมายถึงอะไร? ตอบ หมายถึง สังขตธรรม คือธรรมอันธรรมดาปรุงแต่ง และอสังขตธรรม คือธรรมอันธรรมดามิได้ปรุงแต่ง ฯ หมายถึงความดับทุกข์ เนื่องมาจากดับตัณหา

(ปี 45) ตัณหาคืออะไร? ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดที่ไหนและเมื่อดับย่อมดับทไี่ หน? คําว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร?

ตอบ คือความอยาก เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เมื่อดับย่อมดับในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ฯ หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น สมบัติแห่งชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี เยาว์วัย ความหาโรคมิได้ และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอารมณประเภทนี้


วิมุตติ ความหลุดพ้น

Ø  เอทเทสแห่งวิมุตติ

อุทเทสที่ วิราคา วิมุจฺจติ.                                      เพราะสิ้นกําหนัด ย่อมหลุดพ้น.

อุทเทสที่ กามาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ ภวาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ อวิชฺชาสวาปิ จิตฺตํ วิมุจฺจิตฺถ.

จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะเนื่องด้วยกาม จิตหลุดพ้นแล้ว

แม้จากอาสวะเนื่องด้วยภพ จิตหลุดพ้นแลว แม้จากอาสวะ เนื่องด้วยอวิชชา.

อุทเทสที่ วิมุตฺตสสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี

 

 


วิมุตติ


.ตทังควิมุตติ 👉ลุดพ้นด้วยองค์นั้น ได้แก่การระงับอกุศลเจตสิกได้เป็นคราว

.วิกขมภนวิมุตติ 👉ลุดพ้นด้วยข่มไว้ ได้แก่การระงับกิเลสกามและอกุศลธรรมด้วยกําลังฌาน

.สมุจเฉทวิมุตติ 👉ลุดพ้นด้วยตัดขาด ได้แก่ระงับกิเลสด้วยอริยมรรค (จัดเข้าใน อริยมรรค)

.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความ👉ลุดพ้นด้วยความสงบราบ ได้แก่อริยผล (จัดเข้าใน อริยผล)


.นิสสรณวิมุตติ ความ👉ลุดพ้นด้วยออกไปเสย ได้แก่นิพพาน (จัดเข้าใน นิพพาน)

สาสวะ แปลว่า เป็นไปกับด้วยอาสวะ, ประกอบด้วยอาสวะ, ยังมีอาสวะ, เป็นโลกิยะ

อนาสวะ แปลว่า ไม่มีอาสวะ, อันหาอาสวะมไิ ด้

(ปี 62, 46) วิมุตติ อย่างไหนเป็นโลกิยะ อย่างไหนเป็นโลกุตตระ ?

ตอบ ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ เป็นโลกิยะ                                                   สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ เป็นโลกุตตระ


(ปี 61) บาลีอุทเทสว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ แปลว่า เมื่อหลุดพ้นแล้ว ญาณว่า หลุดพ้นแลว

ตอบ จิตหลุดพ้น จากอาสวะ

(ปี 60, 54) ในวิมุตติ วิมุตติใดจัดเป็น อริยมรรค อริยผล นิพพาน ?


ย่อมมี อะไรหลดพ้น? และหลุดพ้นจากอะไร?


ตอบ สมุจเฉทวิมุตติ จัดเป็น อริยมรรค                                ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ จัดเป็น อริยผล                                   นิสสรณวิมุตติ จัดเป็น นิพพาน

(ปี 60, 46) พระบาลีว่า "ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ บุคคลย่อมหมดจดด้วยปัญญา" มีอธิบายอย่างไร ?

ตอบ มีอธิบายว่า ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารไม่เที่ยง เป็นทกข์ เป็นอนัตตา เกิดความเบื่อหน่ายแล้ววางเฉยในสังขารนั้น ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล ความหมดจดย่อมเกิดด้วยปัญญาอย่างนี้ ฯ

(ปี 59) ความหลุดพ้นอย่างไรเป็นสมุจเฉทวิมุตติ? จัดเป็นโลกิยะหรอโลกุตตระ?

ตอบ ความหลุดพ้นด้วยการตัดกิเลสได้เด็ดขาด ได้แก่อริยมรรค จัดเป็นโลกุตตระ

(ปี 58) จงสงเคราะห์มรรคมีองค์ เข้าในวิสุทธิ มาดู

ตอบ       สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในสีลวิสุทธิ                                    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ จัดเข้าในทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิฯ

(ปี 56) ความเชื่อว่ามีพระเจ้าผู้สร้าง ทําการอ้อนวอนและบวงสรวงเป็นอาทิ จัดเข้าในอาสวะข้อไหน? ตอบ จัดเข้าใน อวิชชาสวะ

(ปี 55) วิราคะในพระบาลีว่า วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ วิราคะประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลายและในพระบาลีว่า วิราคา วิมุจฺจติ เพราะสิ้นกําหนัดย่อมหลุดพ้นต่างกันอย่างไร?

ตอบ วิราคะในพระบาลีแรกเป็นไวพจน์คือคําแทนชื่อพระนิพพาน                                           วิราคะในพระบาลีหลังเป็นชื่อของพระอริยมรรค

(ปี 53) วิมุตติ ความหลดพ้นนั้น ตัวหลุดพ้นคืออะไร? หลุดพ้นจากอะไร?  ตัวรู้ว่าหลดพ้นคืออะไร? จงอ้างหลักฐานประกอบด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น