วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

เทคนิคการเรียนวิชาเรียงความกระทู้ธรรม

เทคนิคการเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมสำหรับธรรมศึกษาตรี เพราะธรรมศึกษาชั้นตรีเป็นชั้นปฐมภูมิที่ผู้เรียนเองยังไม่มีความรู้พื้นในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมและการเรียนธรรมศึกษาเลย ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีเทคนิคการเรียนของแต่ละวิชาเพื่อเป็นตัวช่วยให้ง่ายแก่ความเข้าใจของผู้เรียนเองและการสอบธรรมสนามหลวง ดังนั้นผู้เรียนควรจะทำตามบทความนี้ครับ

ขั้นที่ 1. ฟังคำอธิบายจากครูอาจารย์ให้เข้าใจชัดเจนก่อน
การฟังการอธิบายของครูอาจารย์/พระอาจารย์ถือเป็นขั้นแรกในการเรียนทุกอย่างในโลกเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและประสบความสำเร็จ ดังนั้นวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมผู้เรียนธรรมศึกษาควรตั้งใจฟังการอธิบายจากครูอาจารย์ให้เข้าเสียก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากวิชานี้ผู้เรียนต้องทั้งความเข้า ความจำ ภาษาและความแม่นยำ ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การฝึกหัดมาอย่างดีเท่านั้นถึงจะทำข้อสอบวิชานี้ได้สูง

ขั้นที่ 2. ศึกษาโครงสร้างด้วยตนเองอีกครั้งและต้องจำให้ได้
เมื่อผู้เรียนผ่านขั้นแรกมาแล้วในขั้นนี้ก็ควรจะศึกษาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง วิธีการศึกษาด้วยตนเองก็ง่ายๆ ครับมีหลักดังนี้
  • ดูตัวเองว่าจำโครางสร้างรูปแบบการเขียนได้ทุกขั้นตอนหรือยัง ตั้งแต่คำเกริ่นนำ(บัดนี้..)ไปจนถึงประโยค ปิดท้าย(มีนัยดังพรรณนามาก็มีด้วยประการฉะนี้)
  • หากจำยังไม่ได้หมดอาจจะใช้วิธีการท่องคำในจุดนั้นๆ ไปเลยเอาให้ใจ
  • แต่ละจุดตามโครงสร้างการเขียนต้องใจให้ได้หมด
ขั้นที่ 3. ท่องสุภาษิตไว้ให้ได้แต่เนิ่นๆ
การท่องจำสุภาษิตควรท่องไว้สัก 2สุภาษิตไว้แต่เนิ่นๆ มันจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากครับ เพราะหากท่องได้เร็วเราก็มีโอกาสท่องสุภาษิตอื่นๆ อีก และมันจะช่วยลดความกังวลต่อการจำสุภาษิตของผู้เรียนเอง เราก็จะมีเวลาได้ดูวิชาอื่นๆ ด้วย อย่าลืมนะครับว่าการสอบวิชานี้ผู้เรียนธรรมศึกษาตรีจะต้องนำสุภาษิตที่ท่องไว้เองไปเชื่อมด้วยหนึ่งสุภาษิตพร้อมบอกที่มาของสุภาษิตนั้น

ขั้นที่ 4. ฝึกเขียนอธิบายสุภาษิตที่ตัวเองท่องไว้
เมื่อเราเข้าใจในหลักการวิธีการโครงสร้างการเขียนดีแล้วและจำสุภาษิตได้แล้ว ในขั้นนี้ก็ท่องนำสุภาษิตนั้นมาฝึกหัดเขียนอธิบายสัก 2-3 ครั้ง ประมาณ 1-2 หน้ากระดาษจนให้เกิดความชำนาญเสียก่อน เมื่อนำไปเชื่อมความในการสอบธรรมสนามหลวงจะได้ง่ายขึ้นครับ

Tipวิชานี้ยิ่งทำตามในขั้นที่ 4 บ่อยมากแค่ไหนก็ยิ่งเพิ่มประสบการณ์และความแข็งแกร่งในการทำข้อสอบของตัวผู้เรียนเอง

แบบกระทู้ธรรมชั้นเอก



กระทู้ธรรมชั้นเอก,เรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นเอก
ลำดับการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท ๑๖ ข้อ ดังนี้

๑. เขียน สุภาษิตบทตั้ง-พร้อมคำแปล
๒. เขียน คำนำ “บัดนี้ จักได้อธิบาย...สืบต่อไป”
๓. เขียน อธิบายสุภาษิตบทตั้ง ๘-๑๕ บรรทัด
๔. เขียน บอกที่มาสุภาษิตเชื่อม๑ “สมดังสุภาษิตที่มาใน..........ว่า”
๕. เขียน สุภาษิตเชื่อม๑ /พร้อมคำแปล
๖. เขียน อธิบายสุภาษิตเชื่อม๑ ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
๗. เขียน บอกที่มาสุภาษิตเชื่อม๒ “สมดังสุภาษิตที่มาใน..........ว่า”
๘. เขียน สุภาษิตเชื่อม๒ /พร้อมคำแปล
๙. เขียน อธิบายสุภาษิตเชื่อม๒ ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
๑๐. เขียน บอกที่มาสุภาษิตเชื่อม๓ “สมดังสุภาษิตที่มาใน..........ว่า”
๑๑. เขียน สุภาษิตเชื่อม๓ /พร้อมคำแปล
๑๒. เขียน อธิบายสุภาษิตเชื่อม๓ ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
๑๓. เขียน สรุปความประมาณ ๕-๗ บรรทัด
๑๔. เขียน ปิดท้ายสรุปว่า “สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า”
๑๕. เขียน ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิด
๑๖. เขียน ปิดกระทู้ธรรมด้วย “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้”

สำคัญ : ผู้ที่สอบเขียนเรียงความกระทู้ธรรมชั้นเอก ให้ถูกต้องตามโครงสร้างกระทู้ธรรม จะต้องเขียนตาม
ลำดับการเขียนทั้ง ๑๖ ข้อเบื้องต้นนี้ หากขาดข้อใดหนึ่งนั้นหมายถึงเรียงความแก้กระทู้ธรรมนั้นไม่สมบูรณ์ 
เป็นเหตุให้ผู้สอบเสียคะแนนโดยไม่จำเป็น
ขอบคุณที่มา เพจ: นักธรรม ธรรมศึกษา

*************************************
ตัวอย่างที่ ๑ 








แบบกระทู้ธรรมชั้นโท


กระทู้ธรรมชั้นโท,เรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท
ลำดับการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นโท ๑๓ ข้อ ดังนี้
๑. เขียน สุภาษิตบทตั้ง-พร้อมคำแปล
๒. เขียน คำนำ “บัดนี้ จักได้อธิบาย...สืบต่อไป”
๓. เขียน อธิบายสุภาษิตบทตั้ง ๘-๑๕ บรรทัด
๔. เขียน บอกที่มาสุภาษิตเชื่อม๑ “สมดังสุภาษิตที่มาใน..........ว่า”
๕. เขียน สุภาษิตเชื่อม๑ /พร้อมคำแปล
๖. เขียน อธิบายสุภาษิตเชื่อม๑ ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
๗. เขียน บอกที่มาสุภาษิตเชื่อม๒ “สมดังสุภาษิตที่มาใน..........ว่า”
๘. เขียน สุภาษิตเชื่อม๒ /พร้อมคำแปล
๙. เขียน อธิบายสุภาษิตเชื่อม๒ ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
๑๐. เขียน สรุปความประมาณ ๕-๗ บรรทัด
๑๑. เขียน ปิดท้ายสรุปว่า “สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า”
๑๒. เขียน ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิด
๑๓. เขียน ปิดกระทู้ธรรมด้วย “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้”

สำคัญ : ผู้ที่สอบเขียนเรียงความกระทู้ธรรมชั้นโท ให้ถูกต้องตามโครงสร้างกระทู้ธรรม จะต้องเขียนตามลำดับ
การเขียนทั้ง ๑๓ ข้อเบื้องต้นนี้ หากขาดข้อใดหนึ่งนั้นหมายถึงเรียงความแก้กระทู้ธรรมนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นเหตุให้
ผู้สอบเสียคะแนนโดยไม่จำเป็
ขอบคุณที่มา เพจ: นักธรรม ธรรมศึกษา

***********************************************************************
ตัวอย่างที่ ๑





ตัวอย่างที่ ๒




ตัวอย่างกระทู้ธรรมชั้นโท 

คลิก →หมวดกรรม,หมวดขันติ,หมวดคบหา,หมวดตน,หมวดสามัคคี