วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การเขียนกระทู้ธรรมชั้นโท ตัวอย่าง หมวดกรรม,หมวดขันติ,หมวดคบหา,หมวดตน,หมวดสามัคคี

การเขียนกระทู้ธรรมชั้นโท ตัวอย่าง หมวดกรรม,หมวดขันติ,หมวดคบหา,หมวดตน,หมวดสามัคคี

การเขียนกระทู้ธรรมชั้นโท สาหรับสอบธรรมสนามหลวง

ตัวอย่าง หมวดกรรม


อถ ปาปานิ กมฺมานิ กร พาโล น พชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่ มีปัญญาทราม ทากรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
รู้สึกเขาเดือดร้อน เพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้

        บัดนี้จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนาไปปฏิบัติสืบต่อไป
คาว่า กรรม หมายถึง การกระทาด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ หรือด้วยทั้งสามทางหรือกิริยาอาการที่บุคคลทาลงไปด้วยเจตนาทุกอย่างรวมเรียกว่า กรรม และกรรมนี้แบ่งออกเป็นฝ่ายใหญ่ ๆ สองฝ่ายด้วยกันคือฝ่ายดีเรียกทั่วไปว่ากุศลกรรม เช่นการสมาทานรักษาศีลการบาเพ็ญจิตภาวนา การอบรมสร้างเสริมปัญญาเป็นต้น และฝ่ายชั่วเรียกว่า อกุศลกรรมบ้างเรียกว่าบาปกรรมบ้างเช่นการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม เป็นต้นกรรมฝ่ายดีให้ผลเป็นสุข กรรมฝ่ายชั่วให้ผลเป็นทุกข์ ใครจะเชื่อไม่เชื่อ ใครจะเห็นตามหรือไม่ ความจริงเป็นเช่นนี้ตลอดไป สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน สังยุตฺตนิกาย สคาถวรรค ว่า
ยาทิส วปเต พีช ตาทิส ลภเต ผล
กลฺยาณการี กลฺยาณ ปาปการี จ ปาปก .
ความว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผล
เช่นนั้น ผู้ทากรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทากรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

        ในพระคาถานี้แสดงว่า “ผู้ทากรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทากรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว” ดี ในที่หมายถึง ความสุข ความสบาย ความสมปรารถนา ตลอดถึงความไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสงสารสาครอันไม่รู้จักจบสิ้น ส่วนคาว่า ผลชั่ว หมายถึง ความทุกข์ ความเดือดร้อนกายใจมีประการต่างๆ รวมทั้งความทุกข์เพราะต้องเวียนว่ายตายเกิดบ่อยๆ อันมีอาการร้อนรุมดุจถูกไฟสุมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น คนที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกรรมดี อะไรเป็นกรรมชั่ว เรียกว่า คนโง่ แต่คนที่รู้ว่าอะไร คือกรรมดีกรรมชั่วแล้วกลับไม่เชื่อว่ากรรมชั่วที่ตนทาจะตามให้ผลแก่ตนได้นั้นเรียกว่า คนมีปัญญาทราม คือ เขามีความรู้ความเข้าใจเหตุผลอยู่แต่กลับอวดดี มีความประมาทขาดความรอบคอบมีความเห็นเอนเอียงไปในฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ ทาให้มีความดาริผิดเป็นจึงไม่เห็นดีชั่ว บาปบุญคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เมื่อยังไม่ได้รับรสแห่งผลกรรมชั่วจึงไม่รู้สึก แต่กลับ กระหยิ่มยิ้มย่องคุยโตโอ้อวดแสดงความอหังการ ครั้นเมื่อกรรมชั่วนั้นให้ผลก็สับสนเดือดร้อนบุคคลเช่นนี้ สมดังพุทธศาสนสุภิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า

มธุวา มญฺตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺข นิคจฺฉติ.
ตราบใดที่กรรมชั่วยังไม่ให้ผล พาลชนก็ยังเชื่ออยู่
ว่ามันยังมีรสหวาน แต่พอกรรมชั่วนั้นให้ผลเขาก็เป็นทุกข์

     ตามความสุภาษิตข้อนี้มีความจริงที่เห็นได้อยู่ทุกยุคทุกสมัย พวกโจรอันธพาลพวกใจบาปหยาบร้ายที่ชอบประพฤติทุจริต ปล้นจี้ ฆ่าทาร้ายผู้อื่น รวมทั้งผู้กระทากรรมชั่วอื่นๆ ยามที่เขาประกอบทุจริตกรรมเหล่านั้นโดยไม่ถูกขัดขวาง และยังไม่ถูกจับไปลงโทษทัณฑ์ตามกฎหมายบ้านเมือง เขาก็สนุกเพลิดเพลิน กระหยิ่มยิ้มย่อง แสดงความลาพองโอ้อวดความสามารถของตน ด้วยคิดว่า นั้นคือความสุขความสาราญแห่งชีวิตโดยแท้ แต่เมื่อครั้นกรรมชั่วตามให้ผลทัน เช่นถูกเจ้าทรัพย์ขัดขวางทาร้ายเอา หรือถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองจับไปลงโทษมีการขังคุกและการทรมานเป็นต้นตามสมควรแก่โทษ เขาก็เดือดร้อนขึ้นมาอย่างน้อยที่สุดก็หมดอิสรภาพในการดารงชีพ อย่างที่คนดีทั้งหลายเขามี
สรุปความว่า ท่านพุทธศาสนิกชน ควรฝึกตนให้มีปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความดาริชอบเป็นนิตย์ประกอบกิจแต่ส่วนที่เป็นบุญกุศล ก็จะสามารถห่างไกลจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้ เพราะกรรมย่อมจาแนกสัตว์ให้ดีและเลว คนที่จะมีสุขหรือมีทุกข์ ก็เพราะกรรมของตน คนโง่คนมีปัญญาทรามเท่านั้นที่เลือกทากรรมชั่วมีผลให้ตัวเดือดร้อนส่วนคนที่มีปัญญาสัมมาทิฏฐิจะเลือกทาแต่กรรมที่เป็นบุญกุศลอันจะนาตนไปสู่ความสุขทั้งชาตินี้ และชาติหน้า สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า

อถ ปาปานิ กมฺมานิ กร พาโล น พชฺฌติ
เสหิ กมฺเมหิ ทมฺเมโธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ
เมื่อคนโง่ มีปัญญาทราม ทากรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก
รู้สึกเขาเดือดร้อน เพราะกรรมของตน เหมือนถูก
ไฟไหม้
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

ตัวอย่าง หมวดขันติ

อตฺตาโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคม มคฺค อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติชื่อว่านาประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.

       บัดนี้จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนาไปปฏิบัติสืบต่อไป
       คาว่า ผู้มีขันติ ในทางพระพุทธสาสนา หมายถึงมีความอดทน มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง คือไม่อ่อนไหวมรสิ่งแวดล้อมที่เป็นเหตุให้เกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย หรือจะเป็นสาเหตุให้ทาอกุศลธรรม อันเกิดจากโลภะ โทสะ โมหะ ยกตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมีพระสาวกชื่อว่าองคุลีมาล ตามประวัตินั้นท่านองคุลีมาลท่านเคยเป็นจอมโจรผู้เหี้ยมโหด และมีชื่อเสียงมาก ได้เข่นฆ่าผู้คนให้ตายไปเป็นจานวนมาก จนท่านกลายเป็นฆาตกรหมายเลขหนึ่งในสมัยนั้น ต่อเมื่อเมื่อท่านได้รับฟังคาสอนของพระพุทธเจ้าแล้วกลับใจได้ออกบวชประพฤติวัตรในพระพุทธศาสนา ช่วงแรกที่ท่านบวชเป็นพระนั้นท่านต้องใช้ขันติอย่างสูงยิ่ง ประการแรก คือไม่มีใครยอมรับท่านได้ ทาให้ท่านได้รับความยากลาบากมากในเรื่องอาหารและที่อยู่อาศัย เพราะเหตุนี้ท่านจึงมีความกดดันมากยากที่จะอดทนให้สงบใจอยู่ได้ แต่ว่าท่านก็พยายามบาเพ็ญขันติธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือต้องอดทนให้ถึงที่สุด ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติอย่างไม่ลดละจนจิตสงบเป็นสามธิและได้บรรลุพระสัจธรรมในที่สุด การใช้ขันติธรรมของท่านนับว่าเป็นประโยชน์สองด้าน คือ หนึ่งท่านกลัยใจไม่เป็นโจรอีกและได้บรรลุพระอรหันต์ สอง คือปัญหาสังคมที่ท่านเคยก่อไว้ก็ได้สงบระงับไปสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน สวดมนต์ฉบับหลวง ว่า

เกวลาน ปิ ปาปาน ขนฺติ มูล นิกนฺตติ
ครหกลหาทีน มูล ขนฺติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตักรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่า
ย่อมขุดรากแห่งความติเตียน และการทะเลาะกันเป็นต้นไป

     ตามความหมายพุทธภาษิตที่ว่า ขันติย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น หมายถึง มูลให้เกิดอกุศลกรรมทั้งปวงซึ่งมี ๓ อย่าง คือ ๑.โลภะ ความโลภ เป็นความมักมากในวัตถุสมบัติและเห็นแก่ตัวอย่างแรงกล้า ๒.โทสะ ความโกรธเคือง ความคับแค้นใจ ความอาฆาตพยาบาท ๓.โมหะ ความโง่งงมงาย หลงลืม ขาดสติและขาดเหตุผล ทั้งสามอย่างนี้จัดเป็นมูลแห่งอกุศลกรรม ผู้มีขันติ ชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะได้ หมายความว่า มีความอดทนเป็นที่ตั้ง คือเมื่อเกิดเหตุอะไรก็ตามที่จะก่อให้เกิดอกุศลแล้วก็จะควบคุมตัวเองได้ คือไม่ล่วงละเมิดระเบียบวินัยและความดีงามนั้น ตัวอย่างเช่น เป็นข้าราชการชั้นสูงย่อมมีคนนับถือมาก จึงมีโอกาสตกเป็นเป้าให้เกิดอกุศลได้ง่าย เพราะมีผู้ไม่หวังดีค่อยประจบและติดสินบนในรูปแบบต่างๆ ถ้าข้าราชการผู้ใหญ่นั้นขาดธรรมะคือขันติคอยควบคุมแล้วก็จะทาความผิดได้ง่าย เช่น เป็นคนเห็นแก่ได้มักมาก ไม่ยินดีในสิ่งที่ตนเองมีอยู่คือไม่รู้จักพอดี สุดท้ายก็เลยประพฤติทุจริตทางกาย วาจาและใจ กลายเป็นไม่รู้จักใช้ขันติข่มใจจากความมักได้คือโลภะ ไม่รู้จักข่มใจจากความโกรธ ความแค้นพยาบาท จนเป็นเหตุให้เกิดเรื่องทะเลาะวิวาท หรือทาร้ายร่างกายกันจนถึงชีวิต ฉะนั้นบุคคลควรใช้ขันติเพื่อขุดรากอกุศลธรรมทั้งปวง และผู้มีขันตินี้เองชื่อว่าเป็นผู้ที่ทาตามคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมดังสุภาษิตที่มาใน สวดมนต์ฉบับหลวง ว่า

สตฺถุโน วจโนวาท กโรติเยว ขนฺติโก
ปรมาย จ ปูชาย ชิน ปูเชติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่าทาตามคาสอนของพระศาสดา
และ ผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้า ด้วยบูชาอย่างยิ่ง

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้เหล่าสาวกทั้งปวงละเว้นจากอกุศลธรรมทั้งสิ้น แต่เพราะเหตุปัจจัยที่ทาให้เกิดอกุศลธรรมนั้นมีมากมาย มีทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด บุคคลจึงยากที่จะควบคุมใจมิให้อ่อนไหวได้ อกุศลธรรมที่เห็นเด่นชัด คือ โลภะและโทสะ เพราะธรรมชาติของคนนั้นเห็นแก่ตัว ดังนั้นการข่มใจไม่ให้มักมากในวัตถุสมบัติจึงทาได้ยาก การข่มใจไม่ให้เกิดโทสะจากสิ่งยั่วยุก็ทาได้ยากเช่นกัน เพราะเหตุนี้เอง ในสังคมบ้านเมืองเราจึงเต็มไปด้วยปัญหามากมาย เช่น ปัญหาการลักขโมย การทุจริตคดโกง หรือการทาร้ายร่างกายและการฆาตกรรม เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วการข่มใจจากความเหนื่อยยากหรืออุปสรรคต่างๆ ก็ทาได้ยากเช่นกัน ตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมีพระสาวกท้อแท้สิ้นหวังในชีวิต เช่น จูฬปันถก ท่านสิ้นหวังในชีวิตเพราะไม่สามารถเข้าใจในพระสัจธรรมได้ จนคิดจะเลิกไปเสีย เมื่อได้รับพรจากพระศาสดาแล้วท่านจึงตั้งใจและอดทนเรียนรู้คาสอน จนเข้าถึงรสพระธรรมในที่สุด
ความอดทนอดกลั้น ที่มีความรู้เท่าทันเป็นฐานรองรับฉะนี้ ความยินร้ายยินดีก็เข้าครอบงาจิตไม่ได้ เท่ากับเป็นการขุดรากถอนโคนของบาปธรรมทั้งปวงมีการติเตียน ทะเลาะวิวาท เป็นต้น การใช้ขันติข่มใจจึงเป็นเรื่องสาคัญ คือสามารถตัดรากแห่งอกุศลโลภะก็ไม่เกิด อกุศลโทสะก็ไม่เกิด และอกุศลโมหะก็ไม่เกิด สมตามคาถากระทู้ที่แสดงถึงอานิสงส์ผลแห่งขันติตามกระทู้นี้ และผู้ปฏิบัติได้ดังนี้ ได้ชื่อว่าทาตามคาสอนของพระชินสีห์ สัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการปฏิบัติบูชา ขั้นอุกฤษฏ์ สมพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า

อตฺตาโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคม มคฺค อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติชื่อว่านาประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

ตัวอย่าง หมวดคบหา

อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรย เนนฺติ สนูโต ปาเปนฺติ สุคติ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะ
อสัตบุรุษย่อมนาไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

     บัดนี้จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนาไปปฏิบัติสืบต่อไป
      ดาเนินความว่า อสัตบุรุษ คือคนไม่ดี มีจิตใจไม่สงบ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรืออาจเรียกว่าคนพาลได้เช่นกัน ชวนแต่ในทางที่ชั่วฉิบหาย อสัตบุรุษมีลักษณะ ๕ อย่าง คือ ๑.ชอบนาในทางที่ผิด ๒.ชอบทาในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ ๓.เห็นผิดเป็นชอบ ๔.แม้พูดดีๆ ก็โกรธ ๕.ไม่รู้ระเบียบวินัย ส่วนสัตบุรุษจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับอสัตบุรุษที่กล่าวมาแล้วนี่ เมื่อบัณฑิตทราบความแตกต่างดังนี้แล้ว ท่านก็ไม่พึงคบอสัตบุรุษ คบแต่สัตบุรุษ เพราะว่าการคบสัตบุรุษมีแต่ทางที่จะได้รับผลดี มีความสุข ความเจริญแห่งชีวิต สัตบุรุษย่อมจะชี้แนะทางให้ละชั่วประพฤติดี ฉะนั้นบัณฑิตท่านว่าการคบสัตบุรุษ ย่อมมีแต่ได้ไม่เสีย สัตบุรุษย่อมแนะนาแต่ในทางที่ดี อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้คบได้รับความสุขความเจริญทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ทั้งในทางโลกและทั้งในทางธรรม สมดังธรรมภาษิตที่กล่าวว่า อนฺตถาเยว วฑฺฒนฺติ พาล ปจฺจูเสวโต แปลว่า เมื่อคบคนพาลย่อมมีแต่ความฉิบหาย ดังนั้นท่านจึงสอนให้คบแต่สัตบุรุษและเว้นอสัตบุรุษหรือมิตรชั่วเสีย เพราะอสัตบุรุษย่อมนาไปสู่นรกอบายให้ได้รับทุกข์ ส่วนสัตบุรุษนาให้ถึงสุคติ ให้มีความสุขความเจริญทั้งในปัจจุบันและอนาคตสมดังสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า

ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจล สุข
ผู้ปรารถนาความสุข พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่
บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.

      ตามธรรมสุภาษิตนี้ ผู้ที่ปรารถนาความสุข ท่านจึงสอนให้เว้นจากมิตรชั่วเสีย หรือมิตรเทียม ให้คบแต่คนสูงสุด คือคนมีคุณธรรมสูง เป็นคนดี มีศีลธรรม และให้ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน ทั้งนี้เพราะว่า คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล โดยเฉพาะผู้ที่ปรารถนาความสุขมั่นคง คือความสุขอันยังยืน พึงคบแต่คนดีเท่านั้น อนึ่งคาว่า มิตร แปลว่า เพื่อผู้ชิดเชื้อ คือผู้มีความรักใคร่ ประนีประนอมกันอย่างสนิทสนม การคบมิตรนั้นอาจมีได้ทั้งทางดีและทางชั่ว ถ้ามิตรดีเรียกว่า กัลยาณมิตร ถ้ามิตรชั่วเรียกว่า มิตรเทียมหรือมิตรปฏิรูป ท่านแบ่งออกเป็น ๔ จาพวก คือ ๑.เป็นคนปอกลอกเห็นแก่ได้ ๒.เป็นคนดีแต่พูด ๓.เป็นคนหัวประจบ ๔.ชักชวนเราไปในทางฉิบหาย คน ๔ จาพวกนี้ ได้ชื่อว่าไม่ใช่มิตร เป็นดังอสรพิษ ฉะนั้นบุคคลผู้ปรารถนาความสุขแก่ตน พึงหลีกเสียให้ห่างไกล พึงคบแต่บุคคลผู้สูงสุด คือมิตรที่ดี มีศีลธรรม แนะนาให้ทา พูด คิด แต่ในทางที่ดีมีประโยชน์ และพึงประพฤติปฏิบัติตามโอวาทของท่านด้วย เพราะท่านผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นแต่ผู้บอกชี้แนะเท่านั้น ส่วนเรื่องการปฏิบัติเป็นเรื่องของการปฏิบัติเป็นเรื่องของผู้ฟังพึงกระทาตามเองจึงจะได้รับผลคือความสุขความเจริญแก่ตน เพราะผู้ทากรรมอย่างไรเขาก็ย่อมได้รับผลเช่นนั้นตอบแทนคืนสมด้วยพระบาลีคาถาที่มาใน สังคยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า

ยาทิส วปเต พีช ตาทิส ลภเต ผล
กลฺยาณการี กลฺยาณ ปาปการี จ ปาปก .
ความว่า บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผล
เช่นนั้น ผู้ทากรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทากรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว.

     ในพระคาถานี้แสดงว่า “ผู้ทากรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทากรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว” ดีในที่นี้หมายถึง ความสุข ความสบาย ความสมปรารถนา ตลอดถึงความไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสงสารสาครอันไม่รู้จักจบสิ้น ส่วนคาว่า “ผลชั่ว” นั้น หมายถึงความทุกข์ ความเดือดร้อนกายใจ มีประการต่างๆ รวมทั้งความทุกข์เพราะต้องเวียนว่ายตายเกิดบ่อย ๆ อันมีอาการร้อนรุมดุจถูกไฟสุมอยู่ตลอดเวลา เพราะคนที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกรรมดี อะไรเป็นกรรมชั่ว เรียกว่า คนโง่ แต่คนที่รู้ว่าอะไรคือกรรมดีกรรมชั่วแล้วกลับไม่เชื่อว่ากรรมชั่วที่ตนทาจะตามให้ผลแก่ตนได้นั้นเรียกว่าคนมีปัญญาทราม คือเขามีความรู้ความเข้าใจเหตุผลอยู่แต่กลับอวดดี มีความประมาท ขาดความรอบคอบมีความเห็นเอนเอียงไปในฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ ทาให้มีความดาริผิดเป็นโคจร จึงไม่เห็นดีชั่ว บาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เมื่อยังไม่ได้รับรสเผ็ดร้อนแห่งผลกรรมชั่วจึงไม่รู้สึก แต่กลับกระหยิ่มยิ้มย่อง คุยโตโอ้อวดแสดงความอหังการ ครั้นเมื่อกรรมชั่วนั้นให้ผลก็สับสนเดือดร้อนเช่นนี้แล
      สรุปความว่า ผู้คนชั่ว ย่อมไม่ประสบความสุขความสาราญในชีวิต เขาย่อมจะประสบแต่ความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ประดุจกิ้งก่าติดเข้าไปในฝูงเหี้ย ย่อมได้รับความเดือดร้อนเพราะตัวเล็กกว่า ย่อมได้รับการเบียดเบียนจากเหี้ยซึ่งตัวใหญ่กว่า ส่วนการคบกับสัตบุรุษหรือบัณฑิต ย่อมมีแต่ได้ไม่มีเสีย เพราะว่าสัตบุรุษย่อมแนะนาแต่ในทางที่ดีอันเป็นเหตุให้ได้รับความสุขความเจริญทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะเลือกทาแต่กรรมดีเป็นกุศลและคบหาแต่กับคนดี เมื่อประกอบเหตุดี ผู้ทาก็ย่อมได้รับผลดี อันมีสุคติเป็นที่หวังในเบื้องหน้าสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า

อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรย เนนฺติ สนูโต ปาเปนฺติ สุคติ
บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะ
อสัตบุรุษย่อมนาไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

ตัวอย่าง หมวดตน


อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทาตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว
จึงควรฝึกผู้อื่น เพราะได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยา
      บัดนี้จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนาไปปฏิบัติสืบต่อไป
      ในทางพุทธศาสนาสอนไว้ว่า บุคคลผู้ที่สอนหรือแนะนาคนอื่นอย่างไร กล่าวคือสอนให้ผู้อื่นกระทาอย่างไรแล้ว ก็ควรประพฤติปฏิบัติให้เหมือนกับที่ได้พูดสอนไว้ เมื่อบุคคลกระทาได้อย่างนั้นแล้ว ย่อมเป็นแบบอย่าง คือ พูดให้ฟังและทาให้ดู เพราะบุคคลผู้กระทาอย่างนั้น ต้องฝึกหัดตนเองก่อน เมื่อสามารถฝึกตนเองให้อยู่ในระเบียบของศีลธรรมระเบียบกฎหมายบ้านเมืองได้ดีแล้ว และมีความเป็นอยู่ประกอบด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่า ควรฝึกผู้อื่น เพราะเหตุว่า ตนเองแลย่อมฝึกหัดได้ยากอย่างยิ่ง เพราะโดยส่วนมากบุคคลมักจะปล่อยให้ตนเองตกไปตามอานาจของกิเลส ตัณหา ความทะยานอยาก ไม่บังคับตนเองให้อยู่ในแนวทางแห่งความถูกต้อง จะไปฝึกคนอื่นได้อย่างไร เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ฝึกตนเองให้ตั้งอยู่ในกฎระเบียบ และคุณธรรมอันสมควรก่อนแล้ว สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ จึงแนะนาสั่งสอนผู้อื่น ผู้นั้นย่อมได้รับความสรรเสริญ เชิดชู และเป็นเหตุนามาซึ่งความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่และการงานสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า

อตฺตานเมว ปฐม ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต
บัณฑิตพึ่งตั้งตนไว้ในคุณธรรมอันสมควรก่อน
สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอ

      คาว่า บัณฑิต คือผู้มีความรู้ดีและประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ คือคนที่ตั้งตนไว้ในคุณธรรมสมควรก่อน ได้แก่ คุณธรรมต่างๆ เช่น หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา ศีล เมื่อตั้งอยู่คุณธรรมอันสมควรแล้วเมื่อจะสอนคนอื่นให้มีคุณธรรม บัณฑิตต้องประพฤติดี เป็นคนมีคุณธรรมก่อนอย่างนี้แล้ว ท่านจึงไม่ถูกตาหนิว่าบกพร่อง การสอนของท่านจึงเกิดผลมีคนเชื่อถ้อยฟังคาแนะนาของท่าน ส่วน บุคคลที่จะดาเนินชีวิตที่ประกอบด้วยปัญญา คือ จะต้องใช้ปัญญาควบคู่ไปกับการดาเนินชีวิตของตนเองและให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมที่เรียกว่า สัปปุริสธรรม คือ ธรรมของสัตบุรุษ ๗ อย่าง คือ เป็นผู้รู้จักเหตุ เป็นผู้รู้จักผล เป็นผู้รู้จักตน เป็นผู้รู้จักประมาณ เป็นผู้รู้จักกาล เป็นผู้รู้จักชุมชน เป็นผู้รู้จักบุคคล เมื่อบุคคลมีคุณธรรมดังกล่าวข้างต้น พึงรู้ว่าบุคคลนี้เป็นคนดีหรือไม่ดี ควรคบหรือไม่ควรคบ ควรไตร่ตรองหรือพิจารณาหาเหตุผลให้รอบคอบอย่างถูกต้อง จึงได้ชื่อว่า บัณฑิต เพราะถือว่าเป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างที่ดีในแง่ของความประพฤติปฏิบัติสมควรได้รับการยกย่องสรรเสริญ เพราะฉะนั้นจึงควรเป็นผู้สมควรตั้งอยู่ในฐานะที่จะสอนผู้อื่นได้ เพราะสามารถที่จะให้ผู้อื่นเอาแบบอย่างที่ดีของตนเองไปเป็นแบบอย่าง ฉะนั้นบัณฑิตผู้มีปัญญาจึงตั้งตนอยู่ในคุณธรรมสามารถที่จะสอนผู้อื่นให้มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบและการดาเนินชีวิตอย่างถูกต้องและมีคุณค่าสมดังพระบาลีสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า

ยญฺหิ กยิรา ตญฺหิ วเท ย น กยิรา น ต วเท
อกโรนฺต ภาสมาน ปริชานนฺติ ปณฺฑิตตา
บุคคลทาสิ่งใดควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทาสิ่งใดไม่ควรพูด
สิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกาหนดรู้คนที่ไม่ทา ได้แต่พูด

      ตามสุภาษิตนี้ท่านสอนให้รู้จักสังวรปาก คือ ให้พูดแต่สิ่งที่คนทา เมื่อตนไม่ทาไม่ควรพูด ไม่ควรเพ่งโทษคนอื่นว่าคนนั้นไม่ทา คนนี้ไม่ทา ควรพิจารณาตนเองว่าตนทาหรือไม่และทาได้แค่ไหนเพียงใด อย่าเป็นคนดีแต่พูด ไม่รู้จักทา คนที่ไม่ทาอะไร ดีแต่พูดนั้น บัณฑิตย่อมกาหนดรู้ได้ คือคนฉลากย่อมรู้ว่า เขาเป็นคนฉลาดแต่พูด ซึ่งคนดีแต่พูดนั้นบัณฑิตไม่ยกย่องสรรเสริญ คนทั่วไปก็ไม่นิยมรักใคร่ ดังนั้นจึงไม่ควรเป็นคนดีแต่พูด เพราะการที่มนุษย์เราจะเกิดมาได้มิใช่เป็นเรื่องที่ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดมาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อาการครบสามสิบสองนั้น เป็นเรื่องที่ยาก เมื่อธรรมชาติสร้างสรรค์ให้มนุษย์เกิดมาในสังคมแต่ละสังคม ย่อมจะมีปัญหาหลายๆ อย่างตามมา โดยเฉพาะปัญหาสังคม เช่น ปัญหาความเป็นอยู่ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมเป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ต่างคนก็ต่างดิ้นรนเพื่อแสวงหาปัจจัยสี่ เพื่อให้ตนเองมีชีวิตอยู่ได้ในสังคม สิ่งที่มนุษย์ควรจะยึดเป็นคุณธรรมประจาใจไว้ คือ ได้ลงมือทาสิ่งใดแล้วก็ควรปฏิบัติหรือทาสิ่งนั้นให้ดีที่สุด ทาจนสุดความสามารถของตน เมื่อถึงเวลาที่เกี่ยวกับการพูดก็ควรพูดเฉพาะเรื่องงานที่ตนทาและรับผิดชอบเท่านั้น ไม่ควรจะพูดเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากงานหรือเรื่องไร้สาระ บางคนไม่ย่อมทาได้แต่พูด บัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญ ฉะนั้นเมื่อลงมือทาสิ่งใดและรับผิดชอบในสิ่งนั้น จะทาให้กิจการที่ทานั้นประสบความสาเร็จเจริญก้าวหน้าและจะเป็นผลดีต่อตนเอง ครอบครัว ตลอดถึงสังคมประเทศชาติต่อไป
สรุปความว่า บุคคลทั้งหลายควรเป็นผู้ฝึกตนเองให้ตั้งอยู่ในกฎระเบียบ กฎหมายบ้านเมืองได้ดีแล้ว พร้อมกับมีความเป็นอยู่ประกอบด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อันมีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเบื้องต้นเสียก่อน เมื่อตั้งอยู่ในคุณธรรมอันสมควรก่อนแล้ว
จึงสามารถเป็นแบบอย่างผู้อื่น หรือพร่าสอน สั่งสอน ผู้อื่นให้กระทาตาม เพราะเหตุที่ว่าผู้ที่ฝึกตนยากที่สุดนั้นคือตนเอง การฝึกใจตนเอง เป็นสิ่งที่ฝึกได้ยากยิ่ง ก่อนจะสอนคนอื่น ก่อนจะฝึกคนอื่นจึงต้องสนองตนเอง ฝึกตนเองให้ดีก่อนจึงจะเกิดผลดีสมประสงค์ เมื่อทาได้แล้วย่อมได้รับความสรรเสริญ เชิดชู เป็นแบบอย่างเป็นเหตุนามาซึ่งความสุขความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นฉันนั้นสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า

อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทาตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว
จึงควรฝึกผู้อื่น เพราะได้ยินว่าตนแลฝึกได้ยาก
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

ตัวอย่าง หมวดสามัคคี


วิวาท ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็น
ภัยและไม่วิวาทโดยความปลอดภัย เป็นผู้พร้อม
เพียงมีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสน์

     บัดนี้จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนาไปปฏิบัติสืบต่อไป
      ตามพุทธภาษิตเบื้องต้นนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนให้พุทธสาวกผู้เป็นบริษัทของพระองค์ ได้มองเห็นโทษของความทะเลาะวิวาท เพราะเหตุของความโลภ หรือความเห็นแก่ตัว และให้มองเห็นของการไม่ทะเลาะวิวาทกัน ก็เท่ากับว่าพระองค์สอนให้มนุษย์เป็นผู้มีความรักความสามัคคี ความเสียสละ ช่วยเหลือกันและกัน การมีความรักและความสามัคคีกันนั้น เป็นปัจจัยสาคัญในการปกครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ความรักและความสามัคคีสร้างสันติภาพให้กับชุมชนประเทศชาติ และจะเห็นว่าไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตข้างหน้า เมื่อมนุษย์ทะเลาะวิวาทกัน หรือแม้แต่พวกสัตว์เดรัจฉานทะเลาะกัน ก็จะได้รับความสูญเสียไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิต หรือทรัพย์สิน เป็นต้นล้วนเกิดแต่การทะเลาะวิวาทกันทั้งนั้น ท่านจึงเห็นว่าเป็นภัย คือสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างมาก เพราะก่อความทุกข์ ความสูญเสียให้เกิดขึ้น จะส่งผลให้มนุษย์ได้รับความสุข ความเจริญ ความมั่นคง ก้าวหน้าอยู่สม่าเสมอทุกๆ ด้าน ดังนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า การไม่ทะเลาะวิวาท การมีความรักสามัคคีพร้อมเพียงกันเมื่อมีการไม่ลงรอยกัน เพราะความคิดเห็นหรือการกระทาอันใดอยู่มนุษย์ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐจึงควรจะมีความประนีประนอมกันให้อภัย ให้มีความรักกันฉันมิตร ทรงชี้ว่าเรื่องความสามัคคีนี้ ความพร้อมเพียงย่อมจะได้รับความสุขสมบัติที่ปรารถนาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบทว่า

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธ สติ
ความพร้อมเพียงของหมู่เป็นสุข และการสนับ
สนุนคนผู้พร้อมเพียงกันก็เป็นสุข ผู้ยินดีในคน
ผู้พร้อมเพียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.

ความพร้อมเพียง หมายถึง ความร่วมแรงร่วมใจกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมนุษย์ คาว่า สามัคคี นั้นแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ ๑.กายสามัคคี ความสามัคคีกันทางกาย และ ๒.จิตสามัคคี ความสามัคคีทางด้านจิตใจ มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมชอบอยู่กันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนต้องการเพื่อน ไม่ชอบการอยู่โดเดี่ยว ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็วางหลักธรรมสาหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวความสามัคคีไว้เรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ ๑.ทาน เสียสละ แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่เพื่อมนุษย์ เป็นการกาจัดความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ๒.ปิยวาจา การพูดจาสนทนาปราศรัยกันด้วยถ้อยคาไพเราะอ่อนหวานน่าฟัง ๓.อัตถจริยา การบาเพ็ญประโยชน์ให้แก่การและกัน เช่นช่วยเพื่อนทางาน ช่วยรักษาพยาบาล ช่วยสงเคราะห์ด้านต่างๆ และ ๔.สมานัตตตา การวางตนได้อย่างเหมาะสม ระหว่าเพื่อมนุษย์ไม่สูงเกินไม่ต่ากินไป ความพร้อมเพียงของมวลมนุษย์จะดารงอยู่ได้เพราะอาศัยธรรมะ ๔ ประการนี้ ดังนั้นเมื่อคนมีความสามัคคีพร้อมเพียงกันไม่แบ่งแยกเป็นกลุ่มเป็นพวกก็จะได้รับแต่ความสุข ความเจริญ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพียงเป็นปึกแผ่นสมานสามัคคีกันนั้นก็จัดเป็นความสุขทั้งตัวผู้สนับสนุน และกลุ่มคนผู้สามัคคีกันนั้น เพราะว่าต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ที่ยินในหมู่พร้อมเพียงกันตั้งอยู่ในธรรม ตามหลักธรรมทางศาสนา ย่อมจะได้รับสุขสมบัติตามที่ปรารถนาสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ชาตก เตรสนิปาตว่า

สามคฺยเมว สิกฺเขถ พุทฺเธเหต ปส สิต
สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธ สติ
พึงสาเหนียกความสามัคคี ความสามัคคีนั้น
ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี
ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ.

     ความสามัคคีนั้น เป็นสิ่งที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีปะโยชน์ นาไปใช้ได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็นการบริหารครอบครัว บริหารชุมชน บริหารธุรกิจ บริหารประเทศบ้านเมือง ล้วนต้องอาศัยความสามัคคีเป็นอันดับหนึ่งจะขาดเสียมิได้เลย โครงการต่างๆ ที่วางไว้ทั้งระยะสิ้นระยะยาวจะสาเร็จลงได้ต้องอาศัยความร่วมมือของคนทุกฝ่าย มนุษย์เราเองก็เหมือนกัน ที่มีชีวิตอยู่อย่างปราศจากโรคภัยเบียดเบียนก็เพราะ ธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้า ลม ไฟ ในร่างกายมนุษย์สามัคคีพร้อมเพียงกันทางานตามหน้าที่อย่างสม่าเสมอ คนเราจึงสุขภาพแข็งแรงอยู่ได้ แต่ถ้าหากธาตุใดธาตุหนึ่ง ขัดข้องทางานตามหน้าที่ไม่เต็มที่ คนเราก็จะเจ็บป่วยไม่สบายได้ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยว การอยู่รวมกันจึงต้องอาศัยความสามัคคีเป็นหลักยึดเหนี่ยว ใช้สามัคคีธรรมเป็นตัวประสานสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อน มนุษย์ จึงได้รับสิ่งที่ดีงามตามที่ทุกคนปรารถนากันในปัจจุบันและในอนาคตสมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในขุททกนิกาย ธรรมบทว่า

โอวาเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย
สต หิ โส ปิโย โหติ อสต โหติ อปฺปิโย
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจาก
คนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี.

     ดาเนินความว่า การว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ถือว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในเมื่อบุคคลมีความปรารถนาดีต่อกัน ครั้นเห็นผู้อื่นจะเป็นญาติมิตรหรือสหายคนใดคนหนึ่งมีความประพฤติผิดต่อศีลธรรม และมีความประมาท เผอเรอผิดพลาดในการกระทาการงาน มีความเสียหายเกิดขึ้น เป็นไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควร ไม่เหมาะสม ก็ช่วยชี้นาว่ากล่าวตักเตือน และสอนผู้อื่นที่ประพฤติผิดให้ประพฤติดีประพฤติชอบ ประกอบด้วยธรรมด้วยจิตที่มีเมตตา เพื่อช่วยป้องกันให้พ้นจากคนไม่ดีให้หันกลับมาเป็นคนดีมีความสุขที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม เพราะผู้ที่ชักชวน ชี้นาให้ผู้อื่นเป็นคนดี นับว่าเป็นการให้ธรรมะ เพราะการให้ธรรมะนั้น ชนะการให้ทั้งปวง และผู้ที่ถูกว่ากล่าวตักเตือน ถือว่าเป็นการชี้ หรือบอกขุมทรัพย์ให้แก่ตนแล้วประพฤติปฏิบัติตามคาชี้แนะนา และผลที่ได้รับ คือเป็นคนดีมีประโยชน์ ตลอดถึงเป็นที่รักในหมู่ของคนผู้ที่ประพฤติชั่ว สร้างบาปกรรมไว้มากมาย เพราะผู้ที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ มีชีวิตที่มีความสุข และประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นบุคคลที่หาได้ยากเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นบุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกันให้มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ประกอบไปด้วยธรรม ก็จะทาให้เป็นที่รักที่เคารพของบุคคลทั่วไป
    สรุปความว่า การไม่ทะเลาะวิวาท การมีความรักความสามัคคีพร้อมเพียงกัน แนะนาตักเตือนกัน สอนกันประกอบด้วยธรรม ก็ย่อมจะได้รับความสุข ความเจริญ เพราะการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพียงกันเป็นปึกแผ่นสมานสามัคคีกันนั้น ก็เป็นความสุขทั้งตัวผู้สนับสนุน และกลุ่มคนผู้สามัคคีกัน เป็นเหตุให้ต่างฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์ที่ควรจะได้รับ เมื่อมีความสามัคคีกัน มีการว่ากล่าวตักเตือนกัน ประพฤติตนเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สอนตนและผู้อื่นให้ประพฤติดีประพฤติชอบ ผลที่ได้รับก็คือตนเองมีความสุขกายสบายใจและสังคมก็อยู่อย่างสันติสุขฉะนี้แล สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า

วิวาท ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลาย จงเห็นความวิวาทโดยความเป็น
ภัยและไม่วิวาทโดยความปลอดภัย เป็นผู้พร้อม
เพียงมีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสน์

มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พุทธศาสนสุภาพษิต เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นโท

๒๖. อสนฺเต นูปเสเวยฺย สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ.

บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ 
เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๓๗.

๒๗. ตครํ ว ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา.

คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด 
การคบกับนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา.วีสติ. ๒๗/๔๓๗.

๒๘. น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
โคธากุลํ กกณฺฏาว กลึ ปาเปติ อตฺตนํ.

ผู้คบคนชั่ว ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้ 
เขาย่อมยังตน ให้ประสบโทษ เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๖.

๒๙. ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ.

ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย 
คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
(วิมลเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

๓๐. ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา.

คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่า
ไปด้วยฉันใด การคบกับคนพลก็ฉันนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๐๓.

๓๑. ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ,
โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิ ตาทิโส.

คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด 
เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกัน ย่อมเป็นเช่นนั้น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. วีสติ. ๒๗/๔๓๗.

๓๒. สทฺเธน จ เปสเลน จ ปญฺญวตา พหุสฺสุเตน จ
สขิตํ หิ กเรยฺย ปณฺฑิโต ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม.

บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก 
มีปัญญาและเป็นพหูสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ.
(อานนฺทเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๔๐๕.

พุทธศาสนสุภาพษิต ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นโท

๑๘. อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ
มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.

คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ 
อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๕.

๑๙. ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ อปิ วิตฺตปริกฺขยา
ปญฺญาย จ อลาเภน วิตฺตวาปิ น ชีวติ.

ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ 
แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้.
(มหากปฺปินเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๕๐.

๒๐. ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน วิธานวิธิโกวิโท
กาลญฺญู สมยญฺญู จ ส ราชวสตึ วเส.

ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงาน
รู้กาลและรู้สมัย เขาพึงอยู่ในราชการได้.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๓๓๙.

๒๑. ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ
นกฺขตฺตราชาริว ตารกานํ
สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม
อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ.

คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด 
เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย
แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไปตามผู้มีปัญญา.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๑.

๒๒. มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ.

ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย 
ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๓.

๒๓. ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ อนตฺถํ จรติ อตฺตโน
อตฺตโน จ ปเรสญฺจ หึสาย ปฏิปชฺชติ.

คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน 
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น.
(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๐.

๒๔. ยาวเทว อนตฺถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ.

ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย 
มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๔.

๒๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน.

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี 
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๙.