วันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560

พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต
หมวดตน
อตฺตา  หิ  อตฺตโน  นาโถ
ตนแล  เป็นที่พึ่งของตน
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย  ธัมมปทคาถา (ขุ..)
อตฺตา  หเว  ชิตํ  เสยฺโย
ชนะตนนั้นแหละ  เป็นดี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย  ธัมมปทคาถา (ขุ..)
หมวดประมาท
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
 หมวดปัญญา
นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา
แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญา ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)
 หมวดขันติ
ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติ คือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
ที่มา: คัมภีร์ขุททนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
ความอดทน เป็นตบะของผู้บำเพ็ญเพียร
ที่มา: สวดมนต์ฉบับหลวง (..)
 หมวดประมาท
อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดทุกข์
ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบาป เป็นทุกข์ (ในโลก)
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
ความทุกข์อื่น เสมอด้วยขันธ์() ไม่มี
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
 หมวดจิต
จิตฺตํ รกฺขถ เมธาวี
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)

หมวดธรรม
มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
ที่มา: คัมภีร์ขุททกนิกาย ธัมมปทคาถา (ขุ..)
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

ที่มา: คัมภีร์สังยุตตนิกาย สคาถวรรค (สํ..)

วิธีการแต่งกระทู้ธรรม

วิธีการแต่งกระทู้ธรรม
มีการแต่งกระทู้ธรรมอยู่ ๒ แบบ คือ
            ๑. แบบตั้งวง คืออธิบายความหมายของธรรมข้อนั้น ๆ เสียก่อนแล้วจึงขยายความออกไป
            ๒.แบบตีวง คือบรรยายเนื้อความไปก่อนแล้ว จึงวกเข้าหาความหมายของกระทู้ธรรมนั้น ส่วนมากผู้แต่งกระทู้ธรรม มักจะนิยมแต่งแบบที่๑ คือ แบบตั้งวง อธิบายความหมายภาษิตนั้นก่อนแล้วจึงขยายความให้ชัดเจนต่อไป.
ภาษาในการใช้
            ๑. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง  มีประธาน มีกริยา มีกรรม
            ๒. ไม่ใช้ภาษาตลาด ภาษาแสลง
            ๓. ไม่ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือภาษาท้องถิ่น
            ๓. ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
สำนวนในการพรรณนา
            ใช้สำนวนแบบเทศนาโวหาร มีหลักการเขียน ดังนี้
            ๑. ข้อความที่เขียนนั้นจะต้องมีเหตุผลใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
            ๒. มีอุทาหรณ์และหลักคติธรรม
            ๓. ผู้เขียนจะต้องแสดงให้เห็นว่า ตนมีลักษณะและคุณสมบัติพอเป็นที่เชื่อถือได้
หมายเหตุ : โวหารมี ๔ คือ
๑. พรรณนาโวหาร  ได้แก่ การพรรณนาความ คือ เล่าเรื่องที่ได้เห็นมาแล้วด้วยความมุ่งหวังให้ไพเราะ  เพลิดเพลินบันเทิง
๒. บรรยายโวหาร  ได้แก่  การอธิบายข้อความที่ย่อซึ่งยังเคลือบแคลงอยู่ให้แจ่มแจ้งหรือพิสดาร
๓. เทศนาโวหาร  ได้แก่  การแต่งทำนองการสอน คือ ชี้แจงหลักธรรมนั้น
๔. สาธกโวหาร  ได้แก่ การบรรยายข้อเปรียบเทียบ คือ  นำข้ออุปมาอุปไมยมาเทียบเคียง
หลักย่อ ๆ ที่ควรจำ เป็นเกณฑ์อธิบายในการแต่งกระทู้
            ๑. วิเคราะห์ศัพท์  คือ  การแสดงความหมายของกระทู้ตั้งแล้ววางเค้าโครงที่จะแต่งต่อไป
            ๒. ขยายความ  คือ  การอธิบายให้กว้างออกไปตามแนวกระทู้ตามเหตุและผล
            ๓. เปรียบเทียบ  คือ  ยกข้อความที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นได้ชัดในสิ่งที่พูดไป
            ๔. ยกสุภาษิตรับ  คือ การนำกระทู้สุภาษิตมารับมาอ้าง
            ๕. ยกตัวอย่าง  คือ  ยกตัวอย่างธรรมะ หรือบุคคล สถานที่มาเป็นตัวอย่าง
            ๖. สรุปความ  คือ  ย่อความที่กล่าวมาแล้วนั้นให้เข้าใจง่าย ก่อนที่จะจบกระทู้

หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ธรรม

หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ธรรม
            มีหลักสำคัญในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม อยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ
            ๑. ตีความหมาย
            ๒. ขยายความให้ชัดเจน
            ๓. ตั้งเกณฑ์อธิบาย
            ตีความหมาย ได้แก่การให้คำจำกัดความของธรรมนั้น ว่ามีความหมายอย่างไรเช่นพุทธภาษิตที่ว่า “กลฺ- ยาณการี  กลฺยาณํ  ปาปการี  จ  ปาปกํ”  ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่วดังนี้ ก็ให้คำจำกัดความคำว่า “กรรมดี คืออะไร” “กรรมชั่วคืออะไร” ในที่นี้กรรมดีหมายเอากุศลกรรมบถ  กรรมชั่วหมายถึง อกุศลกรรมบถ ฯลฯ
            ขยายความให้ชัดเจน ได้แก่การขยายเนื้อความของคำซึ่งได้ให้ความหมายไว้แล้ว คือกุศลกรรมบถ และ อกุศลกรรมบถ ว่ามีอย่างเท่าไร (อย่างละ ๑๐ ประการ) เป็นต้น
            ตั้งเกณฑ์อธิบาย  ได้แก่การวางโครงร่างที่จะอธิบายเนื้อความของเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง มีผลดีผลเสียอย่างไร มีข้อเปรียบเทียบหรือมีตัวอย่างมาประกอบให้เห็นเด่นชัดได้หรือไม่ และควรจะนับถึงผลกรรมนั้น ๆ อย่างไร จึงจะทำให้ผู้อ่านผู้ฟังคล้อยตาม โดยเรียงเป็นลำดับขั้นตอนก่อนหลัง ไม่สับสนวกไปวนมา
หลักเกณฑ์สำคัญในการอธิบาย ๓ ประการ คือ
            ๑. คำนำ
            ๒. เนื้อเรื่อง
            ๓. คำลงท้าย (สรุป)
            คำนำ   เป็นการอารัมภบทพจนคาถาที่เป็นบทตั้ง (กระทู้ หรือที่เรียกว่า อุเทศ) เพื่อเป็นบทนำในการเรียงความ (คำนำของการเรียงความแก้กระทู้ธรรม  ควรเขียนประมาณ 2-3 บรรทัด)
            เนื้อเรื่อง  เป็นการขยายเนื้อความของกระทู้ที่ตั้งไว้  เรียกว่าแก้  หรือเรียกว่า นิเทศ การนิเทศ หรือขยายความเนื้อเรื่องนั้นจะต้องให้รสชาติเนื้อหาสาระแก่ผู้ อ่าน ให้ผู้อ่านเข้าใจในสิ่งที่เราจะอธิบาย ไม่ทำให้ผู้อ่านสับสนไขว้เขว (ควรเขียนอธิบายให้ได้ประมาณ 10 - 15 บรรทัด) แล้วจึงนำเอาภาษิตมาเชื่อม หรืออ้างภาษิตมาเพื่อสนับสนุน เรียกว่า กระทู้รับ  โดยนักธรรมศึกษาชั้นตรี   มีข้อกำหนดให้นำ ภาษิตมาเสื่อมรับได้อย่างน้อย ๑ ภาษิต  ภาษิตที่นำมาอ้างสนับสนุนห้ามไม่ให้ซ้ำกัน แต่จะซ้ำที่มาได้  แล้วอธิบายภาษิตที่ยกมาสนับสนุนให้เนื้อความกลมกลืนกัน (เขียนอธิบายประมาณ 5 - 7 บรรทัด  กำลังพอดี)
            คำลงท้าย หรือ บทสรุป หรือ เรียกว่าปฏินิเทศ หมายถึงการรวบรวมใจความที่สำคัญของเนื้อหาที่ได้อธิบายมาแล้ว   สรุปลงอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความ ให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งและรู้สึกว่าเรียงความที่อ่านมีคุณค่าน่าเชื่อถือ น่าปฏิบัติตาม เกิดศรัทธาในความคิดของผู้เขียน (สรุปความ ควรเขียนประมาณ 5 -7 บรรทัด)