วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ ๑๑-๑๒

บทที่   ๑๑-๑๒
•    อนาถบิณฑิกเศรษฐี   มีชื่อเดิมว่า   สุทัตตะ   เป็นชาวเมือง  สาวัตถี  
•   อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวาย   วัด เชตวัน
•   อนาถบิณฑิกเศรษฐี  ซื้อที่ดิน   จาก เจ้าเชตราชกุมาร  สร้างวัด
•   พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่  ๔๕  ณ    เวฬุวคาม   เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี     
•   คำว่า ปลงอายุสังขาร”  หมายถึงการ     ตั้งใจที่จะตาย   ณ  ปาวาลเจดีย์  
•   วันที่พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารตรงกับวัน    วันเพ็ญ  เดือน  ๓  
•   ผู้ที่ทูลเชิญพระพุทธองค์ให้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานคือ    พญามารวสวัตตี  
•   คำว่า นิมิตโอภาส”  หมายถึง    ตรัสความทางอ้อมแก่พระอานนท์
•   พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตโอภาส  ๑๖ ครั้ง ดังนี้   ที่กรุงราชคฤห์  ๑๐  ครั้ง  ที่เมืองไพสาลี ๖ ครั้ง   
•   ตามพุทธประวัติ  เหตุให้เกิดแผ่นดินไหว    มี  ๘  อย่าง
๑. ลมกำเริบ    
๒. ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล  
๓. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตสู่พระครรภ์  
๔. พระโพธิสัตว์ประสุติจากครรภ์มารดา
๕. พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ     
๖.พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
๗.  พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร           ๘. พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•   ทรงรับผ้าสิงคิวรรณ ๑ คู่   จากปุกกุสะ  ราชบุตรแห่งมัลลกษัตริย์  
•   พระฉวีวรรณผ่องใสใน  ๒  เวลา 
๑.  ในเวลาจะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญา   ๒.ในราตรีที่จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•   บิณฑบาตทาน  ๒  คราวมีผลเสมอกัน(อานิสงส์มาก)
๑.  บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้   ๒. บิณฑบาตรที่นายจุนทะถวายในวันปรินิพพาน
•   “อนุฏฐานไสยา”  คือการนอนที่ไม่ลุกขึ้นอีกเลย
•   การบูชามี  ๒  อย่าง
๑.  อามิสบูชา  คือ การบูชาวัตถุสิ่งของ    
๒.  ปฏิบัติบูชา  คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติตาม   ทรงสรรเสริญปฏิบัติบุชา
•   ถูปารหบุคคลคือบุคคลที่ควรบรรจุใว้ในสถูปเพื่อบูชา มี ๔ จำพวกคือ
๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ๒. พระปัจเจกพระพุทธะเจ้า   ๓. พระอรหันตสาวก          ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ
•   สังเวชนียสถาน  คือสถานที่ควรระลึกถึง มี ๔ อย่าง คือ  
๑. สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน)    
๒. สถานที่ตรัสรู้ ( ต้นพระศรีมหาโพธิ์) 
๓.  สถานที่แสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) 
๔.  สถานที่ปรินิพพาน คือ  สาลวโนทยาน
•   สาวกองค์สุดท้าย  มีชื่อว่า สุภัททปริพาชก  
•   ก่อนเสด็จปรินิพพานพระพุทธเจ้าตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทน
•   ปัจฉิมโอวาท  พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับความไม่ประมาท
•   ในเวลาจวนจะปรินิพพานของพระศาสดา  มีพระอานนท์และพระอนุรุทธะ อยู่ในที่นั้น
•   พระบรมศาสดาปรินิพพานที่ สาลวโนทยาน ใต้ต้นสาละคู่  เมืองกุสินารา วันอังคาร  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง

•   ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ     ที่มกุฏพันธนเจดีย์  ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงกุสินารา

บทที่ ๑๐- ๑๑ เสด็จโปรดพุทธบิดา

บทที่ ๑๐- ๑๑  เสด็จโปรดพุทธบิดา
•   พระเจ้าสุทโธทนะส่งอำมาตย์ไปทูตเชิญพระพุทธองค์  ๑๐ คณะด้วยกัน 
•   กาฬุทายีอำมาตย์  เป็นคณะสุดท้ายและทูตเชิญพระพุทธองค์หลังจากตนบรรลุธรรม  และบวชแล้ว ๘ วัน
•   ระยะทางจากราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์  (๙๖๐ กิโลเมตร)
•   เดินทางวันละโยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)  เป็นเวลา  ๖๐  วันพอดี
•   ชาวกบิลพัสดุ์สร้างนิโครธาราม ถวาย
•   ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดกแก่ประยูรญาติ
•   พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุโสดาบันด้วยคาถาเครื่องเตือนใจสมณะว่า  ไม่ควรประมาทในก้อนข้าวอันจะพึงลุกขึ้นยืนรับ  ควรประพฤติธรรมให้สุจริตผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกอื่น
•   ทรงแสดงธรรมโปรดพระนางมหาปชาบดี  และเจ้าสุทโธทนะ  เมื่อจบพระธรรมเทศนา  พระนางตั้งอยู่ในโสดาบันส่วนพระพุทธบิดา ได้บรรลุสกทาคสมิผล  ในวันที่สอง
•   ในวันที่สามพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมหาธรรมปาลชาดก  โปรดพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระอนาคามิผล
•   พระนางพิมพาเทวีบรรลุโสดาบันด้วยธรรมเทศนาชื่อว่าจันทกินนรีชาดก
•   พระสารีบุตรทรงบรรพชาราหุลสามเณรที่นิโครธาราม
•   พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา  ด้วยไตรสรณคมน์
•   พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอประทานพระพุทธานุญาตว่า แต่นี้ต่อไป  กุลบุตรผู้ใดประสงค์จะบรรพชา  หากมารดาบิดายังไม่ยอมพร้อมใจอนุญาตให้บวชแล้วก็ของดไว้  อย่าได้รีบให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นอันขาด
•   บรรลุพระอรหันต์ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า ราหุโลวาทสูตรหลังจากอุปสมบทแล้ว

•   ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้ง ในทางใคร่ต่อการศึกษา

บทที่ ๙ บำเพ็ญพุทธกิจในมคธและเสด็จสักกะ

บทที่ ๙  บำเพ็ญพุทธกิจในมคธและเสด็จสักกะ
•   พระมหากัสสปะมีชื่อเดิมว่า ปิปผลิมาณพ  เป็นบุตรกบิลพราหมณ์กัสสปโคตร  ในบ้านมหาติฏฐะ  จังหวัดมคธรัฐ  แต่งงานกับนางภัททกาปิลานี  บุตรีพราหมณ์โกสิยโครต  แห่งสาคลนคร  จังหวัดมคธรัฐ
•   ปิปผลิมาณพได้เดินทางไปพบพระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นไทร มีชื่อว่าพหุปุตตกนิโครธ  กึ่งทางระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา
•   พระพุทธเจ้าทรงบวชให้พระกัสสปะด้วยการประทานโอวาท  ๓  ข้อ
๑. กัสสปะ ท่านพึงศึกษาว่า  เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความยำเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า-ผู้ใหม่-ปานกลาง
๒. ธรรมอันใดที่ประกอบด้วยกุศล เราจะตั้งใจฟังและพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น
๓. เราจักไม่ละสติออกจากกาย  คือพิจารณากายเป็นอารมณ์
•   เมื่อพระกัสสปะบวชแล้ว ภิกษุสหธรรมิกนิยมเรียกท่านว่า  พระมหากัสสปะ
•   การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า  โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
•   พระมหากัสสปะได้ฟังพระพุทธโอวาท  ๓  ข้อแล้วบำเพ็ญเพียรบรรลุธรรมในวันที่ ๘  แห่งการอุปสมบท
•   พระมหากัสสปะ  ถือธุดงค์คุณ  ๓  อย่างคือ 
๑. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร  
๒. ถือการเที่ยวบิณฑบาตรเป็นวัตร   
๓. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
•   ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า  เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์
•   จาตุรงคสันนิบาต แปลว่าการประชุมพร้อมด้วยองค์  ๔  คือ
๑.   พระอรหันต์ขีณาสพ  อยู่จบพรหมจรรย์  ๑๒๕๐  องค์  มาประชุมกัน
๒. พระสาวกเหล่านั้น  ล้วนเป็นเอหิภิกขุ ผู้ได้อภิญญา ๖
๓.   พระสาวกเหล่านั้น  ต่างมากันเองโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน
๔. เป็นวันเพ็ญ  พระจันทร์เต็มดวง  เสวยมาฆฤกษ์   พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในท่ามกลางสาวกเหล่านั้น
 พระศาสดาทรงอนุญาตเสนาสนะ( ที่นอนและที่นั่ง) ๕ ชนิด คือ
๑.วิหาร คือกุฏิมีหลังคา 
๒.  อัฑฒโยค คือกระท่อม 
๓.ปราสาท คือเรือนชั้น(กุฏิหลาย ๆ ชั้น)
๔. หัมมิยะ  ได้แก่  เรือนหรือกุฏิหลังคาตัด      
๕.  คูหา  ได้แก่ ถ้ำ 
•   ราชคหกเศรษฐี เป็นผู้ถวายเสนาสนะ  ๖๐  หลังเป็นคนแรก
 ทรงแสดงวิธีทำปุพพเปตพลี
•   พระเจ้าพิมพิสารทรงกระปุพพเปตพลีทำเป็นครั้งแรก   
•   ทักษิณาอุทิศคนตายทั่วไป  เรียกว่า  ทักษิณานุปทาน
•   มตกทาน  แปลว่า  การอุทิศให้ผู้ตาย
•   ทักษิณาอุทิศเฉพาะบุรพบิดา  เรียกว่าปุพพเปตพลี
•   การอุปสมบทแบบญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา  พระราธะบวชเป็นองค์แรก  มีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์  ที่เวฬุวันมหาวิหาร  กรุงราชคฤห์
•   พระราธได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางปฏิภาณ
•   การบวชหรืออุปสมบทกรรมมี  ๓  วิธี คือ
๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา   ๒.  ติสรณคมนูปสัมปทา   
๓.  ญัตติจตุตถกรรม 

 พระพุทธองค์ ทรงแสดงทิศ  ๖  แก่สิงคาละมาณพ