วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ ๕ ตรัสรู้

บทที่  ๕  ตรัสรู้
•   หลังจากเสด็จออกบรรพชาแล้ว ทรงประทับแรมที่ อนุปิยอัมพวัน
•   หลังจากออกบรรพชาแล้ว   เข้าศึกษาที่สำนักของ อาฬาดาบส  กาลามโครตและอุททกดาบส รามบุตร
•   ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาที่ อุรุเวลาเสนานิคม  ทุกกรกิริยา หมายถึง กิริยาที่ทำได้ยาก
•   กิริยาที่ทำได้ยากมี  ๓  วาระ  คือ  
๑.  กัดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น  ๒.  กลั้นลมหายใจเข้า-ออก  ๓.  อดอาหารจนซูบผอบ
•   ปัญจวัคคีย์ ดูแลในระหว่างบำเพ็ญเพียร
•   ทรงเลิกบำเพ็ญเพียร   เพราะมิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้
•   นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้
•   ญาณที่ทรงได้ในระหว่างบรรลุธรรม  ตามลำดับคือ
๑.  ปฐมยาม     บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  คือ  ระลึกชาติได้
๒.  มัชฌิมยาม  บรรลุจุตูปปาตญาณ คือ รู้การเกิดและตายของสัตว์ทั้งปวง
๓.  ปัจฉิมยาม  บรรลุอาสวักขยญาณ  คือ รู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค
•   โสตถิยพราหมณ์  ถวายหญ้าคาก่อนวันตรัสรู้
•   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
•   ตรงกับวันพุธขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๖ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ต.อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
•   ตรัสรู้หลังจากบรรพชา ๖ ปี
•   พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ ๔
•   พระพุทธเจ้าทรงชนะมารและเสนามารด้วย บารมี๑๐

•   คำว่า สัมมาสัมโพธิญาณ”  หมายถึง ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้โดยชอบ

บทที่ ๔ เสด็จออกผนวช

บทที่ ๔  เสด็จออกผนวช
๑. เทวทูตคือ สิ่งที่เทวดาเนรมิตขึ้น มี ๔ ประการ  คือ คนแก่   คนเจ็บ   คนตาย  สมณะ
๒. เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ ๒๙  พรรษา
๓. มหาภิเนษ¬กรมณ์  หมายถึง การเสด็จออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะ
๔. เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชมี นายฉันนะและม้ากัณฐกะ ติดตามไปด้วย
๕. เจ้าชายสิทธัตถะ  ทรงผนวชด้วยวิธี อธิษฐานเพศบรรพชิต
๖. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศบรรพชิต ที่ไหน ณ ริมฝั่งอโนมานที
๗.  ฆฏิการพรหมเป็นผู้ถวายบาตรและเครื่องบริขาร
๘. หลังจากบรรพชาทรงประทับแรมที่  อนุปิยอัมพวัน

๙. ปัญจวัคคีย์ หมายถึง บุคคลผู้มีพวกห้า  มี  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ มหานามะ  และอัสสชิ

บทที่ ๓ ประสูติ (เกิด)

บทที่  ๓ ประสูติ  (เกิด)
•   พระโพธิสัตร์เลด็จสู่พระครรภ์  ในราตรีวันพฤหัสบดี ขึ้น  ๑๕ ค่ำ  เดือน ๘ ปีระกา พระมารดาทรงสุบินเห็นพญาช้างเผือก
•   พระโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์ ๑๐ เดือนพอดี
•   พระโพธิสัตว์ทรงประสูติที่สวนลุมพินีวัน  ใต้ร่มไม้สาละ (ต้นรัง) ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ  ปัจจุบันเรียกว่า  “รุมมินเดประเทศเนปาล  เมื่อวันศุกร์  ขึ้น  ๑๕ ค่ำ เดือน ๖  ปีจอ (วันวิสาขบูชา)
•   พระโพธิสัตว์ เดินได้ ๗ ก้าวพร้อมกับพูดว่า เราเป็นเลิศ  เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลกการเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายบัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว
•   สหชาติ คือ สิ่งที่เกิดวันเวลาเดียวกันกับพระโพธิสัตว์  มี  ๗ อย่าง
          ๑.พระนางพิมพา ๒.พระอานนท์ ๓.กาฬุทายีอำมาตย์ ๔.ฉันนะอำมาตย์ 

๕.ม้ากัณธกะ  ๖.ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗. ขุมทรัพย์ ทั้ง ๔
•   ประสูติ ๓  วัน มี อสิตดาบส  หรือ กาฬเทวิลดาบส  เข้าเยี่ยม  และพยากรณ์    อย่าง (ถ้าอยู่ปกครองบ้านเมืองจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวช จะเป็นพระพุทธเจ้า)
•   ประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ มาทานอาหาร ,ขนานพระนาม  และ  ทำนายลักษณะ 
•   ทำนาย ๒ อย่างคือ  ๑.ถ้าอยู่เป็นฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒. ถ้าบวชจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
•   สิทธัตถะ  แปลว่า  “ผู้มีความสำเร็จสมปรารถนา
•   ประสูติได้ ๗ วัน  พระมารดาทิวงคต
•   พระเจ้าสุทโธทนะแต่งตั้งให้นางปชาบดีดูแลแทน
•   อายุ ๗  พรรษา บิดาให้ขุดสระ ๓ ฤดูถวาย  และทรงให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑๘ ศาสตร์
•   ครูคนแรก  คือ ครูวิศวามิตร
•   อายุ    พรรษา  ทรงได้ปฐมฌานใต้ร่มชมพูพฤกษ์  (ต้นหว้า)
•   อายุ ๑๖  พรรษา  บิดาทรงให้สร้างปราสาท ๓ หลังถวาย  และทรงให้อภิเษกสมรส
•   เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางยโสธรา หรือ พิมพา