วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สรุปนักธรรมชั้นเอก หน้าที่ 7/10

 











(ปี 50) ก่อนจะทรงแสดงอริยสจ พระพุทธองค์ทรงแสดงส่วนสุด อย่างแก่ปัญจวัคคีย์ แต่ทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่ยสกุลบุตร เพราะเหตุไร?

ตอบ เพราะปัญจวัคคีย์ได้ละกามออกบวชเป็นฤษีแล้ว ซึ่งบรรพชิตในครั้งนั้นหมกมุ่นอยู่ในส่วนสุด อย่าง คืออัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุ โยค ฤษีปัญจวัคคีย์ติดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค จึงไม่จําต้องแสดงอนปุพพีกถาเพื่อฟอกจิตให้สะอาดจากกาม แต่ยสกุลบุตรเป็น ผเสพกามอยู่ครอง เรือน กําลังได้รับความขัดข้องวุ่นวายจากกามอยู่ จึงทรงแสดงอนุปุพพีกถาฟอกจิตให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม ควรรับธรรมเทศนาคืออริยสัจ

เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทิน ควรรับนํ้าย้อมได้ฉะนั้น

(ปี 48) อนุปุพพีกถา คืออะไร? ทรงแสดงแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยองค์เท่าไร? อะไรบ้าง?

ตอบคือถ้อยคําที่กล่าวเรยงเรื่องเป็นลําดับไปฯ ด้วยองค์ ๓ฯ คือ เป็นมนุษย์ เป็นคฤหัสถ์ มีอุปนิสยแก่กล้าควรบรรลุโลกุตรคุณในที่นั้น ๑ฯ

(ปี 48) ธรรม ๓๗ ประการมสติปัฏฐาน เป็นต้น มีมรรคมีองค์ เป็นที่สุด เรียกชื่อว่าธรรมอะไรได้บ้าง? เรียกอย่างนั้นเพราะเหตไุ ?

ตอบ เรียกชื่อว่า อภิญญาเทสิตธรรม เพราะเป็นธรรมที่พระองค์ทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง และเรียกชื่อว่า โพธิปักขิยธรรม เพราะธรรม

เหล่านี้เป็นฝักฝ่ายแห่งความตรสรู้ 

(ปี 47) พระพุทธพจน์ว่า ทักษิณาอันบริจาคในสงฆ์ย่อมสําเร็จแก่ผู้ตายโดยฐานะ นั้น ท่านอธิบายไว้อย่างไร? การที่ทักษิณาจะสําเร็จประโยชน์ แก่ผู้ตายโดยฐานะนั้น ต้องพร้อมด้วยสมบัติ อะไรบ้าง?

ตอบ ท่านอธิบายไว้ว่า เปตชนผไู้ ปเกิดในกําเนิดอื่น ทั้งที่เป็นทุคติ ทั้งที่เป็นสุคติ ย่อมเป็นอยู่ด้วยอาหารในคติที่เขาเกิด หาได้รับผลแห่งทานที่ทายก อุทิศถึงไม่ ต่อไปเกิดในปิตติวิสัย จึงได้รับผลแห่งทานที่อุทิศถึงนั้น


ต้องพร้อมด้วยสมบัติ ประการคือการบริจาคไทยธรรมแล้วอุทิศถึงของทายก๑ ปฏิคาหกผู้รับไทยธรรมนั้นเป็นทักขิเณยยะ คือผู้ควรรบ เปตชนนั้นได้อนุโมทนา๑

(ปี 46) โอวาทปาฏิโมกข์ทรงแสดงที่ไหน? เมื่อไร? ข้อที่ทรงยกขันติขึ้นตรัสในโอวาทปาฏิโมกข์นั้น หมายความว่าอย่างไร ?


ทักษิณา๑


ตอบ ที่เวฬุวนาราม กรุงราชคฤห์ ฯ เมื่อวันเพ็ญเดือน หมายความว่า ศาสนธรรมคําสอนของพระองค์เป็นไปเพื่อให้อดทนต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย ถ้อยคําให้ร้าย ใส่ความ ด่าว่า และทุกขเวทนาอันแรงกล้าเกิดแต่อาพาธ

(ปี 45) ที่สุดทั้ง อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ มีโทษอย่างไรบ้าง? มัชฌิมาปฏิปทา มีคุณอย่างไรบ้าง?

ตอบ มีโทษดังนี้ คือ


กามสุขัลลิกานุโยค เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือผู้บรส อัตตกิลมถานุโยค ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทําผู้ประกอบให้เป็นอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์


ุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์


มีคุณดังนี้ คือทําดวงตาคือทําญาณเครื่องรอบรู้ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด (ปี 45) บุคคลที่ท่านเปรียบด้วยดอกบัว เหล่า ได้แก่จําพวกไหนบ้าง? พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาก่อนที่จะแสดงอริยสัจ เพื่อ ประโยชน์อะไร?

ตอบ ได้แก่

.  อุคฆฏิตัญญู  คือ ผู้มีอุปนิสัยสามารถจะตรสรู้ธรรมวิเศษโดยพลันพร้อมกันกับเวลาที่ท่านผู้ศาสดาแสดงธรรมสั่งสอน  เปรียบด้วยดอกบัวพ้นนํ้า

. วิปจิตัญญู คือ ผู้ที่ท่านอธิบายขยายความแห่งคําที่ย่อให้พิสดารออกไป จึงจะตรัสรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบด้วยดอกบัวเสมอนํ้า

. เนยยะ คือ ผที่พอจะแนะนําได้ คือพอที่จะฝึกอบรมสั่งสอนให้รู้และเข้าใจได้อยู่ เปรียบด้วยดอกบัวที่ยังอยู่ในนํ้า

. ปทปรมะ คือ ผู้แม้จะฟังและกล่าวและทรงไว้และบอกแก่ผู้อื่นซึ่งธรรมเป็นอันมาก ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษในอัตภาพชาตินั้นได้ เปรียบ ด้วยดอกบัวที่เป็นภักษาแห่งเต่าและปลา

เพื่อฟอกจิตสาวกหรือผู้ฟัง ให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม ควรรับพระธรรมเทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรรับนํ้า ย้อมได้ ฉะนั้น


(ปี 45) พระพุทธดํารัสว่า "ดูก่อนอานนท์ กํามืออาจารย์ในธรรมทั้งหลายไม่มีแก่พระตถาคตเจ้า หมายความว่าอย่างไร? พระพุทธองค์ทรงบําเพ็ญ ญาตัตถจริยา ด้วยมีพระประสงค์อย่างไร?


ตอบ หมายความว่า พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมีข้อลี้ลับในธรรมทั้งหลายที่จะต้องปกปิดซ่อนบังไว้ แสดงได้แก่สาวกบางเหลา สาธารณ์ หรือจะพึงแสดงให้สาวกทราบต่ออวสานกาลที่สุด


มิได้ทั่วไปเป็นสรรพ


ด้วยพระประสงค์จะให้พระญาติบริบูรณ์ด้วยสุข ประการ คือมนุษยสุข ทิพยสุข นิพพานสุข ทั้งที่ครองฆราวาส ทั้งที่ออกบรรพชาใน พระพุทธศาสนา

(ปี 44) พระศาสดาทรงแสดงอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ตามลําดับ แก่บุคคลผมีคุณสมบัติเช่นไร? พระศาสดาประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ พระยสกุลบุตรว่าอย่างไร?

ตอบ แก่ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ . เป็นมนุษย์ . เป็นคฤหัสถ์ . มีอุปนิสัยแก่กล้า ควรบรรลโลกุตรคุณ ฯ ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรยเถิด

 

เหตุในการบวชของสาวก

(ปี  51)  จงระบุชื่อพระสาวกผู้ที่บวชด้วยเหตุต่อไปนี้

. บวชด้วยศรัทธา                     . บวชเพราะจําใจ                     . บวชตามเพื่อน                      . บวชเพราะเห็นโทษของการครองเรือน

ตอบ       . บวชด้วยศรัทธา คือ พระรัฐปาลเถระค. บวชตามเพื่อน คือ พระวิมล พระสุพาหุ พระปุณณชิ พระควัมปติ

. บวชเพราะจําใจ คือ พระนันทเถระ                               . บวชเพราะเห็นโทษของการครองเรือน คือ พระมหากัสสปเถระ

 

 

การอุปสมบท

(ปี 56) การอุปสมบทสําหรับพระภิกษุในครั้งพุทธกาล มีทั้งหมดกี่วิธี? อะไรบ้าง? ในปัจจุบันใช้วิธีใด?

ตอบ มี วิธีฯ คือ .เอหิภิกขุอุปสัมปทา .ติสรณคมนูปสมปทา .ญัตติจตุตถกรรมอุปสมปทาฯ ใช้ญัตติจตตถกรรมอุปสัมปทาฯ

 

 

คนแรก/คนสุดท้าย/ท่องจํา

(ปี 56) ปฐมสาวกกับปัจฉิมสาวกคือใคร? ได้ฟังพระธรรมเทศนาครงั้ แรกว่าด้วยเรื่องอะไร?

ตอบ ปฐมสาวก คือพระอัญญาโกณฑัญญะ ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยที่สุด อย่าง และมัชฌิมาปฏปทา

ปัจฉิมสาวก คือสุภัททปริพาชก ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยพระอริยบุคคลทั้ง ประเภท มีอยู่เฉพาะในธรรมวินัยที่มีมรรคมีองค์

(ปี 50) บิณฑบาตของนางสุชาดาที่ถวายก่อนแต่ตรสรู้ และของนายจุนทะที่ถวายก่อนแต่เสด็จปรินิพพาน มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน เพราะ

เหตุไร? ตอบ เพราะ                    . ปรินิพพานเสมอกัน คือสอุปาทิเสสปรินิพพานและอนุปาทิเสสปรินิพพาน

. สมาบัตเสมอกัน คือทรงเข้าสู่สมาบัติ ๒๔ แสนโกฏิเสมอกันก่อนจะตรัสรู้และก่อนจะปรินิพพาน . เมื่อบุคคลทั้ง ระลึกถึงการถวายบิณฑบาตของตน ก็บังเกิดปีตโสมนัสอย่างแรงกล้าเหมือนกัน

(ปี 48) ในพุทธประวัติกลาวถึงบุคคลต่อไปนี้คือ โสตถิยพราหมณ์ หุหุกชาติพราหมณ์ โทณพราหมณ์ ว่าอย่างไรบ้าง?

ตอบ  โสตถิยพราหมณ์  เป็นพราหมณ์ที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในเวลาเย็นแห่งวันตรัสรู้

หุหุกชาติพราหมณ์ เป็นพราหมณที่เข้าเฝ้าทูลถามปัญหากะพระพุทธองค์ขณะประทับ ภายใต้ร่มไม้อชปาลนิโครธ โทณพราหมณ์ เป็นพราหมณ์ที่ทําหน้าที่แบ่งพระบรมสารริกธาตุแก่กษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง พระนคร

(ปี 47) พระอรหันตสาวกรุ่นแรกที่พระศาสดาทรงส่งไปประกาศพระศาสนา มีจํานวนเท่าไร? พระองค์ทรงประทานโอวาทแก่ท่านเหล่านั้นโดยย่อ ว่าอย่างไร?


ตอบ มีจํานวนทั้งสิ้น ๖๐ รูป ทรงประทานโอวาทว่า ท่านทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปในชนบท เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอนมาก แต่ อย่าไปทางเดียวกัน ๒ รูป จงแสดงธรรมมีคุณในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถและ พยัญชนะ ฯ

(ปี 47) พระกาฬุทายี และ กาฬเทวิลดาบส เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?

ตอบ พระกาฬุทายี เป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า ก่อนบวชท่านเป็นอํามาตย์อยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงส่งไปทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ให้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อได้อุปสมบทแล้วจึงทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จกลับได้สําเร็จตามพระราชประสงค์

กาฬเทวิลดาบสคืออสิตดาบสนั่นเอง เมื่อพระมหาบุรุษประสูติใหม่ๆ ท่านทราบข่าวจึงเข้าไปเยี่ยม ได้เห็นลักษณะของพระราชโอรสต้องด้วย ตํารับมหาบุรุษลักษณะมีความเคารพในพระโอรสอย่างมาก จึงลุกขนกราบลงที่พระบาททั้งสองด้วยศีรษะของตนแล้วกลาวทํานายพระลักษณะตาม มหาบุรุษลักษณะพยากรณศาสตร์

(ปี 44) จงแสดงใจความแห่งพระพุทธพจน์ที่ชี้ให้เห็นว่า พระอรหันต์ยังมีได้ตลอดเวลาที่บุคคลยังปฏิบัติชอบอยู่? ในสมัยพุทธกาล  พระสาวกองค์ใดได้รับการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาเป็นองค์แรก  และองค์ใดเป็นองค์สุดท้าย?

ตอบ ใจความแห่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสก่อนปรินิพพานกับสุภัททปริพาชกว่า " ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลาย ยังเป็นผปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่ โลกก็ จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ " พระราธะเป็นองค์แรก พระสุภัททะเป็นองค์สุดท้าย

 

พระสาวกนิพพาน

(ปี 50) พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ เท่าที่ปรากฏในหนังสือพุทธานุพทธประวัติ มีองค์ใดนิพพานก่อนและหลังพระพุทธองค์บ้าง? จงบอกมาอย่างละ

องค์

ตอบ (ตอบเพียงอย่างละ องค์)

ผู้นิพพานก่อนพระพุทธองค์ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระราหุล ฯ ผู้นิพพานหลังพระพุทธองค์ คือ พระมหากัสสปะ พระอุบาลี พระอนรุทธะ พระอานนท์

 

เอตทัคคะ

Ø ประมาณ หรือ ปมาณิก บุคคลที่ถือประมาณต่างๆ กัน, คนในโลกผู้ถือเอาคุณสมบัติต่างๆ กัน เป็นเครื่องวัดในการที่จะเกิดความเชื่อความ เลื่อมใส

. รูปัปปมาณิกา ผู้ถือประมาณในรูป, บุคคลที่มองเห็นรปร่างสวยงาม ทรวดทรงดี อวัยวะสมส่วน ท่าทางสง่า สมบูรณ์พร้อม จึงชอบใจ เลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ

.  โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือประมาณในเสียง, บุคคลที่ได้ยินได้ฟังเสียงสรรเสริญ เกียรติคุณหรือเสียงพูดจาที่ไพเราะ จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจทจะ เชื่อถือ

. ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือประมาณในความครํ่าหรือเศราหมอง, บุคคลที่มองเห็นสิ่งของเครื่องใช้ความเป็นอยู่ที่เศร้าหมองเช่น จีวรครํ่าๆ เป็นต้น หรือมองเห็นการกระทําครํ่าเครียดเป็นทุกรกิรยา ประพฤติเคร่งครัดเข้มงวดขูดเกลาตน จึงชอบใจ เลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ

. ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือประมาณในธรรม, บุคคลที่พิจารณาด้วยปัญญาเห็นสารธรรมหรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จึง ชอบใจเลื่อมใส น้อมใจที่จะเชื่อถือ

 

Ø เอตทัคคะ แปลว่า ผู้เลิศ                (👉้ท่องไปสอบ สรุปนี้เอามาเฉพาะที่เคยออกข้อสอบ นักธรรมโทและเอก เท่านั้น)

·        พระอัญญาโกณฑัญญะ ผรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน  ...หมายถึง ผู้มีอายุมาก ผมีประสบการณมาก)


·        พระอุรุเวลกัสสปะ ผมีบริวารมาก

·        พระมหากัสสปะ ผู้เลิศในทางถือธุดงค์

·        พระปุณณมันตานีบุตร ผู้เลิศในทางธรรมกถึก

·        พระสารีบุตร ผู้เลิศในทางมีปัญญามาก

·        พระโมคคัลลานะ ผู้มีฤทธิ์มาก

·        พระโสณกุฏิกัณณะ ผแสดงธรรมด้วยถ้อยคําอันไพเราะ (ผู้มีวาจาไพเราะ)

·        พระราหุล ผู้ใคร่ในการศึกษา

·        พระราธะ ผู้มีปฏิภาณ คือ มีญาณแจ่มแจ้งในธรรมเทศนา

·        พระโมฆราช ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

·        พระอุบาลี ผู้ทรงพระวินัย


·        พระอานนท์ ผู้เลิศในทางพหูสูต มี ด้าน คือ เป็นพหูสต

·        พระอนุรุทธะ ผเลิศในทางทิพยจักขุญาณ (ตาทิพย์)


มีสติ มีคติ มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก


·        พระมหากัจจายนะ ผู้เลิศในทางผอธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร

·        พระรัฐบาล ผู้เลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา

·        พระวักกลิ ผู้เลิศในทางสัทธาธิมุต คือ ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา

·        พระโสณโกฬิวิสะ ผู้เลิศในทางมีความเพียรปรารภแล้ว

·        พระกาฬุทายี ผเลิศทางยังตระกูลให้เลื่อมใส

·        พระพาหิยทารุจีริยะ ผู้เลิศทางมีขิปปาภิญญาตรัสรู้เร็ว

·        กิสาโคตมีเถรี ในทางทรงไว้ซึ่งจีวรอันเศร้าหมอง (ภิกษุณี)


·        กุณฑลเกสเถรี ในทางขิปปาภิญญา หรือ ตรส


รู้เร็ว (ภิกษุณี)


·        ภัททกาปิลานีเถรี ในทางระลึกได้ซึ่งปุพเพนิวาส (ภิกษุณี)

·        ภัททากัจจานาเถรี ในทางถึงซึ่งอภิญญาอันใหญ่แล้ว (ภิกษุณี)

·        โสณาเถรี ในทางมีความเพียรปรารภแล้ว (ภิกษุณี)

·        มหาปชาบดีโคตมีเถรี ผรัตตัญญู (ภิกษุณี)

·        ธรรมทินนาเถรี ผู้เลิศในทางธรรมกถึก (ภิกษุณี)

·        อุบลวรรณาเถรี ผู้เลิศในทางมีฤทธิ์ (ภิกษุณี)

·        ปฏาจาราเถรี ผเลิศในทางทรงวินัย (ภิกษุณี)

·        เขมาเถรี ผู้เลิศในทางมีปัญญา (ภิกษุณี)

·        จิตตคฤหบดี ผู้เลิศในทางธรรมกถึก (ฝ่ายอุบาสก)

·        นางขุชชุตตรา ผู้เลิศในทางธรรมกถึก (ฝ่ายอุบาสิกา)


(ปี 64) พระสาวกสาวิกาต่อไปนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใด?

. พระสารีบุตรเถระ . พระมหาโมคคัลลานะเถระ . พระอุบาลีเถระ . พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี . พระอุบลวรรณาเถรี

ตอบ       . พระสารีบุตรเถระ เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญา                                      . พระมหาโมคคัลลานะเถระ เป็นผู้เลศในทางมีฤทธิ์

. พระอุบาลีเถระ เป็นผเลิศในทางทรงพระวินัย                                     . พระมหาปชาบดีโคตมเถรี เป็นผู้เลศในทางผู้รัตตัญญู

. พระอุบลวรรณาเถรี เป็นผู้เลศในทางมีฤทธิ์

(ปี 63, 61) ภิกษุณีผมีชื่อต่อไปนี้ได้รับเอตทัคคะในทางไหน ?

. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี                 . พระเขมาเถรี                         . พระอุบลวัณณาเถรี                 . พระปฏาจาราเถรี                  . พระธัมมทินนาเถรี

ตอบ       . ได้รับเอตทัคคะในทางรัตตัญญู                    . ได้รับเอตทัคคะในทางมีปัญญา                    . ได้รับเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์ . ได้รับเอตทัคคะในทางทรงวินัย                                    . ได้รับเอตทัคคะในทางธรรมกถึก

(ปี 62, 55) พระสาวกสาวิกาต่อไปนี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในทางใด?

. พระมหาโมคคัลลานะ                  . พระมหากัสสปะ                    . พระอุบาลี              . พระนางมหาปชาบดีโคตมี                        . พระนางเขมา

ตอบ       . พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้เลศในทางมีฤทธิ์                                      . พระมหากัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางถือธุดงค์

. พระอุบาลี เป็นผเลิศในทางทรงพระวินัย                                         . พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นผู้เลศในทางผู้รัตตัญญู

. พระนางเขมา เป็นผเลิศในทางมีปัญญา

(ปี 56) พระเถระรูปใดได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ดังต่อไปนี้?

. ทรงทิพจักษุญาณ            . ยังตระกูลให้เลื่อมใส              . เป็นธรรมกถึก             . ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง              . ผู้เป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้เร็ว

ตอบ       . พระอนุรุทธเถระ                    . พระกาฬุทายีเถระ                  . พระปุณณมันตานีบุตร               . พระโมฆราชเถระ . พระพาหิยทารุจีริยะ

(ปี 53) พระสาวกรูปใดเป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก ทางขยายความย่อให้พิสดาร ทางมีวาจาไพเราะ ทางทรงจีวรเศร้าหมอง? และในท่าน เหล่านั้น องค์ไหนเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็นรูปัปปมาณิกา โฆสัปปมาณิกา ลูขัปปมาณิกา และธัมมัปปมาณิกา?

ตอบ       พระสารีบุตร เป็นเอตทัคคะทางมีปัญญามาก และเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็นธัมมัปปมาณิกา พระมหากัจจายนะ เป็นเอตทัคคะทางขยายความย่อให้พิสดาร และเป็นที่เลื่อมใสของผเป็นรูปัปปมาณกา พระโมฆราช เป็นเอตทัคคะทางทรงจีวรเศร้าหมอง และเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็นลูขัปปมาณิกา พระโสณกุฏิกัณณะ เป็นเอตทัคคะทางมีวาจาไพเราะ และเป็นที่เลื่อมใสของผู้เป็นโฆสัปปมาณิกา

(ปี 53) พระอรหันตสาวก ๑๐ องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือใครบ้าง? มีท่านใดได้รับเอตทัคคะบ้าง? และเป็นเอตทัคคะในทางไหน?

ตอบ คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พระยสะ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ และพระควัมปติ มีพระอัญญาโกณฑัญญะรูปเดียว ฯ ในทางรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน

(ปี 49) บุคคลต่อไปนี้ได้รบเอตทัคคะในทางใด?

. พระอนุรุทธเถระ                    . พระโสณโกฬิวิสเถระ                    . พระรัฐปาลเถระ                    . นางปฏาจาราเถรี              . นางกีสาโคตมีเถรี

 

ตอบ

. พระอนุรุทธเถระ

ได้ทิพยจักษุญาณ

. พระโสณโกฬิวิสเถระ

มีความเพียรปรารภแล้ว

 

. พระรัฐปาลเถระ

บวชด้วยศรัทธา

. นางปฏาจาราเถรี

ทรงไว้ซึ่งวินัย

 

. นางกีสาโคตมีเถรี

ทรงไว้ซึ่งจีวรอันเศร้าหมอง

 

 

(ปี 48) พุทธบริษัท คือ ใครบ้าง? ผู้ตั้งอยู่ในเอตทัคคะทางพระธรรมกถึกของแต่ละฝ่ายคือใคร?

ตอบ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

ฝ่ายภิกษุ คือ พระปุณณมันตานีบุตรเถระ                                          ฝ่ายอุบาสก คือ จิตตคฤหบดี


ฝ่ายภิกษณี คือ พระธัมมทินนาเถรี                                               ฝ่ายอุบาสิกา คือ นางขุชชุตตรา

(ปี  44)  ภิกษุณีผู้มีชื่อต่อไปนี้ไดรับเอตทัคคะในทางไหน?

. พระนางมหาปชาบดีโคตมี ข. นางเขมาเถรี . นางอุบลวัณณาเถรี . นางปฏาจาราเถรี . นางธัมมทินนาเถรี พระสงฆ์เถรวาทในเมืองไทยไม่สามารถบวชภิกษุณีได้เพราะเหตไุ ?

ตอบ . ได้รับเอตทัคคะในทางรัตตัญญู . ได้รับเอตทัคคะในทางมีปัญญา ค. ได้รับเอตทัคคะในทางมีฤทธิ์ . ได้รับเอตทัคคะในทางทรงวินัย . ได้รับเอตทัคคะในทางธรรมกถึก

เพราะมีพระพุทธานุญาตว่า " ภิกษุณีต้องบวชจากภิกษุณีสงฆ์ก่อน แล้วจึงบวชจากภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง " เวลานี้ภิกษุณีสงฆ์ไม่มีแล้ว การที่จะบวช ภิกษุณีจึงไม่สามารถทําได้

 

มหาปรินิพพาน

(ปี 64) การปลงอายุสังขาร หมายถึงอะไร? พระพุทธเจ้าทรงกระทําที่ไหน?

ตอบการปลงอายุสังขาร หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงกําหนดวันปรินิพพาน นับแต่วันเพ็ญเดือน ไปอีก เดือนฯ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองไพศาลีฯ

(ปี 59, 54) อายุสังขาราธิษฐานกบการปลงอายุสังขาร หมายถึงอะไร? พระพุทธเจ้าทรงกระทําที่ไหน?

ตอบ  อายุสังขาราธิษฐาน  หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระหฤทัยว่า  จักดํารงพระชนม์อยู่แสดงธรรมสั่งสอนมหาชน จนกว่าพุทธบริษัทจะตั้ง

มั่น และได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายมั่นคงสําเร็จประโยชน์แก่มหาชน ที่อชปาลนิโครธ ใกลสถานที่ตรัสรู้

การปลงอายุสังขาร หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงกําหนดวันปรินิพพาน นับแต่วันเพ็ญเดือน ไปอีก เดือน ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองไพศาลี

(ปี 58) ในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระพุทธสรีระส่วนใดยังคงเหลืออยู่ ?

ตอบ พระอัฐิ พระเกสา พระโลมา พระนขา พระทันตา เหลืออยู่ นอกนั้นถูกเพลิงไหม้หมดสิ้น

(ปี 57) ปาวาลเจดีย์ และ มกุฏพันธนเจดีย์ อยู่ที่เมืองอะไร? มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร?

ตอบ       ปาวาลเจดีย์อยู่ที่เมืองไพศาลี เป็นที่ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ฯ มกุฏพันธนเจดย์อยู่ที่เมืองกุสินารา เป็นที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

(ปี   56)   พระพุทธองค์ทรงเลือกเมืองกุสินาราเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยเหตุผลอันใด?

ตอบ ด้วยเหตุผลคือ . จะเป็นเหตุเกิดแห่งมหาสุทัสสนสูตร                                          . จะได้โปรดสุภัททปริพาชก ผเป็นพุทธเวไนย

. จะได้ป้องกันการรบกันครั้งใหญ่เพื่อแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ

(ปี 54) นิมิตโอภาสที่พระศาสดาทรงแสดงแก่พระอานนท์ก่อนทรงปลงอายุสังขาร มีใจความว่าอย่างไร? ทรงแสดงเพื่ออะไร?

ตอบ มีใจความว่า อิทธิบาททั้ง ประการ ท่านผู้ใดผหนึ่ง ได้เจริญให้มากแล้ว สามารถจะดํารงอยู่ได้กัป หรือเกินกว่านั้น อิทธิบาททั้ง นั้น

พระตถาคตได้เจรญแล้ว ถ้าทรงปรารถนา ก็จะดํารงอยู่ได้กัป หรือเกินกว่านั้น ฯ เพื่อให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้ทรงดํารงอยู่ชั่วอายุกัป หรือเกินกว่านั้น

(ปี 46) พระพุทธดํารัสว่า ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงอยู่ดีอยู่ชอบแล้วไซร้ โลกก็จักไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ คําว่า พระอรหันต์ ในที่นี้ หมายถึงใคร? โทณพราหมณ์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวันแจกพระบรมสารริกธาตุ มีใจความย่ออย่างไร?

ตอบ หมายถึง พระขีณาสวอรหันต์

มีใจความย่อดังนี้          . พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญขันติธรรมและตาหนิในการที่จะทําสงครามกัน

. ชวนให้สามัคคีร่วมใจกัน โดยแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุเท่า กัน

(ปี 44) พระยาวัสวดีมาร ได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้เสด็จปรินิพพานกี่ครั้ง? ที่ไหนบ้าง?


เมื่อคราวที่มารทูลขอให้ปรินิพพานครั้งแรก พระองค์ทรงตอบมารว่าอย่างไร?

ตอบ ได้ทูลขอพระพุทธเจ้าให้เสด็จปรินิพพาน ๒ ครั้งคือ ครั้งแรกที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ                                                      ครั้งที่สองที่ปาวาลเจดีย์ ฯ ทรงตอบมารว่า " ดูก่อนมารผู้ใจบาป เมื่อใดพุทธบริษัท เป็นผู้ฉลาด เป็นพหูสตร สามารถดํารงพระธรรมวินัยสืบต่อศาสนาได้ สามารถแสดง ธรรมโปรดเวไนยสัตว์ ให้สาเรจมรรค ผล นิพพาน และเผยแผศาสนาไปได้อย่างกว้างขวางมั่นคง เมื่อนั้น ตถาคตจึงจะปรินิพพาน "

(ปี 43) จงอธิบายข้อความต่อไปนี้                                         . ทรงทําอายุสังขาราธิฏฐาน                           . ทรงปลงอายุสังขาร

ตอบ       . ทรงทําอายุสังขาราธิฏฐาน หมายถึง ทรงตั้งพระหฤทัยจักอยู่แสดงธรรมสั่งสอนแก่มหาชน และตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดํารงพระชนม์ อยู่จนกว่าพุทธบริษัทจะตั้งมั่นและได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลาย ประดิษฐานให้มั่นคงถาวรสําเร็จประโยชน์แก่นิกรทุกหมู่เหล่า

. ทรงปลงอายุสังขาร หมายถึง ทรงกําหนดวันปรินิพพานนับแต่วันเพ็ญเดือน ไปอีก เดือน คือปลงพระทัยว่าจะบําเพ็ญพุทธกิจ ต่อไปอีกไมไ่ ด้แล้ว

 

เจดีย

(ปี 64, 62, 51) ถูปารหบุคคล ไดแก่บุคคลเช่นไร ? มีใครบ้าง ?

ตอบ ได้แก่ บุคคลผู้ควรแก่การบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อสักการบูชา

มี . พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า . พระปัจเจกพุทธเจ้า . พระอรหันตสาวก . พระเจ้าจักรพรรดิราช

(ปี 55) พุทธเจดีย์มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? พระพุทธรูป สงเคราะห์เข้าในเจดีย์ประเภทใด?

ตอบ มี ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดย์ ธรรมเจดย์ และอุทเทสิกเจดย์ สงเคราะห์เข้าในอุทเทสิกเจดีย์

(ปี 53) ถูปารหบุคคล คือใคร? มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

ตอบ คือ บุคคลผู้ควรแก่การสร้างสถูปไว้ประดิษฐาน

มี ประเภท คือ๑. พระตถาคตอรหันตสมมาสัมพุทธเจ้า . พระปัจเจกพุทธเจ้า . พระอรหันตสาวก                                                         . พระเจ้าจักรพรรดิราช

(ปี 47) อจลเจดีย์คืออะไร? ตั้งอยู่ที่เมืองอะไร? เกิดขึ้นเมื่อใด?

ตอบ คือสถานที่เป็นที่ประดิษฐานแห่งบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงน ซึ่งทอดลงมาจากดาวดึงสเทวโลก

ตั้งอยู่ที่เมืองสังกัสสนคร    เกิดขึ้นในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่มนุษยโลกหลังจากเสด็จประทับจําพรรษาในดาวดึงสเทวโลกแล้ว 

(ปี 47) พระพุทธองค์ทรงรับสั่งกะพระอานนท์ถึงประโยชน์ของการสร้างสถูปแล้วอญเชิญพระอัฐิธาตุ บรรจุไว้ ท่ามกลางหนทาง แพร่งแห่ง

ถนนใหญ่ไว้อย่างไร? ตอบ ทรงรับสั่งไว้อย่างนี้คือ เพื่อเป็นปูชนียสถานให้มนุษย์ผสัญจรไปมา เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ได้สักการะบูชาด้วย

ระเบียบดอกไม้ของหอม อภิวาทกราบไหว้ทําจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธคุณ อันจักเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์และความสุขตลอดกาลนาน (ปี 45) พุทธเจดีย์ มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? อุทยมาณพทูลถามว่า "โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าวกันวา่ นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้" พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่าอย่างไร?

ตอบ มี ประเภท คือธาตุเจดีย์ บริโภคเจดย์ ธรรมเจดย์ และอุทเทสิกเจดีย์   ทรงพยากรณ์ว่า โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็น

เครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละตณหาเสียได้

(ปี 43) เมื่อรวมเจดีย์ซึ่งแสดงไว้ในบาลี อรรถกถา และฎีกา มีเท่าไร? อะไรบ้าง? อันตรธาน อย่าง อย่างไหนสําคัญกว่า? เพราะเหตุไร?

ตอบ มี คือ ธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดย์ อุทเทสกเจดีย์

ปริยัติอันตรธานสาคัญกว่า เพราะปริยัติเสื่อมลงในกาลใด พระศาสนาย่อมเสื่อมถอยในกาลนั้น เมื่อปริยัติยังดํารงอยู่ตราบใด พระศาสนาก็ยังดํารง อยู่ตราบนั้น เพราะว่าปริยัติเป็นรากแก้วของพระศาสนา ปฏิบัติเป็นแก่น ปฏิเวธ เป็นผล เมื่อรากแก้วขาดแล้ว แก่นและผลก็พลอยหมดไปตามกันฯ


การสังคายนา

(ปี 63) การทําสังคายนาครั้งแรก ใครทําหน้าที่ปุจฉาและวิสัชนา ? และทําที่ไหน ?


ตอบ พระมหากัสสปะทําหน้าที่ปุจฉา                     พระอุบาลีทําหน้าที่วส ถ้ําสัตตบรรณคูหา ฯ


ัชนาพระวินัย           พระอานนท์ทําหน้าที่วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม


(ปี 61) ในครั้งปฐมสังคายนา พระสาวกองค์ใดรับหน้าที่วิสัชนาพระวินัย? ท่านอุปสมบทพร้อมกับใครบ้าง?

ตอบ พระอุบาลีเถระฯ อุปสมบทพร้อมกับเจ้าศากยะ พระองค์คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ กิมพิละ กับเจ้าโกลิยะ องค์ คือเทวทัตฯ

(ปี 61, 57) สุภัททวุฑฒบรรพชิต กล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยว่าอย่างไร ? และทําให้เกิดเหตุการณ์อะไรในกาลต่อมา ? ตอบ ว่า "เราทั้งหลายพ้นดีแล้วจากพระสมณะนั้น บดนี้ เราพอใจ จะทําสิ่งใดก็ทํา หรือ มิพอใจทําสิ่งใดก็ไม่ต้องทํา" เป็นเหตุให้เกิดสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่

(ปี 60) หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระสาวกองค์ใดเป็นประธาน ในการทําปฐมสังคายนา ? เพราะปรารภเหตุใด ?

ตอบ พระมหากัสสปะ

เพราะปรารภคากล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยของพระสภัททะ ผู้บวชตอนแก่ ในระหว่างเดินทางมาสกการะพระพุทธสรีระ (ปี 59) การทําสังคายนาครั้งแรก เกิดขึ้นหลังจากปรินิพพานล่วงแลวกี่เดือน ? ใช้เวลาเท่าไร ? ใครทําหน้าที่ปุจฉาและวิสัชนา ? ตอบ ล่วงแล้ว ๓ เดือน        ใช้เวลา ๗ เดือน ฯ

พระมหากัสสปะทําหน้าที่ปุจฉา                      พระอุบาลีทําหน้าที่วสัชนาพระวินัย                   พระอานนท์ทําหน้าที่วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม

(ปี 58) พระมหากัสสปะ พระอุบาลี และพระอานนท์ องค์ใดนิพพานก่อนหรือหลังพระพุทธองค์ ? จงอ้างหลักฐานมาแสดง

ตอบ หลังพระพุทธองค์ทั้งหมด หลักฐาน คือพระสาวกทั้ง องค์นั้นได้ร่วมประชุมสงฆ์ทาสังคายนาครั้งที่ หลังพุทธปรินิพพานได้ เดือน (ปี 52) สังคายนา คืออะไร? พระสุภัททวุฑฒบรรพชิตผู้เป็นเหตุให้พระมหากัสสปะทําปฐมสังคายนา ได้กล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัยมีใจความว่า อย่างไร? ตอบ คือ การประชุมกันเรียบเรียงศาสนธรรมคําสอนของพระศาสนาวางไว้เป็นแบบแผน มีใจความว่า ท่านทั้งปวงอย่าโศกเศร้าอย่า ร้องไห้รํ่าไรไปเลย เมื่อพระสมณโคดมยังอยู่นั้น เบียดเบียนว่ากล่าว ว่าสิ่งนี้ควรสิ่งนี้ไม่ควร จําเดิมแต่นี้เราปรารถนาจะกระทําสิ่งใด เราก็กระทําสิ่ง นั้นได้ พระสมณโคดมนิพพานเสียก็พ้นทุกข์พ้นร้อนเราทั้งปวงแล้ว

(ปี 51) การทําสังคายนาครั้งที่ มีมูลเหตุจากอะไร? ใครเป็นผู้อุปถัมภ์? พระสงฆ์ผเข้าร่วมทําสังคายนามีจํานวนเท่าไร? ใครเป็นประธาน? ใช้เวลานานเท่าไร ?

ตอบ มีมูลเหตุจากพวกเดียรถีย์เป็นจํานวนมากปลอมบวชในพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ฯ มีจํานวน ,๐๐๐ รูป พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ใช้เวลา เดือน


 

วิชาวินัยมุข


สรุปวินัยมุข นักธรรมชั้นเอก


(ปี 52) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงประมวล เรื่องอันเนื่องด้วยวินัยที่ภิกษุผู้เป็นเถระพึงเรียนรู้เป็นหลักไว้ในวินัยมุข เล่ม คืออะไรบ้าง ? เมื่อเรียนรู้แล้วจะอํานวยประโยชน์อะไรบ้าง ? ตอบ คือ ธรรมเนียม วิธี และกรณียะต่าง อันเนื่องด้วยวินัย ฯ ย่อมอาจจะอํานวยในหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และอาจเป็นที่พึ่งของผู้น้อยในกิจการ

 


สังฆกรรม

·        มูลเหตุที่ทําให้เกิดสังฆกรรม มี อย่าง

. มีภิกษุบริษัทเพิ่มจํานวนมากขึ้น                   . มีพระพุทธประสงค์เพื่อให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารหมู่คณะ

·        สังฆกรรม คือ งานของสงฆ์ หรือกรรมที่สงฆ์พึงทํา มี ประเภท คือ

. อปโลกนกรรม กรรมที่ทําเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนสุ ทัณฑ์แก่ภิกษุ

.  ญัตติกรรม กรรมที่ทําเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น อุโบสถและปวารณาออกพรรษา

.  ญัตติทุติยกรรม กรรมที่ทําด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน


 

 

 

าวนา เช่น แจ้งการลงพรหม


.  ญัตติจตุตถกรรม กรรมที่ทําด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนสาวนา หน เช่น อุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต

 

 

·        ญัตติ คือการเผดียงสงฆ์ (คําประกาศใ👉้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน  ในวงเล็บแค่บอกความ👉มายไม่ต้องท่อง)

·        อนุสาวนา คือการประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์

·        อปโลกนกรรม มี อย่าง คือ

. นิสสารณา นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผมีพระภาคเจ้า

. โอสารณา รับสามเณรผู้ถูกนาสนะแล้วกลับประพฤติเรียบร้อย ให้เข้าหมู่

.  ภัณฑูกรรม บอกขออนุญาตปลงผมคนผู้จะบวชอันภิกษุจะทําเอง

.  พรหมทัณฑ์ ประกาศไม่ว่ากล่าวภิกษุหัวดื้อว่ายาก

. กัมมลักขณะ อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉันเป็นต้น

 

·        สังฆกรรมแต่ละประเภท ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทําในที่...

.  อปโลกนกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทําในเขตสมา หรือนอกเขตสมาก็ได้

. ส่วนญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม และญัตติจตุตถกรรม ทรงอนุญาตให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทําในเขตสีมา จะเป็นพัทธสีมา หรื ออพัทธสีมาก็ได้

 

·        สงฆ์ผู้ทําสังฆกรรม ท่านจัดเป็นวรรค มีจํานวนสงฆ์ผู้กระทํานั้นๆ ดังนี้

. จตุวรรค มีจํานวน รูป ทําสังฆกรรมทุกอย่าง เว้นปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบท และอัพภาน

. ปัญจวรรค จํานวน รูป ทําปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบทในปัจจันตชนบท

. ทสวรรค จํานวน ๑๐ รูป ให้อุปสมบทในมัธยมชนบท


. วีสติวรรค จํานวน ๒๐ รูป ทําอัพภาน

 

·        ภิกษุผู้ควรเข้ากรรม ต้องประกอบด้วยองค์ คือ

. เป็นภิกษุปกติ ไม่ถูกสงฆ์ยกเสยจากหมู่ด้วยอุกเขปนียกรรม

. มีสังวาสเสมอด้วยสงฆ์

. เป็นสมานสังวาสของกันและกัน

 

·        สังฆกรรมย่อมวิบัติ โดยเหตุ ประการ คือ .โดยวัตถุ .โดยสีมา .โดยปริสะ .โดยกรรมวาจา

 

·        วิบัติโดยวัตถุนั้น พึงเห็นดังนี้...

. ให้อุปสมบทแก่คนมีอายุหย่อน ๒๐ ขวบ

. .ให้อุปสมบทแก่อภัพบุคคล

. สมมติสีมาคาบเกี่ยวหรือทับสีมาอื่น

. ทําผิดระเบียบ เช่นกรรมอันจะพึงทําในที่พร้อมหน้า ทําในที่ลับหลัง กรรมอันจะพึงทําด้วยการสอบถาม ทําด้วยไม่สอบถาม กรรมอันจะพึงทําด้วยปฏิญญา ทําด้วยไม่ปฏิญญาเป็นต้น.

·        วิบัติโดยสีมานั้น พึงเห็นดังนี้...

. สมมติสีมาใหญ่เกินกําหนด (เกิน โยชน์)

.  สมมติสีมาเล็กเกินกําหนด (จุไม่พอภิกษุ ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน)

. สมมติสีมามีนิมิตขาด

. สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต

. สมมติสีมาไม่มีนิมิต

·        วิบัติโดยปริสะนั้น พึงเห็นดังนี้...

. ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์กําหนด

. สงฆ์ครบกําหนดแล้ว แต่ไม่นําฉันทะของภิกษุผู้ควรนําฉันทะมา

. มีผู้คัดค้านกรรมที่สงฆ์ทํา

·        วิบัติโดยกรรมวาจานั้น พึงเห็นดังนี้...

. ไม่ระบุวัตถุ                    . ตั้งญัตติภายหลัง

. ไม่ระบุสงฆ์                  . ทิ้งอนุสาวนาในกรรมวาจาที่มีอนุสาวนา

. ไม่ระบุบุคคล                   . สวดในกาลไม่ควร

. ไม่ตั้งญัตติ

 

(ปี 64, 61) ญัตติและอนุสาวนา หมายถึงอะไร ? ญัตติมีใช้ในสังฆกรรมอะไรบ้าง ?

ตอบ ญัตติ หมายถึง คําเผดียงสงฆ์                               อนุสาวนา หมายถึง การสวดประกาศคําปรึกษาและข้อตกลงของสงฆ์ ฯ มีใช้ใน สังฆกรรม คือ . ญัตติกรรม . ญัตติทุติยกรรม . ญัตติจตุตถกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น