วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2546

 วิชาวินัยบัญญัติ นักธรรมชั้นตรี 2546

ปัญหาและเฉลยวิชาวินัยบัญญัติ  นักธรรมชั้นตรี

สอบในสนามหลวง

พ.ศ. ๒๕๔๖

๑.

๑.๑

ข้อความว่า  “ พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในที่เป็นพระธรรมราชาผู้ปกครอง ” หมายความว่าอย่างไร ?

๑.๒

พระบัญญัติที่ทรงตั้งไว้เดิมเรียกว่าอะไร ?

๑.

๑.๑

หมายความว่า ทรงตั้งพระพุทธบัญญัติเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหาย  และวางโทษแก่ผู้ล่วงละเมิด ด้วยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง  อย่างเดียวกับพระเจ้าแผ่นดินทรงตราพระราชบัญญัติ ฯ

๑.๒

เรียกว่า มูลบัญญัติ ฯ

๒.

๒.๑

การปลงชีวิตอย่างไร ต้องอาบัติถุลลัจจัย  ?

๒.๒

“ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อ

ที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละต้องสังฆาทิเสส” คือสิกขาบทที่เท่าไร ทรงบัญญัติเพื่อประสงค์ใด ?

๒.

๒.๑

การปลงชีวิตมนุษย์แต่ไม่สำเร็จ คือไม่ตาย เป็นแค่บาดเจ็บ ๑

ปลงชีวิตอมนุษย์ มียักษ์ เปรต เป็นต้น ๑ ฯ

๒.๒

สิกขาบทที่  ๑๒  แห่งสังฆาทิเสส  เพื่อป้องกันไม่ไห้ภิกษุดื้อด้าน ฯ

๓.

๓.๑

คำว่า  “ภิกษุประทุษร้ายตระกูล”  ในสิกขาบทที่ ๑๓  แห่งสังฆาทิเสส  หมายถึงการทำอย่างไร ?


๓.๒

สังฆาทิเสส  ๑๓  สิกขาบท ที่ชื่อว่า ยาวตติยกะ หมายความว่าอย่างไร ?

๓.

๓.๑

หมายถึงการที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย  เช่นเดินส่งข่าว

ให้เขาเป็นต้น หรือ ด้วยการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งเล็กน้อยด้วยหวัง

ได้มาก ฯ

๓.๒

ที่ชื่อว่า ยาวตติยกะ เพราะให้ต้องอาบัติต่อเมื่อสงฆ์ประกาศห้ามครบ

๓ ครั้ง ฯ

๔.

๔.๑

คำว่า  “ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ”  หมายความว่าอย่างไร ?

๔.๒

ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แล้ว  ทำอย่างไรจึงจะพ้น ?

๔.

๔.๑

หมายความว่า  อาบัติปาจิตตีย์  ที่จำต้องสละสิ่งของ ฯ

๔.๒

ภิกษุต้องสละสิ่งของอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นก่อน แล้วแสดงอาบัติ 

จึงพ้นจากอาบัตินั้นได้ ฯ

๕.

๕.๑

อติเรกจีวร  ได้แก่จีวรเช่นไร ?

๕.๒

การที่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุเก็บอติเรกจีวร  ด้วยมีพระพุทธประสงค์อย่างไร ?

๕.

๕.๑

ได้แก่  จีวรนอกจากจีวรอธิษฐาน ฯ

๕.๒

ด้วยมีพระพุทธประสงค์เพื่อป้องกันความสุรุ่ยสุร่าย และความมักมาก

ของภิกษุ ฯ

๖.

๖.๑

ภิกษุรู้อยู่  น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน  ต้องอาบัติอะไร ?

๖.๒

คำว่า  “ ลาภ ”  ในข้อ  ๖.๑  นั้น  ได้แก่อะไรบ้าง ?

๖.

๖.๑

ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ฯ

๖.๒

ได้แก่  จีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และเภสัช  ซึ่งเรียกว่า  ปัจจัย  ๔  และของที่เป็นกัปปิยะอย่างอื่น ๆ อีก ฯ

๗.

จงให้ความหมายของคำต่อไปนี้

๗.๑

โอมสวาท  ?

๗.๒

อักโกสวัตถุ  ?

๗.

๗.๑

คือ  คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ ฯ

๗.๒

คือ  เรื่องสำหรับด่า  ๑๐  อย่าง ฯ

๘.

๘.๑

ภิกษุต้องอาบัติเพราะความซุกซน  มีอย่างไรบ้าง ?

๘.๒

ภิกษุซ่อนบาตร ซ่อนปากกาของภิกษุอื่นเพื่อล้อเล่น ต้องอาบัติอะไร ?

๘.

๘.๑

มีอย่างนี้  คือ  เล่นจี้  เล่นน้ำ  หลอนภิกษุ  ซ่อนของเพื่อล้อเล่น  พูดเย้าให้เกิดรำคาญ ฯ

๘.๒

ซ่อนบาตร  ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ซ่อนปากกา ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๙.

๙.๑

เสขิยวัตร  คืออะไร ?  หมวดที่  ๒  ว่าด้วยเรื่องอะไร ?

๙.๒

ภิกษุไม่เอื้อเฟื้อในเสขิยวัตร  ปฏิบัติผิดธรรมเนียม  ต้องอาบัติอะไร ?

๙.

๙.๑

คือ  วัตรหรือธรรมเนียมที่ควรศึกษา ฯ

หมวดที่  ๒  ว่าด้วยธรรมเนียมรับบิณฑบาตและฉันอาหาร ฯ

๙.๒

ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

๑๐.

๑๐.๑

อธิกรณ์  คืออะไร ?  อธิกรณ์ย่อมระงับได้ด้วยอะไร ?

๑๐.๒

การแสดงอาบัติจัดเข้าในอธิกรณสมถะข้อไหน ?  สำหรับระงับอธิกรณ์อะไร ?

๑๐.

๑๐.๑

คือ  เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ ฯ

ระงับได้ด้วยอธิกรณสมถะ คือธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ฯ

๑๐.๒

จัดเข้าในปฏิญญาตกรณะ ฯ  สำหรับระงับอาปัตตาธิกรณ์  ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น