วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

๒๒. จิตตคฤหบดี

๒๒. จิตตคฤหบดี
จิตตคฤหบดี เป็นบุตรใครไม่ปรากฏ แต่ท่านมีบุญได้ทาไว้ดีในปางก่อน ส่งผลให้
ท่านหลายชาติ ตลอดถึงชาตินี้ ในวันท่านเกิด มีฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงจากฟากฟ้ากองที่พื้นดิน
หนาขึ้นเพียงเข่าในเมืองมัจฉิกาสณฑ์
วันหนึ่งได้พบพระมหานามะ หนึ่งในหมู่ปัญจวัคคีย์ภิกษุ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ เกิดความเลื่อมใสในอิริยาบถ จึงนิมนต์ให้ฉันในบ้าน ได้ฟังธรรมกถาจาก
พระเถระแล้ว ได้บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว ได้หลั่งน้าในมือพระเถระอุทิศ
ถวายอัมพาฏกวันของตนให้เป็นสังฆาราม และต่อมาก็สร้างวิหารใหญ่มีประตูเปิดไว้รับพระสงฆ์
มาจากทิศทั้ง ๔ มี พระสุธรรมเถระเป็นเจ้าอาวาส
โดยสมัยอื่น พระอัครสาวกทั้งสอง สดับกถาพรรณนาคุณของจิตตคฤหบดีแล้ว
ใคร่จะทาความสงเคราะห์แก่คฤหบดีนั้น จึงได้ไปสู่มัจฉิกาสณฑนคร จิตตคฤหบดีทราบ
การมาของพระอัครสาวกทั้งสองนั้น จึงไปต้อนรับสิ้นทางประมาณกึ่งโยชน์ พาพระอัครสาวก
ทั้งสองนั้นมาแล้ว นิมนต์ให้เข้าไปสู่วิหารของตน ทาอาคันตุกวัตรแล้วอ้อนวอนพระธรรม
เสนาบดีว่า ท่านผู้เจริญ กระผมปรารถนาฟังธรรมกถาสักหน่อย
ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกับเขาว่า อุบาสก อาตมะทั้งหลายเหน็ดเหนื่อยแล้วโดยทางไกล
อนึ่ง ท่านจงฟังเพียงนิดหน่อยเถิด ดังนี้แล้ว ก็กล่าวธรรมกถาแก่เขา
คฤหบดีฟังธรรมกถาของพระเถระอยู่แล บรรลุอนาคามิผลแล้ว เขาไหว้พระอัครสาวก
ทั้งสองแล้วนิมนต์ว่า ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ขอท่านทั้งสองกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป รับภิกษาที่เรือน
กระผม แล้วจึงมานิมนต์พระสุธรรมเถระเจ้าอาวาสภายหลังว่า ท่านขอรับพรุ่งนี้ แม้ท่านก็พึง
มากับพระเถระทั้งหลาย
พระสุธรรมเถระนั้นก็โกรธว่า อุบาสกนี้ มานิมนต์เราภายหลัง จึงปฏิเสธ แม้อัน
คฤหบดีอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ปฏิเสธแล้วนั่นแหละ
ในวันรุ่งขึ้น จิตตคฤหบดีได้จัดแจงทานใหญ่ไว้ในที่อยู่ของตน ในเวลาใกล้รุ่ง
ฝ่ายพระสุธรรมเถระก็คิดจะไปดูว่า พรุ่งนี้คฤหบดีจะจัดแจงสักการะ เพื่อพระอัครสาวก
ทั้งสองไว้เช่นไร รุ่งขึ้นจึงได้ถือบาตรและจีวรไปสู่เรือนของคฤหบดีนั้นแต่เช้าตรู่เมื่อไปถึงเรือนคฤหบดีแล้ว แม้คฤหบดีจะกล่าวนิมนต์ให้นั่ง พระสุธรรมเถระนั้น
ก็ปฏิเสธว่า เราไม่นั่ง เราจะเที่ยวบิณฑบาต แล้วก็เที่ยวตรวจดูสักการะที่คฤหบดีเตรียมไว้
เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อเห็นแล้วก็ใคร่จะเสียดสีคฤหบดีโดยชาติ จึงกล่าวว่า คฤหบดี
สักการะของท่านล้นเหลือ แต่ก็ขาดอยู่อย่างเดียวเท่านั้น
คฤหบดี อะไร ขอรับ
พระเถระ ตอบว่า "ขนมแดกงา คฤหบดี
ครั้นพระเถระรุกรานคฤหบดีด้วยอุปมาต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า คฤหบดี อาวาสนี้เป็น
ของท่าน เราจักหลีกไป คฤหบดีจะห้ามถึง ๓ ครั้ง แต่พระเถระก็ไม่ฟัง หลีกไปสู่สานัก
พระพุทธเจ้ากราบทูลคาที่จิตตคฤหบดีและตนโต้เถียงกัน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุบาสกถูกเธอด่าด้วยคาเลว เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส ดังนี้แล้ว
ทรงปรับโทษแก่พระสุธรรมเถระนั้น แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม (กรรมอันให้ระลึก
ถึงความผิด) แล้วส่งไปว่า เธอจงไป แล้วให้จิตตคฤหบดียกโทษเสีย
พระเถระไปในที่นั้นแล้ว กล่าวแสดงโทษของตน พร้อมกับขอให้คฤหบดียกโทษให้
แต่คฤหบดีนั้นปฏิเสธการยกโทษแก่พระเถระ ครั้นเมื่อไม่อาจให้คฤหบดีนั้นยกโทษให้ตนได้
พระเถระจึงกลับมาสู่สานักพระพุทธเจ้า
แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบว่าอุบาสกจักไม่ยกโทษแก่พระสุธรรมนั้น ทรงดาริว่า
ภิกษุนี้ กระด้างเพราะมานะ จึงไม่ทรงบอกอุบายเพื่อให้คฤหบดียกโทษให้เลย ทรงส่งให้กลับ
ไปใหม่ โดยประทานภิกษุผู้อนุทูตแก่เธอผู้นามานะออกแล้วตรัสว่า เธอจงไปเถิดไปกับภิกษุนี้
จงให้อุบาสกยกโทษ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า ธรรมดาสมณะไม่ควรทามานะหรือริษยาว่า วิหาร
ของเรา ที่อยู่ของเรา อุบาสกของเรา อุบาสิกาของเรา เพราะเมื่อสมณะทาอย่างนั้น เหล่ากิเลส
มีริษยาและมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ
เมื่อจะทรงแสดงธรรมต่อไป จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนา
ความยกย่องอันไม่มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ในอาวาส และการบูชา
ในตระกูลแห่งชนอื่น ความดาริ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง
จงสาคัญกรรม อันเขาทาเสร็จแล้วเพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอานาจของเราเท่านั้น
ในกิจน้อยใหญ่ กิจไร ๆ ริษยาและมานะย่อมเจริญแก่เธอ ดังนี้แม้พระสุธรรมเถระฟังพระโอวาทนี้แล้ว ถวายบังคมพระพุทธเจ้าลุกขึ้นจากอาสนะ
กระทาประทักษิณแล้ว ไปกับภิกษุผู้เป็นอนุทูตนั้น แสดงอาบัติต่อหน้าอุบาสก ขออุบาสกให้
ยกโทษแล้ว พระสุธรรมเถระนั้นเมื่ออุบาสกยกโทษให้ด้วยการกล่าวว่า กระผมยกโทษให้ขอรับ
ถ้าโทษของกระผมมี ขอท่านจงยกโทษแก่กระผม แล้วพระสุธรรมเถระก็ตั้งอยู่ในพระโอวาท
ที่พระพุทธเจ้าประทานแล้ว ๒-๓ วันเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ฝ่ายอุบาสกคิดว่า เรายังไม่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าเลย เมื่อบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว
ยังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเหมือนกัน เมื่อดารงอยู่ในอนาคามิผล เราควรเฝ้าพระพุทธองค์
โดยแท้ แล้วให้เทียมเกวียน ๕๐๐ เล่มเต็มด้วยวัตถุ มีงา ข้าวสาร เนยใส น้าอ้อย และผ้านุ่งห่ม
เป็นต้น แล้วให้แจ้งแก่หมู่ภิกษุว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย รูปใด ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา
เราก็จะไปเฝ้าพร้อมกัน จักไม่ลาบากด้วยบิณฑบาตเป็นต้น ดังนี้แล้ว ก็ให้แจ้งทั้งแก่หมู่
ภิกษุณี ทั้งแก่พวกอุบาสก ทั้งแก่พวกอุบาสิกา ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ภิกษุณีประมาณ
๕๐๐ รูป อุบาสกประมาน ๕๐๐ คน อุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ออกไปกับคฤหบดีนั้น
เขาตระเตรียมแล้วโดยประการที่จะไม่มีความบกพร่องสักน้อยหนึ่ง ด้วยข้าวยาคูและภัตเป็น
ต้นในหนทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อชนสามพันคน คือ เพื่อภิกษุเป็นต้นเหล่านั้น และเพื่อบริษัท
ของตน
ฝ่ายเทวดาทั้งหลาย เมื่อทราบความที่อุบาสกนั้นออกเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
ก็ไปเนรมิตค่ายที่พักไว้ตามระยะทางทุก ๆ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร) แล้วบารุงชนเหล่านั้นด้วย
อาหารวัตถุ มีข้าวยาคู ของควรเคี้ยว ภัตและน้าดื่มเป็นต้น อันเป็นทิพย์ ความบกพร่องด้วย
วัตถุอะไร ๆ มิได้เกิดขึ้นแก่ใคร ๆ
มหาชนอันเทวดาทั้งหลายบารุงอยู่อย่างนั้น เดินทางได้วันละโยชน์ ๆ โดยเดือนหนึ่ง
ก็ถึงเมืองสาวัตถี เกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม ก็ยังเต็มบริบูรณ์เช่นเดิมนั้นแหละ คฤหบดีได้สละ
บรรณาการที่พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนามา
พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนทเถระว่า อานนท์ ในเวลาบ่ายวันนี้ จิตตคฤหบดี
พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ ผู้แวดล้อมอยู่ จักมาไหว้เรา
พระอานนท์ พระเจ้าข้า ก็ในกาลที่จิตตคฤหบดีนั้นถวายบังคมพระองค์ ปาฏิหาริย์
ไร ๆ จักมีหรือ
พระศาสดาตรัสว่า จักมี อานนท์อานนท์ทูลถามว่า ปาฏิหาริย์อะไร พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในกาลที่จิตตคฤหบดีมาไหว้เรา ฝนดอกไม้ทิพย์ ๕ สี จะตก
โดยประมาณเพียงเข่า ในบริเวณประมาณ ๘ กรีส (ประมาณ ๕๐๐ เมตร)
ชาวเมือง เมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็คิดว่า ได้ยินว่า จิตตคฤหบดีผู้มีบุญมากถึงอย่างนั้น
จะมาถวายบังคม พระพุทธเจ้าในวันนี้ เขาว่าปาฏิหาริย์อย่างนี้จะเกิดขึ้น พวกเราจะได้เห็น
ผู้มีบุญมากนั้น ดังนี้แล้วได้ถือเอาเครื่องบรรณาการไปยืนอยู่สองข้างทาง
ในกาลที่จิตตคฤหบดีมาใกล้วิหาร ภิกษุ ๕๐๐ รูป มาถึงก่อน จิตตคฤหบดีกล่าวกับ
พวกอุบาสิกาว่า ท่านทั้งหลาย จงตามมาข้างหลัง ส่วนตนกับอุบาสก ๕๐๐ ก็ได้ไปสู่สานัก
ของพระพุทธเจ้า ท่ามกลางสายตาของมหาชนทั้งหลาย ผู้เข้าเฝ้าอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์
ของพระพุทธเจ้า
จิตตคฤหบดีนั้นเข้าไปภายในพระพุทธรัศมี มีวรรณะ ๖ จับพระบาทพระพุทธเจ้าที่
ข้อถวายบังคมแล้วในขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ก็ตกลงมา มหาชนเปล่งเสียงสาธุการขึ้นพร้อมกัน
พระพุทธเจ้าจึงตรัสสฬายตนวิภังค์ โปรดคนเหล่านั้น
จิตตคฤหบดี อยู่ในสานักพระพุทธเจ้าสิ้นเดือนหนึ่ง ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้น
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้นั่งในวิหารนั่นแหละ ถวายทานใหญ่แล้ว นิมนต์ภิกษุแม้ที่มา
พร้อมกับตนให้อยู่ภายในอารามนั้นแหละบารุงแล้วไม่ต้องหยิบอะไร ๆ ในเกวียนของตนแม้
สักวันหนึ่ง ได้ทากิจทุกอย่างด้วยบรรณาการที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนามาเท่านั้น
จิตตคฤหบดีนั้น ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์
มาด้วยตั้งใจว่า จะถวายทานแด่พระองค์ ได้พักอยู่ในระหว่างทางเดือนหนึ่ง และในที่นี้เวลา
เดือนหนึ่งของข้าพระองค์ก็ได้ล่วงไปแล้ว สิ่งของที่ข้าพระองค์ตั้งใจจะนามาถวายนั้น ข้าพระองค์
ยังมิได้ต้องนาออกมาถวายทานเลย ด้วยว่าของอะไร ๆ ที่ได้ถวายทานตลอดเวลาที่ผ่านมานี้
เป็นสิ่งของที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนามาทั้งนั้น ข้าพระองค์นั้น แม้ถ้าจะอยู่ในที่นี้ไปอีก
ตลอดปีหนึ่ง ก็จะไม่ได้โอกาสเพื่อจะถวายไทยธรรมของข้าพระองค์แน่แท้ ข้าพระองค์
ปรารถนาจักนาของในเกวียนออกถวายเป็นทานแล้วกลับไป ขอพระองค์ จงโปรดให้บอกที่
สาหรับเก็บของนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด
พระพุทธเจ้า ตรัสกับพระอานนทเถระว่า อานนท์ เธอจงให้จัดที่แห่งหนึ่งให้ว่าง
ให้แก่อุบาสกพระเถระ ได้กระทาอย่างนั้นแล้ว ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกัปปิยภูมิ
แก่จิตตคฤหบดีแล้ว
ฝ่ายอุบาสกกับชนทั้งสามพันคน ซึ่งมาพร้อมกับตน ก็เดินทางกลับด้วยเกวียนเปล่าแล้ว
พวกเทวดาก็ได้เนรมิตรัตนะ ๗ ประการบรรจุไว้เต็มเกวียนนั้น
ในครั้งนั้น พระอานนทเถระ ถวายบังคมพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลถามว่า สักการะ
ที่เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั้น จะเกิดเฉพาะเมื่อคฤหบดีนั้นมาเฝ้าพระองค์เท่านั้น หรือแม้ไปในที่อื่น
ก็เกิดขึ้นเหมือนกัน
พระพุทธเจ้า ตรัสว่า อานนท์ จิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สานักของเราก็ดี ไป ณ ที่อื่นก็ดี
สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น เพราะอุบาสกนี้เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใส มีศีลสมบูรณ์ อุบาสก
เช่นนี้ ไปประเทศใด ๆ ลาภสักการะ ย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว ดังนี้แล้ว
ตรัสพระคาถาว่า ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยยศ และโภคะ ย่อมคบ
ประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว
จิตตคฤหบดีได้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการแสดงธรรม โดยมีเรื่องที่เป็นเค้ามูล
ที่แสดงให้เห็นว่าท่านเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอยู่หลายเรื่อง เช่น
ท่านได้แสดงธรรมแก้ปัญหาที่เหล่าภิกษุที่อัมพาฏการามได้สงสัยในเรื่อง ธรรมเหล่านี้
คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกันหรือว่ามีอรรถหมือนกัน
พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ซึ่งท่านก็ได้แสดงธรรมแก้ข้อสงสัยนั้นจนเป็นที่พอใจของพระสงฆ์
เหล่านั้น
อีกครั้งหนึ่งท่านได้แสดงธรรมโดยละเอียดในเรื่องที่พระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน
ใกล้ราวมัจฉิกาสณฑ์ ได้ขอให้ท่านขยายความภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยย่อว่า
เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย
ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ซึ่งคฤหบดีก็ได้ขยายให้พระกามภูฟังจน
พระกามภูได้ชมเชย
ท่านได้แสดงธรรมแก้ปัญหาที่ท่านพระโคทัตตะได้สงสัยในเรื่องธรรมเหล่านี้ คือ
อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สุญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ
มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่า มีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ซึ่งท่านก็ได้แสดงธรรมแก้ข้อสงสัยนั้นจนเป็นที่พอใจแก่ท่านพระโคทัตตะท่านคฤหบดีได้แสดงธรรมให้อเจลกัสสปผู้สหายให้เลื่อมใสพระพุทธศาสนา จนขอบวช
และต่อมาได้เป็นพระอรหันต์
ท่านคฤหบดีได้มีหนังสือพรรณนาพระพุทธคุณส่งไปให้อิสิทัตตะผู้เป็นสหาย
ที่ไม่เคยเห็นกันของตน จนอิสิทัตตะเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า บวชในสานักของ
พระมหากัจจายนเถระ ได้บาเพ็ญวิปัสสนาแล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหันต์
ต่อมาภายหลัง พระพุทธเจ้า เมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสกไว้ในตาแหน่งต่าง ๆ
ตามลาดับ ทรงทากถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ใน
ตาแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น