วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

๒๔. วิสาขามหาอุบาสิกา

๒๔. วิสาขามหาอุบาสิกา
นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อว่า ธนัญชัย
มารดาชื่อว่า สุมนาเทวี และปู่ชื่อ เมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุ ๗ ขวบ เป็นที่รักดุจแก้วตา
ดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก
เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จานวนมาก
กาลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ จึงได้มอบหมายให้วิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปรับเสด็จที่
นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น วิสาขาพร้อมด้วยบริวาร
เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด
ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้า ได้ฟังพระธรรม
เทศนา ก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตน ตลอดระยะเวลา
๑๕ วัน ที่ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้น
พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์
มีความเกี่ยวดองกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากใน
เมืองสาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมาก และ
ได้ทราบข่าวว่า ในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารมีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติมากอยู่ถึง ๕ คน
ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร
แล้วแจ้งความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ไป
อยู่ในเมืองสาวัตถีสักตระกูลหนึ่ง
พระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตอบว่า การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูล
ก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้ หลังจากที่ได้ปรึกษากับอามาตย์
ทั้งหลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่า สมควรยกตระกูลธนัญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับ
พระเจ้าปเสนทิโกศล
ธนัญชัยเศรษฐี ได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย
เดินทางสู่พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของ
พระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมือง เขาเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจานวนมาก ถ้าไป
ตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมือง
ณ ที่นั้น และได้ชื่อว่าเมืองใหม่นี้ว่า สาเกต ซึ่งห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์
ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตร
ชื่อว่าปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงาน
เพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่ง เมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น
จึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า
เบญจกัลยาณีแล้วจึงจะยอมแต่งงาน
เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
๑. เกสกลฺยาณ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
๒. ม สกลฺยาณ เนื้องาม คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตาลึงสุกและเรียบชิดสนิทดี
๓. อฏฐิ กลฺยาณ กระดูกงาม คือ หญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์และเรียบเสมอกัน
๔. ฉวิกลฺยาณ ผิวงาม คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดาก็ดาดังดอกบัวเขียว
ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
๕. วยกลฺยาณ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกาย
สวยดุจคลอดครั้งเดียว
บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้ว จึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถาม
ว่าหญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้น
ออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย
พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึง
เมืองสาเกต ได้พบนางวิสาขากับหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ากันที่ท่าน้า ซึ่งมีลักษณะ
ภายนอกถูกต้องตามตาราอิตถีลักษณะ ๔ ประการ ขาดอีกอย่างเดียว ขณะนั้น ฝนตกลงมา
อย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดิน
ด้วยอาการปกติ ทาให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจ ประกอบกับต้องการจะเห็น
ลักษณะฟันของนางด้วย จึงถามว่า ทาไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ
นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวก เมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่
๑. พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
๒. บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์๓. สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย (นอกจากจะดูไม่งามแล้วอาจเกิดอุบัติเหตุ
จนเสียโฉมหรือพิการ จะทาให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า)
๔. ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สาหรับช้าง
พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันฉลาดและคุณสมบัติเบญจกัลยาณี ครบทุกประการ
แล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทาการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึง
ชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกัน จึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็น
การหมั้นหมายและกาหนดวันอาวาหมงคล
ธนัญชัญเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทาเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบ
ให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็น
เครื่องประดับที่หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้ เพราะมีน้าหนักมาก นอกจากนี้
ธนัญชัยเศรษฐียังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีก
จานวนมากมายมหาศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชานาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษา
ดูแลประจาตัวอีก ๘ นายด้วย
ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนัญชัยเศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติ
ของกุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ
โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านาออก หมายความว่า อย่านาความไม่ดีของพ่อผัว
แม่ผัว และสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง
โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านาเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตาหนิพ่อผัว
แม่ผัว และสามีอย่างไร อย่านามาพูดให้คนในบ้านฟัง
โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไป
แล้วแล้วนามาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของ
ไปแล้วแล้วไม่นามาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อญาติมิตร
ผู้ยากจนมาขอความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้
โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัว
และสามีโอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัว แม่ผัว
และสามี
โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัว และ
สามีบริโภคแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง
โอวาทข้อที่ ๙ พึงบาเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสานึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว
แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบารุงดูแล
โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสานึกอยู่
เสมอว่าพ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม
เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกูลของสามีแล้ว เพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรม
สั่งสอนเป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้าใจเจรจาไพเราะ
ให้ความเคารพผู้ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐี
ผู้เป็นบิดาของสามีซึ่งมีจิตฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเคารพนับถือว่าเป็น
พระอรหันต์และนิมนต์ให้มาบริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขา
มาไหว้พระอรหันต์ และให้มาช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วย
นางวิสาขา ผู้เป็นอริยสาวิกาชั้นพระโสดาบัน พอได้ยินคาว่าพระอรหันต์ ก็รู้สึกปีติ
ยินดี รีบมายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจ จึงกล่าวว่า ผู้ไม่มี
ความละอายเหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่
อยู่ของตน ต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกาลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอย
ปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านไปมา หยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคาร
เศรษฐี นางวิสาขาทราบดีว่า เศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทาเป็นไม่เห็น นางจึงกล่าวกับ
พระเถระว่า นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกาลังบริโภคของเก่าอยู่
เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันที แล้วสั่งให้บริวาร
จับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไป แต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับ นางวิสาขาขอชี้แจง
แก่กุฏุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด
เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคาชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเคือง และกล่าวขอโทษ
นางพร้อมทั้งอนุญาตให้นางนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุมารับอาหารบิณฑบาต
ในเรือนตน นางวิสาขาจึงกล่าว คุณพ่อ ดิฉันยกโทษที่ควรยกให้แก่คุณพ่อ แต่ดิฉันเป็นธิดาของตระกูลผู้มีความเลื่อมใสอันไม่ง่อนแง่นในพระพุทธศาสนา พวกดิฉันเว้นภิกษุสงฆ์แล้ว
เป็นอยู่ไม่ได้ หากให้ดิฉันได้มีโอกาสเพื่อบารุงภิกษุสงฆ์ตามความพอใจของดิฉัน ดิฉันจึงจักอยู่
เศรษฐีกล่าวว่า แม่ เจ้าจงบารุงพวกสมณะของเจ้า ตามความชอบใจเถิด
นางวิสาขา ให้คนไปทูลนิมนต์พระทศพล แล้วเชิญเสด็จให้เข้าไปสู่นิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น
ฝ่ายพวกสมณะเปลือย เมื่อรู้ว่าพระศาสดาเสด็จไปยังเรือนของมิคารเศรษฐี จึงไปนั่งล้อม
เรือนไว้
ฝ่ายนางวิสาขาเมื่อถวายน้าทักษิโณทกแล้วก็ส่งข่าวไปยังมิคารเศรษฐีว่า ดิฉัน
ตกแต่งเครื่องสักการะทั้งปวงไว้แล้ว เชิญพ่อผัวของดิฉันมาอังคาสพระทศพลเถิด ครั้งนั้น
พวกอาชีวกห้ามมิคารเศรษฐีผู้อยากจะมาว่า คฤหบดี ท่านอย่าไปสู่สานักของพระสมณโคดม
เลย เศรษฐี ส่งข่าวไปว่า สะใภ้ของฉัน จงอังคาสเองเถิด นางวิสาขาจึงอังคาสภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว ได้ส่งข่าวไปอีกว่า เชิญพ่อผัวของดิฉัน มาฟัง
ธรรมกถาเถิด เศรษฐีนั้นคิดว่า การไม่ไปคราวนี้ ไม่สมควรอย่างยิ่ง และเพราะความที่ตน
อยากฟังธรรมด้วย จึงออกเดินทางไปยังเรือนของสะใภ้
ครานั้น พวกอาชีวกเห็นว่าห้ามมิคารเศรษฐีไว้ไม่ได้แล้ว จึงกล่าวกะเศรษฐีที่กาลัง
จะออกเดินทางว่า ถ้ากระนั้น ท่านเมื่อฟังธรรมของพระสมณโคดม จงนั่งฟังภายนอกม่าน
ดังนี้ แล้วจึงรีบล่วงหน้าไปก่อนเศรษฐีนั้น แล้วก็ไปจัดแจงกั้นม่านไว้เพื่อให้เศรษฐีนั้นนั่ง
ภายนอกม่านที่ตนกั้นไว้นั้น เศรษฐีเมื่อไปถึงก็นั่งอยู่ภายนอกม่าน
พระศาสดา ตรัสว่า “ท่านจะนั่งนอกม่านก็ตาม ที่ฝาเรือนคนอื่นก็ตาม ฟากภูเขาหิน
โน้นก็ตาม ฟากจักรวาลโน้นก็ตาม เราชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมอาจจะให้ท่านได้ยินเสียง
ของเราได้” ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มอนุปุพพีกถาเพื่อแสดงธรรม ดุจจับต้นหว้าใหญ่สั่น และดุจยัง
ฝนคืออมตธรรมให้ตกอยู่
ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมอยู่ ชนผู้ยื่นอยู่ข้างหน้าก็ตาม ข้างหลัง
ก็ตาม อยู่เลยร้อยจักรวาล พันจักรวาลก็ตาม อยู่ในภพอกนิษฐ์ก็ตาม ย่อมกล่าวกันว่า
“พระศาสดา ย่อมทอดพระเนตรดูเราคนเดียว ทรงแสดงธรรมโปรดเราคนเดียว แท้จริง
พระศาสดาเป็นดุจทอดพระเนตรดูชนนั้น ๆ และเป็นดุจตรัสกับคนนั้น ๆ โดยเจาะจง”
นัยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อุปมาดังพระจันทร์ ย่อมปรากฏเหมือนประทับยืนอยู่
ตรงหน้าแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเหมือนพระจันทร์ลอยอยู่แล้วในกลางหาวย่อมปรากฏแก่ปวงสัตว์ว่า พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา
ฉะนั้น ได้ยินว่า นี้เป็นผลแห่งทานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตัดพระเศียรที่ประดับแล้ว
ทรงควักพระเนตรที่หยอดดีแล้ว ทรงชาแหละเนื้อหทัยแล้วทรงบริจาคโอรสเช่นกับพระชาลี
ธิดาเช่นกับนางกัณหาชินา ปชาบดีเช่นกับนางมัทรี ให้แล้ว เพื่อเป็นทาสของผู้อื่น
ส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาสได้ฟังธรรมด้วยจนจบ และได้สาเร็จ
เป็นพระโสดาบันบุคคล เป็นสัมมาทิฏฐิบุคคลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงได้ออกจากม่านตรงเข้า
ไปหานางวิสาขาใช้ปากดูดถันลูกสะใภ้และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า ตั้งแต่บัดนี้
เป็นต้นไป ขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นางวิสาขาก็ได้นามว่า
มิคารมารดา คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า วิสาขามิคารมารดา
ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมา
เป็นพิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ เช่น
๑. ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน
ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้น
แต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘,๐๐๐ คน ดังนั้น คนจานวน
๘,๔๒๐ คน มีต้นกาเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืน ได้เห็นหลาน ได้เห็นเหลนทุกคน
แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนั่งอยู่ในกลุ่มลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัย
ใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะ
สังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สาหรับคนแก่จะต้องใช้
มือยันพื้นช่วยพยุงกายและจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน
๒. นางมีกาลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่ง พระราชามีพระประสงค์
จะทดลองกาลังของนางจึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกาลังมากเพื่อให้วิ่งชน นางวิสาขา
เห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตราย
ถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้าง
ที่งวงแล้วเหวี่ยงไป ปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย
โดยปกติ นางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า
ถ้าไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้าปานะไป
ถวาย เพราะนางมีปกติทาอย่างนี้เป็นประจา จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่
พระภิกษุหนุ่มสามเณรน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจาก
วัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของ
พระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ รูปก่อนแล้วจึงกลับบ้าน
วันหนึ่ง เมื่อนางมาถึงวัด ได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาว
ผู้ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดิน
กลับบ้าน ได้บอกหญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้
กลับไปนามา แต่สั่งว่า ถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมา ให้มอบถวายท่านไป
เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้วซึ่งพระอานนท์
ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ
แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า เครื่องประดับนี้ไม่มีประโยชน์แก่พระเถระ ดังนั้น นางจึงขอรับคืน
มาแล้วนามาขายในราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทาไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใด
มีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ จึงซื้อเอาไว้เองซึ่งการนาทรัพย์เท่าจานวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุ
ก่อสร้างดาเนินการสร้างวัด ถวายเป็นพระอารามประทับของพระพุทธเจ้า และเป็นที่อยู่
อาศัยจาพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็น
ผู้อานวยการดูแลการก่อสร้างซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสารับพระภิกษุพักอาศัย
ชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสาเร็จเรียบร้อยแล้ว
ได้นามว่า วัดบุพพาราม
โดยปกติ นางวิสาขาจะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มา
ฉันภัตตาหารที่บ้านเป็นประจา เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะให้สาวใช้
ไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง วันหนึ่ง
สาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวันแต่วันนั้นมีฝนตกลงมา พระสงฆ์จึงพากันเปลือยกาย
อาบน้าฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจ เพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็นนักบวชชีเปลือย
จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ากันอยู่
นางวิสาขาได้ฟังคาบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้น
โสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสาหรับใช้สอย
เพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสาหรับห่ม ผ้าสังฆาฏิสาหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสาหรับนุ่ง ดังนั้น
เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้า จึงไม่มีผ้าสาหรับผลัด ก็จาเป็นต้องเปลือยกาย อาศัยเหตุนี้
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางจึงได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อ
ถวายผ้าอาบน้าฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางเป็น
บุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้าฝนแก่พระภิกษุสงฆ์
นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็นมหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฏฐายิกา ทะนุบารุง
พระพุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่าง ๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวาย
เป็นของส่วนบุคคล คือแก่พระภิกษุแต่ละรูป ๆ การทาบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการ
ตามหลักของบุญกริยาวัตถุ ดังคาที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวาย
นั้นด้วยคาว่า
ความปรารภใด ๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดของเราได้
สาเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้ว
ความปรารถนาเหล่านั้น คือ
๑. ความปรารถนาที่จะสร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน
๒. ความปรารถนาที่จะถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน เป็นเสนาสนภัณฑ์
๓. ความปรารถนาที่จะถวายสลากภัตเป็นโภชนทาน
๔. ความปรารถนาที่จะถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็นจีวรทาน
๕. ความปรารถนาที่จะถวายเนยใส เนยข้น น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย เป็นเภสัชทาน
ความปรารถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสาเร็จครบถ้วนทุกประการ สร้างความเอิบ
อิ่มใจแก่นางยิ่งนักนางจึงเดินเวียนเทียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทาน
ดังกล่าว พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางแล้ว ต่างก็รู้สึกประหลาดใจไม่ทราบว่า
เกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานาน พวกข้าพระองค์ ไม่เคยเห็นนางขับร้อง
เพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อน แต่วันนี้นางอยู่ในท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดา
บุตรธิดาและหลาน ๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพาคล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดี
ของนางคงจะกาเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไรพระเจ้าข้าพระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลง
หรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจ แต่ที่ธิดาของเราเป็นอย่างนั้น ก็เพราะความปีติยินดี
ที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสาเร็จลุล่วงสมบูรณ์ทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทาน
ออกมาด้วยความอิ่มเอมใจ
ด้วยเหตุที่นางได้อุปถัมภ์บารุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในระพุทธศาสนา
เป็นจานวนมาก ดังกล่าวมา พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางในตาแหน่งเอตทัคคะ
เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่ายผู้เป็นทายิกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น