วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สิ่งต้องจัดเตรียมในพิธีอุปสมบท

สิ่งต้องจัดเตรียมในพิธีอุปสมบท
สิ่งต้องจัดเตรียมในพิธีอุปสมบทประกอบด้วยสิ่งจาเป็นตามข้อกาหนดในพระวินัย
ได้แก่อัฐบริขาร เรียกว่า บริขารแปด และเครื่องใช้สอยสาหรับพระบวชใหม่ คือ
๑. ไตรครอง ประกอบด้วย สังฆาฏิ จีวร สบง ประคตเอว อังสะ ผ้ารัดอก
๒. บาตร พร้อมฝาบาตร เชิงบาตร ถลกบาตร สายสะพาย๓. มีดโกน พร้อมหินลับมีด
๔. เข็มเย็บผ้า พร้อมด้ายเย็บผ้า
๕. ธมกรก อ่านว่า ทะมะกะหรก คือ ที่กรองน้า
๖. เสื่อ หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว
๗. ตาลปัตร ย่าม ร่ม รองเท้า
๘. จาน ช้อนส้อม กระติกน้า แก้วน้า
๙. ขันอาบน้า สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน
สิ่งของข้อ ๑ ถึง ๕ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เพราะเป็นอัฐบริขารของพระภิกษุ จาเป็น
ต้องมีส่วนข้อ ๖ ถึง ๙ จะมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะสามารถจัดหาเพิ่มเติมได้ภายหลัง สาหรับ
การเตรียมอัฐบริขาร ผ้าไตรครองควรวางไว้บนพานแว่นฟ้า มีดโกน พร้อมหินลับมีด กล่องเข็ม
และธมกรก รวบรวมใส่ไว้ในบาตร นาบาตรสวมในถลกบาตรอีกชั้นหนึ่ง
พิธีปลงผมและทาขวัญนาค
งานอุปสมบท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า งานบวช หรือ งานบวชนาค ตามประเพณี
ภาคกลาง ถือเป็นงานใหญ่ มีการออกบัตรเชิญหรือแจกการ์ด แก่ญาติมิตรของเจ้าภาพและ
เพื่อนนาคด้วย เดิมนิยมจัดงานเป็น ๒ วัน วันแรกเป็นวันทาขวัญนาค หลังจากปลงผมแต่งตัว
นาคเรียบร้อยแล้ว อาจมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ตอนเย็น แต่จะไม่เลี้ยงพระเช้า เพราะตอน
เช้าเจ้าภาพต้องเตรียมแห่นาคไปวัด พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบ เจ้าภาพถวายไทยธรรม
พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพและนาคกรวดน้ารับพร เป็นอันเสร็จพิธี ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า
สวดมนต์ปล่อย ตกตอนกลางคืน จึงให้มีพิธีทาขวัญนาค หรือบางงานนิมนต์พระมาเทศน์
สอนนาคแทน เพื่อให้นาคเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และอานิสงส์ของการบวช อาจมีมหรสพมา
แสดงสมโภชด้วยก็ได้
ความหมายคาว่า นาค
นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ หรือ ผู้ไม่กลับมาสู่ความชั่ว หมายถึง มีจิตศรัทธาบวช
ตั้งใจละความไม่ดีต่าง ๆ เคยทามาแล้ว และจะไม่หวนกลับมาทาสิ่งนั้นอีก ผู้บวชแล้วกลับมา
ทาความชั่วความเลวอีก โบราณบอกว่า บวชเสียผ้าเหลือง ความเป็นมาของคาว่า นาค

มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ พญานาคตนหนึ่งจาแลง
กาย เป็นชายหนุ่มมาฟังพระธรรมเทศนาด้วย เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีความ
ประสงค์จะบวชเป็นพระภิกษุ จึงเข้าไปหาพระสงฆ์ เพื่อขอบวชพระ พระสงฆ์ไม่ทราบว่า
พญานาคจาแลงมา จึงบวชให้ เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเหมือนพระสงฆ์
รูปอื่น ๆ ต่อมาวันหนึ่งพระภิกษุนาคจาแลงนั้น นอนเผลอสติหลับไป ร่างมนุษย์ได้กลับคืน
เป็นพญานาคตามเดิม พระภิกษุรูปหนึ่งมาเห็นเข้า ตกใจกลัว ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
ให้ทรงทราบ พระองค์สั่งให้ตรัสเรียกพระภิกษุนาคจาแลงนั้นมา ตรัสบอกว่า สัตว์ดิรัจฉาน
ไม่สามารถอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้ พญานาคจึงสละเพศพระภิกษุ
แต่ด้วยความเลื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงทูลขอพรว่า ภายภาคหน้า ถ้ากุลบุตรมี
ศรัทธาขอบวชพระให้เรียกผู้นั้นว่า นาค พระพุทธเจ้าทรงประทานพรนั้น คาว่า นาค จึงเป็น
คาเรียกผู้ขอบรรพชาอุปสมบทมาจนบัดนี้การจัดขบวนแห่นาค
การจัดขบวนแห่นาค มีรูปแบบการจัดแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ในเขตภาคกลาง
เดิมมีการจัดขบวนแห่นาคจากบ้านงานไปวัด ทั้งทางน้าและทางบก ปัจจุบันการคมนาคม
ทางบกสะดวกกว่า จึงนิยมแห่นาคทางบกเป็นหลัก ขบวนแห่นาคจัดการแสดงนาหน้า เช่น
สิงโต ฟ้อนรา ตามด้วยดนตรี กลองยาว หรือแตรวง ลาดับต่อมาเป็นผู้ถือของสักการะ
พระอุปัชฌาย์และคู่สวด ผู้ถือไทยธรรมพระอันดับ บิดาหรือญาติผู้ชายสะพายบาตร ถือตาลปัตร
มารดาหรือญาติผู้หญิง อุ้มพานแว่นฟ้า ผ้าไตรครอง ส่วนนาคประนมมือ ถือดอกบัว ๓ ดอก
ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม เดินตรงกลางขบวน ญาติผู้หญิงอุ้มพานแว่นฟ้า ผ้าไตรอาศัย ผู้ถือ
บริขารสาหรับพระบวชใหม่ และ ผู้ร่วมขบวนแห่ทั้งหมด เดินตามหลังนาค กระทั่งนาคเข้าโบสถ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น