นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
แบ่งเป็น ๓ วรรค มีวรรคละ ๑๐ สิกขาบท
จีวรวรรค ที่ ๑
๑.
ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้เพียร ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าล่วง ๑๐ วันไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.
ภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๓.
ถ้าผ้าเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๆ ประสงค์จะทำจีวร แต่ยังไม่พอ ถ้ามีที่หวังว่าจะได้มาอีก
พึงเก็บผ้านั้นไว้ได้เพียงเดือนหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกินเดือนหนึ่งไป
แม้ถึงยังมีที่หวังว่าจะได้อยู่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.
ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้ทุบก็ดี ซึ่งจีวรเก่า
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๕.
ภิกษุรับจีวรแต่มือนางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖. ภิกษุของจีวรต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีสมัยที่จะขอจีวรได้ คือ เวลาภิกษุมีจีวรอันโจรลักไป หรือมีจีวรอันฉิบหายเสีย.
๗.ในสมัยเช่นนั้น
จะขอเขาได้ก็เพียงผ้านุ่งผ้าห่มเท่านั้น ถ้าขอให้เกินกว่านั้น ได้มา
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.
ถ้าคฤหัสถ์ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา เขาพูดว่า เขาจะถวายจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้
ภิกษุนั้นทราบความแล้ว เข้าไปพูดให้เขาถวายจีวร
๙.
ถ้าคฤหัสถ์ผู้จะถวายจีวรแก่ภิกษุมีหลายคน แต่เขาไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
ภิกษุไปพูดให้เขารวมทุนเข้าเป็นอันเดียวกัน
ให้ซื้อจีวรที่แพงว่าดีกว่าที่กำหนดไว้เดิม ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๐.
ถ้าใคร ๆ นำทรัพย์มาเพื่อค่าจีวรแล้วถามภิกษุว่า ใครเป็นไวยาวัจกรของเธอ
ถ้าภิกษุต้องการจีวร ก็พึงแสดงคนวัดหรือ อุบาสกว่า
ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ครั้นเขามอบหมายไวยาวัจกรนั้นแล้ว
สั่งภิกษุว่า ถ้าต้องการจีวร ให้เข้าไปหาไวยาวัจกร
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาเขาแล้วทวงว่า เราต้องการจีวร ดังนี้ ได้ ๓ ครั้ง
ถ้าไม่ได้จีวร ไปยืนแต่พอเขาเห็นได้ ๖ ครั้ง ถ้าไม่ได้ขืนไปทวงให้เกิน ๓ ครั้ง
ยืนเกิน ๖ ครั้ง ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ถ้าไปทวงและยืนครบกำหนดแล้วไม่ได้จีวร จำเป็นต้องไปบอกเจ้าของเดิมว่า
ของนั้นไม่สำเร็จประโยชน์แก่ตน ให้เขาเรียกเอาของเขาคืนมาเสีย.
โกสิยวรรคที่ ๒
๑.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมเจือด้วยไหม
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุหล่อสันถัตด้วยขนเจียมดำล้วน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุจะหล่อสันถัตใหม่
พึงใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน ขนเจียมขาวส่วนหนึ่ง ขนเจียมแดงส่วนหนึ่ง
ถ้าใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนขึ้นไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.ภิกษุหล่อสันถัตใหม่แล้ว
พึงใช้ให้ได้ ๖ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๖ ปี หล่อใหม่ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๕.ภิกษุจะหล่อสันถัต
พึงตัดเอาสันถัตเก่าคืบหนึ่งโดยรอบมา ปนลงในสันถัตที่หล่อใหม่
เพื่อจะทำลายให้เสียสี ถ้าไม่ทำดังนี้ ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖.เมื่อภิกษุเดินทางไกล
ถ้ามีใครถวายขนเจียม ต้องการก็รับได้ ถ้าไม่มีใครนำมา นำมาเองได้เพียง ๓ โยชน์
ถ้าให้เกิน ๓ โยชน์ไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๗.ภิกษุใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ
ให้ซักก็ดี ให้ย้อมก็ดี ให้สางก็ดี ซึ่งขนเจียม ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.ภิกษุรับเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นรับก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดี ทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๙.ภิกษุทำการซื้อขายด้วยรูปิยะ
คือของที่เขาใช้เป็นทองและเงิน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๑๐.ภิกษุแลกเปลี่ยนสิ่งของกับคฤหัสถ์
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ปัตตวรรคที่ ๓
๑.บาตรนอกจากบาตรอธิษฐานเรียกอติเรกบาตร
อติเรกบาตรนั้น ภิกษุเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๑๐ วันไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๒.ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึง
๑๐ นิ้ว ขอบาตรใหม่แต่คฤหัสถ์ ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๓.ภิกษุรับประเคนเภสัชทั้ง
๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แล้วเก็บไว้ฉันได้เพียง ๗
วันเป็นอย่างยิ่ง ถ้าให้ล่วง ๗ วันไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๔.เมื่อฤดูร้อนยังเหลืออยู่อีกเดือนหนึ่ง
คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๗ จึงแสวงหาผ้าอาบน้ำฝนได้ เมื่อฤดูร้อนเหลืออยู่อีกกึ่งเดือน
คือตั้งแต่ขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๘ จึงทำนุ่งได้
ถ้าแสวงหาหรือทำนุ่งให้ล้ำกว่ากำหนดนั้นเข้ามา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๕.ภิกษุให้จีวรแก่ภิกษุอื่นแล้ว
โกรธ ชิงเอาคืนมาเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นชิงเอามาก็ดี ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๖.ภิกษุขอด้ายแต่คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
เอามาให้ช่างหูกทอเป็นจีวร ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๗.ถ้าคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติไม่ใช่ปวารณา
สั่งให้ช่างหูกทอจีวร เพื่อจะถวายแก่ภิกษุ
ถ้าภิกษุไปกำหนดให้เขาทำให้ดีขึ้นด้วยจะให้รางวัลแก่เขา ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
๘.ถ้าอีก
๑๐ วันจะถึงวันปวารณา คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ถ้าทายกรีบจะถวายผ้าจำนำพรรษา
ก็รับเก็บไว้ได้ แต่ถ้าเก็บไว้เกินกาลจีวรไป ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
กาลจีวรนั้นดังนี้ ถ้าจำพรรษาแล้วไม่ได้กรานกฐิน นับแต่วันปวารณาไปเดือนหนึ่ง
คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินนับแต่วันปวารณาไป ๕
เดือน คือตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๔.
๙.ภิกษุจำพรรษาในเสนาสนะป่าซึ่งเป็นที่เปลี่ยว
ออกพรรษา แล้ว อยากจะเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในบ้าน
เมื่อมีเหตุก็เก็บไว้ได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเก็บไว้ให้เกิน ๖ คืนไป
ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เว้นไว้แต่ได้สมมติ.
๑๐.ภิกษุรู้อยู่
น้อมลาภที่เขาจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน ต้องนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น