วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทที่ ๑๓- ๑๖

บทที่   ๑๓- ๑๖
•   พระอานนท์ส่งข่าวสารการเสด็จดับขันธปรินิพพานแก่เจ้ามัลลกษัตริย์
•   สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  เรียกว่า  มกุฏพันธนเจดีย์
•   พระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย  หลังจากทราบข่าวการปรินิพพาน
•   วันถวายพระเพลิง  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันอัฏฐมีบูชา
•   พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๘ วันถึงถวายพระเพลิง
•   การจัดพุทธสรีระ  จัดตามแบบพระเจ้าจักรพรรดิ
•   สิ่งที่พระพุทธองค์อธิษฐานมิให้เพลิงไหม้ มี ๔ ประการ
๑. ผ้าห่อพระบรมศพชั้นใน ๑ ผืน  ชั้นนอก ๑ ผืน   
๒.พระเขี้ยวแก้ว 
๓. พระรากขวัญทั้ง ๒ (ไหปลาร้า)                    
๔.พระอุณหิส ( กรอบหน้า)
•   โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
•   พระบรมสารีริกธาตุได้รับการแบ่ง แก่ ๘ ส่วน ๆ ละ ๒ ทะนาน   ให้แก่ ๘  เมือง คือ
๑. เมืองราชคฤห์           ๒. เมืองไพสาลี            
๓. เมืองกบิลพัสดุ์          ๔. เมืองอัลลกัปปะ
๕. เมืองรามคาม           ๖. เมืองเวฏฐทีปกะ       
๗. เมืองปาวา              ๘.  เมืองกุสินารา
•   กษัตริย์เมืองรามคามได้พระอังคารธาตุ
•   พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานที่จุฬามณีเจดีย์
•   พระเขี้ยวแก้วบนซ้ายประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ
•   ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์ มี ๔ ประเภท
๑.  ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
๒.  บริโภคเจดีย์  หมายถึง  สิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เช่นบาตร จีวร กุฏิ วิหารเป็นต้น
๓.   ธรรมเจดีย์ หมายถึง  สิ่งที่ใช้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น คัมภีร์  พระไตรปิฏก เป็นต้น
๔.   อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึง  สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าโดยตรง เช่น พระพุทธรูปเป็นต้น
 สังคายนา  หมายถึง  การร้อยกรองพระธรรมวินัย  หรือการประชุมตรวจสอบ  ชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้า  วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน

สังคายนา
สังคายนา หรือสังคีติ หรือการร้อยกรอง หรือจัดแจงพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย จัดเป็น ๓ หมวด เรียกว่า พระไตรปิฎก คือ
๑. ที่เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ จัดเป็น วินัยปิฎก
๒. ที่เป็นพระธรรมคำสอน อันเป็นบุคลาธิษฐาน ยกบุคคลเป็นอุทาหรณ์ จัดเป็นสุตตันตปิฎก
๓. ที่เป็นธรรมล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ่ง จัดเป็น อภิธรรมปิฎก
การทำสังคายนานั้น ที่พอจะนับได้มี ๕ ครั้ง    ทำในชมพูทวีป ๓ ครั้ง ในลังกาทวีป ๒ ครั้ง คือ  
๑. ปฐมสังคายนา ครั้งที่ ๑ กระทำที่หน้าถ้ำสัตตบรรณคูหา เชิงภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ เป็นประธาน พระอุบาลีเถระ วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ วิสัชนาพระสูตร และพระอภิธรรม รวมกับพระอรหันตขีณาสพจำนวน ๕๐๐ องค์ ปรารภเรื่องพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบศาสนา กระทำอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ
๒. ทุติยสังคายนา  ครั้งที่ ๒ กระทำที่วาลิการาม เมื่องเวสาลี พระเจ้ากาฬาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระอรหันต์จำนวน ๗๐๐ องค์ มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธานและมีพระสัพพกามีเถระ และพระเรวัตตเถระ เป็นต้น ชำระเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ ที่พวกภิกษุชาววัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีนำมาแสดงว่าไม่ผิดธรรมวินัย กระทำอยู่  ๘ เดือน จึงสำเร็จ
๓. ตติยสังคายนา ครั้งที่ ๓ กระทำที่อโศการาม เมื่องปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ โดยพระอรหันต์ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์ มีพระโมคคัลลีบุตรติสส เถระเป็นประธาน เนื่องด้วยเดียรถีย์ปลอมบวชในพุทธศาสนา กระทำอยู่ ๙ เดือน จึงสำเร็จ
๔. จตุตถสังคายนา ครั้งที่ ๔  กระทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระมหินทเถระ และพระอริฏฐเถระ เป็นประธานชักชวนภิกษุชาวสีหล ๖๘,๐๐๐ องค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงในสังกาทวีป กระทำอยู่ ๑๐ เดือน จึงสำเร็จ

          ๕. ปัญจมสังคายนา ครั้งที่ ๕ กระทำที่อาโลกเลณสถาน ในมลัยชนบท ลังกาทวีป พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ โดยภิกษุชาวสีหลผู้พระอรหันต์ จำนวน  ๑,๐๐๐ องค์ พระติสสมหาเถระ และพระพุทธทัตตเถระเป็นต้น เห็นความเสื่อมถอยปัญญาแห่งกุลบุตรจึงได้ประชุมกันมาจารึกพระธรรมวินัย เป็นอักษรลงไว้ในใบลาน ทำอยู่ ๑ ปี จึงสำเร็จ ฯ

บทที่ ๑๑-๑๒

บทที่   ๑๑-๑๒
•    อนาถบิณฑิกเศรษฐี   มีชื่อเดิมว่า   สุทัตตะ   เป็นชาวเมือง  สาวัตถี  
•   อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวาย   วัด เชตวัน
•   อนาถบิณฑิกเศรษฐี  ซื้อที่ดิน   จาก เจ้าเชตราชกุมาร  สร้างวัด
•   พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่  ๔๕  ณ    เวฬุวคาม   เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี     
•   คำว่า ปลงอายุสังขาร”  หมายถึงการ     ตั้งใจที่จะตาย   ณ  ปาวาลเจดีย์  
•   วันที่พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารตรงกับวัน    วันเพ็ญ  เดือน  ๓  
•   ผู้ที่ทูลเชิญพระพุทธองค์ให้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานคือ    พญามารวสวัตตี  
•   คำว่า นิมิตโอภาส”  หมายถึง    ตรัสความทางอ้อมแก่พระอานนท์
•   พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตโอภาส  ๑๖ ครั้ง ดังนี้   ที่กรุงราชคฤห์  ๑๐  ครั้ง  ที่เมืองไพสาลี ๖ ครั้ง   
•   ตามพุทธประวัติ  เหตุให้เกิดแผ่นดินไหว    มี  ๘  อย่าง
๑. ลมกำเริบ    
๒. ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล  
๓. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตสู่พระครรภ์  
๔. พระโพธิสัตว์ประสุติจากครรภ์มารดา
๕. พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ     
๖.พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
๗.  พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร           ๘. พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•   ทรงรับผ้าสิงคิวรรณ ๑ คู่   จากปุกกุสะ  ราชบุตรแห่งมัลลกษัตริย์  
•   พระฉวีวรรณผ่องใสใน  ๒  เวลา 
๑.  ในเวลาจะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญา   ๒.ในราตรีที่จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•   บิณฑบาตทาน  ๒  คราวมีผลเสมอกัน(อานิสงส์มาก)
๑.  บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้   ๒. บิณฑบาตรที่นายจุนทะถวายในวันปรินิพพาน
•   “อนุฏฐานไสยา”  คือการนอนที่ไม่ลุกขึ้นอีกเลย
•   การบูชามี  ๒  อย่าง
๑.  อามิสบูชา  คือ การบูชาวัตถุสิ่งของ    
๒.  ปฏิบัติบูชา  คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติตาม   ทรงสรรเสริญปฏิบัติบุชา
•   ถูปารหบุคคลคือบุคคลที่ควรบรรจุใว้ในสถูปเพื่อบูชา มี ๔ จำพวกคือ
๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ๒. พระปัจเจกพระพุทธะเจ้า   ๓. พระอรหันตสาวก          ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ
•   สังเวชนียสถาน  คือสถานที่ควรระลึกถึง มี ๔ อย่าง คือ  
๑. สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน)    
๒. สถานที่ตรัสรู้ ( ต้นพระศรีมหาโพธิ์) 
๓.  สถานที่แสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) 
๔.  สถานที่ปรินิพพาน คือ  สาลวโนทยาน
•   สาวกองค์สุดท้าย  มีชื่อว่า สุภัททปริพาชก  
•   ก่อนเสด็จปรินิพพานพระพุทธเจ้าตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทน
•   ปัจฉิมโอวาท  พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับความไม่ประมาท
•   ในเวลาจวนจะปรินิพพานของพระศาสดา  มีพระอานนท์และพระอนุรุทธะ อยู่ในที่นั้น
•   พระบรมศาสดาปรินิพพานที่ สาลวโนทยาน ใต้ต้นสาละคู่  เมืองกุสินารา วันอังคาร  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง

•   ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ     ที่มกุฏพันธนเจดีย์  ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงกุสินารา

บทที่ ๑๐- ๑๑ เสด็จโปรดพุทธบิดา

บทที่ ๑๐- ๑๑  เสด็จโปรดพุทธบิดา
•   พระเจ้าสุทโธทนะส่งอำมาตย์ไปทูตเชิญพระพุทธองค์  ๑๐ คณะด้วยกัน 
•   กาฬุทายีอำมาตย์  เป็นคณะสุดท้ายและทูตเชิญพระพุทธองค์หลังจากตนบรรลุธรรม  และบวชแล้ว ๘ วัน
•   ระยะทางจากราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์  (๙๖๐ กิโลเมตร)
•   เดินทางวันละโยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)  เป็นเวลา  ๖๐  วันพอดี
•   ชาวกบิลพัสดุ์สร้างนิโครธาราม ถวาย
•   ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดกแก่ประยูรญาติ
•   พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุโสดาบันด้วยคาถาเครื่องเตือนใจสมณะว่า  ไม่ควรประมาทในก้อนข้าวอันจะพึงลุกขึ้นยืนรับ  ควรประพฤติธรรมให้สุจริตผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกอื่น
•   ทรงแสดงธรรมโปรดพระนางมหาปชาบดี  และเจ้าสุทโธทนะ  เมื่อจบพระธรรมเทศนา  พระนางตั้งอยู่ในโสดาบันส่วนพระพุทธบิดา ได้บรรลุสกทาคสมิผล  ในวันที่สอง
•   ในวันที่สามพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมหาธรรมปาลชาดก  โปรดพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระอนาคามิผล
•   พระนางพิมพาเทวีบรรลุโสดาบันด้วยธรรมเทศนาชื่อว่าจันทกินนรีชาดก
•   พระสารีบุตรทรงบรรพชาราหุลสามเณรที่นิโครธาราม
•   พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา  ด้วยไตรสรณคมน์
•   พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอประทานพระพุทธานุญาตว่า แต่นี้ต่อไป  กุลบุตรผู้ใดประสงค์จะบรรพชา  หากมารดาบิดายังไม่ยอมพร้อมใจอนุญาตให้บวชแล้วก็ของดไว้  อย่าได้รีบให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นอันขาด
•   บรรลุพระอรหันต์ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า ราหุโลวาทสูตรหลังจากอุปสมบทแล้ว

•   ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้ง ในทางใคร่ต่อการศึกษา