• อนาถบิณฑิกเศรษฐี มีชื่อเดิมว่า สุทัตตะ
เป็นชาวเมือง สาวัตถี
• อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวาย วัด เชตวัน
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี ซื้อที่ดิน
จาก เจ้าเชตราชกุมาร สร้างวัด
• พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่ ๔๕
ณ เวฬุวคาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
• คำว่า “ ปลงอายุสังขาร” หมายถึงการ ตั้งใจที่จะตาย ณ
ปาวาลเจดีย์
• วันที่พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารตรงกับวัน วันเพ็ญ
เดือน ๓
• ผู้ที่ทูลเชิญพระพุทธองค์ให้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานคือ พญามารวสวัตตี
• คำว่า “นิมิตโอภาส” หมายถึง ตรัสความทางอ้อมแก่พระอานนท์
• พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตโอภาส ๑๖ ครั้ง ดังนี้ ที่กรุงราชคฤห์ ๑๐
ครั้ง ที่เมืองไพสาลี ๖ ครั้ง
• ตามพุทธประวัติ เหตุให้เกิดแผ่นดินไหว มี
๘ อย่าง
๑. ลมกำเริบ
๒. ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล
๓. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตสู่พระครรภ์
๔. พระโพธิสัตว์ประสุติจากครรภ์มารดา
๕. พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๖.พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
๗.
พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร ๘.
พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•
ทรงรับผ้าสิงคิวรรณ ๑
คู่ จากปุกกุสะ ราชบุตรแห่งมัลลกษัตริย์
• พระฉวีวรรณผ่องใสใน ๒ เวลา
๑.
ในเวลาจะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญา
๒.ในราตรีที่จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
• บิณฑบาตทาน ๒
คราวมีผลเสมอกัน(อานิสงส์มาก)
๑.
บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้
๒. บิณฑบาตรที่นายจุนทะถวายในวันปรินิพพาน
• “อนุฏฐานไสยา” คือการนอนที่ไม่ลุกขึ้นอีกเลย
• การบูชามี ๒
อย่าง
๑. อามิสบูชา คือ การบูชาวัตถุสิ่งของ
๒. ปฏิบัติบูชา
คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติตาม
ทรงสรรเสริญปฏิบัติบุชา
• ถูปารหบุคคลคือบุคคลที่ควรบรรจุใว้ในสถูปเพื่อบูชา
มี ๔ จำพวกคือ
๑.
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพระพุทธะเจ้า ๓. พระอรหันตสาวก ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ
• สังเวชนียสถาน คือสถานที่ควรระลึกถึง มี ๔ อย่าง คือ
๑. สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน)
๒. สถานที่ตรัสรู้ ( ต้นพระศรีมหาโพธิ์)
๓.
สถานที่แสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน)
๔. สถานที่ปรินิพพาน คือ สาลวโนทยาน
• สาวกองค์สุดท้าย มีชื่อว่า สุภัททปริพาชก
• ก่อนเสด็จปรินิพพานพระพุทธเจ้าตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทน
• ปัจฉิมโอวาท พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับความไม่ประมาท
• ในเวลาจวนจะปรินิพพานของพระศาสดา มีพระอานนท์และพระอนุรุทธะ อยู่ในที่นั้น
• พระบรมศาสดาปรินิพพานที่
สาลวโนทยาน ใต้ต้นสาละคู่ เมืองกุสินารา วันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
ปีมะเส็ง
• ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ที่มกุฏพันธนเจดีย์ ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงกุสินารา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น