วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พิธีสวดแจง

พิธีสวดแจง
พิธีฌาปนกิจศพช่วง ๓๐ ถึง ๕๐ ปีที่ผ่านมา เจ้าภาพนิยมจัดให้มีการเทศน์สังคีติกถา
คือจาลองการปฐมสังคายนามาเป็นรูปแบบการเทศน์ เรียกว่า เทศน์แจง แต่ปัจจุบันเริ่ม
เลือนหายไป ยังพอมีให้เห็นอยู่ในส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัดเพชรบุรี คนรุ่นใหม่จึงไม่ค่อยรู้จัก
เทศน์แจง
การเทศน์แจง เป็นธรรมเนียมเฉพาะงานฌาปนกิจศพบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่
พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ดารงตาแหน่งเจ้าอาวาสเป็นต้น ไม่นิยมจัดในพิธีฌาปนกิจศพผู้น้อย
เช่น บุตรธิดาของเจ้าภาพ การเทศน์แจงธรรมาสน์เดียวก็มี ๒ ธรรมาสน์ก็มี ๓ ธรรมาสน์ก็มี
แต่นิยมเทศน์ ๓ ธรรมาสน์ การนิมนต์พระสงฆ์มาสวดแจง เจ้าภาพมีศรัทธามาก จะนิมนต์
พระสงฆ์สวดแจงเต็มจานวน ๕๐๐ รูป เท่ากับพระอรหันต์เข้าร่วมทาปฐมสังคายนา หรือ
นิมนต์พระสงฆ์เหลือเพียง ๕๐ รูป ๒๕ รูป ตามความต้องการของเจ้าภาพก็ได้
การเทศน์แจงหรือสังคีติกถา นิยมจัดตอนบ่าย ก่อนพิธีฌาปนกิจศพ ถือเป็นการ
ทาบุญมีอานิสงส์มากและเป็นการตอบแทนพระคุณบิดามารดาอย่างสูงยิ่ง เช่นเดียวกับ
พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การทาปฐมสังคายนา การเทศน์แจงรูปเดียว เบื้องต้น
พระเทศน์ให้ศีลและบอกศักราช แสดงอานิสงส์การฟังเทศน์แจง แสดงปฐมสังคายนาโดยย่อ
ทั้งส่วนพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก จบแล้วเผดียงพระสงฆ์ขึ้นนั่ง
ประจาอาสนะ สวดแจงตามลาดับ คือ บทนมัสการ นะโม ตัสสะ ต่อด้วยบทสวดพระวินัย
ปิฎก พระสุตตันตะปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกตามลาดับ จบแล้วทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล พระเทศน์ ยถา อนุโมทนาบนธรรมาสน์ พระสงฆ์ทั้งหมดรับสัพพี
ต่อด้วยบท อะทาสิ เม จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอัน
เสร็จพิธี
การเทศน์แจง ๒ ธรรมาสน์ เป็นการเทศน์แบบถามตอบ นิยมเรียกว่า เทศน์ปุจฉา
วิสัชนา โดยสมมุติพระรูปหนึ่งเป็นผู้ถาม อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบ จะถามตอบกันเรื่องการทา
ปฐมสังคายนา เริ่มต้นด้วยพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เมื่อจบ
แต่ละปิฎก องค์เทศน์จะเผดียงให้พระสงฆ์นั่งแจงสวดบทบาลีแต่ละปิฎก สลับกับการเทศน์
ปุจฉาวิสัชนา จนครบ ๓ ปิฎก จบแล้วทอดผ้าบังสุกุล พระสงฆ์ทั้งนั้นพิจารณาผ้าบังสุกุล
พระเทศน์ ยะถา อนุโมทนาบนธรรมาสน์ พระสงฆ์ทั้งหมดรับสัพพี ต่อด้วยบท อะทาสิ เม
จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ต่อจากนั้น กราบลาพระรัตนตรัย เป็นอันเสร็จพิธี
การเทศน์แจง ๓ ธรรมาสน์ เป็นการเทศน์ถามตอบหรือปุจฉาวิสัชนาเหมือน
๒ ธรรมาสน์แต่มีการสมมุติตนเป็นพระมหากัสสปะ พระอุบาลี และพระอานนท์โดยพระ
มหากัสสปะมีหน้าที่ปุจฉา คือถามสาเหตุการทาสังคายนาปิฎกทั้ง ๓ พระอุบาลีมีหน้าที่วิสัชนา
คือตอบพระวินัยปิฎก พระอานนท์มีหน้าที่วิสัชนาทั้งพระสุตตันตปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก
ส่วนการสวดบทบาลีของปิฎกทั้ง ๓ พระสงฆ์รับนิมนต์มานั่งแจง จะสวดตามพระเทศน์เผดียง
ให้สวด หลังจากเทศน์จบ ปิฎกนั้น ๆ ก็ได้ หรือรวมสวดครั้งเดียว ๓ ปิฎก ตอนเทศน์จบก็ได้
พิธีกรรมที่เหลือปฏิบัติเช่นเดียวกับการเทศน์แจง ๒ ธรรมาสน์ข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น