วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

พิธีเจริญพระพุทธมนต์

พิธีเจริญพระพุทธมนต์
คาว่า เจริญพระพุทธมนต์และสวดพระพุทธมนต์ เป็นศัพท์บัญญัติใช้กับพิธีทาบุญ
ทางพระพุทธศาสนา การเจริญพระพุทธมนต์ใช้กับงานพิธีปรารภเหตุ คือ ความสุข ความ
เจริญของตนเอง ครอบครัวบ้าง สังคมบ้าง นิยมเรียกว่า งานมงคล การสวดพระพุทธมนต์
ใช้กับงานปรารภเหตุ คือ การตาย นิยมเรียกว่า งานอวมงคล
แต่กิริยาสาธยายว่า เจริญหรือสวดนั้น ต่างกันเพียงประเภทของงานเท่านั้น เมื่อใช้
ภาษาให้เข้าใจง่าย เรียกรวมกันว่า สวดมนต์ ไม่ว่าจะเป็นงานใดก็ตาม
พิธีมงคลจัดขึ้นเพื่อความสุขความเจริญ นิยมสวดพระปริตรและพระสูตรเหล่านี้ คือ
๑. เจ็ดตานาน หรือ จุลราชปริตร
๒. สิบสองตานาน หรือ มหาราชปริตร
๓. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
๔. มหาสมัยสูตร
๕. โพชฌงคสูตร
๖. คิริมานนทสูตร
๗. มหาสติปัฏฐานสูตร
๘. ชยมงคลคาถา
๙. คาถาจุดเทียนชัยและคาถาดับเทียนชัย
เจ็ดตานานและสิบสองตานาน
พิธีทาบุญเนื่องด้วยการเฉลิมฉลองและปรารภความสุขความเจริญ ทาให้เกิดความ
เป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพ เช่น งานฉลองพระบวชใหม่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานวันเกิด
การเจริญพระพุทธมนต์ นิยมใช้เจ็ดตานานเป็นพื้น บทสวดมนต์เจ็ดตานาน พระโบราณาจารย์
ท่านกาหนดพระสูตร คาถา และหัวข้อพุทธภาษิต บรรดาที่มีอานุภาพในทางแนะนาและ
ป้องกันสรรพภัยพิบัติ รวมเรียกว่า พระปริตร แปลว่า เครื่องป้องกันหรือเครื่องต้านทาน
เจ็ดตานานหรือจุลราชปริตร ประกอบด้วย
๑. มงคลสูตร
๒. รตนสูตร
๓. กรณียเมตตสูตร
๔. ขันธปริตร
๕. โมรปริตร
๖. ธชัคคปริตร หรือ ธชัคคสูตร
๗. อาฏานาฏิยปริตร
๘. โพชฌงคปริตร
เมื่อรวมโมรปริตรเข้ากับธชัคคปริตร เหลือเพียง ๗ ปริตร จึงเรียกว่า เจ็ดตานาน
สิบสองตานาน หรือ มหาราชปริตร ประกอบด้วย
๑. มงคลสูตร
๒. รตนสูตร
๓. กรณียเมตตสูตร
๔. ขันธปริตร
๕. โมรปริตร
๖. วัฏฏกปริตร
๗. ธชัคคปริตร หรือ ธชัคคสูตร
๘. อาฏานาฏิยปริตร
๙. องคุลิมาลปริตร
๑๐. โพชฌังคปริตร
๑๑. อภยปริตร
๑๒. ชยปริตร
ในการสวดทั่วไป นิยมใช้เพียง ๗ หัวข้อหรือน้อยกว่า พิธีที่ใช้สวดทั้ง ๘ หรือ ๑๒
หัวข้อก็มีทั้งนี้ ขึ้นกับความสาคัญของงานและมีเวลาอานวยในการสวด ดังนั้น ปัจจุบันจึง
มีสวดอยู่ ๓ แบบ คือแบบเต็ม แบบย่อและแบบลัด
อนึ่ง พิธีเจริญหรือสวดพระพุทธมนต์ในพิธีการต่าง ๆ พระสงฆ์จะสวดบทเบื้องต้นก่อน
เรียกว่า ต้นสวดมนต์ หรือต้นตานาน แล้วจึงสวดพระปริตรหรือพระสูตรต่าง ๆ ตามกาหนด
เรียกว่าตัวตานาน สุดท้ายเป็นเบื้องปลายบทสวดมนต์ เรียกว่า ท้ายสวดมนต์ หรือ ท้ายตานาน
ต้นตานาน เริ่มด้วยบทชุมนุมเทวดา เรียกอย่างสามัญว่า ขัดสัคเค พระสงฆ์รูปที่ ๓ จะเป็น
ผู้ขัด จากนั้นสวดบทนมัสการ คือ นโม ตัสสะ จนถึงบทนมการอัฏฐกคาถา หรือนโม ๘ บท

แล้วจึงสวดบทพระปริตรหรือพระสูตรเป็นลาดับต่อไปบทชุมนุมเทวดาหรือขัดสัคเค เป็นบทขัดเพื่อเชิญเทวดาผู้สถิตอยู่ ณ สถานที่ต่าง ๆ
ให้มาร่วมประชุมฟังธรรม คือ การเจริญพระพุทธมนต์ การขัดสัคเค มีบทนาขัดอยู่ ๓ แบบ
ใช้ในพิธีแตกต่างกัน ดังนี้
แบบที่ ๑ ใช้ในงานพระราชพิธีและรัฐพิธี มีบทนาในการขัดสัคเคว่า สะรัชชัง
สะเสนัง สะพันธุง นรินทัง ปะริตตานุภาโว สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา
ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ แล้วว่าบทขัดสัคเคที่เหลือต่อไปจนจบ
แบบที่ ๒ ใช้ขัดในการสวดพระพุทธมนต์ ๑๒ ตานาน เริ่มต้นคาว่า สะมันตา
จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา สัททัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง แล้วว่า
บทขัดสัคเค ที่เหลือต่อไปจนจบ
แบบที่ ๓ ใช้ขัดในการสวดพระพุทธมนต์ ๗ ตานาน เริ่มต้นคาว่า ผะริตวานะ เมตตัง
สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ แล้วว่าบทขัดสัคเคที่เหลือ
ต่อไปจนจบ
ท้ายตานาน คือบท นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ... ต่อกับบท ยังกิญจิ ระตะนัง
โลเก ...และต่อด้วยบท ทุกขัปปัตตา ถ้ามีการถวายภัตตาหารด้วย จะสวดบทถวายพรพระ
จบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ... เป็นอันเสร็จพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สาหรับการสวด
มนต์เย็น ไม่มีบทสวดถวายพรพระและจบด้วยบท ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ... เช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น