วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความเป็นมาของการบรรพชาในประเทศไทย

การบรรพชาในแต่ละยุคสมัย มีวัตถุประสงค์ในการบวชแตกต่างกันไป ตามวัฒนธรรม
ประเพณีของสังคมในยุคนั้น ๆ พอสรุปได้ ดังนี้
สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงให้พระราชโอรส
และพระโอรสของพระองค์ เจริญวัยพอสมควร บรรพชาเป็นสามเณร หรืออุปสมบทเป็น
พระภิกษุ เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา ให้มีพระทัยแนบแน่นมั่นคงต่อพระศาสนา จนมีผู้นิยม
นามาปฏิบัติตาม พระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ มีพระราชศรัทธา
ทรงดารงตนในสมณเพศจนตลอดพระชนม์ชีพก็มี เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ-
วชิรญาณวโรรส
สมัยนั้น วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา เพราะยังไม่มีโรงเรียน วิชาการทุกแขนงมีสอน
ในวัด โดยพระภิกษุเป็นผู้สอน ดังนั้น จึงมีผู้นิยมส่งบุตรชายหลานชายตน มาขอบรรพชาเป็น
สามเณร หรือเป็นศิษย์วัด เพื่อศึกษาศิลปวิทยาต่าง ๆ ยุคต่อมา เมื่อเปิดการเรียนการสอน
พระปริยัติธรรม ทั้งแผนกธรรมและบาลีรวมถึงแผนกสามัญศึกษาขึ้นในวัด เป็นเหตุให้ประชาชนในชนบทนิยมให้บุตรหลานของตนบรรพชาเป็นสามเณร และเข้ารับการศึกษาจานวนมาก
เพราะค่าใช้จ่ายน้อย ผู้เข้ามาศึกษาตามระบบนี้ เมื่อลาสิกขาแล้ว ได้เข้ารับราชการดารง
ตาแหน่งใหญ่โตมากมาย
ปัจจุบันโลกเจริญขึ้น คนมีทางเลือกในการดาเนินชีวิตมากขึ้น สามารถแสวงหา
ความรู้ได้หลายทาง การบวชสามเณรเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างสมัยก่อน จึงลดจานวน
ลงตามลาดับ เป็นเพียงการบวชระยะสั้นและรักษาประเพณีเท่านั้น
การบวชเป็นสามเณรระยะสั้น ช่วงปิดภาคเรียนในฤดูร้อน เรียกว่า บวชเณร
ภาคฤดูร้อน โดยกาหนดเวลา ๑๕ วัน หรือ ๑ เดือน ตามแต่ทางวัดจะกาหนด เพื่อให้เด็ก
นักเรียนได้เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติมีพระภิกษุเป็นผู้สอน เป็นการนา
เด็กเข้าพระศาสนาตั้งแต่เยาว์วัยเพื่อปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดีมีศีลธรรม ไม่เป็นปัญหาของ
สังคม การบวชเป็นสามเณรด้วยวิธีนี้ ได้รับความนิยมและจัดบวชกันทั่วประเทศ
การบวชเป็นสามเณรในพิธีฌาปนกิจศพหรือพระราชทานเพลิงศพของบุพการี
เรียกว่า บวชหน้าไฟ เป็นการบวชรักษาประเพณี เป็นการแสดงถึงความมีกตัญญูกตเวที
และอุทิศกุศลแก่ ผู้ล่วงลับไปแล้ว เชื่อกันว่าผู้ตายจะได้อนุโมทนาบุญและไปสู่สุคติ นิยมบวช
ตอนเช้าในวันปลงศพ และลาสิกขาตอนเย็นหลังเสร็จพิธีฌาปนกิจศพ หรือในวันรุ่งขึ้นถือเป็น
การตอบแทนคุณบุพการี ทาให้วิญญาณท่านได้เห็นชายผ้าเหลืองเกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น