วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเรียกว่าเสขิยวัตร
เสขิยวัตรนั้น จัดเป็น ๔ หมวด หมวดที่ ๑ เรียกว่าสารูป หมวดที่ ๒
เรียกว่าโภชนปฏิสังยุต หมวดที่ ๓ เรียกว่าธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวดที่ ๔ เรียกว่า
ปกิณณกะ.
สารูปที่ ๑ มี ๒๖
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย. ไปในบ้าน.
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักนุ่งห่มให้เรียบร้อย. ไปนั่งในบ้าน.
๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักปิดกายด้วยดี ไปในบ้าน.
๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักปิดกายด้วยดี ไปนั่งในบ้าน.
๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไปในบ้าน.
๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไปนั่งในบ้าน.
๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักมีตาทอดลง ไปในบ้าน
๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักมีตาทอดลง ไปนั่งในบ้าน
๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เวิกผ้า ไปในบ้าน
๑๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เวิกผ้า ไปนั่งในบ้าน
๑๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่หัวเราะ ไปในบ้าน
๑๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่หัวเราะ ไปนั่งในบ้าน
๑๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน
๑๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปนั่งในบ้าน
๑๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่โคลงกาย ไปในบ้าน
๑๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่โคลงกาย ไปนั่งในบ้าน
๑๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่ไกวแขน ไปในบ้าน
๑๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่ไกวแขน ไปนั่งในบ้าน
๑๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปในบ้าน
๒๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่สั่นศีรษะ ไปนั่งในบ้าน
๒๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน
๒๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปนั่งในบ้าน
๒๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน
๒๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน
๒๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน
๒๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตที่ ๒ มี ๓๐
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ.
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร.
๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก
๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจับรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร.
๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ.
๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร.
๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง.
๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก.
๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป.
๑๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะอยากจะได้มาก.
๑๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน.
๑๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ.
๑๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
๑๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
๑๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจักไม่อ้าปากไว้ท่า.
๑๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก.
๑๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด.
๑๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่โยนคำข้าเข้าปาก.
๑๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
๒๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย.
๒๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง.
๒๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้น ๆ.
๒๓.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันแลบสิ้น
๒๔.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ.
๒๕.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ.
๒๖.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันเลียมือ.
๒๗.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
๒๘.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
๒๙.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ.
๓๐.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน.
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตที่ ๓ มี ๑๖
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีร่มในมือ.
๒.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ มีไม่พลองในมือ.
๓.ฯลฯ
มีศัสตราในมือ.
๔.ฯลฯ
มีอาวุธในมือ.
๕.ฯลฯ
สวมเขียงเท้า.
๖.ฯลฯ
สวมรองเท้า.
๗.ฯลฯ
ไปในยาน.
๘.ฯลฯ
อยู่บนที่นอน.
๙.ฯลฯ
นั่งรัดเข่า.
๑๐.ฯลฯ
พันศีรษะ.
๑๑.ฯลฯ
คลุมศีรษะ
๑๒.ฯลฯ
เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ.
๑๓.ฯลฯ
เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง.
๑๔.ฯลฯ
เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่.
๑๕.ฯลฯ
เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้เดินไปข้างหน้า.
๑๖.ฯลฯ
เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในทาง.
ปกิณณกะที่ ๔ มี ๓
๑.ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ.
๒.ฯลฯ
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะบ้วนเขฬะ ลงในของเขียว.
๓.ฯลฯ
เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในน้ำ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น