หมวด ๑๐
อกุศลกรรมบถ ๑๐
จัดเป็นกายกรรม คือทำด้วยกาย ๓ อย่าง
๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา ๔ อย่าง
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
กรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นทางบาป ไม่ควรดำเนิน
๑. ปาณาติบาต ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง คือฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา ๔ อย่าง
๔. มุสาวาท พูดเท็จ
๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง
๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
กรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นทางบาป ไม่ควรดำเนิน
กุศลกรรมบถ ๑๐
จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา ๔ อย่าง
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการแห่งขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม จัดเป็นวจีกรรม คือทำด้วยวาจา ๔ อย่าง
๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
จัดเป็นมโนกรรม คือทำด้วยใจ ๓ อย่าง
๘. อภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
กรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นทางบุญ ควรดำเนิน
๘. อภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. พยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
กรรม ๑๐ อย่างนี้ เป็นทางบุญ ควรดำเนิน
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ อย่าง
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ
๑๐ อย่าง
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า อาการ กาย วาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวของเราเองโดยศีลได้หรือไม่
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีที่สงัดหรือไม่
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ความเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า อาการ กาย วาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ตัวของเราเองติเตียนตัวของเราเองโดยศีลได้หรือไม่
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรายินดีที่สงัดหรือไม่
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขินในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
นาถกรณธรรม คือ ธรรมทำที่พึ่ง
๑๐ อย่าง
๑. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๒. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก
๓. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
๔. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
๖. ธัมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ
๗. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี
๘. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่งและยา ตามมีตามได้
๙. สติ จำการที่ได้ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
๑๐. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร
๑. ศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๒. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้สดับตรับฟังมาก
๓. กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีเพื่อนดีงาม
๔. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย
๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร
๖. ธัมกามตา ความใคร่ในธรรมที่ชอบ
๗. วิริยะ เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี
๘. สันโดษ ยินดีด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม อาหาร ที่นอนที่นั่งและยา ตามมีตามได้
๙. สติ จำการที่ได้ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้
๑๐. ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารตามเป็นจริงอย่างไร
กถาวัตถุคือถ้อยคำที่ควรพูด
๑๐ อย่าง
๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชัดนำให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีสันโดษ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชัดนำให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชัดนำให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีสันโดษ ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ
๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่
๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชัดนำให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ
๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส
๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
อนุสสติ คือ อารมณ์ควรระลึก
๑๐ ประการ
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา
๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน
๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียด โสโครก
๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงพระคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตน
๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
๖. เทวตานุสสติ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา
๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน
๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่า ไม่งาม น่าเกลียด โสโครก
๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
๑๐. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงพระคุณพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น