วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563

กล้าที่จะถูกเกลียด

กล้าที่จะถูกเกลียด


กล้าที่จะถูกเกลียด

...ความทุกข์ที่เกิดจากตัวเราล้วนๆ ไม่มีอยู่จริง “ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตัวเราล้วนเกี่ยวพันกับคนอื่นเสมอ” โดยส่วนใหญ่มักมาจากการที่เรากลัวที่จะไม่ได้รับการยอมรับ หรือกลัวที่จะถูกเกลียด ทำให้เราเกิดความกดดันในจิตใจ ขาดอิสรภาพในการใช้ชีวิต
...ยกตัวอย่างเช่น เรามีความทุกข์เมื่อเรารู้สึกต่ำต้อยกว่าคนอื่น เช่น เรื่องความสามารถในทำงาน ฐานะทางสังคม หรือบุคลิกลักษณะ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการที่เราเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับคนที่เรารู้สึกว่าเขาเหนือกว่าเรา นี้คือผลพวงที่เกิดจากความสัมพันธ์กับคนอื่น
..เมื่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นทำให้คุณเกิดความทุกข์ สิ่งที่คุณจะต้องทำคือ กล้าที่จะถูกเกลียด คุณอยากมี “อิสรภาพ” ใช่ไหม?? แต่ตราบใดที่คุณยังไม่เลิกสนใจคำวิพากษ์วิจารณ์ คุณยังกลัวที่จะถูกเกลียด คุณยังต้องการให้คนอื่นยอมรับในตัวคุณ ถ้าขืนยังเป็นอยู่แบบนี้คุณก็ไม่สามารถใช้ชีวิตตามแบบที่ตัวเองปรารถนาได้
...สิ่งหนึ่งที่อิสรภาพมีไม่แตกต่างจากทุก ๆ สิ่งบนโลกใบนี้ คือ อิสรภาพเป็นสิ่งที่มีราคา ถ้าคุณอยากได้อิสรภาพ คุณต้องยอมแลกด้วยอะไรบ้างอย่าง เช่น “การถูกคนอื่นเกลียด” เมื่อใดที่เราถูกใครสักคนเกลียด เมื่อนั้นแสดงว่าเราได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระตามเส้นทางของตัวเองแล้ว...( จากหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด ของ อัลเฟรด แอดเลอร์ )

Cr FB :Adirek Arthitchaphalo

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จบบาลีศึกษา 9 ประโยคเป็นผลสำเร็จด้วยอายุ 25 ปี สุกัญญา เจริญวีรกุล





สุกัญญา เจริญวีรกุล เป็นผู้ศึกษาภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์พระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ๆ ทั้งบาลี สันสกฤต และทิเบต ด้วยจุดมุ่งหวังที่จะเป็นนักแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนา
.
จนสามารถเรียนจบบาลีศึกษา 9 ประโยคเป็นผลสำเร็จได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2563) ขณะมีอายุได้ 25 ปี รวมเวลา เรียนแผนกบาลีทั้งหมด 10 ปี 3 เดือน
.
ปัจจุบันศึกษาในระดับปริญญาเอกด้านภาษาบาลีสันสกฤตและพุทธศาสน์ศึกษาของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังรับงานพิสูจน์อักษรทั้งบทความ วิทยานิพนธ์ และงานอื่น ๆ รวมทั้งงานล่าม และงานแปลภาษา


คิดจะสึกใหม?


คิดจะสึกใหม?

...เชื่อว่าพระแทบจะทุกรูปมักจะพบกับคำถามนี้ แต่คำตอบนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการศึกษาในพระพุทธศาสนาที่แต่ละรูปได้รับ ผนวกกับความเข้าใจ ความลึกซึ้ง และฐานที่ใช้คิดว่า ใช้อารมณ์หรือเหตุผลในการตอบ
...แต่เมื่อประมวลคำตอบของพระหลาย ๆ รูปที่เคยเล่าสู่กันฟังซึ่งคำตอบก็คล้าย ๆ กัน คือ " ไม่แน่นอน " หรือ " ไม่มีใครรู้อนาคตได้" ที่ตอบว่า " สึก" และ "ไม่สึก" มีส่วนน้อย
...สำหรับรูปที่ตอบว่า "สึก" ส่วนใหญ่มักจะเป็นพระที่ท่านบวชตามประเพณี บวชแก้บน หรือลางานมาบวช ฯลฯ ทำนองเดียวกัน เหตุผลก็ตามนั้นเลย คือ ลางานมาได้ 15 วัน, พ่อแม่อยากให้บวชก่อนแต่งงาน หรือ บนบานเอาไว้
...รูปที่ตอบว่า "ไม่สึก" ส่วนใหญ่มักจะเป็นพระที่มีอายุมากแล้ว อาจจะบวชมานานหรือพึ่งบวชก็ได้ มักจะตอบเหมือน ๆ กันทำนองนี้ ส่วนเหตุผลของท่านก็มีหลาย ๆ แบบแตกต่างกันไปไม่เหมือนกันเสียทีเดียว​เช่น​ แก่แล้ว​ อยากหาที่สงบปฏิบัติ​ หากเป็นพระนักศึกษาก็มักบอกว่า "ไม่สึกเพราะยังเรียนไม่จบ" ซึ่งอาจเป็นบาลี หรือ ปริญญา ก็สุดแท้แต่ (ซึ่งคำตอบนี้ หมายถึง เรียนจบค่อยสึก)
...เราจะพิจารณาเรื่องนี้กันทำไม? เพราะว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาในระยะยาว มีคณะสงฆ์บางแห่ง บางประเทศ มีกฎของท่านว่า บวชแล้วห้ามสึก ถ้าหากฝ่าฝืนก็จะมีโทษในทางกฎหมาย หรือในทางสังคม อาทิ ศรีลังกา ธิเบต และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง (แต่คณะสงฆ์ไทยไม่มีกฏนี้) ที่ท่านกำหนดเช่นนั้นก็อาจเพราะเห็นว่า " การที่บุคคลจะบวชเข้ามาในพระศาสนาเป็นพระภิกษุ สามเณร ได้นั้นควรจะต้องมีศรัทธา (ภักติ) นำ มีความรู้ความเข้าใจในอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนามาแล้วเป็นอย่างดี จนตัดสินใจปลงผม โกนหนวดออกบวชในพระศาสนา ผู้คนก็เคารพกราบไหว้บูชา และถวายจตุปัจจัยบำรุงเลี้ยงท่านเป็นอย่างดี จู่ ๆ ท่านจะมาบอกว่า " พอแล้ว "และ สิกขาลาเพศไปเฉย ๆ เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นกระนั้นหรือ (การตีความของผู้เขียนส่วนตัว)
...และอีกกรณีตรงกันข้ามท่านที่ไม่สึก ไม่สึกนี้ก็ไม่แน่ว่าจะเข้าใจอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา ที่บวชเข้ามาเพื่อสิกขา(หรือศึกษา) มุ่งพัฒนาความรู้จากระดับที่ไม่รู้ ไปสู่ความเป็นผู้รู้ บางรูปก็อยู่ไปวัน ๆ ไม่คิดที่จะเรียนรู้ศึกษาอะไร ทำนองว่า ใช้ชีวิตให้หมดไป เดี๋ยวก็ตายแล้ว ถ้าอย่างนี้การไม่สึกของท่านอาจต้องมีการปรับปรุงให้ตรงทิศทางสักหน่อย
ไม่สึกเพราะเป็นห่วงลาภสักการะ ไม่สึกเพราะแก่แล้วไม่มีทางไป หรือ ไม่สึกเพราะศรัทธาแน่นแฟ้นในพระศาสนา ต้องการทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา และสุดท้าย คือ " ไม่สึกเพราะเกิดรู้แจ้งในภายใน อาสวะเบาบาง หรือหมดสิ้นไป "
...จะเห็นว่ามันมีหลายระดับสุดแต่ว่า แต่ละรูปท่านจะปรับปรุงไปทางไหน ท่านปรับอย่างไรก็จะเป็นอย่างนั้น.
ขอบคุณบทความจาก FB Adirek Arthitchaphalo