วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ผลสอบนักธรรมชั้นตรี ภาค 11 ประจำปีพุทธศักราช 2562


ผลสอบนักธรรมชั้นตรี ภาค 11 ประจำปีพุทธศักราช 2562
(ไฟร์ PDF)
---------------------------------
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดชัยภูมิ
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดบุรีรัมย์
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดสุรินทร์
ดาวโหลด⇒⇒⇒ คณะจังหวัดนครราชสีมา
---------------------------------------------
จังหวัดอื่นๆ
ดาวโหลด⇒⇒⇒กาญจนบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒สุพรรณบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒สุมทรสาคร
ดาวโหลด⇒⇒⇒ชลบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒ตราด
ดาวโหลด⇒⇒⇒ระยอง
ดาวโหลด⇒⇒⇒ จันทบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒สมุทรปราการ
ดาวโหลด⇒⇒⇒นครปฐม
ดาวโหลด⇒⇒⇒ประจวบคีรีขันธ์
ดาวโหลด⇒⇒⇒เพชรบุรี
ดาวโหลด⇒⇒⇒ราชบุรี
 ดาวโหลด⇒⇒⇒สมุทรสงคราม

ขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล เพจ ข่าวการศึกษาคณะสงฆ์ไทย

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

ปัญหาวิชาพุทธประวัติ  นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธประวัติ นักธรรมชั้นตรี
                  สอบในสนามหลวง
                วันพุธ ที่ ๙ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๖๒
              เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.
 ๑.  พระพุทธเจ้าสืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปได้อย่างไร ? 2547
ตอบ ชนชาติ อริยกะ 
ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้และขนบธรรมเนียม 
มีฤทธิ์มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อข้ามภูเขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม ให้ถอยเลื่อนลงมาทางใต้ แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน
๒.อะไรเป็นมูลเหตุให้เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ?
ตอบ ทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ คือคนเเก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ 
๓.อาฬารดาบสและอุทกดาบส มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
  ตอบ  อาฬารดาบส เกี่ยวข้องโดยเป็นอาจารย์ที่พระมหาบุรุษเข้าไปศึกษาลัทธิของท่านและได้สมาบัติ  ๗ อุทกดาบส เป็นอาจารย์ที่พระมหาบุรุษเข้าไปศึกษาในลัทธิของท่านและได้สมาบัติ ๘ 
๔.พระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ตรัสรู้ และปรินิพพาน  เมื่อมีพระชนมายุเท่าไรบ้าง ?
ตอบ    ออกผนวช เมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี
  ๕.     พระอัญญาโกณฑัญญะได้ชื่อว่าเป็นปฐมสาวก เพราะเหตุไร ?
ตอบ ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” จบโกณฑัญญะพราหมณ์ ก็เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุพระโสดาบันว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงเปล่งพระอุทานว่า“โกณฑัญญะรู้แล้วหนอๆ” จากนั้นท่านจึงได้ชื่อใหม่ว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” เพราะเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมก่อนใครทั้งหมดนั้นเอง
 ๖.    คำว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” เป็นคำอุทานของใคร ? เพราะเหตุใดจึงอุทานเช่นนั้น ? 2544
ตอบ ของยสกุลบุตร 
เพราะเห็นอาการพิกลต่าง ๆ ของหมู่ชนบริวารที่นอนหลับ  ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเหมือนเมื่อก่อน หมู่ชนบริวารเหล่านั้นปรากฏแก่ยสกุลบุตร ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า ครั้นเห็นแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ  คิดเบื่อหน่าย  จึงได้ออกอุทานเช่นนั้น
   ๗. ครั้งพุทธกาล วัดเชตวัน ตั้งอยู่ที่เมืองอะไร ?ใครเป็นผู้สร้างถวาย ?
ตอบ วัดพระเชตวัน ตั้งอยู่ เมืองสาวัตถี ผู้สร้างถวายอนาถบิณฑิกเศรษฐี 
  ๘.การปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ ถือโดยใจความว่าอย่างไร ?   และทรงปลงอายุสังขารเมื่อใด ? 2547
ตอบ ถือโดยใจความว่า พระองค์ทรงปลงพระทัยว่าจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจต่อไปอีกไม่ได้
        แล้ว เพราะปรารภถึงสังขารของพระองค์ว่า ทรงพระชราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาล
        ผ่านวัยเสียแล้ว ที่ทรงเปรียบว่ากายของพระองค์เป็นประหนึ่งเกวียนชำรุดที่ซ่อมแซม
        ด้วยไม้ไผ่ มิใช่สัมภาระเกวียนฉะนั้น ฯ
      เมื่อวันเพ็ญ เดือน ๓  ก่อนวันปรินิพพาน ๓ เดือน ฯ
    ศาสนพิธี
   ๙.  ศาสนพิธี คืออะไร ?ผู้ที่ได้เรียนรู้แล้วได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
ตอบ พิธีกรรมที่มีขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา  การประพฤติปฏิบัติศาสนพิธี  ต้องทำอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ  เกิดความสบายใจ  ทำให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีเป็นแบบอย่างที่ดีได้
ประโยชน์ของศาสนพิธี
      ๑  เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีให้มีสืบไป
     ๒  เป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
      ๓  ทำให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะที่ร่วมทำพิธีกัน
      ๔  เป็นสิ่งชักนำให้พุทธศาสนิกชน  เว้นจากการทำชั่ว  ทำความดีมีจิตใจผ่องใส
     ๕  แสดงถึงความร่วมมือ  ความเจริญทางจิตใจของคนในสังคม
     ๖  เกิดความสุขใจ  อิ่มเอมใจและเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัติ
    ๑๐.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กำหนดไว้กี่วัน ? มีวันอะไรบ้าง ?
 ตอบ  กำหนดไว้ ๔ วัน คือ 
๑.วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ 
๒.วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ 
๓.วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ 
๔.วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี ปี 2562

[เฉลย]ปัญหาวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
[เฉลย]ปัญหาวิชาวินัยมุข นักธรรมชั้นตรี ปี 2562
1.ภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้ว ย่อมได้อานิสงค์อย่างไร 2547
ตอบ พระภิกษุรักษาพระวินัยดีแล้วย่อมได้รับอานิสงส์คือ ความไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม เข้าหมู่สงฆ์ก็อาจหาญ ฯ
2.นิสสัยคืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ? 2555
ตอบ : คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี ๔ อย่าง ฯคือ
            ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ
3.พูดอย่างไรเรียกว่า อวดอุตริมนุสสธรรม ? 2544
ตอบ พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์  เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า  อวดอุตตริมนุสสธรรม
4.ปาราชิก 4 สิกขาบทไหนที่ภิกษุใช้ให้เขาทำก็ต้องอาบัติถึงที่สุด ? 2545
ตอบ  สิกขาบทที่ ๒ และสิกขาบทที่ ๓ ฯ
5.คำว่า "ภิกษุประทุษร้ายตระกูล" ในสิกขาบทที่ 13 แห่งสังฆาทิเสส หมายถึงการทำอย่างไร 2546
ตอบ หมายถึงการที่ภิกษุประจบคฤหัสถ์ ยอมตนให้เขาใช้สอย  เช่นเดินส่งข้าว
ให้เขาเป็นต้น หรือ ด้วยการเอาเปรียบโดยเชิงให้สิ่งเล็กน้อยด้วยหวัง
ได้มาก ฯ
6.จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควร ? เพราะเหตุใด 2545
ตอบ จีวร และอังสะ  ควรพินทุ  เพราะใช้ห่ม
                 ผ้านิสีทนะ ผ้าเช็ดหน้า และย่ามผ้า ไม่ต้องพินทุ เพราะไม่ได้ใช้นุ่งห่ม ฯ 
7.ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราสจากไตรจีวรแม้คืนหนึ่ง ต้องอาบัติอะไร ?2553
ตอบ มี สังฆาฏิ คือผ้าคลุม อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และอันตรวาสก คือ ผ้านุ่ง ฯ
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
8.ภิกษุเข้าบ้านในเวลาวิกาล โดยไม่บอกลาภิกษุอื่นที่มีอยู่ในวัด ต้องอาบัติอะไรหรือไม? 2555
ตอบ : ถ้าเข้าบ้านในเวลาที่เป็นกาล ตั้งแต่เช้าถืงเวลาก่อนเที่ยงวัน ไม่ต้องอาบัติ ถ้าเข้าบ้านในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่หลังเที่ยงวันไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่มีกิจด่วน (หรือผู้อยู่ในนิสสัย)
9.เสขิยวัตร คืออะไร? โภชนปฎิสังยุต ว่าด้วยเรื่องอะไร
ตอบ เสขิยวัตรคือ วัตรหรือธรรมเนียมที่ภิกษุจำต้องศึกษา โภชนปฏิสังยุต  ว่าด้วยเรื่องการรับและการฉันอาหาร
10.ภิกษุฉันพลางพูดพลาง จะต้องอาบัติอะไรหรือไม่ ? 2560
ตอบ ต้องอาบัติทุกกฏตามเสขิยวัตรข้อที่ ๔๓ ความว่าภิกษุพึงทำความศึกษาว่า  เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด ฯ