วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

พุทธศาสนสุภาพษิต จิตตวรรค คือ หมวดจิต หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก

๗. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ.

ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว 
มีบุญและบาปอันละ ได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.

๘. กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา.

บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ 
กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว 
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา 
และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๐.

๙. จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู.

โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, 
สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๕๔.

๑๐. ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา
ลูขํ ตปํ วสฺสสตํ จรนฺตา
จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ
หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต.

ผู้ถูกตัญหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด 
ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี, 
จิตของเขาก็หลุดพ้นด้วยดีไม่ได้. 
เขามีตนเลว จะถึงฝั่งไม่ได้.
(พุทฺธ) สํ. ส. ๑๕/๔๐.

๑๑. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.

การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ 
เป็นความดี, (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๑๒. ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ
น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ
อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี.

ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่ 
ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา.
(เทว) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๒๐.

๑๓. ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต
อากงฺเข เว หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส ญตฺวา อุทยพฺพยญฺจ
สุเจตโส อนิสฺสิโต ตทานิสํโส.

ภิกษุเพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น 
รู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งโลกแล้ว 
มีใจดี ไม่ถูกกิเลสอาศัย มีธรรมนั้นเป็นอานิสงส์ 
พึงหวังความบริสุทธิ์แห่งใจได้.
(เทว) สํ. ส. ๑๔/๗๓.

๑๔. โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา
ปาปุเณ อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ.

คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ 
บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ 
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้.
(พุทฺธ) ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑๘.

๑๕. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.

ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก 
ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, 
(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

พุทธศาสนสุภาพษิต อัปปมาทวรรค คือ หมวดไม่ประมาท หลักสูตรธรรมศึกษาชั้นเอก

๑. อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม 
ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน.
(พุทฺธ) ที. มหา. ๑๐/๑๔๒.

๒. อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.

ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน, 
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๘.

๓. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.

ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท 
ย่อมเผาสังโยชน์ น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๔. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.

ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท 
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๙.

๕. เอวํวิหารี สโต อปฺปมตฺโต
ภิกฺขุ จรํ หิตฺวา มมายิตานิ
ชาติชรํ โสกปริทฺทวญฺจ
อิเธว วิทฺวา ปชเหยฺย ทุกฺขํ.

ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท 
ละความถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้ 
พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้.
(พุทฺธ) ขุ. สุ. ๒๕/๕๓๕., ขุ. จู. ๓๐/๙๒.

๖. อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.

คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ 
ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ.
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๑๘.

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ประกาศนียบัตรหาย ทำอย่างไร

ประกาศนียบัตรหาย ทำอย่างไร
ประกาศนียบัตร-ผลสอบ ก่อนปี พ.ศ. 2543
และประกาศนียบัตรปี พ.ศ. 2552,2553, 2554,2555, 2556,2557
ให้ติดต่อไปยังกองพุทธศาสนศึกษา กลุ่มการศึกษาพระปริยัติธรรม-บาลี
โทร. 02 441 7951
ศึกษาระเบียบวิธีปฏิบัติในการขอ ที่เมนู "ดาวน์โหลด" ภายในเว็บไซต์
http://deb.onab.go.th/
ประกาศนียบัตรนอกนี 2543,44,45,45,47,48,49,50,51,58,59,60 ถึงปัจจุบัน โหลดใบคำร้องที่
http://www.gongtham.net/web/downloads.php?cat_id=5...
ปฏิบัติตามใบคำร้องและจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่นี้:
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง อาคารหอสมุดมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร
เลขที่ ๒๘๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
ส่วนผลสอบ ปี 2543-ปัจจุบัน สืบค้นที่
http://www.gongtham.net/passlist/
***
****ติดต่อสอบถามเรื่องใบประกาศนียบัตร 0848023539 พระมหาชลธิชา ปทีโป
หมายเหตุ:
ประกาศนียบัตรประจำปีการศึกษาที่สอบใหม่ของทุกปี จัดส่งถึงสำนักเรียนต่างๆ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
ให้องค์กร/สถาบันสถานศึกษา ติดต่อขอรับกับสำนักเรียนที่ตนสังกัด
***ใบรับรองที่สำนักพุทธออกให้ทดแทน ใบประกาศนียบัตรที่หมด สามารถใช้แทนได้