วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประโยชน์ของการบวช

ประโยชน์ของการบวช
1. เป็นการทำหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน หมายความว่า พุทธศาสนิกชนจะช่วยรักษาพระพุทธศาสนาโดยรักษาพระธรรมวินัยให้
เจริญมั่นคง เพราะว่าพระพุทธศาสนาก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย ช่วยให้เขามีชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่ร่มเย็นเป็นสุข วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพระพุทธศาสนา ก็คือ การบวชเข้าไปเรียนรู้พระธรรมวินัย และรักษาถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่อกันไป เรียกว่า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

2. เป็นการทำหน้าที่ของคนไทย หมายความว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาอยู่ในสังคมไทย และได้กลายเป็นมรดกของชนชาติไทย คนไทยได้เห็นว่าพระพุทธศาสนาเป็นทรัพย์สมบัติที่มีค่าสูงสุดของประเทศชาติและสังคมของเราเพราะว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาแล้ว ก็ให้หลักธรรมคำสอน ทำให้คนประพฤติดีงามเป็นหลักให้แก่สังคม ทำให้สังคมอยู่กันได้ด้วยสันติสุข มีการเบียดเบียนกันน้อยลง ถ้ามีคนดีมากกว่าคนชั่วสังคมนี้ก็อยู่ได้ พระพุทธศาสนาได้ช่วยให้คนมากมายกลายเป็นคนดีขึ้นมา นอกจากนั้นพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม ตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา ดนตรีและศิลปะต่าง ๆ ก็มาจากวัดวาอาราม เป็นต้น

3. เป็นการสนองพระคุณบิดามารดา ดังที่ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครได้บวชลูกแล้ว ก็ได้บุญกุศลมาก ช่วยให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ ตลอดจนได้เป็นญาติของพระศาสนา แต่ถ้ามองความหมายให้ลึกซึ้งลงไปก็เป็นเรื่องความเป็นจริงของชีวิตจิตใจ กล่าวคือ การบวชเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้จิตใจของพ่อแม่มีความสุข มีความปลาบปลื้มใจ ด้วยความหวังว่าเมื่อลูกได้เข้าไปอยู่ในวัด ได้ศึกษาอบรมในพระธรรมวินัยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นคนดี จะรับผิดชอบชีวิตของตนเองได้ จะรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมได้ แล้วเกิดความมั่นใจ พ่อแม่ก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อลูกบวช ก็เท่ากับจูงพ่อแม่เข้ามาสู่พระศาสนาด้วย มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้เรียนรู้ธรรมะ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระศาสนา เรียกว่าเป็นญาติของพระศาสนาอย่างแท้จริง

4. เป็นการฝึกอบรมพัฒนาตนเอง คือการพัฒนาชีวิตทั้งในด้านความประพฤติ คือพฤติกรรมทางกาย วาจา และด้านจิตใจที่มี
ความดีงาม เข้มแข็ง มั่นคง เป็นสุข และในด้านปัญญาคือความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามความเป็นจริง

พิธีฉลองพระบวชใหม่

พิธีฉลองพระบวชใหม่
งานฉลองพระบวชใหม่ เป็นพิธีทาบุญฉลองกุลบุตร ผู้ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ในพระพุทธศาสนาเรียร้อยแล้ว สมัยก่อนนิยมจัด ๒ วัน คือ สวดมนต์เย็น เลี้ยงพระเช้า
เรียกกันว่า สวดมนต์ฉันเช้า ปัจจุบันนิยมจัดเพียงวันเดียว โดยจัดพิธีอุปสมบทในช่วงเช้า
นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ฉลองพระบวชใหม่ และถวายภัตตาหารเพล
พิธีฉลองพระบวชใหม่ มีระเบียบวิธีปฏิบัติเหมือนพิธีมงคลอื่น ๆ ข้างต้น อาจต่าง
กันบ้าง ในรายละเอียด ซึ่งการประกอบพิธีส่วนใหญ่เป็นเรื่องของพระบวชใหม่ กิจกรรมต่าง ๆ
จึงมุ่งเน้นพระบวชใหม่เป็นหลัก ดังนั้น ในวันฉลอง พระบวชใหม่จะเป็นผู้จุดธูปเทียนบูชา
พระรัตนตรัย พิธีกรนาไหว้พระกราบพระตามปกติ พระใหม่ไม่ต้องประนมมือตามคฤหัสถ์
ประธานสงฆ์ให้ศีล ก็ไม่ต้องรับศีล เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จึงประนมมือขึ้น
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ถึงบทพาหุง พระใหม่รับประเคนอาหารจากคฤหัสถ์นาไปตักบาตร
รับประเคนอาหารจากคฤหัสถ์ อีกครั้งหนึ่ง ถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ทาภัตตกิจเสร็จแล้ว
ถวายไทยธรรม กรวดน้ารับพร รับการประพรมน้ามนต์จากประธานสงฆ์ กราบลาพระรัตนตรัย
เป็นอันเสร็จพิธี

การอุปสมบท

การอุปสมบท
เมื่อกุลบุตรได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว จากนั้นสามเณรรับบาตรจากบิดา
มารดา อุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ วางบาตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายแด่
พระอุปัชฌาย์ กราบ ๓ ครั้ง ยืนหรือนั่งคุกเข่า ตามวิธีการบวชแบบ เอสาห หรือ อุกาสะประนมมือ กล่าวคา ขอนิสัย คือ การขออยู่เป็นศิษย์ของท่าน ต่อด้วยคาฝากตัวต่อพระอุปัชฌาย์
ซึ่งมีความหมายว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป พระอุปัชฌาย์เป็นภาระของพระบวชใหม่ในการ
ปรนนิบัติ แม้พระบวชใหม่ ก็เป็นภาระของพระอุปัชฌาย์ในการอบรมสั่งสอน จบแล้วกราบ
๓ ครั้ง
พระอุปัชฌาย์บอกฉายานามของท่าน คือ ชื่อในทางพระพุทธศาสนา บอกฉายานาม
ของสามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปสัมปทาเปกขะ คือ ตั้งชื่อให้ใหม่เมื่อเข้ามาบวช
ในพระศาสนาบอกชื่อบริขารสาคัญ ๔ อย่าง คือ บาตร สังฆาฏิ จีวร สบง จบแล้วพระสงฆ์
นาสายบาตรคล้องตัวสามเณร บอกให้สามเณรออกไปยืนนอกที่ประชุมสงฆ์
พระคู่สวด มีชื่อเรียกตามวิธีอุปสมบทว่า พระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์
สาหรับพระกรรมวาจาจารย์ มีพรรษามากกว่าพระอนุสาวนาจารย์ ทั้งสองรูปสวดสมมุติตน
แล้วออกไปสวดซักถามอันตรายิกธรรม คือ สิ่งเป็นข้อห้ามในการอุปสมบทถามนาม
พระอุปัชฌาย์ และนามผู้ขอบวช เบื้องหน้าอุปสัมปทาเปกขะ จบแล้วกลับเข้ามาสวดเรียก
อุปสัมปทาเปกขะ กลับเข้ามายังที่ประชุมสงฆ์ กราบพระสงฆ์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือ
เปล่งวาจาขออุปสมบท ๓ จบ ต่อหน้าพระสงฆ์ทุกรูป
สาดับนั้น พระอุปัชฌาย์เผดียงสงฆ์ให้รับรู้การเข้ามาขออุปสมบทของอุปสัมปทา
เปกขะ พระคู่สวดสมมุติตนสอบถามอันตรายิกธรรม ถามฉายาพระอุปัชฌาย์ ถามฉายา
อุปสัมปทาเปกขะต่อหน้าสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นผู้ขอบวชนั่งฟังการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา
อุปสมบทไปจนจบ นับจากนี้ไป ผู้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ ทรงศีล
๒๒๗ ข้อตามพระวินัย โดยไม่ต้องต่อศีลใหม่เหมือนศีลของสามเณร วิธีอุปสมบทนี้ เรียกว่า
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรเถระ
เป็นพระอุปัชฌาย์องค์แรก ทาการอุปสมบทราธพราหมณ์เป็นพระภิกษุรูปแรก ด้วยวิธีอุปสมบทนี้
เมื่อเสร็จการสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาแล้ว พระใหม่นาบาตรออกจากตัว กราบ ๓ ครั้ง
นั่งพับเพียบประนมมือ ฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ คือ คาสอนการปฏิบัติตนในเบื้องต้น
๘ ประการ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ นิสสัย ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ได้แก่ อาหาร
บิณฑบาต ผ้าบังสุกุลสาหรับนุ่งห่ม เสนาสนะสาหรับอยู่อาศัย ยารักษาโรค และอกรณียกิจ
ข้อห้ามไม่ให้ พระภิกษุกระทา รูปใดขืนกระทาลงไป ต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที จะกลับ
มาบวชอีกไม่ได้ ได้แก่ เสพเมถุน ฆ่าคนตายโดยเจตนา ลักขโมยทรัพย์ของคนอื่น เทียบเท่า
ราคาแต่ ๑ บาทขึ้นไป พูดอวดคุณวิเศษไม่มีในตน เพื่อหลอกลวงคนอื่นหวังจะได้ลาภสักการะเมื่อพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์จบ พระบวชใหม่รับว่า อามะ ภันเต กราบ ๓ ครั้ง เจ้าภาพ
ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา พระบวชใหม่และเจ้าภาพกรวดน้ารับพรจบแล้ว
พระสงฆ์และพระบวชใหม่กราบพระประธาน ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี
คาสาหรับเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว
บุคคลผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว มีสมัญญานามยกย่องหลายประการ โดยมีความหมาย
แตกต่างกันไป เช่น พระ มาจากคาว่า วร แปลว่า ผู้ประเสริฐ หมายถึงผู้ประเสริฐด้วยศีลภิกษุ
แปลได้ ๒ ความหมาย อย่างแรกแปลว่า ผู้ขอ คือ ดารงชีพอยู่ด้วยการรับอาหารบิณฑบาต
บางแห่งเรียก ออกโปรด หมายถึง ออกโปรดชาวบ้านให้ได้ทาบุญตักบาตร สร้างเสบียงบุญ
ให้ตน อีกอย่างหนึ่งแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร หมายถึง เห็นโทษการเวียนว่ายตายเกิด
ออกบวชเพื่อแสวงหาความหลุดพ้น เหมือนพระสาวกในอดีต บรรพชิต แปลตามศัพท์ว่า
บวชแล้ว เว้นแล้ว หมายถึง เป็นนักบวชประเภทหนึ่ง งดเว้นการทาบาปและความชั่วทั้งปวง
สมณะ แปลว่า ผู้สงบ หมายถึง สงบกาย สงบวาจา สงบใจ จากสิ่งยั่วยุให้เกิดกิเลสทั้งปวง
ประเพณีการบวชของพุทธศาสนิกชนชาวไทย เดิมนิยมให้บุตรหลานที่มีอายุครบ
๒๐ ปี เรียกว่า ครบบวช เข้ารับอุปสมบทอย่างน้อย ๑ พรรษา เพื่อศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติ
ตามพระวินัย จนมีคาพูดติดปากว่า บวชเรียน คนยังไม่ได้บวช เรียกว่า คนดิบ ไปขอลูกสาวใคร
พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะไม่เต็มใจยกลูกสาวให้ เมื่อบวชแล้วสึกออกมา เรียกว่า คนสุก หมายถึง
เป็นคนโดยสมบูรณ์ เรียกว่า ทิด ย่อมาจาก บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา หรือ ผู้ดาเนินชีวิต
ด้วยปัญญา แต่ปัจจุบันคนอุปสมบทแล้ว อยู่ครบพรรษา มีจานวนน้อย โดยมากบวชกันเพียง
๗ วัน ๑๕ วัน หรือเดือนหนึ่ง เป็นการบวชพอเป็นพิธี บวชไม่ทันได้ศึกษาเล่าเรียน ก็ลาสิกขาแล้ว
มีภาระการงานเป็นเหตุอ้าง ทาให้การบวชเปลี่ยนไปจากวัตถุประสงค์เดิม
วัตถุประสงค์การบวช
วัตถุประสงค์การบรรพชาและอุปสมบทมีมาแต่โบราณ เพื่อเป็นทายาททางพระศาสนา
ได้เล่าเรียนศึกษาและปฏิบัติธรรม ตอบแทนค่าน้านมและข้าวป้อนของพ่อแม่ เผยแผ่
พระศาสนารักษาประเพณีอันดีงามของชาวพุทธ ต่ออายุพระศาสนาให้คงอยู่สืบไป ตราบใด
ยังคงมีพระสงฆ์ พระพุทธศาสนายังดารงอยู่ ตราบนั้น จึงเปรียบจีวรของพระสงฆ์เป็นธงชัย

พระอรหันต์