แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พุทธประวัติชั้นโท แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พุทธประวัติชั้นโท แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

๑๘. สุขสามเณร

๑๘. สุขสามเณร
ในอดีตกาล สุขสามเณร เกิดเป็นคนบ้านนอก มีฐานะยากจน ครั้งหนึ่งได้เห็น
เศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อ คันธะ กาลังบริโภคอาหารอันมีรสเลิศ แวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อนรา
ก็อยากจะบริโภคและแวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อนราอย่างนั้นบ้าง เมื่อได้โอกาสจึงเล่าความคิด
ของตนให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ยินดีและจัดการให้ แต่มีข้อแม้ว่าเขาจะต้องรับจ้าง
ทางานในเรือนเศรษฐีเป็นเวลา ๓ ปี จึงจะได้อาหารอันมีรสเลิศอย่างนั้นหนึ่งถาด พร้อมทั้ง
แวดล้อมด้วยหญิงนักฟ้อนรา เขาตกลงตามเงื่อนไขที่เศรษฐียื่นเสนอ จึงไปสู่เรือนของเศรษฐี
ด้วยหมายใจว่า จะทาการรับจ้างตลอด ๓ ปี เพื่อประโยชน์แก่ถาดอาหารถาดหนึ่ง เขาเมื่อ
ทาการรับจ้างได้ทากิจทุกอย่างโดยเรียบร้อย การงานที่ควรทาในบ้าน ในป่า กลางวัน กลางคืน
ได้ปรากฏว่า เขาทาเสร็จเรียบร้อย
เมื่อมหาชนเรียกเขาว่า นายภัตตภติกะ คานั้นได้ปรากฏไปทั่วพระนคร กาลต่อมา
เมื่อวันรับจ้างของนายภัตตภติกะครบบริบูรณ์แล้ว พ่อครัวเรียนให้เศรษฐีทราบว่า นาย วัน
รับจ้างของนายภัตตภติกะครบบริบูรณ์แล้ว เขาทาการรับจ้างอยู่ตลอด ๓ ปี ทากรรมยาก
ที่คนอื่นจะทาได้แล้ว การงานแม้สักอย่างหนึ่งก็ไม่เคยเสียหาย
ครั้งนั้น ท่านเศรษฐีได้สั่งจ่ายทรัพย์ ๓ พัน แก่พ่อครัวนั้น คือ สองพันเพื่อประโยชน์
แก่อาหารเย็นและอาหารเช้าของตน พันหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้าของนายภัตตภติกะ
นั้น แล้วสั่งคนใช้ว่า วันนี้ พวกเจ้าจงทาการบริหารที่พึงทาแก่เรา แก่นายภัตตภติกะนั้นเถิด
เมื่อได้เวลาอาหารเช้า พวกนักฟ้อนได้ยืนล้อมนายภัตตภติกะนั้น พวกคนใช้ยกถาดอาหาร
ถาดหนึ่งตั้งไว้ข้างหน้าของนายภัตตภติกะนั้นแล้ว
ครั้งนั้น ในขณะที่นายภัตตภติกะล้างมือ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์
ออกจากสมาบัติในวันที่ ๗ แล้ว ใคร่ครวญอยู่ว่า วันนี้ เราจะไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกขาจารใน
ที่ไหนหนอ ก็ได้เห็นนายภัตตภติกะแล้ว ครั้งนั้น ท่านพิจารณาต่อไปอีกว่า นายภัตตภติกะนี้
ทาการรับจ้างถึง ๓ ปี จึงได้ถาดอาหาร ศรัทธาของเขามีหรือไม่หนอ ใคร่ครวญไปก็ทราบได้
ว่า ศรัทธาของเขามีอยู่ คิดไปอีกว่า คนบางพวกถึงมีศรัทธาก็ไม่อาจเพื่อทาการสงเคราะห์ได้
นายภัตตภติกะนี้อาจหรือไม่หนอเพื่อจะทาการสงเคราะห์เรา ก็รู้ว่า นายภัตตภติกะอาจ
ทีเดียว ทั้งจะได้มหาสมบัติเพราะอาศัยเหตุคือการสงเคราะห์แก่เราด้วย ดังนี้แล้ว จึงห่มจีวร
ถือบาตร เหาะขึ้นสู่เวหาสไปโดยระหว่างบริษัท แสดงตนยืนอยู่ข้างหน้าแห่งนายภัตตภติกะนั้นนายภัตตภติกะเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า คิดว่า เราได้ทาการรับจ้างในเรือนคนอื่นถึง
๓ ปี ก็เพื่อประโยชน์แก่ถาดอาหารถาดเดียว เพราะความที่เราไม่ได้ให้ทานในกาลก่อน บัดนี้
อาหารนี้ของเราพึงรักษาเราก็เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง ถ้าเราถวายอาหารนั้นแก่พระคุณเจ้า
อาหารจะรักษาเราไว้มิใช่พันโกฏิกัลป์เดียว เราจะถวายอาหารนั้นแก่พระคุณเจ้า
นายภัตตภติกะนั้นทาการรับจ้างตลอด ๓ ปี ได้ถาดอาหารแล้ว ไม่ทันวางอาหาร
แม้ก้อนเดียวในปากเพื่อบรรเทาความอยากได้ ยกถาดอาหารขึ้นเดินไปสู่สานักของ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ให้ถาดในมือของคนอื่นแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอามือซ้ายจับ
ถาดอาหาร เอามือขวาเกลี่ยอาหารลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้เอามือปิดบาตรเสียในเวลาที่อาหารยังเหลืออยู่กึ่งหนึ่ง
ครั้งนั้น นายภัตตภติกะนั้นเรียนท่านว่า ท่านขอรับ อาหารส่วนเดียวเท่านั้นผมไม่
อาจเพื่อจะแบ่งเป็น ๒ ส่วนได้ ท่านอย่าสงเคราะห์ผมในโลกนี้เลย ขอจงทาการสงเคราะห์
ในปรโลกเถิด ผมจะถวายทั้งหมดทีเดียว ไม่ให้เหลือ
จริงอยู่ ทานที่บุคคลถวายไม่เหลือไว้เพื่อตนแม้แต่น้อยหนึ่ง ชื่อว่าทานไม่มีส่วนเหลือ
ทานนั้นย่อมมีผลมาก นายภัตตภติกะนั้น เมื่อทาอย่างนั้นจึงได้ถวายหมด ไหว้อีกแล้ว เรียนว่า
ท่านขอรับ ผมอาศัยถาดอาหารถาดเดียว ต้องทาการรับจ้างในเรือนของคนอื่นถึง ๓ ปี
ได้เสวยทุกข์แล้ว บัดนี้ ขอความสุขจงมีแก่กระผมในที่ที่บังเกิดแล้วเถิด ขอกระผมพึงมีส่วน
แห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ขอจงสมคิดเหมือนแก้วสารพัดนึก ความดาริอันให้
ความใคร่ทุกอย่างจงบริบูรณ์แก่ท่าน เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น
เมื่อจะทาอนุโมทนา จึงกล่าวว่า
สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสาเร็จพลันทีเดียว ความดาริทั้งปวง จงเต็มเหมือน
พระจันทร์เพ็ญ สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสาเร็จพลันทีเดียว ความดาริทั้งปวง จงเต็ม
เหมือนแก้วมณีโชติรส ฉะนั้น
ในกาลต่อมา แม้พระราชาทรงสดับกรรมที่นายภัตตภติกะนี้ทาแล้ว จึงได้รับสั่งให้เรียก
เข้ามาเฝ้า แล้วพระราชทานทรัพย์ให้พันหนึ่ง ทรงรับส่วนบุญ ทรงพอพระทัย พระราชทาน
โภคะเป็นอันมาก แล้วก็ได้พระราชทานตาแหน่งเศรษฐีให้ เขาได้มีชื่อว่า ภัตตภติกเศรษฐี
ภัตตภติกเศรษฐีนั้นเป็นสหายกับคันธเศรษฐี กินดื่มร่วมกัน ดารงอยู่ตลอดอายุแล้ว จุติจาก
อัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ ๑ พุทธันดรในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ในเมือง
สาวัตถี ครั้งนั้น มารดาของทารกนั้นได้ครรภบริหารแล้ว โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ก็เกิดแพ้ท้องว่า
โอหนอ เราถวายโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดแก่พระสารีบุตรเถระพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป นุ่งผ้า
ย้อมฝาดแล้ว ถือขันทองนั่งอยู่ ณ ท้ายอาสนะ พึงบริโภคอาหารที่เหลือเดนของภิกษุทั้งหลาย
นั้น ดังนี้แล้ว ทาตามความคิดนั้น บรรเทาความแพ้ท้องแล้ว
นางแม้ในกาลมงคลอื่น ๆ ถวายทานอย่างนั้นเหมือนกัน คลอดบุตรแล้ว ในวันตั้งชื่อ
จึงเรียนพระเถระว่า จงให้สิกขาบทแก่ลูกชายของฉันเถิด ท่านผู้เจริญ
พระเถระถามว่า เด็กนั้นชื่อไร
เมื่อมารดาของเด็กเรียนว่า ท่านผู้เจริญ จาเดิมแต่ลูกชายของฉันถือปฏิสนธิ ขึ้นชื่อ
ว่าทุกข์ ไม่เคยมีแก่ใครในเรือนนี้ เพราะฉะนั้น คาว่า สุขกุมาร นั่นแล ควรเป็นชื่อของเด็กนั้น
จึงถือเอาคานั้น เป็นชื่อของเด็กนั้น ได้ให้สิกขาบทแล้ว
ในกาลนั้น ความคิดได้เกิดแก่มารดาของเด็กนั้นอย่างนี้ว่า เราจะไม่ทาลายอัธยาศัย
ของลูกชายเรา แม้ในกาลมงคลทั้งหลาย มีมงคลเจาะหูเป็นต้น นางก็ได้ถวายทานอย่างนั้น
เหมือนกัน
ฝ่ายกุมาร ในเวลามีอายุ ๗ ขวบ ก็พูดว่า คุณแม่ ผมอยากออกบวชในสานักของ
พระเถระ นางตอบว่า ดีละ พ่อแม่จะไม่ทาลายอัธยาศัยของเจ้า ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระ
ให้ท่านฉันแล้ว ก็เรียนว่า ท่านผู้เจริญ ลูกชายของฉันอยากบวช ในเวลาเย็น จะนาเด็กนี้ไปสู่
วิหาร ส่งพระเถระไปแล้ว ให้ประชุมพวกญาติ กล่าวว่า ในเวลาที่ลูกชายของฉันเป็นคฤหัสถ์
พวกเราทากิจที่ควรทาในวันนี้แหละ ดังนี้แล้ว จึงแต่งตัวลูกชายนาไปวิหาร ด้วยสิริโสภาค
อันใหญ่ แล้วมอบถวายแก่พระเถระ
ฝ่ายพระเถระกล่าวกับสุขกุมารนั้นว่า พ่อ ธรรมดาการบวช ทาได้โดยยาก เจ้าอาจ
เพื่ออภิรมย์หรือ เมื่อสุขกุมารตอบว่า ผมทาตามโอวาทของท่าน ขอรับ จึงให้กัมมัฏฐาน
ให้บวชแล้ว
แม้มารดาบิดาของสุขกุมารนั้น เมื่อทาสักการะในการบวช ก็ถวายโภชนะมีรส
๑๐๐ ชนิดแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานในภายในวิหารนั่นเองตลอด ๗ วัน
ในเวลาเย็นจึงได้ไปสู่เรือนของตน
ในวันที่ ๘ พระสารีบุตรเถระ เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ทากิจที่ควร
ทาในวิหารแล้ว จึงให้สามเณรถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตขณะเดินไปนั้น ทั้งสองพระเถระและสามเณรก็ได้ไปพบชาวนากาลังไขน้าเข้านา
ไปพบช่างสรกาลังดัดลูกศร และไปพบช่างถากกาลังถากไม้เพื่อทาล้อเกวียนเป็นต้น เมื่อเห็น
บุคคลทาสิ่งเหล่านี้ สุขสามเณรได้เรียนถามพระสารีบุตรว่า สิ่งของที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย
คนสามารถทาให้เป็นไปตามปรารถนาได้ใช่หรือไม่ เมื่อพระเถระตอบว่าใช่ สุขสามเณรก็เกิด
ความคิดว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่คนเราถึงจะไม่สามารถฝึกจิตจนได้สมาธิ
และปัญญา สุขสามเณรจึงลาพระสารีบุตรเดินทางกลับวัดก่อน
ครั้งนั้น พระเถระให้ลูกกุญแจแก่สามเณรแล้ว ก็เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต สามเณรนั้น
ไปวิหารแล้ว เปิดห้องของพระเถระเข้าไป ปิดประตู นั่งหยั่งญาณลงในกายของตน
ด้วยเดชแห่งคุณของสามเณรนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะ
พิจารณาดูว่า นี้เหตุอะไรหนอ เห็นสามเณรแล้ว ทรงดาริว่า สุขสามเณรถวายจีวรแก่
อุปัชฌาย์แล้ว กลับวิหารด้วยคิดว่า จะทาสมณธรรม ควรที่เราจะไปในที่นั้น จึงรับสั่งให้เรียก
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ แล้วทรงส่งไปด้วยดารัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงไป จงไล่นกที่มี
เสียงเป็นโทษใกล้ป่าแห่งวิหารให้หนีไป
ท้าวมหาราชทั้งหลาย กระทาตามนั้นแล้ว ก็พากันรักษาอยู่โดยรอบ
ท้าวสักกะทรงบังคับพระจันทร์และพระอาทิตย์ว่า พวกท่านจงยึดวิมานของตนๆ
หยุดก่อน แม้พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็กระทาตามนั้น
แม้ท้าวสักกะเอง ก็ทรงรักษาอยู่ที่สายยู วิหารสงบเงียบ ปราศจากเสียง
สามเณรเจริญวิปัสสนาด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง บรรลุมรรคและผล ๓ แล้ว
พระเถระอันสามเณรกล่าวว่า ท่านพึงนาโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดมา ดังนี้แล้ว ก็คิดว่า
อันเราอาจเพื่อได้ในตระกูลของใครหนอ พิจารณาดูอยู่ ก็เห็นตระกูลอุปัฏฐากผู้สมบูรณ์ด้วย
อัธยาศัยตระกูลหนึ่ง จึงไปในตระกูลนั้น อันชนเหล่านั้นมีใจยินดีว่า ท่านผู้เจริญ ความดีอัน
ท่านผู้มาในที่นี้ในวันนี้กระทาแล้ว รับบาตรนิมนต์ให้นั่ง ถวายยาคูและของขบฉัน อันเขาเชิญ
กล่าวธรรมชั่วเวลาภัต จึงกล่าวสาราณียธรรมกถาแก่ชนเหล่านั้น กาหนดกาล ยังเทศนา
ให้จบแล้ว
คราวนั้น ชนทั้งหลายจึงถวายโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดแก่พระเถระ เห็นพระเถระรับ
โภชนะแล้วประสงค์จะกลับ จึงเรียนว่า ฉันเถิดขอรับ พวกผมถวายโภชนะแม้อื่นอีก ให้พระเถระ
ฉันแล้ว ก็ถวายจนเต็มบาตรอีกพระเถระรับโภชนะแล้วก็รีบไปวิหาร ด้วยคิดว่า สามเณรของเราคงหิว
วันนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จออกประทับนั่งในพระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่ ทรงราพึงว่า วันนี้
สุขสามเณรส่งบาตรและจีวรของอุปัชฌาย์แล้ว กลับไปแล้วตั้งใจว่า จะทาสมณธรรม กิจของ
เธอสาเร็จแล้วหรือ พระองค์ทรงเห็นความที่มรรคผลทั้ง ๓ อันสามเณรบรรลุแล้ว จึงทรง
พิจารณาแม้ยิ่งขึ้นไปว่า สุขสามเณรนี้อาจไหมหนอ เพื่อบรรลุพระอรหัตผลในวันนี้ ส่วนพระ
สารีบุตรรับภัตแล้ว ก็รีบออกด้วยคิดว่า สามเณรของเราคงหิว ถ้าเมื่อสามเณรยังไม่บรรลุ
อรหัตผล พระสารีบุตรนาภัตมาก่อน อันตรายก็จะมีแก่สามเณรนี้ ควรเราไปยึดอารักขาอยู่ที่
ซุ้มประตู
ครั้นทรงดาริแล้ว จึงเสด็จออกจากคันธกุฎี ประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตู
ฝ่ายพระเถระก็นาภัตมา ครั้งนั้น พระพุทธองค์ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกับพระเถระนั้น
ในที่สุดแห่งการวิสัชนาปัญหา สามเณรก็บรรลุอรหัตผล
พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า สารีบุตรจงไปเถิด จงให้ภัตแก่สามเณร
ของเธอ พระเถระไปถึงแล้วจึงเคาะประตู สามเณรออกมาทาวัตรแก่อุปัชฌาย์แล้ว
เมื่อพระเถระบอกว่า จงทาภัตกิจ ก็รู้ว่าพระเถระไม่มีความต้องการด้วยภัต เป็นเด็ก
มีอายุ ๗ ขวบ บรรลุพระอรหัตผลในขณะนั้นนั่นเอง ตรวจตราดูที่นั่งอันต่า ทาภัตกิจแล้ว
ก็ล้างบาตร
ในกาลนั้น ท้าวมหาราช ๔ องค์ ก็พากันเลิกการรักษา ถึงพระจันทร์พระอาทิตย์
ก็ปล่อยวิมาน แม้ท้าวสักกะก็ทรงเลิกอารักขาที่สายยู พระอาทิตย์ปรากฏคล้อยเลยท่ามกลาง
ฟ้าไปแล้ว
ภิกษุทั้งหลายพากันพูดว่า กาลเย็นปรากฏ สามเณรเพิ่งทาภัตกิจเสร็จเดี๋ยวนี้เอง
ทาไมหนอ วันนี้เวลาเช้าจึงมาก เวลาเย็นจึงน้อย
พระพุทธเจ้าเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า พระเจ้าข้า วันนี้ เวลาเช้ามาก เวลาเย็นน้อย สามเณร
เพิ่งฉันภัตเสร็จเดี๋ยวนี้เอง ก็แลเป็นไฉน พระอาทิตย์จึงปรากฏคล้อยเคลื่อนท่ามกลางฟ้าไป
จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาทาสมณธรรมของผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นเช่นนั้น ก็ในวันนี้
ท้าวมหาราช ๔ องค์ยึดอารักขาไว้โดยรอบ พระจันทร์และพระอาทิตย์ได้ยึดวิมานหยุดอยู่
ท้าวสักกะทรงยึดอารักขาที่สายยู ถึงเราก็ยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตูวันนี้ สุขสามเณรเห็นคนไขน้าเข้าเหมือง ช่างศรดัดศรให้ตรง ช่างถาก ถากทัพ
สัมภาระทั้งหลาย มีล้อเป็นต้นแล้ว ฝึกตน บรรลุอรหัตผลแล้ว ดังนี้

๑๗. สังกิจจสามเณร

๑๗. สังกิจจสามเณร
สังกิจจสามเณร เป็นบุตรของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ในขณะที่อยู่ในท้อง
มารดานั่นเอง มารดาได้เสียชีวิตลง ญาติพี่น้องจึงนานางไปเผา ในขณะที่ไฟกาลังไหม้ร่างกาย
ของนางอยู่นั้น เป็นอัศจรรย์ที่ไฟไม่ไหม้ส่วนท้อง พวกสัปเหร่อได้ใช้หลาวเหล็กแทงส่วน
ท้องที่ไฟไหม้นั้นเสร็จแล้วก็กลบด้วยถ่านเพลิง ปลายหลาวเหล็กได้ไปกระทบที่หางตาของทารกนั้นพอดี พอกลบถ่านเพลิงเข้ากับส่วนที่ยังไม่ไหม้แล้วก็พากันกลับบ้านด้วยหวังว่าพรุ่งนี้
ค่อยมาดับไฟเก็บอัฐิ ไฟได้ไหม้ร่างกายของมารดาจนหมดสิ้น เว้นไว้เฉพาะทารกน้อยเท่านั้น
ที่รอดชีวิตอยู่ได้อย่างปาฏิหาริย์เหมือนกับนอนอยู่ในกลีบบัว ไฟไม่ได้ทาอันตรายใด ๆ เลย
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ที่เกิดในภพสุดท้าย ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหันต์แล้ว อะไรก็ไม่สามารถ
ทาให้เสียชีวิตได้
เช้าวันรุ่งขึ้น พวกสัปเหร่อมาดับไฟเห็นเด็กเพศชายนอนอยู่โดยปราศจากอันตราย
ก็อัศจรรย์ใจ อุ้มกลับบ้านไปให้พวกหมอทานายชีวิตดู หมอทานายไว้ ๒ ด้านคือ ถ้าเด็กอยู่
ครองเรือน พวกเครือญาติ ๗ ชั่วโคตรจะไม่ยากจน ถ้าออกบวชจะมีพระ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร
แวดล้อม พวกญาติจึงตั้งชื่อให้ว่าสังกิจจะ เพราะหางตาเป็นแผลเนื่องจากถูกหลาวเหล็ก
สังกิจจกุมารมีอายุได้ ๗ ขวบ เมื่อทราบประวัติของตนเองจากปากของเด็กเพื่อนบ้าน
ก็ปรารถนาจะบวช พวกญาติจึงพาไปขอบวชในสานักพระสารีบุตร ในวันบวช พระเถระ
ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้วให้บวช สามเณรได้บรรลุอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในขณะ
ที่ปลงผมเสร็จนั้นเอง
สมัยนั้น มีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีประมาณ ๓๐ คน ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว
มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงขอบวช เมื่อบวชได้ ๕ พรรษา เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน
จากพระพุทธเจ้าแล้ว มีความประสงค์จะพากันไปปฏิบัติธรรม ณ ป่าแห่งหนึ่ง จึงพากันมาทูลลา
พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เห็นภัยอย่างหนึ่งจะเกิดแก่ภิกษุเหล่านี้ เกรงว่าจะไม่บรรลุธรรม
มีสังกิจจสามเณรเท่านั้นที่จะช่วยเหลือพระเหล่านี้ได้ พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุเหล่านั้นไป
อาลาพระสารีบุตรก่อนแล้วค่อยไป
พวกภิกษุได้ไปลาพระสารีบุตร พระเถระทราบความนัยจึงเอ่ยปากมอบสังกิจจ
สามเณรให้ไปด้วย พวกภิกษุปฏิเสธเกรงว่าจะเป็นภาระไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม พระเถระจึงบอกให้
ทราบว่า สามเณรนี้จะไม่เป็นภาระแก่พวกเธอ พวกเธอต่างหากจะเป็นภาระแก่สามเณร
พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ดีจึงส่งพวกเธอมาลาเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกภิกษุจึงจาเป็นต้อง
พาสามเณรไปด้วย รวมกันเป็น ๓๑ รูป อาลาพระเถระแล้วก็ออกเดินทางไป
เดินทางถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พวกชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธา จึงนิมนต์ให้อยู่
จาพรรษาพร้อมรับปากจะพากันอุปถัมภ์บารุงตลอดพรรษา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงรับนิมนต์
ในวันเข้าพรรษา พวกภิกษุได้ตั้งกติกากันไว้ว่า ยกเว้นเวลาเช้าบิณฑบาตและเวลา
เย็นบารุงพระเถระเท่านั้น เวลาที่เหลือให้ปฏิบัติธรรมห้ามอยู่ด้วยกัน ๒ รูป ต้องบรรลุธรรมให้ได้ภายในพรรษานี้ ถ้ารูปใดไม่สบายพึงตีระฆังบอก พวกเราจะมาปรุงยาถวาย เมื่อทา
กติกาตกลงกันอย่างนี้แล้ว ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรม
ต่อมาวันหนึ่ง มีชายยากไร้คนหนึ่ง หนีภัยแล้งมาจากต่างเมืองหวังจะไปขอพึ่งพา
ลูกสาวอีกเมืองหนึ่ง เดินผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นด้วยอาการอิดโรย ขณะนั้นพวกพระภิกษุได้
กลับมาจากบิณฑบาตกาลังจะฉันเช้า พอดีพบเข้าจึงสอบถาม เมื่อทราบเรื่องแล้วเกิดความ
สงสารเขาที่ไม่ได้กินข้าวมาหลายวันแล้ว จึงบอกให้ไปหาใบไม้มาจะแบ่งอาหารให้
ธรรมเนียมของพระสงฆ์อย่างหนึ่งก็คือ ภิกษุเมื่อจะให้อาหารแก่ผู้มาในเวลาฉัน
ไม่ให้อาหารที่เป็นยอด พึงให้มากบ้างน้อยบ้าง เท่ากับส่วนที่จะฉันเอง
ชายยากไร้หลังกินข้าวอิ่มแล้วก็สอบถามพวกท่านว่า
มีกิจนิมนต์หรือไร พระคุณเจ้าจึงได้อาหารมากมายขนาดนี้
ไม่มีหรอกโยม เป็นเรื่องปกติของที่นี่ พวกภิกษุตอบ
เขาคิดว่า เราทางานแทบตายก็ไม่ได้กินอาหารดีเช่นนี้ จะไปอยู่ทาไมที่อื่น อยู่อาศัย
กับพระพวกนี้ สบายดีกว่า จึงขออาศัยอยู่ทาวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากพระสงฆ์ด้วย พวกพระภิกษุ
ก็อนุญาต เขาขยันทางานช่วยเหลือพระภิกษุเหล่านั้นเป็นอย่างดี
เวลาผ่านไป ๒ เดือน ชายยากไร้นั้นอยู่สุขสบายดีตลอดมา ต่อมาคิดถึงลูกสาว
จึงแอบหนีออกจากที่พักสงฆ์ไปโดยไม่บอกกล่าวอาลาแก่ผู้ใด เพราะเกรงว่าพระสงฆ์จะไม่
อนุญาต
หนทางที่ชายยากไร้นั้นไปจะต้องผ่านดงใหญ่แห่งหนึ่ง ในดงนั้นมีโจร ๕๐๐ คน
ได้บนบานเทวดาว่าจะถวายพลีกรรมในวันที่ ๗ พอดี เมื่อชายยากไร้นั้นเดินผ่านเข้าไป
กลางดงก็ถูกพวกโจรจับตัวมัดไว้เตรียมที่จะทาพิธีพลีกรรมแก่เทวดา
เขาตกใจกลัวตาย ได้ร้องขอชีวิตไว้และเสนอว่า เขาเป็นคนยากไร้ เทวดาอาจจะไม่
ชอบใจ พวกภิกษุเป็นผู้มีศีลสกุลสูง เทวดาท่านคงจะชอบใจ ไปจับพวกภิกษุมาทาพลีกรรม
จะดีกว่า พวกโจรเห็นดีด้วยจึงให้เขาพาไปที่พักสงฆ์
เขาได้พาพวกโจรไปที่สานักสงฆ์แล้วตีระฆัง พวกภิกษุเมื่อได้ยินเสียงระฆังเข้าใจว่า
มีภิกษุไม่สบายก็มารวมกันที่ศาลา หัวหน้าโจรจึงประกาศให้ทราบว่าต้องการภิกษุ ๑ รูป
เพื่อไปทาพลีกรรมพระทั้ง ๓๐ รูป ต่างอาสาไปตายทั้งสิ้น ตกลงกันไม่ได้ สังกิจจสามเณรจึงขออาสา
ไปเอง พวกภิกษุไม่ยอม เพราะสามเณรเป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรฝากมา เกรงว่าพระเถระ
จะติเตียนได้ สามเณรจึงบอกให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์ให้ตนมาก็เพื่อมา
แก้ปัญหานี้เอง จึงยกมือไหว้พวกภิกษุ เดินตามพวกโจรไป
พวกภิกษุซึ่งยังเป็นปุถุชนต่างก็ร้องไห้สงสารสามเณรพร้อมกับกาชับหัวหน้าโจรว่า
ในช่วงที่พวกท่านตระเตรียมสิ่งของ ขอให้นาสามเณรไปไว้ที่อื่นก่อน สามเณรจะกลัว
หัวหน้าโจรได้นาสามเณรไปที่ดงนั้นแล้วทาตามพวกภิกษุสั่งไว้ เมื่อตระเตรียมทุก
อย่างเสร็จแล้ว หัวหน้าโจรได้ถือดาบเดินเข้าไปหาสามเณรหวังจะตัดคอ สามเณรได้นั่ง
เข้าฌานนิ่งอยู่ พอไปถึงหัวหน้าโจรก็ฟันลงเต็มแรงปรากฏว่าดาบงอ เขาเข้าใจว่าฟันไม่ดี
จึงยกดาบขึ้นฟันใหม่ ปรากฏว่าดาบพับม้วนจนถึงด้าม
หน้าโจรเห็นปาฏิหาริย์เช่นนี้เกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักคิดว่า ดาบเราฟันหินยังขาด
แต่บัดนี้ ได้งอพับดังใบตาล ดาบนี้ไม่มีจิตใจยังรู้คุณของสามเณร เรามีจิตใจยังไม่สานึกเสียอีก
ได้ทิ้งดาบลงดินแล้วคุกเข่าลงกราบสามเณรพร้อมถามว่า เณรน้อย คนเป็นพันเห็น
พวกผมแล้วต้องตัวสั่นวิ่งหนีไป แต่สาหรับท่านแล้วแม้เพียงความสะดุ้งแห่งจิตก็มิได้มีเลย
หน้าตาก็ผุดผ่องแจ่มใส ทาไมท่านจึงไม่ร้องขอชีวิตเล่า
สามเณรออกจากฌานแล้วแสดงธรรมแก่หัวหน้าโจรว่า โยม ธรรมดาอัตภาพของ
พระอรหันต์ เป็นเหมือนของหนักวางอยู่บนศีรษะ พระอรหันต์เมื่ออัตภาพนี้แตกไปย่อมยินดี
พระอรหันต์จึงไม่กลัวตาย ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ ผู้ไม่มีความห่วงใย ผู้ก้าวล่วง
ทุกอย่างได้แล้ว หัวหน้าโจรพอได้ฟังคาสามเณรแล้ว พร้อมลูกน้องทั้งหมดได้ไหว้สามเณร
แล้วขอบวช
สามเณรได้ตัดผมและชายผ้าด้วยดาบของโจรเหล่านั้นแล้วให้บวชเป็นสามเณร
ถือศีล ๑๐ เสร็จแล้วได้พาสามเณรเหล่านั้นกลับไปยังที่พักสงฆ์ ให้พวกภิกษุทราบความ
ปลอดภัยของตน แล้วได้อาลาพวกภิกษุพาสามเณรเหล่านั้นไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาว่า ผู้มีศีลแม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ยังประเสริฐ
กว่าการทาโจรกรรม ไม่มีศีล มีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ในเวลาจบพระธรรมเทศนา สามเณร
เหล่านั้นได้บรรลุพระอรหันต์ทั้งหมด

๑๖. บัณฑิตสามเณร

๑๖. บัณฑิตสามเณร
ในอดีตกาล บัณฑิตสามเณร เกิดเป็นชายเข็ญใจ ชื่อมหาทุคคตะ ด้วยอานิสงส์
แห่งทาน มีการถวายภัตตาหารประกอบด้วยรสปลาตะเพียนเป็นต้นแด่พระกัสสปพุทธเจ้า
พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานทรัพย์สมบัติมากมาย และสถาปนาเขาไว้ในตาแหน่งเศรษฐี
อย่างเป็นทางการ แม้เบื้องหน้าแต่นั้น เขาดารงอยู่ บาเพ็ญบุญจนตลอดอายุ ในที่สุดอายุได้
บังเกิดในเทวโลกเสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากนั้นแล้วถือ
ปฏิสนธิในท้องธิดาคนโตในตระกูลอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ในกรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น มารดาบิดาของนางรู้ว่านางตั้งครรภ์ จึงได้ให้เครื่องบริหารครรภ์ โดยสมัยอื่น
นางเกิดแพ้ท้องเห็นปานนี้ว่า โอ้ เราพึงถวายทานแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ตั้งต้นแต่พระธรรม
เสนาบดี ด้วยรสปลาตะเพียนแล้วนุ่งผ้าย้อมน้าฝาดนั่งในที่สุดอาสนะ บริโภคภัตที่เป็นเดน
ของภิกษุเหล่านั้น
นางบอกแก่มารดาบิดาแล้วก็ได้กระทาตามประสงค์ ความแพ้ท้องระงับไปแล้ว
ต่อมา ในงานมงคล ๗ ครั้งแม้อื่นจากนี้ มารดาบิดาของนางเลี้ยงภิกษุ ๕๐๐ รูป
มีพระธรรมเสนาบดีเถระเป็นประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนเหมือนกัน
ก็ในวันตั้งชื่อ เมื่อมารดาของเด็กนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้สิกขาบท
ทั้งหลายแก่ทาสของท่านเถิด
พระเถระถามว่า เด็กนี้ชื่ออะไร
มารดาของเด็กตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนเงอะงะในเรือนนี้ แม้พวกพูดไม่ได้เรื่อง
ก็กลับเป็นผู้ฉลาดตั้งแต่กาลที่เด็กนี้ถือปฏิสนธิในท้อง เพราะฉะนั้น บุตรของดิฉันควรมีชื่อว่า
หนูบัณฑิต เถิด
พระเถระได้ให้สิกขาบททั้งหลายแล้ว ก็ตั้งแต่วันที่หนูบัณฑิตเกิดมา ความคิดเกิดขึ้น
แก่มารดาของเขาว่า เราจะไม่ทาลายอัธยาศัยของบุตรเรา ในเวลาที่เขามีอายุได้ ๗ ขวบ
เขากล่าวกับมารดาว่า ผมขอบวชในสานักพระเถระ นางกล่าวว่า ได้ พ่อคุณ แม่ได้นึกไว้เสมอ
อย่างนี้ว่า จะไม่ทาลายอัธยาศัยของเจ้า ดังนี้แล้วจึงนิมนต์พระเถระให้ฉันแล้วกล่าวว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ทาสของท่านอยากจะบวช ดิฉันจะนาเด็กนี้ไปวิหารในเวลาเย็น ส่งพระเถระไป
แล้ว ให้หมู่ญาติประชุมกัน กล่าวว่า พวกข้าพเจ้าจะทาสักการะที่ควรทาแก่บุตรของข้าพเจ้า
ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ในวันนี้ทีเดียว ดังนี้แล้ว ก็ให้ทาสักการะมากมาย พาหนูบัณฑิตนั้นไปสู่
วิหาร ได้มอบถวายแก่พระเถระว่า ขอท่านจงให้เด็กนี้บวชเถิด เจ้าข้าพระเถระบอกความที่การบวชเป็นกิจทาได้ยากแล้ว เมื่อเด็กรับรองว่า ผมจะทาตาม
โอวาทของท่านขอรับ จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จงมาเถิด ชุบผมให้เปียกแล้วบอกตจปัญจก-
กัมมัฏฐานให้บวชแล้ว
แม้มารดาบิดาของบัณฑิตสามเณรนั้นอยู่ในวิหารสิ้น ๗ วัน ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนอย่างเดียว ในวันที่ ๗ เวลาเย็นจึงได้ไปเรือน
ในวันที่ ๘ พระเถระเมื่อจะไปภายในบ้าน พาสามเณรนั้นไป ไม่ได้ไปกับหมู่ภิกษุ
เพราะเหตุไร
เพราะว่า การห่มจีวรและถือบาตรหรืออิริยาบถของเธอยังไม่น่าเลื่อมใสก่อน
อีกอย่างหนึ่ง วัตรที่พึงทาในวิหารของพระเถระยังมีอยู่
อนึ่ง พระเถระ เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไปภายในบ้านแล้ว เที่ยวไปทั่ววิหาร กวาดสถานที่
ที่ยังไม่ได้กวาด ตั้งน้าฉันน้าใช้ไว้ภายในภาชนะที่ว่างเปล่า เก็บเตียงตั่งเป็นต้นที่ยังเก็บไว้
ไม่เรียบร้อยแล้ว จึงเข้าไปบ้านภายหลัง อีกอย่างหนึ่ง ท่านคิดว่า พวกเดียรถีย์เข้าไปยังวิหาร
ว่างแล้ว อย่าได้พูดว่า ดูเถิด ที่นั่งของพวกสาวกพระสมณโคดม ดังนี้แล้ว จึงได้จัดแจงวิหาร
ทั้งสิ้น เข้าไปบ้านภายหลัง เพราะฉะนั้น แม้ในวันนั้น พระเถระให้สามเณรถือบาตรและจีวร
เข้าไปบ้านสายหน่อย
บัณฑิตสามเณรได้ไปบิณฑบาตกับพระสารีบุตรเถระ ระหว่างทางเห็นคนชักน้า
จากเหมือง เกิดสงสัยจึงถามว่า น้ามีจิตใจหรือไม่ พระเถระตอบว่า น้าไม่มีจิตใจ สามเณร
จึงคิดว่า เมื่อคนสามารถชักน้าซึ่งไม่มีจิตใจไปสู่ที่ที่ตนเองต้องการได้ แต่เหตุใดจึงไม่สามารถ
บังคับจิตให้อยู่ในอานาจได้
เดินต่อไป ได้เห็นคนกาลังถากไม้ทาเกวียนอยู่ ถึงถามว่า ไม้นั้นมีจิตใจหรือไม่
เมื่อพระเถระตอบว่า ไม้ไม่มีจิตใจ สามเณรจึงคิดว่า คนสามารถนาท่อนไม้ที่ไม่มีจิตใจมาทา
เป็นล้อได้ แต่ทาไมไม่สามารถบังคับจิตใจได้
เดินต่อไป ได้เห็นคนกาลังใช้ไฟลนลูกศรเพื่อจะดัดให้ตรงจึงถามว่า ลูกศรนั้นมีจิตใจ
หรือไม่ เมื่อพระเถระตอบว่า ลูกศรไม่มีจิตใจ สามเณรจึงคิดว่า คนสามารถดัดลูกศรให้ตรงได้
แต่ทาไมไม่สามารถบังคับจิตให้อยู่ในอานาจได้
ทันใดนั้น สามเณรได้เกิดความคิดที่จะปฏิบัติธรรมขึ้น จึงได้ขอพระเถระนาอาหาร
มาฝากตนด้วย พระเถระได้รับปากและมอบลูกดาล (กุญแจ) ให้พร้อมกับสั่งให้ไปปฏิบัติธรรม
ในห้องของท่าน สามเณรได้ทาตามทุกอย่างและก็เริ่มบาเพ็ญสมณธรรมครั้งนั้น ที่ประทับนั่งของท้าวสักกะ แสดงอาการร้อนด้วยเดชแห่งคุณของสามเณร
ท้าวเธอใคร่ครวญว่า มีเหตุอะไรกันหนอ ทรงดาริได้ว่า บัณฑิตสามเณรถวายบาตรและจีวร
แก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับด้วยตั้งใจว่า จะทาสมณธรรม แม้เราก็ควรไปในที่นั้น ดังนี้แล้วตรัส
เรียกท้าวมหาราชทั้ง ๔ มา ตรัสว่า พวกท่านจงไปไล่นกที่บินจอแจอยู่ในป่าใกล้วิหารให้หนีไป
แล้วยึดอารักขาไว้โดยรอบ ตรัสกับจันทเทพบุตรว่า ท่านจงรั้งมณฑลพระจันทร์ไว้ ตรัสกับ
สุริยเทพบุตรว่า ท่านจงฉุดรั้งมณฑลพระอาทิตย์ไว้ ดังนี้แล้ว พระองค์เองได้เสด็จไปประทับ
ยืนยึดอารักขาอยู่ที่สายยูในพระวิหาร แม้เสียงแห่งใบไม้แก่ก็มิได้มี จิตของสามเณรได้อารมณ์
เป็นหนึ่ง เธอพิจารณาอัตภาพแล้วบรรลุผล ๓ อย่างในระหว่างภัตนั้นเอง
ฝ่ายพระเถระคิดว่า สามเณรนั่งในวิหาร เราอาจจะได้โภชนะที่สมประสงค์แก่เธอ
ในสกุลชื่อโน้น ดังนี้แล้ว จึงได้ไปสู่ตระกูลอุปัฏฐากซึ่งประกอบด้วยความรักและเคารพ
ตระกูลหนึ่ง
ก็ในวันนั้น มนุษย์ทั้งหลายในตระกูลนั้น ได้ปลาตะเพียนหลายตัว นั่งดูการมาแห่ง
พระเถระอยู่ พวกเขาเห็นพระเถระกาลังมาจึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านมาที่นี้ ทากรรมเจริญ
แล้วนิมนต์ให้เข้าไปข้างใน ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้นแล้ว ได้ถวายบิณฑบาต
ด้วยรสปลาตะเพียน พระเถระแสดงอาการจะนาไป พวกมนุษย์เรียนว่า นิมนต์ฉันเถิดขอรับ
ใต้เท้าจะได้แม้ภัตสาหรับจะนาไป ในเวลาเสร็จภัตกิจของพระเถระ ได้เอาภาชนะประกอบด้วย
รสปลาตะเพียนใส่เต็มบาตรถวาย พระเถระคิดว่า สามเณรของเราหิวแล้วจึงได้รีบไป
แม้พระพุทธเจ้า ในวันนั้นเสวยแต่เช้า เสด็จไปวิหารใคร่ครวญว่า บัณฑิตสามเณรให้
บาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับไปด้วยตั้งใจว่าจะทาสมณธรรมกิจแห่งบรรพชิต
ของเธอ จะสาเร็จหรือไม่ ทรงทราบว่า สามเณรบรรลุผล ๓ อย่างแล้ว จึงทรงพิจารณาว่า
อุปนิสัยแห่งอรหัตผลจะมีหรือไม่มี ทรงเห็นว่า มี แล้วทรงใคร่ครวญว่า เธอจะบรรลุอรหัตผล
ก่อนภัตหรือไม่ ได้ทรงทราบว่า บรรลุ
ลาดับนั้น พระองค์ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า สารีบุตรถือภัตเพื่อสามเณรรีบมา
เธอจะพึงทาอันตรายแก่สามเณรนั้นได้ เราจะนั่งถือเอาอารักขาที่ซุ้มประตู ทีนั้นจะถามปัญหา
๔ ข้อ เมื่อเธอแก้อยู่ สามเณรจะบรรลุอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไป
จากวิหาร ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกับพระเถระผู้มาถึงแล้ว
เมื่อพระเถระแก้ปัญหาทั้ง ๔ ข้อเหล่านี้อย่างนั้นแล้ว สามเณรก็ได้บรรลุอรหัตผล
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ฝ่ายพระพุทธเจ้าตรัสกับพระเถระว่า ไปเถิด สารีบุตร จงให้ภัตแก่สามเณรของเธอ พระเถระไปเคาะประตูแล้ว สามเณรออกมารับบาตรจากมือพระเถระวางไว้
ณ ส่วนข้างหนึ่ง จึงเอาพัดก้านตาลพัดพระเถระ
ลาดับนั้น พระเถระกล่าวว่า สามเณร จงทาภัตกิจเสียเถิด
สามเณรเรียนถามว่า ก็ใต้เท้าเล่า ขอรับ
พระเถระกล่าวว่า เราทาภัตกิจเสร็จแล้ว เธอจงทาเถิด
เด็กอายุ ๗ ขวบบวชแล้ว ในวันที่ ๘ บรรลุอรหัตผล เป็นเหมือนดอกปทุมที่แย้มแล้ว
ในขณะนั้น ได้นั่งพิจารณาที่เป็นที่ใส่ภัต ทาภัตกิจแล้ว
ในขณะที่เธอล้างบาตรเก็บไว้ จันทเทพบุตรปล่อยมณฑลพระจันทร์ สุริยเทพบุตร
ปล่อยมณฑลพระอาทิตย์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เลิกอารักขาทั้ง ๔ ทิศ ท้าวสักกเทวราช
เลิกอารักขาที่สายยู พระอาทิตย์ เคลื่อนคล้อยไปแล้วจากที่ท่ามกลาง
ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า เงา บ่ายเกินประมาณแล้ว พระอาทิตย์เคลื่อนคล้อยไป
จากที่ท่ามกลาง ก็สามเณรฉันเสร็จเดี๋ยวนี้เอง นี่เรื่องอะไรกันหนอ
พระพุทธเจ้าทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอ
พูดอะไรกัน
พวกภิกษุกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาผู้มีบุญทาสมณธรรม จันทเทพบุตร
ฉุดมณฑลพระจันทร์รั้งไว้ สุริยเทพบุตรฉุดมณฑลพระอาทิตย์รั้งไว้ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถือ
อารักขาทั้ง ๔ ทิศ ในป่าใกล้วิหาร ท้าวสักกเทวราชเสด็จมายึดอารักขาที่สายยู ถึงเราผู้มี
ความขวนขวายน้อยด้วยนึกเสียว่า เป็นพระพุทธเจ้า ก็ไม่อาจจะนั่งอยู่ได้ ยังได้ไปยึดอารักขา
เพื่อบุตรของเรา ที่ซุ้มประตู แล้วตรัสต่อไปว่า วันนี้บัณฑิตสามเณรเห็นคนไขน้าไปจากเหมือง
ช่างศรกาลังดัดลูกศรให้ตรง และช่างถากกาลังถากไม้แล้ว ถือเอาเหตุเท่านั้นให้เป็นอารมณ์
ทรมานตนบรรลุอรหัตผลแล้ว ดังนี้

๑๕. พระกีสาโคตมีเถรี

๑๕. พระกีสาโคตมีเถรี
พระกีสาโคตมีเถรี ถือกาเนิดในสกุลคนเข็ญใจ ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาตั้งชื่อให้
นางว่าโคตมี แต่เพราะนางเป็นผู้มีรูปร่างผอมบาง คนทั่วไปจึงพากันเรียกนางว่ากีสาโคตมี
ในกรุงสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีคนหนึ่งมีทรัพย์สินเงินทองมากมายถึง ๔๐ โกฏิ แต่ต่อมา
ทรัพย์เหล่านั้นกลายสภาพเป็นถ่านไปทั้งหมด เศรษฐีจึงเกิดความเสียดาย เศร้าโศกเสียใจ
กินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายซูบผอมไปจากเดิม มีสหายคนหนึ่งมาเยี่ยมเยียน ได้ทราบสาเหตุ
ความทุกข์ของเศรษฐีแล้ว จึงแนะนาที่จะให้ถ่านเหล่านั้นกลับมาเป็นเงินเป็นทองดังเดิมว่า
แนะสหาย ท่านจงนาถ่านทั้งหมดนี้ออกไปวางที่ริมถนนในตลาด ทาทีประหนึ่งว่านาสินค้า
ออกมาขาย ถ้ามีคนผ่านไปผ่านมาพูดว่า คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ามัน น้าผึ่ง น้าอ้อย เป็นต้น
แต่ท่านกลับ เอาเงินเอาทองมานั่งขาย ถ้าคนที่พูดนั้นเป็นหญิงสาว ท่านก็จงสู่ขอนางมาเป็น
สะใภ้ แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่เธอ ท่านก็จงอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับเธอนั้น แต่ถ้าคนที่
พูดเป็นชายหนุ่ม ท่านก็จงยกธิดาให้แก่เขา แล้วมอบทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เขาโดยทานองเดียวกันเศรษฐีได้ฟังสหายแนะนาแล้วเห็นชอบ จึงทาตามสหายแนะนาทุกอย่าง ประชาชน
ที่ผ่านไปผ่านมาต่างก็พูดกันว่า คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย เป็นต้น แต่ท่าน
กลับมานั่งขายถ่าน เศรษฐีตอบว่า ก็เรามีถ่านอย่างเดียว สิ่งอื่น ๆ เราไม่มี
วันนั้น นางกีสาโคตมี เดินเข้าไปทาธุระในตลาด เห็นเศรษฐีแล้วนึกประหลาดใจ
จึงถามว่า คุณพ่อ คนอื่น ๆ เขาขายผ้า ขายน้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย เป็นต้น แต่ทาไมคุณพ่อ
กลับนาเงินทองมาขายเล่า เศรษฐีกล่าวว่า เงินทองที่ไหนกันแม่หนู
คุณพ่อ ก็ที่กองอยู่นี่ไง พูดแล้วนางก็กอบให้เศรษฐีดู ทันใดนั้น เศรษฐีก็เห็นถ่าน
ในกามือของนางกลายเป็นเงินเป็นทองจริง ๆ
จากนั้น เศรษฐีได้สอบถามถึงสถานที่อยู่และตระกูลของนางแล้ว ได้สู่ขอนางมาทา
พิธีอาวาหมงคลกับบุตรชายของตน แล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏินั้นให้แก่นาง ทรัพย์เหล่านั้น
ก็กลับเป็นเงินเป็นทองดังเดิม
สมัยต่อมานางตั้งครรภ์ โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางได้คลอดบุตรคนหนึ่ง ในครั้งนั้น
ชนทั้งหลายได้ทาความยกย่องนาง ครั้นเมื่อบุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้
ก็มาตายเสีย ความเศร้าโศกได้เกิดขึ้นแก่นาง
นางห้ามพวกชนที่จะนาบุตรนั้นไปเผา เพราะไม่เคยเห็นความตาย จึงอุ้มใส่สะเอว
เที่ยวเดินไปตามบ้านเรือนในพระนครแล้วพูดว่า ขอพวกท่านจงให้ยาแก่บุตรเราด้วยเถิด
เมื่อนางเที่ยวถามว่า ท่านทั้งหลายรู้จักยาเพื่อรักษาบุตรของฉันบ้างไหมหนอ
คนทั้งหลายพูดกับนางว่า แม่ เจ้าเป็นบ้าไปแล้วหรือ เจ้าเที่ยวถามถึงยาเพื่อรักษาบุตร
ที่ตายแล้ว
พวกคนทั้งหลายต่างก็พากันกระทาการเย้ยหยันว่า ยาสาหรับคนตายแล้ว ท่านเคย
เห็นที่ไหนบ้าง แต่นางมิได้เข้าใจความหมายแห่งคาพูดของพวกเขาเลย
ทีนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า หญิงนี้จะคลอดบุตรคนแรก
ยังไม่เคยเห็นความตาย เราควรเป็นที่พึ่งของหญิงนี้ จึงกล่าวว่า แม่ ฉันไม่รู้จักยา แต่ฉันรู้จัก
คนผู้รู้ยา
นางกีสาโคตมี ถามว่า ใครรู้ พ่อ บัณฑิตตอบว่า แม่ พระพุทธเจ้าทรงทราบ จงไป
ทูลถามพระพุทธองค์เถิด นางกล่าวว่า พ่อ ฉันจะไป จะทูลถาม แล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ทูลถามว่า
ทราบว่า พระองค์ทรงทราบยาเพื่อบุตรของหม่อมฉันหรือ พระเจ้าข้าพระศาสดาตรัสว่า ใช่ เรารู้
นางกีสาโคตมีทูลถามว่า ได้อะไร จึงควร
พระศาสดา ตรัสว่า ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดสักหยิบมือหนึ่ง ควร
นางกีสาโคตมีทูลถามต่อไปว่า ได้ พระเจ้าข้า แต่ได้ในเรือนใคร จึงควร
พระศาสดาตรัสว่า บุตรหรือธิดาไร ๆ ในเรือนของผู้ใด ไม่เคยตาย ได้ในเรือนของผู้นั้น
จึงควร
นางทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า อุ้มบุตรเข้าสะเอวแล้ว
เข้าไปภายในบ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังแรกกล่าวว่า เมล็ดพันธุ์ผักกาดในเรือนนี้ มีบ้างไหม
ทราบว่านั่นเป็นยาเพื่อบุตรของฉัน
เมื่อเขาตอบว่า มี จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นจงให้เถิด เมื่อคนเหล่านั้นนาเมล็ดพันธุ์
ผักกาดมาให้ จึงถามว่า ในเรือนนี้ เคยมีบุตรหรือธิดาตายบ้างหรือไม่เล่า แม่
เมื่อเขาตอบว่า พูดอะไรอย่างนั้น แม่ คนเป็นมีไม่มาก คนตายนั้นแหละมาก
นางจึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น จึงรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดของท่านคืนไปเถิด นั่นไม่เป็นยา
เพื่อบุตรของฉัน แล้วได้ให้เมล็ดพันธุ์ผักกาดคืนไปก็เที่ยวถามโดยทานองนี้ ตั้งแต่เรือนหลังต้น
ไปเรื่อย
จนถึงเย็น นางหาเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากเรือนที่ไม่เคยมีบุตรธิดาที่ตายลงไม่ได้แม้แต่
หลังหนึ่ง จึงได้ความว่า โอ กรรมหนัก เราได้ทาความสาคัญว่า บุตรของเราเท่านั้นที่ตาย ก็ใน
บ้านทั้งสิ้น คนที่ตายเท่านั้นมากกว่าคนเป็น
ดังนี้ จึงได้ทาความสังเวชใจ แล้วจึงออกไปภายนอกพระนครนั้น ไปยังป่าช้าผีดิบ
เอามือจับบุตรแล้วพูดว่า แน่ะลูกน้อย แม่คิดว่า ความตายนี้เกิดขึ้นแก่เจ้าเท่านั้น แต่ว่าความ
ตายนี้ไม่มีแก่เจ้าคนเดียว นี่เป็นธรรมดามีแก่มหาชนทั่วไป ดังนี้แล้ว จึงทิ้งบุตรในป่าช้าผีดิบ
แล้วกล่าวคาถานี้ว่า
ธรรมนี้นี่แหละคือความไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของชาวบ้าน มิใช่ธรรมของนิคม
ทั้งมิใช่ธรรมสกุลเดียวด้วย แต่เป็นธรรมของโลกทั้งหมด พร้อมทั้งเทวโลก
เมื่อนางคิดอยู่อย่างนี้ หัวใจที่อ่อนด้วยความรักบุตร ได้ถึงความแข็งแล้ว นางทิ้งบุตร
ไว้ในป่า ไปยังสานักพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ที่สุดข้างหนึ่ง
ลาดับนั้น พระพุทธเจ้าตรัสถามนางว่า เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดประมาณหยิบมือหนึ่ง
แล้วหรือนางกีสาโคตมีทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า เพราะในบ้านทั้งสิ้น คนตายนั้นแหละมากกว่า
คนเป็น
ลาดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า เธอเข้าใจว่า บุตรของเราเท่านั้นตาย ความตายนั่น
เป็นธรรมยั่งยืนสาหรับสัตว์ทั้งหลาย ด้วยว่า มัจจุราช ฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยยังไม่
เต็มเปี่ยมนั่นแหละลงในสมุทร คืออบาย ดุจห้วงน้าใหญ่ฉะนั้น
เมื่อจะทรงแสดงธรรมจรึงตรัสพระคาถานี้ว่า
มฤตยู ย่อมนาพาชนผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์ของเลี้ยง ผู้มีใจซ่านไปในอารมณ์
ต่าง ๆ ไป ดุจห้วงน้าใหญ่พัดชาวบ้านผู้หลับใหลไป ฉะนั้น
ในกาลจบคาถา นางกีสาโคตมีดารงอยู่ในโสดาปัตติผล แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก
บรรลุผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้
ฝ่ายนางกีสาโคตมีนั้น ทูลขอบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว กระทาประทักษิณพระพุทธเจ้า
๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วไปยังสานักภิกษุณี นางได้บวชแล้วปรากฏชื่อว่า กีสาโคตมีเถรี
วันหนึ่งนางถึงวาระในโรงอุโบสถ นั่งตามประทีปเห็นเปลวประทีปลุกโพลงขึ้นและ
หรี่ลง ได้ถือเป็นอารมณ์ว่า
สัตว์เหล่านี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไป ดังเปลวประทีป ผู้ถึงพระนิพพาน
ไม่ปรากฏอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าประทับนั่งในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป ดุจประทับนั่งตรัส
ตรงหน้านางตรัสว่า
อย่างนั้นแหละ โคตมี สัตว์เหล่านั้น ย่อมเกิดและดับเหมือนเปลวประทีป
ถึงพระนิพพานแล้วย่อมไม่ปรากฏอย่างนั้น ความเป็นอยู่แม้เพียงขณะเดียวของผู้เห็น
พระนิพพานประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานอย่างนั้น ดังนี้แล
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็ผู้ใดไม่เห็นอมตบท พึงมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ชีวิตของผู้เห็นอมตบทเพียงวันเดียว
ยังประเสริฐกว่า ดังนี้
จบพระคาถา นางก็บรรลุอรหัตผล เป็นผู้เคร่งครัดยิ่งในการใช้สอยบริขาร ห่มจีวร
ประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างเที่ยวไป
ต่อมา พระพุทธเจ้าประทับนั่งในวัดพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ใน
ตาแหน่งต่าง ๆ ตามลาดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่า
พวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

๑๔. พระปฏาจาราเถรี

๑๔. พระปฏาจาราเถรี
พระปฏาจาราเถรี เป็นธิดาของมหาเศรษฐีในเมืองสัตถี เมื่ออายุย่างได้ ๑๖ ปีเป็น
หญิงมีความงดงามมาก บิดามารดาทะนุถนอมห่วงใยให้อยู่บนปราสาท ชั้น ๗ เพื่อป้องกัน
การคบหากับชายหนุ่ม
แม้กระนั้น เพราะนางเป็นหญิงโลเลในบุรุษ จึงได้คบหาเป็นภรรยาคนรับใช้ในบ้าน
ของตน ต่อมาบิดามารดาของนางได้ตกลงยกนางให้แก่ชายคนหนึ่ง ที่มีชาติสกุลและทรัพย์
เสมอกัน เมื่อใกล้กาหนดวันวิวาห์ นางได้พูดกับคนรับใช้ผู้เป็นสามีว่า
ได้ทราบว่า บิดามารดาได้ยกฉันให้กับลูกชายสกุลโน้น ต่อไปท่านก็จะไม่ได้พบกับ
ฉันอีก ถ้าท่านรักฉันจริง ก็จงพาฉันหนีไปจากที่นี่แล้วไปอยู่ร่วมกันที่อื่นเถิด เมื่อตกลงนัด
หมายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ชายคนรับใช้ผู้เปลี่ยนฐานะมาเป็นสามีนั้น ได้ไปรออยู่ข้างนอก
แล้วนางก็หนีบิดามารดาออกจากบ้าน ไปร่วมครองรักครองเรือนกันในบ้านตาบลหนึ่งซึ่งไม่มี
คนรู้จัก ช่วยกันทาไร่ ไถนา เข้าป่าเก็บผักหักฟืนหาเลี้ยงกันไปตามอัตภาพ นางต้องตักน้าตาข้าว
หุ้งต้มด้วยมือของตนเอง ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส เพราะตนไม่เคยทามาก่อน
กาลเวลาผ่านไป นางได้ตั้งครรภ์บุตรคนแรก เมื่อครรภ์แก่ขึ้น จึงอ้อนวอนสามี
ให้พานางกลับไปยังบ้านของบิดามารดาเพื่อคลอดบุตร เพราะการคลอดบุตรในที่ไกลจาก
บิดามารดาและญาตินั้นเป็นอันตราย แต่สามีของนางก็ไม่กล้าพากลับไปเพราะเกรงว่าจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง จึงพยายามพูดจาหน่วงเหนี่ยวไว้ จนนางเห็นว่าสามีไม่พาไปแน่ วันหนึ่ง
เมื่อสามีออกไปทางานนอกบ้านจึงสั่งเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันให้บอกกับสามีด้วยว่า นางไปบ้าน
ของบิดามารดาแล้วก็ออกเดินทางไปตามลาพัง
เมื่อสามีกลับมา ทราบความจากเพื่อนบ้านแล้ว ด้วยความห่วงใยภรรยาจึงรีบออก
ติดตามไปทันพบนางในระหว่างทาง แม้จะอ้อนวอนอย่างไรนางก็ไม่ยอมกลับ ทันใดนั้น
ลมกัมมัชวาตคือ อาการเจ็บท้องใกล้คลอดก็เกิดขึ้นแก่นาง จึงพากันเข้าไปใต้ร่มริมทาง
นางนอนกลิ้งเกลือกทุรนทุรายเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างหนัก ในที่สุดก็คลอดบุตรออกมา
ด้วยความยากลาบากเมื่อคลอดบุตรโดยปลอดภัยแล้ว ก็ปรึกษากันว่า กิจที่ต้องการไปคลอด
ที่เรือนของบิดามารดานั้นก็สาเร็จแล้ว จะเดินทางต่อไปก็ไม่มีประโยชน์จึงพากันกลับบ้านเรือน
ของตนอยู่รวมกันต่อไป
ต่อมาไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์อีก เมื่อครรภ์แก่ขึ้นตามลาดับ นางจึงอ้อนวอนสามี
เหมือนครั้งก่อน แต่สามีก็ยังคงไม่ยินยอมเช่นเดิม นางจึงอุ้มลูกคนแรกหนีออกจากบ้านไปแม้
สามีจะตามมาทันชักชวนให้กลับก็ไม่ยอมกลับ จึงเดินทางร่วมกันไป เมื่อเดินทางมาได้อีกไม่
ไกลนัก เกิดลมพายุพัดอย่างแรงและฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก พร้อมกันนั้นนางก็เจ็บท้องใกล้
จะคลอดขึ้นมาอีก จึงพากันแวะลงข้างทาง ฝ่ายสามีได้ไปหาตัดกิ่งไม้เพื่อมาทาเป็นที่กาบังลม
และฝนแต่เคราะห์ร้าย ถูกงูพิษกัดตายในป่านั้น นางทั้งเจ็บท้องทั้งหนาวเย็น ลมฝนก็ยังคง
ตกลงมาอย่างหนัก สามีก็หายไปไม่กลับมา ในที่สุดนางก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างน่าสังเวช
บุตรของนางทั้งสองคนทนกาลังลมและฝนไม่ไหว ต่างก็ร้องไห้กันเสียงดังลั่นแข่งกับ
ลมฝน นางต้องเอาบุตรทั้งสองมาอยู่ใต้ท้อง โดยใช้มือและเข่ายืนบนพื้นดินในท่าคลานได้รับ
ทุกขเวทนาอย่างมหันต์สุดจะราพันได้ เมื่อรุ่งอรุณแล้วสามีก็ยังไม่กลับมา จึงอุ้มบุตรคนเล็ก
ซึ่งเนื้อหนังยังแดง ๆ อยู่ จูงบุตรคนโตออกตามหาสามี เห็นสามีนอนตายอยู่ข้างจอมปลวก
จึงร้องไห้ราพันว่าสามีตายก็เพราะนางเป็นเหตุ เมื่อสามีตายแล้ว ครั้นจะกลับไปที่บ้านทุ่งนา
ก็ไม่มีประโยชน์ จึงตัดสินใจไปหาบิดามารดาของตนที่เมืองสาวัตถี โดยอุ้มบุตรคนเล็ก และ
จูงบุตรคนโตเดินไปด้วยความทุลักทุเล เพราะความเหนื่อยอ่อนอย่างหนักดูน่าสังเวชยิ่งนัก
นางเดินทางมาถึงริมฝั่งแม่น้าอจิรวดี มีน้าเกือบเต็มฝั่งเนื่องจากฝนตกหนักเมื่อคืนที่
ผ่านมา นางไม่สามารถจะนาบุตรน้อยทั้งสองข้ามแม่น้าไปพร้อมกันได้ เพราะนางเองก็ว่ายน้า
ไม่เป็น แต่อาศัยที่น้าไม่ลึกนักพอที่เดินลุยข้ามไปได้ จึงสั่งให้บุตรคนโตรออยู่ก่อนแล้วอุ้มบุตร
คนเล็กข้ามแม่น้าไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อถึงฝั่งแล้วได้นาใบไม้มาปูรองพื้นให้บุตรคนเล็กนอนที่ชายหาดแล้วกลับไปรับบุตรคนโต ด้วยความห่วงใยบุตรคนเล็ก นางจึงเดินพลางหันกลับมาดู
บุตรคนเล็กพลาง ขณะที่มีถึงกลางแม่น้านั้น มีนกเหยี่ยวตัวหนึ่งบินวนไปมาอยู่บนอากาศ
มันเห็นเด็กน้อยนอนอยู่มีลักษณะเหมือนก้อนเนื้อ จึงบินโฉบลงมาแล้วเฉี่ยวเอาเด็กน้อยไป
นางตกใจสุดขีดไม่รู้จะทาอย่างไรได้ จึงได้แต่โบกมือร้องไล่เหยี่ยวไป แต่ก็ไม่เป็นผล เหยี่ยวพา
บุตรน้อยของนางไปเป็นอาหาร ส่วนบุตรคนโตยืนรอแม่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง เห็นแม่โบกมือทั้งสอง
ตะโกนร้องอยู่กลางแม่น้า ก็เข้าใจว่าแม่เรียกให้ตามลงไป จึงวิ่งลงไปในน้าด้วยความไร้เดียงสา
ถูกกระแสน้าพัดพาจมหายไป
เมื่อสามีและบุตรน้อยทั้งสองตายจากนางไปหมดแล้ว เหลือแต่นางคนเดียวจึงเดินทาง
มุ่งหน้าสู่บ้านเรือนของบิดามารดา ทั้งหิวทั้งเหนื่อยล้า ได้รับความบอบช้าทั้งร่างกายและจิตใจ
รู้สึกเศร้าโศกเสียใจสุดประมาณพลางเดินบ่นราพึงราพันไปว่า
บุตรคนหนึ่งของเราถูกเหยี่ยวเฉี่ยวเอาไป บุตรอีกคนหนึ่งถูกน้าพัดไป สามีก็ตาย
ในป่าเปลี่ยว
นางเดินไปก็บ่นไป แต่ก็ยังพอมีสติอยู่บ้างได้ พบชายคนหนึ่งเดินสวนทางมา สอบถาม
ทราบว่ามาจากเมืองสาวัตถี จึงถามถึงบิดามารดาของตนที่อยู่ในเมืองนั้น ชายคนนั้นตอบว่า
น้องหญิง เมื่อคืนนี้เกิดลมพายุและฝนตกอย่างหนัก เศรษฐีสองสามีภรรยาและ
ลูกชายอีกคนหนึ่ง ถูกปราสาทของตนพังล้มทับตายพร้อมกันทั้งครอบครัวเธอ จงมองดูควันไฟ
ที่เห็นอยู่โน่น ประชาชนร่วมกันทาการเผาทั้ง ๓ พ่อ แม่ และลูกบนเชิงตะกอนเดียวกัน
นางปฏาจารา พอชายคนนั้นกล่าวจบลงแล้ว ก็ขาดสติสัมปชัญญะไม่รู้สึกตัวว่าผ้านุ่ง
ผ้าห่มที่นางสวมใส่อยู่หลุดลุ่ยลงไป เดินเปลือยกาย เป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ่นเพ้อราพันคร่า
ครวญว่า บุตรสองคนของเราตายแล้ว สามีของเราก็ตายที่ทางเปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชาย
ของเราก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน
นางเดินไปบ่นไปอย่างนี้ คนทั่วไปเห็นแล้วคิดว่า นางเป็นบ้า พากันขว้างปาด้วยก้อน
ดินบ้าง โรยฝุ่นลงบนศีรษะนางบ้าง และนางยังคงเดินต่อเรื่อยไปอย่างไร้จุดหมายปลายทาง
พระพุทธเจ้าประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ ในวัดพระเชตวันได้ทอด
พระเนตรเห็นนางบาเพ็ญบารมีมานานแสนกัลป์ สมบูรณ์ด้วยอภินิหารเดินมาอยู่
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ นางปฏาจารานั้นเห็น
พระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่งอันพระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ จึงทาคุณ
ความดีแล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า แม้หม่อมฉันพึงได้ตาแหน่งเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่งในสานักของพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์ พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็ง
อนาคตญาณไป ก็ทรงทราบความปรารถนาจะสาเร็จจึงทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล หญิงผู้นี้จะเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยทั้งหลาย มีพระนามว่า
ปฏาจารา ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงเห็นพระนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้วอย่างนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วย
อภินิหารกาลังเดินมาแต่ไกล ทรงดาริว่า
วันนี้ ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี จึงทรงบันดาลให้นาง
เดินบ่ายหน้ามาสู่วัดพระเชตวัน
พวกพุทธบริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าให้หญิงบ้านี้มาที่นี้เลย
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พวกท่านจงหลีกไป อย่าห้ามเธอ นางกลับได้สติด้วยพุทธานุ
ภาพ ในขณะนั้นเอง นางก็รู้ตัวว่าไม่มีผ้านุ่งห่ม เกิดละอาย จึงนั่งกระโหย่งลง อุบาสกคนหนึ่ง
ก็โยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบถวายบังคมพระพุทธเจ้าที่พระบาทแล้วกราบทูล
เคราะห์กรรมของตนให้ทรงทราบโดยลาดับ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
แม่น้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ยังน้อยกว่าน้าตาของคนที่ถูกความทุกข์ความเศร้าโศก
ครอบงา ปฏาจารา เพราะเหตุไร เธอจึงยังประมาทอยู่
ปฏาจารา ฟังพระดารัสนี้แล้วก็คลายความเศร้าโศกลง พระพุทธเจ้า ทรงทราบว่า
นางหายจากความเศร้าโศกลงแล้วจึงตรัสต่อไปว่า
ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้านทาน หรือเป็นที่ป้องกัน
แก่ผู้ไปสู่ปรโลกได้ บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี ส่วนผู้รู้ทั้งหลาย รักษาศีล
ให้บริสุทธิ์แล้วควรชาระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น
ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่
ในพระโสดาปัตติผล ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผล
เป็นต้น
ฝ่ายนางปฏาจาราเป็นพระโสดาบันแล้ว ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าส่งนางไปยังสานัก
ของพวกภิกษุณีให้บวชแล้ว นางได้บวชแล้วปรากฏชื่อว่า ปฏาจารา
วันหนึ่ง นางกาลังเอาภาชนะตักน้าล้างเท้า เทน้าลง น้านั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้ว
ก็ขาด ครั้งที่ ๒ น้าที่นางเทลง ได้ไหลไปไกลกว่านั้น ครั้งที่ ๓ น้าที่เทลง ได้ไหลไปไกลกว่า
แม้นั้น ด้วยประการฉะนี้ นางถือเอาน้านั้นเป็นอารมณ์ กาหนดวัยทั้ง ๓ แล้วคิดว่าสัตว์เหล่านี้ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้าที่เราเทลงครั้งแรก ตายเสียใน
มัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้าที่เราเทลงในครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี
เหมือนน้าที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น
พระพุทธเจ้าประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดังประทับยืนตรัสอยู่
เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า
ปฏาจารา ข้อนั้นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็น
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี
ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นหรือเสื่อมแห่งปัญจขันธ์ ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง
ธรรมจึงตรัสคาถานี้ว่า
ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่
วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น
นางครั้นบวชแล้วไม่นานก็บรรลุอรหัตผล เรียนพุทธวจนะ เป็นผู้ช่าชองชานาญ
ในพระวินัยปิฏก
ภายหลัง พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ วัดพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณี
ไว้ในตาแหน่งต่าง ๆ ตามลาดับ จึงทรงสถาปนาพระปฏาจาราเถรีไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย

๑๓. พระอุบลวรรณาเถรี

๑๓. พระอุบลวรรณาเถรี
พระอุบลวรรณาเถรี เป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณา
เพราะมีผิวพรรณงามเหมือนสีกลีบดอกบัวเขียว
นางเคยตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระปทุมุตรพุทธเจ้าแล้วสั่งสมบุญ
มานาน มาในชาตินี้จึงสวยงามสง่า เป็นที่หมายตาของพระราชา มหาเศรษฐี คฤหบดี และ
หนุ่มทั่วไป
เมื่อนางเจริญวัยเข้าสู่วัยสาว นอกจากจะมีผิวงามแล้ว รูปร่างลักษณะยังงดงามยังสุด
เท่าที่จะหาหญิงอื่นทัดเทียมได้ จึงเป็นที่หมายปองต้องการของพระราชาและมหาเศรษฐี
ทั่วทั้งชมพูทวีป ซึ่งต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการอันมีค่าไปมอบให้พร้อมกับสู่ขออภิเษกสมรสด้วย
ฝ่ายเศรษฐีผู้บิดาของนางรู้สึกลาบากใจด้วยคิดว่า เราไม่สามารถที่จะรักษาน้าใจ
ของคนทั้งหมดเหล่านี้ได้ เราควรจะหาอุบายทางออกสักอย่างหนึ่ง แล้วจึงเรียกลูกสาวมาถามว่า
แม่อุบลวรรณา เจ้าจะสามารถบวชได้ไหม นางได้ฟังคาของบิดาแล้วรู้สึกร้อนทั่วสรรพางค์
กายเหมือนกับมีคนเอาน้ามันที่เคี่ยวให้เดือด ๑๐๐ ครั้ง ราดลงบนศีรษะ ด้วยว่านางได้สั่งสม
บุญมาแต่อดีตชาติและการเกิดในชาตินี้ ก็เป็นชาติสุดท้าย ดังนั้น จึงรับคาของบิดาด้วยความ
ปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง
เศรษฐีผู้บิดาจึงพานางไปยังสานักของภิกษุสงฆ์ แล้วให้บวชเป็นที่เรียบร้อย
เมื่อนางอุบลวรรณาบวชได้ไม่นาน ก็ถึงวาระที่จะต้องไปทาความสะอาดโรงอุโบสถ เธอได้จุด
ประทีปเพื่อให้มีแสงสว่างแล้วกวาดโรงอุโบสถ เห็นเปลวไฟที่ดวงประทีปแล้วยึดถือเอาเป็น
นิมิต ขณะยืนอยู่นั้นได้เข้าฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ แล้วกระทาฌานนั้นให้เป็นฐานเจริญ
วิปัสสนา ก็ได้บรรลุอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย ณ ที่นั้นนั่นเอง
ก็พระเถรี ในคราวที่พระพุทธเจ้า เสด็จเข้าไปยังโคนต้นมะม่วงของนายคัณฑะ
เพื่อทรงกระทายมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้ว
ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะกระทาปาฏิหาริย์ ถ้าหากว่า พระผู้มี
พระภาคทรงอนุญาตแล้วจะบันลือสีหนาท
พระพุทธเจ้าทรงทาเหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ประทับนั่งท่ามกลางบริษัท
พระอริยะ ณ วัดพระเชตวัน ทรงสถาปนาพระภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ
ตามลาดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีรูปนี้ไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศของเหล่าภิกษุณี
ผู้มีฤทธิ์และเป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย ดังความในพระสูตรว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ออกบวชก็ขอจงเป็นเช่นเขมาภิกษุณีและอุบลวรรณา
ภิกษุณีเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณา
ภิกษุณี เป็นประมาณเช่นนี้
พระอุบลวรรณาเถรีนั้น ยับยั้งด้วยสุขในฌาน สุขในผล และสุขในนิพพาน วันหนึ่ง
พิจารณาถึงโทษ ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย เมื่อกล่าวย้าคาถาที่เห็นโทษของกาม
พระเถรีเกิดความสลดใจ เฉพาะการอยู่ร่วมสามีระหว่างมารดากับธิดา จึงได้กล่าว ๓ คาถานี้ว่า
เราทั้งสองคือมารดาและธิดาเป็นหญิงร่วมสามีกัน เรานั้นมีความสลดใจ ขนลุก ที่ไม่
เคยมี น่าตาหนิจริง ๆ กามทั้งหลาย ไม่สะอาด กลิ่นเหม็น มีหนามมาก ที่เราทั้งสองคือมารดา
กับธิดา เป็นภริยาร่วมสามีกัน เรานั้น เห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย เห็นเนกขัมมะ การบวช
เป็นทางเกษมปลอดโปร่ง จึงออกจากเรือน บวชไม่มีเรือน
เล่ากันว่า ในอดีตชาติได้เกิดเป็นภริยาของพ่อค้าคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ตั้งครรภ์ขึ้น
ในเวลาใกล้รุ่ง นางก็ไม่รู้เรื่องการตั้งครรภ์นั้น พอสว่างพ่อค้าก็บรรทุกสินค้าลงในเกวียน
เดินทางมุ่งไปในเวลาล่วง ครรภ์ของนางก็เติบโตจนแก่เต็มที่
ครั้งนั้น แม่ผัวพูดกับนางว่า ลูกชายเราก็จากไปเสียนานและเจ้าก็มีครรภ์ เจ้าไปทาชั่ว
มาหรือ นางกล่าวว่า นอกจากลูกชายของแม่ ข้าพเจ้าก็ไม่รู้จักชายอื่น
แม่ผัวฟังนางแล้วไม่เชื่อ จึงขับไล่นางออกไปจากเรือน นางก็ไปตามหาสามี ไปถึง
กรุงราชคฤห์ตามลาดับ ขณะนั้นลมกัมมัชวาตก็ปั่นป่วน นางก็เข้าไปยังศาลาหลังหนึ่ง
ใกล้ ๆ ทาง แล้วจึงคลอดลูก นางคลอดลูกชายคล้ายรูปทอง ให้นอนบนศาลาอนาถา แล้วออก
ไปหาน้าข้างนอกศาลา
ขณะนั้น นายกองเกวียนคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีลูก เดินมาทางนั้น คิดว่าทารกของหญิง
ไม่มีสามี ควรเป็นลูกของเรา จึงเอาทารกนั้นมอบไว้ในมือนางนม
ต่อมา มารดาของทารก ทากิจเรื่องน้าแล้วกลับมา ไม่เห็นลูกก็เศร้าโศกคร่าครวญ
ไม่เข้าไปกรุงราชคฤห์แต่เดินทางต่อไป หัวหน้าโจรคนหนึ่ง พบนางในระหว่างเกิดจิตปฏิสัมพัทธ์
จึงเอานางเป็นภริยาของตน นางอยู่ในเรือนโจรนั้น ก็คลอดลูกหญิงออกมาคนหนึ่ง วันหนึ่ง
นางยืนอุ้มลูกหญิงอยู่ทะเลาะกับสามีก็โยนลูกลงเตียง ศีรษะของเด็กหญิงแตกหน่อยหนึ่ง
ต่อมา นางกลัวสามี ก็กลับไปกรุงราชคฤห์ท่องเที่ยวไปตามอาเภอใจ ลูกชายของ
นางโตเป็นหนุ่มไม่รู้ว่าเป็นมารดา ก็เอามารดาเป็นภาริยาของตนต่อมา เขาไม่รู้ว่าลูกสาวหัวหน้าโจรนั้นเป็นน้องสาวก็แต่งงานนามาเรือน เขานามารดา
และน้องสาวมาเป็นภริยาของตนอยู่กันมาอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น คนแม้ทั้งสองนั้นจึงอยู่กันอย่าง
พร้อมเพรียง
ต่อมาวันหนึ่ง มารดาแก้มวยผมของลูกสาวหาเหา เห็นแผลเป็นศีรษะคิดว่าหญิง
คนนี้คงเป็นลูกสาวเราแน่แล้วก็ถาม เกิดความสลดใจจึงไปสานักภิกษุณีแล้วบวช ก็พระเถรีนี้
กล่าวย้าคาถาที่หญิงนั้นกล่าวไว้แล้วเหล่านั้น โดยเห็นโทษในกามทั้งหลาย
เมื่อพระเถรีสาเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เที่ยวจาริกไปยังชนบทต่าง ๆ แล้วกลับมา
พักที่ป่าอันธวัน สมัยนั้น พระพุทธเจ้า ยังมิได้ทรงบัญญัติห้ามภิกษุณีอยู่ในป่าเพียงลาพัง
ประชาชนได้ช่วยกันปลูกกระท่อมไว้ป่าพร้อมทั้งเตียงตั่งกั้นม่านแล้วถวายเป็นที่พักแก่พระเถรี
ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นลูกชายของลุงของพระเถรีนั้น มีจิตหลงรักนางตั้งแต่ยังไม่บวช
เมื่อทราบข่าวว่าพระเถรีมาพักที่ป่าอันธวันใกล้เมืองสาวัตถี จึงได้โอกาสขณะเข้าไปบิณฑบาต
ในเมืองสาวัตถีนั้น ได้เข้าไปในกระท่อม หลบซ่อนตัวอยู่ใต้เตียง เมื่อพระเถรีกลับมาแล้ว เข้าไป
ในกระท่อมปิดประตูแล้วนั่งลงบนเตียง ขณะที่สายตายังไม่ปรับเข้ากับความมืดในกระท่อม
นันทมาณพก็ออกจากใต้เตียง ตรงเข้าปลุกปล้าข่มขืนพระเถรีถึงแม้พระเถรีจะร้องห้ามว่า
เจ้าคนพาล เจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย เจ้าคนพาลเจ้าอย่าพินาศฉิบหายเลย นันทมาณพ ก็ไม่
ยอมเชื่อฟัง ได้ทาการข่มขืนพระเถรีสมปรารถนาแล้วก็หลีกหนีไป พอเขาหลบหนีไปได้ไม่ไกล
แผ่นดินใหญ่มีอาการประหนึ่งว่าไม่สามารถรองรับน้าหนักของเขาเอาไว้ได้ จึงอ่อนตัวยุบลง
นันทมาณพก็จมดิ่งลงในแผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรก ฝ่ายพระอุบลวรรณาเถรี ก็มิได้
ปิดบังเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้บอกแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นกับตนนั้นแก่นางภิกษุณีทั้งหลาย ต่อจากนั้น
เรื่องราวของพระเถรีก็ทราบถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า คนพาล
ย่อมร่าเริงยินดีในบาปกรรมลามกที่ตนกระทาประดุจว่า ดื่มน้าผึ้งที่มีรสหวานจนกว่า
บาปกรรมนั้นจะให้ผล จึงจะได้ประสบกับความทุกข์ เพราะกรรมนั้น
เมื่อกาลเวลาล่วงไป ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์ของ
พระอุบลวรรณาเถรี นั้นว่า ท่านทั้งหลาย เห็นทีพระขีณาสพทั้งหลาย คงจะยังมีความยินดี
ในกามสุข คงจะยังพอใจในการเสพกาม ก็ทาไมจะไม่เสพเล่า เพราะท่านเหล่านั้น มิใช่ไม้ผุ
มิใช่จอมปลวก อีกทั้งเนื้อหนังร่างกายทั่วทั้งสรีระก็ยังสดอยู่ ดังนั้น แม้จะเป็นพระขีณาสพ
ก็ชื่อว่ายังยินดีในการเสพกามพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วตรัสถาม ทรงทราบเนื้อความที่พวกภิกษุเหล่านั้นสนทนา
กันแล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลายนั้นไม่ยินดีในกามสุข ไม่เสพกาม
เปรียบเสมือนหยาดน้าตกลงในใบบัวแล้วไม่ติดอยู่ ย่อมกลิ้งตกลงไป และเหมือนกับ
เม็ดพันธุ์ผักกาด ย่อมไม่ติดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉันใด ขึ้นชื่อว่ากามก็ย่อมไม่
ซึมซาบ ไม่ติดอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น
ต่อมาพระพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเห็นภัยอันจะเกิดแก่กุลธิดาผู้เข้ามาบวชแล้วพัก
อาศัยอยู่ในป่า อาจจะถูกคนพาลลามกเบียดเบียนประทุษร้าย ทาอันตรายต่อพรหมจรรย์ได้
จึงรับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเฝ้า ตรัสให้ทราบพระดาริแล้ว ขอให้สร้างที่อยู่อาศัย
เพื่อนางภิกษุณีสงฆ์ในที่บริเวณใกล้ ๆ พระนคร และตั้งแต่นั้นมาภิกษุณีก็มีอาวาสอยู่ในเมือง
เท่านั้น
พระอุบลวรรณาเถรี ดารงชนมายุสังขารอยู่สมควรแก่กาล ก็ดับขันธนิพพาน

๑๒. พระเขมาเถรี

๑๒. พระเขมาเถรี
พระเขมาเถรี เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสาคลราช ผู้ครองสาคลนคร ในแคว้น
มัททรัฐ ทรงพระสิริโฉมงดงาม มีผิวพรรณดังสีทองเลื่อมเรื่อเป็นเงาดังแววนกยูง พระประยูรญาติ
ได้ให้พระนามว่า เขมา เมื่อเข้าสู่วัยสาว ได้อภิเษกสมรสเป็นพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร
แห่งนครราชคฤห์ แคว้นมคธ เพราะพระนางทรงมีพระสิริโฉมงดงามมาก จึงเป็นที่โปรดปราน
ของพระเจ้าพิมพิสารเป็นอย่างยิ่งในระยะแรกท่านมิได้สนพระทัยในพระพุทธศาสนานัก ทั้งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปถัมถ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี คือ ได้ทรงถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นวัด
แห่งแรกในพระพุทธศาสนา และได้ทรงถวายปัจจัยอุปถัมถ์ภิกษุสงฆ์ ณ วัดเวฬุวันอยู่เป็น
ประจา ในเวลาที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ท่านได้ทรงทราบว่า
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องโทษเกี่ยวกับร่างกาย จึงทรงเกรงว่าถ้าท่านเสด็จไปเฝ้า
พระพุทธองค์อาจจะทรงชี้โทษเกี่ยวกับพระรูปโฉมของท่านก็ได้ จึงไม่ยอมเสด็จไปเฝ้า
พระพุทธองค์เลย แม้แต่วัดเวฬุวันที่พระเจ้าพิมพิสารทรงสร้าง ท่านก็มิได้เสด็จไปดู
พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงพระดาริว่า เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า แต่อัครมเหสีของ
อริยสาวกเช่นเรานี้จะไม่ไปเฝ้าพระพุทธองค์ ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย พระองค์จึงทรงหาอุบายที่
จะให้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และฟังธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ให้ได้ ในที่สุดทรงมีพระบัญชา
ให้กวีแต่งเพลงพรรณนาความงามวัดเวฬุวันราชอุทยานด้วยถ้อยคาอันไพเราะ ชวนคิด
ชวนฝันของวัดเวฬุวันราชอุทยาน แล้วรับสั่งให้นาไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางประทับ ก็มี
พระประสงค์จะเสด็จไปชม จึงเข้าไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งพระองค์ก็ทรงยินดีให้เสด็จ
ไปตามพระประสงค์ เมื่อพระนางเขมาได้เสด็จชมพระราชอุทยานจนสิ้นวันแล้ว ใคร่เสด็จกลับ
พวกราชบุรุษทั้งหลายได้นาท่านไปยังสานักของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ท่านไม่พอพระทัยเลย
พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระนางเขมากาลังเสด็จมาเฝ้า เพื่อที่จะให้ท่านคลายความ
ยึดถือในความงาม ทรงเนรมิตนางเทพอัปสรนางหนึ่งยืนถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้
พระองค์อยู่เบื้องหลัง ซึ่งมีความงดงามยิ่งกว่า พระนางเขมาจึงตะลึงในความงามของนางเทพ
อัปสรแล้ว ถึงกับตกพระทัย โดยมิได้สนพระทัยในพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า และทรง
ดาริว่า แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้ยืนอยู่ใกล้ ๆ พระพุทธเจ้า แม้เราจะ
เป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอานาจ
จิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าว่า เธอจง
ดูร่างกายอันอาดูร ไม่สะอาด เน่าเปื่อย ไหลเข้า ไหลออก ที่คนโง่ปรารถนากันนัก พระพุทธเจ้า
จึงทรงบันดาลให้พระนางเขมาทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามลาดับ ให้มี
วัยสูงอายุขึ้น ๆ จนแก่ชรา มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฝันหัก แก่หง่อมแล้วล้มกลิ้งถึงแก่กรรม
พร้อมกับพัดใบตาลนั้น เหลือแต่กระดูกในที่สุด พระนางเขมาทอดพระเนตรเห็นความเป็น
เช่นนั้น ทรงเห็นความไม่มีแก่นสารของรูปสตรีนั้น จึงทรงได้คิด คลายความยึดติดในความงาม
จึงดาริว่า สรีระที่สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงกลับความวิบัติได้ แม้พระสรีระของเราก็จะมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน ขณะที่พระนางเขมากาลังมีพระดาริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์
ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า
ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ตกไปในกระแสราคะ เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใย
ที่ตนทาเอง เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสเหล่านั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้วละกามสุขเสียได้
ย่อมออกบวช
เมื่อจบพระพุทธดารัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาส่งญาณไปตามกระแส
พระธรรมเทศนา ก็ตรัสขาดความรักได้เด็ดขาด บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลายในอริยาบทที่ประทับยืนนั้นเอง
พระเจ้าพิมพิสาร ได้เสด็จพระราชดาเนินไปตามพระนางเขมา แต่เมื่อไปถึง
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสบอกกับพระเจ้าพิมพิสารว่า บัดนี้พระนางเขมาไม่อาจจะครองเพศ
ฆารวาสได้อีกแล้ว เพราะได้สาเร็จอรหัตผลแล้ว เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบดังนั้นจึง
อนุโมทนาสาธุการ
พระพุทธองค์ตรัสว่า เอหิ ภิกขุ (เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด) เมื่อนั้นพระนางเขมา
ได้สวมจีวรทิพย์ซึ่งลอยมาในอากาศ พร้อมบริขารทั้งหลายในทันที
พระเขมาเถรี เป็นผู้ชานาญในฤทธิ์ทิพโสตธาตุและเจโตปริยญาณ รู้ชัดปุพเพนิวาสญาณ
ชาระทิพจักษุให้บริสุทธิ์ มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก ญาณอันบริสุทธิ์
ในอรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ เกิดขึ้นแล้วเป็นผู้ฉลาดในวิสุทธิทั้งหลายคล่องแคล่วในกถาวัตถุ
รู้จักนัยแห่งอภิธรรม ถึงความชานาญในศาสนา ภายหลัง พระเจ้าพิมพิสาร ตรัสถามปัญหา
ละเอียดในโตรณวัตถุ ได้วิสัชนาโดยควรแก่กถา
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ทูลสอบถามปัญหาเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์เป็นอย่างเดียวกันกับพระเถรีวิสัชนาแล้ว พระพุทธเจ้าประทับนั่ง
ท่ามกลางหมู่พระอริยะ ณ วัดพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตาแหน่ง
ตามลาดับ ก็ทรงสถาปนาพระเขมาเถรีไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะ เพราะเป็นผู้มีปัญญามากและ
เป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา ดังความในพระสูตรว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขมาเป็นเลิศภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ออกบวช ก็ขอจงเป็นเช่นเขมาภิกษุณีและอุบลวรรณา
ภิกษุณีเถิดดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา เขมาภิกษุณีและอุบลวรรณา
ภิกษุณี เป็นดุจประมาณเช่นนี้
วันหนึ่งพระเถรีนั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง มารผู้มีบาปแปลงกายเป็น
ชายหนุ่มเข้าไปหา เพื่อประเล้าประโลมด้วยกามทั้งหลาย ก็กล่าวคาถาว่า
แม่นางเขมาเอย เจ้าก็สาวสคราญ เราก็หนุ่มแน่น มาสิ เรามาร่วมอภิรมย์กัน
ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ นะแม่นาง
พระเขมาเถรี ฟังคานั้นแล้ว เพื่อประกาศความที่ตนหมดความกาหนัดในกามทั้งปวง
๑ ความที่ผู้นั้นเป็นมาร ๑ ความไม่เลื่อมใสที่มีกาลังของตนในเหล่าสัตว์ผู้ยึดมั่นในอัตตา ๑
และความที่ตนทากิจเสร็จแล้ว ๑ จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
เรา อึดอัดเอือมระอาด้วยกายอันเปื่อยเน่า กระสับกระส่าย มีอันจะแตกพังไปนี้อยู่
เราถอนกามตัณหาได้แล้ว กามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยหอกและหลาว มีขันธ์ทั้งหลายเป็น
เขียงรองสับ บัดนี้ ความยินดีในกามที่ท่านพูดถึงไม่มีแก่เราแล้ว เรากาจัดความเพลิดเพลิน
ในกามทั้งปวงแล้ว ทาลายกองแห่งความมืด (อวิชชา) เสียแล้ว ดูก่อนมารใจบาป ท่านจงรู้
อย่างนี้ ตัวท่านถูกเรากาจัดแล้ว พวกคนเขลา ไม่รู้ตามความเป็นจริง พากันนอบน้อมดวงดาว
ทั้งหลาย บาเรอไฟอยู่ในป่าคือลัทธิ สาคัญว่าเป็นความบริสุทธิ์ ส่วนเรานอบน้อมเฉพาะ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ จึงพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง ชื่อว่าทาตามคาสอนของพระศาสดา
พระเขมาเถรี เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ท่านเอง
ก็พานักอยู่ ณ สานักภิกษุณี กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระเขมาเถรี ผู้เป็นบริวารของพระมหาปชาบดี
โคตมีเถรี ได้มีความปริวิตกว่า พระมหาปชาบดีจะนิพพาน จึงได้เข้าหาพระมหาเถรี แล้วทูลว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าพระแม่เจ้าชอบใจกาลนิพพานอันเกษมอันยิ่งไซร้ ถึงข้าพเจ้าทั้งหลายก็
จะนิพพานกันหมด ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงอนุญาต พวกข้าพเจ้าได้ออกจากเรือนจากภพ
พร้อมด้วยพระแม่เจ้า ก็จะไปสู่นิพพานบุรี อันยอดเยี่ยมพร้อม ๆ กันกับพระแม่เจ้า ข้าพเจ้า
ทั้งหลายก็จะไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้ง
จะไปนิพพาน เราจะว่าอะไรเล่า
หลังจากนั้น พระเขมาเถรีและภิกษุณีรวมได้ ๕๐๐ รูป ได้ตามพระมหาปชาบดีโคตมี
ไปพระวิหาร ขอให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแล้วอาลาพระเถระทั้งหลาย และเพื่อนพรหมจารี
ทุกรูปซึ่งเป็นที่เจริญใจของตน แล้วมานิพพาน ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี

๑๑. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

๑๑. พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
มหาปชาบดีโคตรมีเถรี เป็นพระธิดาของพระเจ้าอัญชนะกับพระนางยโสธรา
ในกรุงเทวทหะ เดิมพระนามว่าโคตมี เป็นพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) ของพระนางสิริมหามายา
เมื่อพระนางสิริมหามายาทิวงคตแล้ว ได้รับการสถาปนาไว้ในตาแหน่งพระอัครมเหสี
มีพระโอรสชื่อ พระนันทะ พระธิดาชื่อ รูปนันทา ทรงมอบให้นางสนมเลี้ยงดู ส่วนพระนาง
คอยเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถราชกุมาร
ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์เสด็จออกทรงผนวช ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร และทรง
แสดงธรรมกถาโปรดพระเจ้าสุทโธทนพุทธบิดา ในระหว่างถนน ให้ดารงอริยภูมิชั้นโสดาบัน
ครั้นวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
และพระน้านาง ยังพระบิดาให้ดารงอยู่ในพระสกทาคามี ยังพระน้านางให้บรรลุพระโสดาบัน
และในวันรุ่งขึ้น ทรงแสดงมหาปาลชาดกโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พอจบลงพระพุทธบิดาทรง
บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี
ในวันที่ ๔ แห่งการเสด็จโปรดพระประยูรญาติ พระพุทธองค์เสด็จไปในพิธี
อาวาหมงคลอภิเษกสมรสนันทกุมารพระอนุชาต่างพระมารดากับพระนางชนปทกัลยาณี
เมื่อเสร็จพิธีอาวาหมงคล พระพุทธองค์ได้นานันทกุมาร ไปบวชในวันนั้น ครั้นถึงวันที่ ๗ แห่ง
การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงพาราหุลกุมารออกบวชเป็นสามเณรอีก จึงยังความเศร้าโศก
ให้บังเกิดแก่พระเจ้าสุทโธทนะยิ่งนัก เพราะเกรงว่าจะขาดรัชทายาทสืบสันตติวงศ์ ครั้นกาล
ต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลแล้วเข้าสู่นิพพาน
ครั้นนั้น พระนางมหาปชาบดีเกิดว้าเหว่พระหฤทัย ปรารถนาจะทรงผน วช
ก็ประจวบเกิดเหตุที่ชาวพระนครทั้ง ๒ คือ เมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองโกลิยะทะเลาะกัน ในเรื่อง
การแย่งน้าในแม่น้าโรหิณีที่ไหลผ่านระหว่างพระนครทั้งสองจนถึงขั้นจะรบกัน พระพุทธเจ้า
จึงได้เสด็จไปเทศนาอัตตทัณฑสูตรโปรดพระญาติในระหว่างเมืองทั้งสองให้เข้าใจกัน
พระญาติทั้งหลายทรงเลื่อมใสแล้ว จึงได้มอบถวายพระกุมารฝ่ายละ ๒๕๐ องค์ให้บวชตามเสด็จพระพุทธเจ้า ครั้นเมื่อบวชแล้ว พระชายาของท่านเหล่านั้น ก็ได้ส่งข่าวไปยังพระภิกษุ
หนุ่มเหล่านั้น ทาให้ท่านเหล่านั้นเกิดความไม่ยินดีในเพศสมณะ พระพุทธเจ้าทรงทราบว่า
ภิกษุเหล่านั้นเกิดความเบื่อหน่ายในสมณะวิสัย จึงทรงนาภิกษุหนุ่ม ๕๐๐ รูป เหล่านั้นไปสู่สระ
ชื่อว่ากุณาละ ประทับนั่งบนแผ่นหินที่เคยประทับนั่งในครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็น
นกดุเหว่า ทรงเทศนาด้วยเรื่องกุณาลชาดก เพื่อบรรเทาความไม่ยินดีของภิกษุเหล่านั้น
พอจบเทศนา พระภิกษุหนุ่มเหล่านั้นทั้งหมด ดารงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงนากลับมาสู่
ป่ามหาวันอีกครั้งหนึ่งทรงกระทาพระภิกษุเหล่านั้นให้ดารงอยู่ในอรหัตผล
ฝ่ายพระชายาของพระภิกษุเหล่านั้น เมื่อได้ส่งข่าวไปเพื่อจะดูใจพระภิกษุเหล่านั้น
ว่ายังปรารถนาในเพศคฤหัสถ์หรือไม่ ก็ได้รับคาตอบว่า พวกเราไม่ปรารถนาที่จะครองเรือน
พระนางเหล่านั้นทรงดาริว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่พวกเราจะกลับไป
ยังเรือน เราจะไปเข้าเฝ้าพระนางมหาปชาบดีเพื่อขออนุญาต แล้วจะออกบวช พระชายาทั้ง
๕๐๐ นาง จึงเข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดีทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรด
อนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวชเถิด
พระนางมหาปชาบดีเอง ก็ทรงปรารถนาที่จะออกบวชอยู่แล้วจึงได้พาสตรีเหล่านั้น
ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
โดยสมัยนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกะชนบท
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่สตรีออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สองและครั้งที่สามที่พระนางทูลอ้อนวอนต่อพระพุทธเจ้า เพื่อทรงอนุญาต
ให้สตรีบวชได้ แต่พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามเสียทั้งสามครั้ง
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต
ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว มีทุกข์เสีย
พระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ทรงกันแสงพลางถวายบังคมลา ทาประทักษิณ
แล้วเสด็จกลับไปครั้งนั้น พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีก
จาริกไปโดยลาดับ ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน
เขตพระนครเวสาลีนั้น
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษาย้อมฝาด พร้อมด้วย
นางสากิยานีมากด้วยกัน เสด็จตามพระพุทธองค์ไปทางพระนครเวสาลี เสด็จถึงเมืองเวสาลี
กูฏาคารสาลา ป่ามหาวัน โดยลาดับ เวลานั้น พระนางมีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกาย
เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ได้ประทับยืน
กรรแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก
ได้ยินว่า พระนางมหาปชาบดีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรานี้ ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้า
ไม่ทรงอนุญาตแล้ว ก็ถือเพศบรรพชิตด้วยตนเองทีเดียว ก็ความที่เราถือเพศบรรพชิตอย่างนี้
เกิดปรากฏเป็นที่ทราบไปทั่วชมพูทวีปแล้ว ถ้าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวช ข้อนั้นจะเป็น
การดี แต่ถ้าพระองค์ไม่ทรงอนุญาต จะมีความครหาอย่างใหญ่หลวง พระนางทรงปริวิตก
อย่างนี้ จึงไม่อาจจะเข้าไปยังวิหาร ได้ยืนทรงกรรแสงอยู่
ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกาย
เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ประทับยืนกรรแสง
อยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก จึงถามถึงสาเหตุกับพระนาง
พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
พระอานนท์กล่าวว่า ดูกรโคตมี ถ้าเช่นนั้น พระนางจงรออยู่ที่นี่แหละสักครู่หนึ่ง
จนกว่าอาตมาจะทูลพระพุทธองค์ให้ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
ครั้งนั้น พระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีพระบาททั้ง ๒ พอง มีพระวรกาย
เกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้าพระเนตร ประทับยืนกรรแสง
อยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว ขอประทานวโรกาส ขอสตรี
สามารถออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้เถิด พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่สตรีออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลยแม้ครั้งที่สองและครั้งที่สามที่ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลอ้อนวอนต่อพระพุทธเจ้า
แต่พระองค์ก็ยังทรงห้ามเสียทั้งสามครั้ง
ลาดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้
มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว ฉะนั้น เราพึงทูลขอ
พระองค์ให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดย
ปริยายอื่น
พระอานนท์จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามออกบวช
เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศแล้ว สามารถจะทาให้แจ้งซึ่งพระโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคตประกาศแล้ว สามารถทาให้แจ้งแม้พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตผลได้
พระอานนท์เถระทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว สามารถเพื่อทาให้แจ้งแม้ซึ่งพระโสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผลได้ พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระมาตุจฉาของพระองค์ ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับประคอง เลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา
เมื่อพระชนนีสวรรคตได้ให้พระองค์เสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาสขอสตรีพึงได้การออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระองค์ประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้ามหาปชาบดีโคตมี รับประพฤติครุธรรม
๘ ประการได้ ครุธรรม ๘ ประการนี้แหละ เป็นอุปสมบทของพระนาง คือ
๑. ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้วได้ ๑๐๐ พรรษา ก็พึงเคารพกราบไหว้พระภิกษุ
แม้อุปสมบทได้วันเดียว
๒. ภิกษุณี จะอยู่จาพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุนั้นไม่ได้ ต้องอยู่ในอาวาสที่มีพระภิกษุ
๓. ภิกษุณี จะต้องทาอุโบสถกรรมและรับฟังโอวาทจากสานักภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
๔. ภิกษุณี อยู่จาพรรษาแล้ว วันออกพรรษาต้องทาปวารณาในสานักสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
(ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
๕. ภิกษุณี ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส อยู่ปริวาสกรรม ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์
สองฝ่าย๖. ภิกษุณี ต้องอุปสมบทในสานักสงฆ์สองฝ่าย หลังจากเป็นนางสิกขมานา รักษา
สิกขาบท ๖ ประการ คือ ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒. เว้นจากการลักขโมย ๓. เว้นจากการ
ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๔. เว้นจากการพูดเท็จ ๕. เว้นจากการดื่มสุราเมรัยและของมึนเมา
๖. เว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ทั้ง ๖ ประการนี้มิให้ขาดตกบกพร่องเป็น
เวลา ๒ ปี ถ้าบกพร่องในระหว่าง ๒ ปี ต้องเริ่มปฏิบัติใหม่
๗. ภิกษุณี จะกล่าวอักโกสกถาคือ ด่าบริภาษภิกษุ ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้
๘. ภิกษุณี ตั้งแต่วันอุปสมบทเป็นต้นไป พึงฟังโอวาทจากภิกษุเพียงฝ่ายเดียว จะให้
โอวาทภิกษุมิได้
พระเถระจดจานาเอาครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้มาแจ้งแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระน้านางได้สดับแล้ว มีพระทัยผ่องใสโสมนัส ยอมรับปฏิบัติได้ทุกประการ พระพุทธองค์จึง
ทรงประทานการอุปสมบทให้แก่พระน้านางสมเจตนาพร้อมศากยขัตติยนารีที่ติดตามมาด้วย
ทั้งหมด เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้อุปสมบทเสร็จแล้ว เรียนพระกัมมัฏฐานในสานัก
พระพุทธเจ้า อุตส่าห์บาเพ็ญเพียรด้วยความไม่ประมาทไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
พร้อมด้วยภิกษุณีบริวารทั้ง ๕๐๐ รูป และได้บาเพ็ญกิจพระศาสนาเต็มกาลังความสามารถ
ลาดับต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ ณ วัดพระเชตวัน ทรงสถาปนาภิกษุณีใน
ตาแหน่งเอตทัคคะหลายตาแหน่ง พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระนางมหาปชาบดี
โคตมีเป็นผู้มีวัยวุฒิสูง คือรู้กาลนาน มีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่ต้น
จึงทรงสถาปนาพระนางในตาแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้รัตตัญญู
คือรู้ราตรีนาน
พระนางทรงพระชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาล ก็ดับขันธนิพพาน

๒. พระอุรุเวลกัสสปะ

๒. พระอุรุเวลกัสสปะ 
พระอุรุเวลกัสสปะ เกิดในตระกูลพราหมณ์กัสสปโคตร มีน้องชาย ๒ คน ชื่อนทีกัสสปะ
และคยากัสสปะ เมื่อเจริญวัยท่านได้เรียนจบไตรเพท ตามลัทธิและประเพณีของพราหมณ์
ท่านอุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐ คน พาน้องชาย ๒ คน และบริวาร รวมทั้งหมด
๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นชฎิล ตั้งอาศรมอยู่ที่ตาบลอุรุเวลา แคว้นมคธ จึงได้ชื่อว่าอุรุเวลกัสสปะ
บาเพ็ญพรตด้วยการบูชาไฟ
พระพุทธเจ้าทรงดาริว่า ควรจะนาอุรุเวลกัสสปะผู้มีอายุมาก เป็นที่นับถือของมหาชน
มาเป็นกาลังในการประกาศพระศาสนาที่แคว้นมคธ เพราะท่านเป็นที่นับถือของชนในแคว้นนั้น
มาช้านาน จึงเสด็จพระองค์เดียวไปยังอุรุเวลานิคม ตรัสขอพานักอาศัยในอาศรมของ
อุรุเวลกัสสปชฎิล แรก ๆ ไม่ยอมให้ทรงพานัก แต่ถูกพระพุทธเจ้าทรงทรมานด้วยอภินิหาร
ต่าง ๆ เห็นว่าลัทธิของตนไม่มีสาระก็เกิดความสลดใจละลัทธินั้นเสีย พากันลอยบริขารแห่ง
ชฎิลในแม่น้าแล้วทูลขอบวชพร้อมทั้งบริวาร ๕๐๐ คน
เมื่ออุรุเวลกัสสปะพร้อมทั้งบริวาร ลอยบริขารและเครื่องบูชาไฟไปในแม่น้า น้องชาย
ทั้งสองเห็นเช่นนั้น กลัวว่าจะมีภัยเกิดกับพี่ชายจึงพากันมาดู พอทราบเรื่องราวความเป็นไป
ต่าง ๆ จึงขอบวชในสานักของพระพุทธเจ้า พร้อมกับบริวารทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงประทาน
เอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ แล้วทรงพาภิกษุ ๑,๐๐๓ รูปนั้น เสด็จไปยังตาบลคยาสีสะ ประทับนั่ง
บนแผ่นหิน ทรงให้ภิกษุทั้งหมดนั้นดารงอยู่ในอรหัตผลด้วย อาทิตตปริยายเทศนา ใจความ
ย่อแห่งอาทิตตปริยายเทศนาว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไรร้อนเพราะไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ เพราะ
ความตาย เพราะความเศร้าโศก เพราะความคร่าครวญ เพราะความทุกข์ เพราะความ
โทมนัส เพราะความคับแค้นใจ
พระอุรุเวลกัสสปะเป็นกาลังสาคัญยิ่งในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ
ตามตานานเล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงพาภิกษุ ๑,๐๐๓ องค์นั้น เสด็จไปถึงเมืองราชคฤห์
ประทับที่สวนตาลหนุ่ม ชื่อลัฏฐิวัน พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธทรงทราบ
ข่าว จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพารเสด็จพระราชดาเนินไปเฝ้า พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็น
ข้าราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสาร มีกิริยาอาการไม่อ่อนน้อม จึงตรัสสั่งให้พระอุรุเวลกัสสปะ
ประกาศให้คนเหล่านั้นทราบว่า ลัทธิของท่านไม่มีแก่นสาร คนเหล่านั้นสิ้นความสงสัย ตั้งใจ
ฟังพระเทศนาอนุปุพพีกถาและอริยสัจ ๔ พอจบเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร
๑๑ ส่วน ได้ดวงตาเห็นธรรม คือบรรลุโสดาปัตติผล อีก ๑ ส่วน ดารงอยู่ในสรณคมน์
พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นผู้รู้จักเอาใจใส่บริษัท จึงทาให้มีคนเลื่อมใสศรัทธาในตัว
ท่านมาก มีบริวารมากถึง ๕๐๐ คน ฉะนั้น จึงได้รับการยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะผู้ยอดเยี่ยม
กว่าภิกษุทั้งหลายด้านผู้มีบริวารมาก ท่านดารงชีพอยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธนิพพาน

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ

๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ผู้มีลูกศิษย์จานวนมาก
ในบ้านชื่อโทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อว่า โกณฑัญญะ เมื่อเจริญวัยได้ศึกษา
จบไตรเพทและรู้ตาราทานายลักษณะ เป็น ๑ ในจานวนพราหมณ์ ๘ คน ที่ได้ทานาย
เจ้าชายสิทธัตถะว่าจะเสด็จออกทรงผนวชแล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาเอกในโลก
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน
มารับประทานอาหาร เพื่อเป็นมงคลและทานายลักษณะพระราชโอรสตามราชประเพณีแล้ว
ได้คัดเลือกพราหมณ์ ๘ คน จากจานวน ๑๐๘ คนนั้น ให้เป็นผู้ทานายลักษณะพระราชกุมาร
โกณฑัญญะซึ่งเป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุด ได้รับคัดเลือกอยู่ในจานวน ๘ คนนั้นด้วย พราหมณ์
๗ คน ได้ทานายพระราชกุมารว่า มีคติ ๒ อย่าง คือ
๑. ถ้าอยู่ครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
๒. ถ้าเสด็จออกผนวช จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก
ฝ่ายโกณฑัญญพราหมณ์ มีความมั่นใจในตาราทานายลักษณะของตน ได้ทานาย
ไว้อย่างเดียวว่า พระราชกุมารจะเสด็จออกทรงผนวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
ศาสดาเอกในโลกแน่นอน ตั้งแต่นั้นมา โกณฑัญญพรามหณ์ได้ตั้งใจไว้ว่า ถ้าตนยังมีชีวิตอยู่
เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชเมื่อไรจะออกบวชตาม ต่อมา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออก
ทรงผนวชและบาเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ท่านทราบข่าว จึงได้ชักชวนพราหมณ์อีก ๔ คน
คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ ซึ่งเป็นบุตรชายของพราหมณ์ที่ได้รับเชิญ
ไปรับประทานอาหารในพระราชพิธีนานายพระลักษณะของพระกุมารทั้งสิ้น รวมเป็น ๕ คน
ด้วยกัน เรียกว่า ปัญจวัคคีย์ แปลว่า กลุ่มคน ๕ คน ได้ติดตามรับใช้ใกล้ชิดด้วยคิดว่า
ถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมพิเศษแล้ว จะได้เทศนาสั่งสอนพวกตนให้ได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง
แต่พอเห็นพระสิทธัตถะเลิกบาเพ็ญทุกรกิริยา ก็หมดความเลื่อมใส พาเพื่อนทั้งหมดไปอยู่
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีครั้นพระสิทธัตถโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดง
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือ ดวงตา
เห็นธรรมตามที่เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมด มีความดับ
เป็นธรรมดา
ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผล เพราะเกิดธรรมจักษุนี้ พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงทรง
เปล่งพระอุทานว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺ าสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ แปลว่า โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคาว่า อญฺญาสิ ท่านจึงได้คานาหน้านาม ว่า อัญญาโกณฑัญญะ
เมื่ออัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หมดความสงสัยในคาสอน
ของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้ทูลขออุปสมบทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้อุปสมบท
ในสานักของพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรา
กล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทาที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด การอุปสมบทอย่างนี้
เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านได้เป็นภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ครั้นพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์อีก ๔ ท่านให้ได้ดวงตาเห็นธรรม คือบรรลุ
โสดาบันแล้ว ทรงประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเช่นเดียวกัน วันหนึ่งตรัสเรียก
ทั้ง ๕ รูปมาตรัสสอนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็น
อนัตตา ไม่ใช่เป็นอัตตา เพราะถ้าเป็นอัตตาแล้วไซร้ ก็จะไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ (เจ็บป่วย)
และต้องได้ตามปรารถนาว่า ขอจงเป็นอย่างนี้ จงอย่าเป็นอย่างนั้น แต่เพราะทั้ง ๕ นั้น
เป็นอนัตตา ใคร ๆ จึงไม่ได้ตามปรารถนาของตนว่า ขอจงเป็นอย่างนี้ จงอย่าเป็นอย่างนั้น
ทั้ง ๕ รูป ได้เห็นด้วยปัญญาตามความเป็นจริงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ ทุกชนิดไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่สิ่งนั้น และสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวของเรา จึงเบื่อหน่าย
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกาหนัด ครั้นคลาย
กาหนัด ย่อมหลุดพ้น ทั้ง ๕ รูปจึงได้บรรลุอรหัตผล พระธรรมเทศนานี้ ชื่อว่า อนัตตลักขณสูตร
พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นกาลังสาคัญรูปหนึ่งในการช่วยประกาศพระศาสนา
เพราะอยู่ในจานวนพระอรหันต์ ๖๐ รูป ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระศาสนา
ครั้งแรกด้วยพระพุทธดารัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผลงานที่สาคัญ คือ ท่านได้นาพาบุตรของนางมันตานี น้องสาวของท่าน ชื่อนายปุณณะ
ได้บวชในพระพุทธศาสนาและเป็นกาลังสาคัญในการช่วยประกาศพระศาสนา มีกุลบุตรบวช
ในสานักของท่านจานวนมาก
พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับการยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุ
ทั้งหลายด้านรัตตัญญู ผู้รู้ราตรีนาน หมายความว่า รู้เรื่องที่ล่วงเลยมานานนั่นเอง
พระอัญญาโกณฑัญญะ มีอายุมากย่างเข้าสู่วัยชรา วาระสุดท้ายก็ดับขันธ์เข้าสู่
นิพพานก่อนพระพุทธเจ้า ที่ริมฝั่งสระบัวมันทากินี ซึ่งเป็นที่อยู่ของโขลงช้างฉันทันต์ ในป่า
หิมพานต์